เคยไหมที่หลายครั้งเราไปเห็นตามป้ายหรือกำหนดการตามอาคารสถานที่ รวมไปถึงตามงานนิทรรศการต่าง ๆ มากมายก็มักจะมีการเขียนตัวเลขของตารางเวลา หรือเวลากำหนดการด้วยตัวเลขและตัวอักษรภาษาอังกฤษ AM และ PM ซึ่งแน่นอนว่าคนเราส่วนมากก็จะมีความคุ้นชินกับการแทนหน่วยของเวลาด้วยคำว่า ‘นาฬิกา’ หรือ น. เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคนจำนวนไม่น้อยซึ่งยังไม่รู้มาก่อนว่า AM PM คืออะไร รวมถึงยังมีความสับสนว่าแท้จริงแล้ว AM และ PM คือกลางวันหรือกลางคืนกันแน่ มันจึงเป็นเหตุผลที่ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีความสับสนแบบนี้มาก่อน จึงอยากจะรวบรวมเอาสาระความรู้ดี ๆ และเป็นเรื่องราวพื้นฐานรอบตัวที่ควรจะรู้เอามาเขียนไว้และนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกันในบทความนี้นั่นเอง
ไขข้อสงสัยว่า AM PM คืออะไร
หากจะต้องอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมากที่สุดว่า AM PM คืออะไร ก็ต้องบอกเลยว่าตัวอักษรทั้งสองคำนี้เป็นตัวย่อของคำศัพท์ที่ใช้ในการนับเวลา ซึ่งหลักการนับเวลาแบบนี้จะนิยมใช้กันมากในประเทศแถบตะวันตก โดยลักษณะการนับเวลาในระบบนี้จะสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ‘ระบบนาฬิกาสิบสองชั่วโมง’ เนื่องจากจะมีการแบ่งช่วงเวลาออกเป็นสองช่วง จากเวลาทั้งหมดในหนึ่งวันที่เท่ากับยี่สิบสี่ชั่วโมง เพราะฉะนั้นตารางเวลา AM PM จึงเอาไว้บอกว่าเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงไหนของวันนั่นเอง ซึ่งความหมายตามรากศัพท์และคำเต็ม ๆ ของ AM และ PM ก็จะมีรายละเอียดดังนี้
- AM ย่อมาจาก Ante Meridiem มีความหมายว่า Before noon แปลว่า ช่วงเวลาก่อนเที่ยงวัน
- PM ย่อมาจาก Post Meridiem มีความหมายว่า After noon แปลว่า ช่วงเวลาหลังเที่ยงวัน
AM คือกลางวันหรือกลางคืน
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นว่าระบบการนับเวลาแบบ AM PM คืออะไร ซึ่งด้วยความที่ AM ย่อมาจาก Ante Meridiem ที่มีความหมายว่าช่วงเวลาก่อนเที่ยงเพราะฉะนั้นหากจะถามว่า AM คือกลางวันหรือกลางคืน ก็สามารถตอบได้ทันทีเลยว่าช่วงเวลาที่มีการแทนด้วยตัวอักษรว่า AM หรือ a.m. หรือ A.M. นั้นจะเป็นการบอกช่วงเวลาเช้าหรือเวลากลางวันนั่นเอง โดยจะเริ่มนับตั้งแต่เวลาตีหนึ่งเป็นต้นไปจนไปจบที่เวลาสิบเอ็ดนาฬิกา ก่อนจะเข้าสู่ช่วงเวลาเที่ยงวันแล้วเปลี่ยนเป็นช่วงเวลาของ Post Meridiem แทนนั่นเอง
PM คือกลางวันหรือกลางคืน
และเมื่อเรารู้กันแล้วว่า AM คือกลางวันหรือกลางคืน ในลำดับต่อมาเราก็จะมาหาคำตอบกันต่อว่าแล้วอย่างนั้นการนับเวลาในช่วงของ PM คือกลางวันหรือกลางคืน ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าเราสามารถจดจำกันได้แล้วว่าหนึ่งในสองช่วงเวลานี้ช่วงเวลาไหนเป็นช่วงเวลาไหนเพราะมันจะตรงกันข้ามกันนั่นเอง ดังนั้นถ้า AM ใช้แทนช่วงเวลาก่อนเที่ยงหรือช่วงกลางวัน PM ก็จะใช้แทนช่วงเวลาหลังเที่ยงวันหรือก็คือช่วงเวลาตั้งแต่บ่ายโมงไปจนถึงช่วงเวลากลางคืนนั่นเอง
ตารางเวลา AM PM
หลังจากที่ทุกคนได้อ่านความหมายกันไปแล้วว่าการนับเวลาในรูปแบบดังกล่าวนั้นคืออะไร ทุกคนก็จะรู้ได้เลยว่าการนับเวลาในรูแบบของตารางเวลา AM PM และการนับเวลาในแบบปกติที่คนไทยเราคุ้นชินกันหรือก็คือตารางเวลาแบบ 24 ชั่วโมงจะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย จึงอาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานการนับเวลาแบบ AM PM รวมไปถึงใครที่อาจจะไม่เข้าใจว่าการนับเวลาแบบ AM PM คืออะไร จนทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนเวลาสื่อสาร หรือไปทำกิจกรรมผิดเวลากันได้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราจึงได้มีการรวมตางรางและเปรียบเทียบการนับเวลาของทั้งสองแบบมาให้ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
การนับเวลาแบบ 24 ชั่วโมง VS การนับเวลาแบบตารางเวลา AM PM
01.00 นาฬิกา เท่ากับ 01.00 a.m.
02.00 นาฬิกา เท่ากับ 02.00 a.m.
03.00 นาฬิกา เท่ากับ 03.00 a.m.
04.00 นาฬิกา เท่ากับ 04.00 a.m.
05.00 นาฬิกา เท่ากับ 05.00 a.m.
06.00 นาฬิกา เท่ากับ 06.00 a.m.
07.00 นาฬิกา เท่ากับ 07.00 a.m.
08.00 นาฬิกา เท่ากับ 08.00 a.m.
09.00 นาฬิกา เท่ากับ 09.00 a.m.
10.00 นาฬิกา เท่ากับ 10.00 a.m.
11.00 นาฬิกา เท่ากับ 11.00 a.m.
12.00 นาฬิกา เท่ากับ 12.00 p.m.
13.00 นาฬิกา เท่ากับ 01.00 p.m.
14.00 นาฬิกา เท่ากับ 02.00 p.m.
15.00 นาฬิกา เท่ากับ 03.00 p.m.
16.00 นาฬิกา เท่ากับ 04.00 p.m.
17.00 นาฬิกา เท่ากับ 05.00 p.m.
18.00 นาฬิกา เท่ากับ 06.00 p.m.
19.00 นาฬิกา เท่ากับ 07.00 p.m.
20.00 นาฬิกา เท่ากับ 08.00 p.m.
21.00 นาฬิกา เท่ากับ 09.00 p.m.
22.00 นาฬิกา เท่ากับ 10.00 p.m.
23.00 นาฬิกา เท่ากับ 11.00 p.m.
24.00 นาฬิกา เท่ากับ 12.00 a.m.
เกล็ดความรู้เกี่ยวกับระบบเวลา (Time Zone)
ก่อนที่เราจะจากกันไปในบทความนี้ นอกจากเราจะได้รู้กันไปแล้วว่า ‘AM PM คืออะไร’ เราได้มีการนำเอาสาระความรู้ที่เป็นเกล็ดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเวลาที่ใช้กันทั่วไปในโลกของเรามาแบ่งปันให้ได้อ่านกันเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งระบบการนับเวลาหรือ Time Zone ที่ใช้กันทั่วโลกของเรานั้นมีหลัก ๆ อยู่หลายระบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการนับเวลาหรือการอ้างอิงเวลาแบบ GMT (Greenwich Mean Time), TAI (International Atomic Time), UTC (Universal Time Coordinated), UT (Universal Time) ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยของเรานั้นมีการอ้างอิงเขตเวลาหรือ Time Zone แบบ GMT นั่นเอง ซึ่งรายละเอียดของเขตเวลาในแต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรตามมาอ่านพร้อมกันได้เลย
1.GMT – Greenwich Mean Time (เวลามาตรฐานกรีนิช) เป็นการนับเวลาแบบสากลที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยจะถือเอาเส้นสมมุติที่ลากในแนวเหนือและใต้ ซึ่งพาดผ่านผ่านหอดูดาวในเมืองกรีนิช (The Observatory of Greenwich) ของประเทศอังกฤษเป็นเส้นเมอริเดียนหลัก ซึ่งใครที่ต้องการศึกษาเรื่องของ AM PM คืออะไร ก็อาจจะคุ้นเคยกับเวลาในรูปแบบของเวลามาตรฐานกรีนิชกันแล้ว เพราะเป็นการนับเวลาที่ใช้กันทั่วไปนั่นเอง
2.TAI – International Atomic Time (เวลาอะตอมมิก) เป็นเวลาที่ใช้อ้างอิงกันระหว่างประเทศซึ่งถูกคำนวณที่สำนักงานชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ หรือ BIPM ซึ่งจะใช้ข้อมูลมาจากนาฬิกาซีเซียมกว่า 250 เครื่องซึ่งมีการติดตั้งเอาไว้ตามสถาบันมาตรวิทยาของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกว่า 50 ประเทศ รวมทั้งสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติของประเทศไทยเราด้วย
3.UT – Universal Time (เวลาสากลหรือเวลาสุริยะ) เป็นเวลาที่เกิดจากการคำนวณและอาศัยการนับเวลาจากการโคจรของโลก เพราะฉะนั้นนักวิชารจึงมีความเชื่อกันว่ามันมีความแม่นยำ ซึ่งมีการปนับปรุงและพัฒนาค่าข้อมูลเพื่อให้มีจำนวนการเบี่ยงเบนจากเวลาสากลหรือ Greenwich Mean Time (GMT) ให้น้อยมากที่สุดในระดับมิลลิวินาที ซึ่งก็ได้มีการพัฒนาออกมาเป็น UT0 (Universal Time Version 0), UT1 (Universal Time Version 1) และ UT2 (Universal Time Version 2) เป็นต้น
4.UTC – Universal Time Coordinated (เวลามาตรฐานโลก) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเวลาสากลเชิงพิกัด หรือ Z Time เป็นหน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 1963 โดยอ้างอิงการปรับฐานข้อมูลจากการนับเวลาในระบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากที่สุด
จากข้อมูลที่เราได้นำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกันในวันนี้เป็นเพียงหนึ่งในสาระความรู้ดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ AM PM คืออะไร หรือจะเป็นเรื่องของระบบการนับเวลาและเขตการอ้างอิงเวลาโลกในระบบต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราอย่างมาก แต่เชื่อเถอะว่ามีคนไม่น้อยรวมไปถึงตัวผู้เขียนเองก็ด้วยที่อาจจะไม่ค่อยได้ให้ความสนใจมันมากเท่าไหร่ แต่เมื่อวันนี้เราไดเรียนรู้กันไปแล้วแน่นอนว่าครั้งหน้าเราจะสามารถแยกหน่วยเวลาต่าง ๆ ได้แบบถูกต้องไม่มีสับสนแน่นอน