เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตประจำวัน
ความรู้สึกดาวน์ หรืออารมณ์ความรู้สึกในทางลบ เช่น เศร้า ผิดหวัง น้อยใจกับเรื่องต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และโดยทั่วไปอาการก็สามารถหายไปได้ในช่วงเวลาสั้นๆ หากได้หยุดพักจากกิจกรรมอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในทางลบต่างๆ ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกเหนื่อยล้าที่สะสมจากการเตรียมสอบมาตลอดทั้งสัปดาห์จนก่อให้เกิดเป็นความรู้สึกเศร้า หดหู่ สามารถหายและกลายเป็นความโล่งใจ ดีใจแทนได้ เมื่อการสอบเสร็จสิ้น และผลคะแนนที่ออกมาเป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ อย่างไรก็ตามในบริบทชีวิตจริง แต่ละคนอาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ที่จำเป็นต้องทำในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันออกไป และบ่อยครั้งก็เลือกที่จะหยุดพักจากกิจกรรมต่างๆ หรือเปลี่ยนบรรยากาศจากชีวิตประจำวันที่ต้องพบเจอไม่ได้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียด้านอื่นๆ ต่อชีวิตในอนาคตตามมาได้ เป็นต้นว่าในบางกรณี เราอาจทราบได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกดาวน์ ก็คืองานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน แต่การหยุดทำงานไปดื้อๆ เลย เพื่อให้ตัวเองได้พักผ่อน ก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้เราตกงาน ขาดรายได้ ก่อให้เกิดเป็นปัญหาทางการเงินตามมาในภายหลัง คำถามสำคัญสำหรับหลายคนเมื่อต้องเผชิญกับภาวะดังกล่าว จึงเป็นคำถามที่ว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกระทบต่อด้านต่างๆ ของชีวิต เช่น การเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ โดยเนื้อหาในบทความนี้เอง จะอธิบายถึงวิธีรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกดาวน์ในช่วงเวลาต่างๆ ด้วยเทคนิคการตอบคำถามดังกล่าวตามสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการนำไปปรับใช้ของแต่ละคน เช่น เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียน หรือไม่ให้ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นต้น ทั้งนี้แม้ว่าความรู้สึกดาวน์จากสาเหตุต่างๆ จะส่งผลเหมือนๆ กัน กล่าวคือทำให้เรารับรู้ถึงความรู้สึกในเชิงลบ รับรู้ถึงการเปลี่ยนทางอารมณ์ที่แย่ลง ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความหม่นหมอง ความหดหู่ แต่สาเหตุที่แตกต่างกันนั้นย่อมทำให้วิธีรับมือ หรือแก้ไขแตกต่างกันตามไปด้วย ก่อนที่จะตั้งคำถามว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เราจึงควรมองหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อการรับมือ และแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง และเป็นผลดีในระยะยาวด้วย
เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียน
การเรียนถือว่าเป็นพาร์ทสำคัญของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ช่วงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา – ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ความรู้สึกดาวน์จากปัญหาต่างๆ อันเป็นผลมาจากความพยายามในการเรียนรู้และปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ มีแนวโน้มจะผุดขึ้นมาได้ง่ายกว่าช่วงวัยอื่นๆ นั้น ย่อมมีความเสี่ยงที่ปัญหาภาวะอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวจะกระทบกับชีวิตการเรียน เช่น ผลการเรียน การสอบ มากตามไปด้วย การตอบคำถามที่ว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบในทางลบต่อชีวิตการเรียน โดยคำตอบที่หลายคนควรนำไปใช้ก็มีดังนี้
- ลดความคาดหวังจากผลการเรียนลง โดยทั่วไปแล้ว หนึ่งในสาเหตุยอดฮิตของความรู้สึกดาวน์ หรืออารมณ์ในด้านลบต่างๆ ที่เกิดในช่วงเรียนก็คือ ความคาดหวังต่อผลการเรียน หรือคะแนนสอบ ทั้งจากตัวผู้เรียนเอง และความคาดหวังที่ถูกกดดันมาจากพ่อแม่ หรือครอบครัว การลดความคาดหวัง หรือตั้งความหวังให้ต่ำลงมา ตัวอย่างเช่น จากที่ตั้งเป้าให้ได้ผลการเรียนเป็น A ในรายวิชาสำคัญ อาจลดลงเหลือตั้งเป้าหมายขั้นต่ำเป็น B+ เป็นต้น จะเป็นวิธีที่ช่วยลดความรู้สึกกดดัน ทำให้สมองได้พักผ่อนคลายจากการเรียนและการอ่านหนังสือมากขึ้น
- ใช้เวลาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องเรียนกับเพื่อนร่วมชั้น หรือเพื่อนร่วมคณะ แม้ว่าการสอบวัดผลในรายวิชาต่างๆ จะเป็นลักษณะของการสอบวัดความรู้เฉพาะบุคคล ไม่สามารถสอบถาม หรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อนขณะทำข้อสอบได้ แต่หนึ่งในวิธีการเตรียมพร้อมสำหรับการสอบที่ดีก็คือการพูดคุย แลกเปลี่ยน สอบถามข้อสงสัยต่างๆ กับเพื่อนร่วมชั้นหรือร่วมคณะ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้คลายประเด็นข้อสงสัยในวิชาเรียนต่างๆ ได้แล้ว การได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับผู้ที่มีภารกิจเดียวกัน (การเรียน และสอบให้ผ่านในรายวิชานั้นๆ ) ยังจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายลงได้ด้วย
เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงาน
การรับมือกับปัญหาอารมณ์ความรู้สึกในทางลบช่วงวัยทำงาน ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากทีเดียว เนื่องจากในชีวิตของการทำงานนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่ทำ ภาระทางการเงิน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการเลือกตอบคำถามว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตการทำงานนั้น หลายคนควรตอบโดยอ้างอิงจากสถานการณ์ความรู้สึก หรือปัญหาของตนเองเป็นหลัก เพื่อประโยชน์สูงสุดในการนำคำตอบไปปรับใช้จริง ตัวอย่างเช่น สำหรับคนที่รู้สึกดาวน์จากปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การหาคำตอบว่ารู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี ก็ควรคำนึงการแก้ปัญหาความสัมพันธ์นั้นๆ ร่วมด้วย เช่น ใช้วิธีเปิดใจคุยกับเพื่อนร่วมงาน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น เป็นต้น
เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัว
ปัญหาสภาพจิตใจ หรือความรู้สึกดาวน์กับความสัมพันธ์ระหว่างคนใกล้ตัว ถือว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสัมพันธ์กัน เรียกว่าเป็นปัญหาด้านอารมณ์ความรู้สึกที่แยกจากกันไม่ได้ก็ว่าได้ เพราะคนใกล้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาชิกในครอบครัว ล้วนมีส่วนในการพูดให้กำลังใจ ส่งเสริม ผลักดันกันในเรื่องต่างๆ และในทางตรงกันข้ามก็มีส่วนพูดบั่นทอน หรือแสดงออกใดๆ ที่ส่งผลกระทบในทางลบต่ออารมณ์ความรู้สึกกันและกัน การหาวิธีรับมือว่าเมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ จึงเป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายคนต้องเตรียมพร้อม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิธีที่ได้ผลดี สำหรับการรับมือกับปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว และสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกดาวน์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ก็คือการไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ ความผิดชอบใดๆ ของอีกฝ่าย และเคารพการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆ ของอีกฝ่าย โดยแทนที่จะแสดงความเห็นในเชิงชักจูงให้อีกฝ่ายตัดสินใจสิ่งต่างๆ ตามความคิดเห็นของตนเอง ควรเปลี่ยนเป็นการพูดให้กำลังใจกันแทน ขยายความคือ ในความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท มักมีความห่วงใยในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องงาน เรื่องเรียน เรื่องสุขภาพ เรื่องอนาคตให้แก่กันและกัน เป็นความรู้สึกพื้นฐาน ทว่าการแสดงความห่วงใยที่มากเกินไป จนพยายามจะให้อีกฝ่ายตัดสินใจเรื่องต่างๆ ตามความคิดตนเอง จะก่อให้เกิดเป็นความรู้สึกอึดอัด และอารมณ์ความรู้สึกในด้านลบอื่นๆ ตามมา เช่น ความรู้สึกโกรธเมื่ออีกฝ่ายไม่ตัดสินใจตามคำแนะนำของตนเอง หนึ่งในวิธีรับมือปัญหาด้านอารมณ์ ความรู้สึกที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด จึงเป็นการเคารพการตัดสินใจของกันและกันนั่นเอง
รู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ให้กระทบกับสุขภาพ
ปัญหาทางด้านสภาพจิตใจ หรือความผิดปกติของภาวะอารมณ์ ความรู้สึกนั้นไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด ล้วนแต่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยผู้เผชิญปัญหา หรืออยู่ในภาวะดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบทางสุขภาพที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดของปัญหา และความแตกต่างของรูปแบบการดำเนินชีวิต ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับภาวะอารมณ์ ความรู้สึกด้านลบต่างๆ ในการหาวิธีที่เหมาะสมว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว และวิธีหรือคำตอบที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับภาวะอารมณ์ ความรู้สึกดังกล่าวก็มีดังนี้
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ แม้ว่าการเลือกทานอาหารจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาความรู้สึกดาวน์ หรืออารมณ์ในด้านลบต่างๆ ที่สาเหตุ แต่คุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับจากอาหารก็มีส่วนช่วยในการรักษาสุขภาพให้อยู่ในภาวะที่ร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าเดิม
- พักผ่อนให้มากขึ้น ภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ลงนั้น นอกจากจะมีสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายนอกต่างๆ แล้ว ปัจจัยภายในอย่างการพักผ่อน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสาหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน การป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาว เมื่อต้องเผชิญกับภาวะรู้สึกดาวน์ เศร้า เหนื่อย หรือหดหู่กับเรื่องใดๆ จึงเป็นการพยายามพักผ่อนให้มากขึ้นนั่นเอง
ข้อควรระวังเมื่อต้องเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ความรู้สึก
แม้ว่าการพยายามหาคำตอบ หรือวิธีรับมือว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี จะมีข้อดีตรงที่อาจทำให้เราเจอวิธีที่ช่วยให้ภาวะอารมณ์ ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงกลับมาในทิศทางที่ดีขึ้นได้ หรือทำให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่ขณะเดียวกันการพยายามหาคำตอบว่าเมื่อต้องเผชิญกับความรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี นั้น ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่ออารมณ์ ความรู้สึกมากขึ้นกว่าเดิม ขยายความคือการตั้งคำถามว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี อาจทำให้เราโฟกัสกับความรู้สึกในด้านลบของตนเองมากเกินไป เป็นการตอกย้ำถึงปัญหาที่กำลังเผชิญ ทั้งที่ภาวะความรู้สึกดังกล่าว อาจเป็นเพียงแค่ภาวะชั่วคราว ที่สามารถหายไป หรือกลับมารู้สึกดีขึ้นเองได้ นอกจากนี้การหาวิธีแก้ปัญหาอารมณ์ ความรู้สึกในด้านลบด้วยการตั้งคำถามว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี กับผู้อื่น คนรอบข้าง เพื่อน หรือคนรู้จัก ก็อาจทำให้เราได้คำตอบที่แตกต่างหลากหลายจนนำมาสู่วิธีแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องได้ เพราะแต่ละคนก็ล้วนมีประสบการณ์ชีวิตด้านต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน คำแนะนำในการแก้ปัญหา การตอบสนองต่อสถานการณ์ใดๆ ก็ย่อมต่างกันออกไปด้วย กล่าวคือเมื่อเราถามคำถาม หรือขอคำแนะนำว่า เมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี กับผู้อื่น แม้ว่าจะได้คำตอบที่ตัวผู้แนะนำใช้แล้วได้ผล สามารถแก้ปัญหาได้จริง แต่เมื่อเรานำมาปรับใช้กับตัวเองอาจจะใช้ไม่ได้ผล หรือทำให้ปัญหารุนแรงมากกว่าเดิมก็ได้ ในการรับมือกับภาวะความรู้สึกดาวน์ และความรู้สึกในเชิงลบต่างๆ จึงมีข้อควรระวังดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้คำแนะนำ วิธีต่างๆ จากโลกออนไลน์ โดยไม่ไตร่ตรอง และคำนึงถึงความเหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเองก่อน แม้ว่าในแพลตฟอร์มออนไลน์อาจมีคำแนะนำ หรือวิธีดีๆ ในการรับมือกับภาวะความรู้สึกดาวน์ หรืออารมณ์ในด้านลบต่างๆ เช่น คำตอบในกระทู้ที่ถามคำถามว่า รู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี หรือบทความให้คำแนะนำในการรับมือว่าเมื่อ รู้สึกดาวน์ ต้องทำอย่างไร แต่อย่างที่ทราบกันไปตามที่อธิบายในเนื้อหาส่วนต้นของบทความแล้วว่า สาเหตุของปัญหาที่นำมาสู่ความรู้สึกในด้านลบต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันนั้น ย่อมต้องการวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมต่างกันไปด้วย ดังนั้นการหาวิธีว่าเมื่อรู้สึกดาวน์ ทำยังไงดี จากคำแนะนำของบุคคล หรือแหล่งข้อมูลใดๆ จึงต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของสถานการณ์ส่วนตัวที่ก่อให้เกิดปัญหา ก่อนที่จะนำวิธี หรือคำตอบนั้นๆ ไปปรับใช้จริง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎