สวัสดีเพื่อนๆ ใครสาย D.I.Y หรือชอบประดิดประดอยมาทางนี้ค่ะ ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้นั้นถือเป็นไอเดียที่ดีเลยเพราะ ในปัจจุบันโลกของเรามีวัสดุเหลือใช้ที่ถูกทิ้งแล้วไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์อยู่มากมายมหาศาล จนทำมีการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้กับทุกคนทั่วโลก รู้จักนำนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทุกวันนี้ก็มีแคมเปญออกมามากมายเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือมาใช้มาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตรองเท้าจากขยะพลาสติก หรือ เสื้อจากขวดพลาสติก ในวันนี้เราก็จะมาแนะนำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ให้เพื่อนไปใช้หรือนำสอนลูกๆหลานๆ เล่นกันค่ะ
7 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ไอเดียสุดเจ๋ง สร้างสรรค์จินตนาการ
1. เครื่องเป่าฟองสบู่จากหลอด
แค่สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ชิ้นแรกเพื่อนๆ ก็ต้องร้อง Wow!! กันแล้วค่ะ โดยเครื่องเป่าฟองสบู่หรือการจำลองเครื่อง Bubble Gum ที่เด็กๆ ชื่นชอบกันนั้นเอง สามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินในการซื้อของเล่นชนิดนี้ อีกทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิและจิตนาการของเด็กๆ รวมไปถึงการมีส่วนรวมกันในครอบครัวได้อีกด้วย วิธีการประดิษฐ์เครื่องเป่าฟองสบู่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยมีอุปกรณ์เพียง หลอด กาว และน้ำสบู่ นำหลอดมาตัดออกเป็นท่อนเล็กๆ จากนั้นนำหลอดที่ตัดมาแปะติดกันเหมือนรังผึ้ง แล้วนำมาประกอบเป็นเหมือนกังหัน หรือจะเป็นรูปอื่นๆก็ได้ จากนั้นก็นำไปจุ่มในน้ำสบู่ที่เตรียมไว้ แล้วทำการเป่า เพียงเท่านี้เด็กๆ ก็จะได้เป่าฟองสบู่อย่างสนุกสนานแล้วค่ะ
2. จรวดแรงดัน Baking Soda
สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ชิ้นนี้คือน่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ เพราะมันสามารถพุ่งได้เหมือนจรวดจริงๆเลยก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นสื่อการเรียนการสอนในเรื่อง แรงดัน ได้อีกด้วย เช่นแรงดันที่ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด จรวดแรงดันชิ้นนี้มีอุปกรณ์ไม่เยอะสามารถหาได้ตามบ้าน อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร ฝาขวดน้ำ ฐานวางจรวด(เช่นกระดาษแข็ง) เทปกาว อุปกรณ์ตกแต่งจรวด น้ำส้มสายชู Baking Soda วิธีการทำคือ ติดขาตั้งที่ขวดพลาสติก ด้วยกระดาษแข็งที่ถูกออกแบบเป็นขาตั้ง 3 อัน ตกแต่งจรวดด้วยกระดาษสีหรือแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ ใช้กระดาษทิชชูบางๆห่อ Baking Soda แล้วเอาด้ายมัดไว้แล้วแปะกับฝาขวดน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใส่ Baking Soda ลงในน้ำส้มสายชูโดยตรง เพราะหากใส่ไปโดยตรงมันจะทำปฏิกิริยากันทันทีทำให้เราอาจจะไม่มีเวลาปิดฝาขวดน้ำหรือเกิดอันตรายได้จากนั้นเทน้ำส้มสายชูลงไปในขวด แล้วค่อยๆใส่ Baking Soda ที่เราห่อไว้ลงในขวดแล้วก็ปิดฝาขวดน้ำ เอาขวดไปตั้งในที่โล่ง แล้วก็รอให้สารเกิดปฏิกิริยา แล้วผลักขวดขึ้นเพื่อให้มันจรวดพุ่งขึ้น เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะได้จรวดแรงดันไปเล่นกันแล้วค่ะ ***ข้อควรระวังในการเล่นจรวดควรมีผู้ปกครองอยู่ด้วยหรือในการปล่อยจรวดควรให้ผู้ปกครองปล่อยเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายค่ะ
3. กล้องคาไลโดสโคป หรือกล้องสลับลาย
สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือชิ้นต่อไปที่จะแนะนำคือ กล้องสลับลายตัวนี้คือวิเศษมาก เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้เยอะมากๆ อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ไม่เยอะ ได้แก่ กระจกเงาขนาดเท่ากัน 3 แผ่น, กระดาษตัดแพทเทิร์น, แผ่นพลาสติกใส, ลูกปัดต่างๆ, อุปกรณ์ตัดแปะและสีอะคริลิก วิธีการทำคือ ตัดกระดาษตามแพทเทิร์นตัวกล้องและตกแต่งตัวกล้อง ตัดแพทเทิร์นส่วนของถาดและแผ่นรองบนแผ่นใส่ นำกระจกเงา 3 แผนมาวางเรียงห่างกันเล็กน้อยแล้วติดเทปกาวจากนั้นพับกระจกให้เข้าหากันเป็นทรงสามเหลี่ยม จากนั้นประกอบตัวกล้องกับกระจกเงา และใส่แผ่นรองพร้อมลูกปัดตามแพทเทิร์น โดยกล้องตัวนี้เมื่อส่องเข้าไปในตัวกล้องจะสามารถเห็นเป็นภาพที่มีลวดลายต่างๆ และจะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ตามเลนส์กล้องที่เราหมุน
4. รถของเล่น
บอกเลยสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ชิ้นนี้คือเป็นตำนานสุดๆ ยุคไหนๆก็ต้องเคยได้ลองประดิษฐ์รถของเล่นเป็นของตัวเอง ฝึกทั้งสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ และจิตนาการ สำหรับอุปกรณ์นั้นหาได้ง่ายๆ ตามบ้านของตัวเอง ได้แก่ ขวดพลาสติก กระดาษลัง ไม้ไอติม มอเตอร์จากของเล่นที่พังแล้ว ถ่ายไฟฉาย หลอด ไม้เสียบ สายไฟ สวิทช์ ปืนกาว กระป๋องน้ำ ล้อรถของเล่นพังแล้ว อื่นๆอีกมากมายที่อยากนำมาประดิษฐ์เป็นรถของเล่น ยกตัวอย่างรถที่ทำจากขวดพลาสติก ตัดขวดน้ำเพื่อให้ใส่ถ่านไฟฉายได้ จากนั้นติดตั้งสวิตซ์ควบคุม สายไฟ และมอเตอร์ให้เชื่อมกับถ่านไฟเพื่อจำลองระบบการเคลื่อนที่ วิธีที่เราให้ไปอาจจะไม่ละเอียดเท่าไหร่ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูวิธีที่ประดิษฐ์รถของเล่นได้ใน YouTube ได้ค่ะ
5. กังหันลม
กังลมคือของเล่นที่มากับทุกยุคจริงๆ ค่ะเพื่อนๆ ยิ่งงานวัดหรือตามเทศกาลประเพณีไทยคือของคู่กันเลย สำหรับอุปกรณ์ทำกังหันลมได้แก่ กระดาษสีที่ชอบ หลอด และเข็มหมุด วิธีทำนำกระดาษมาตัดจากมุมเข้าหากึ่งกลาง จากนั้นนำแต่ละมุมมาติดกาวตรงกลางหลอด นำเข็มหมุดมาปักตรงกลางหลวมๆ แค่นี้เพื่อนๆ ก็จะได้ กังหันลมไปเล่นกันแล้วค่ะ
6. โมบายไฟจากของเหลือใช้
สำหรับเพื่อนๆ สายรักของกระจุกกระจิกน่ารักๆ ขอแนะนำโมบายสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากของเหลือใช้เลยค่ะ อุปกรณ์ไม่เยอะ หาง่ายตามบ้านของเพื่อนๆ เช่น เชือก หลอดไฟ ด้ายหรือไหมพรม กาว ขวดน้ำ แก้วน้ำ วิธีการทำ นำขวดน้ำมาตัด/แก้วนำ จากนั้นนำไหมพรมหรือเชือกมาพันรอบๆขวดน้ำที่ตัดโดยใช้กาวติด/ตกแต่งได้ตามต้องการ จากนั้นน้ำหลอดไฟใส่ไปในขวดน้ำ แล้วใช้เชือกห้อยในลักษณะต่างๆ ที่เราต้องการ
7. โทรศัพท์แก้วกระดาษ
สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากของเหลือใช้ชิ้นนี้ก็ต้องบอกอีกว่าตำนานสุดๆ ละครหรือหนังในยุคก่อนๆ ก็มีการนำมาใช้ในฉากบางฉากด้วย โรแมนติกสุดๆ โดยโทรศัพท์แก้วกระดาษมีหลักการทางวิทยาศาสตร์คือ เมื่อเราพูดเข้าไปในกระบอกหรือแก้วกระดาษจะทำให้อากาศไปสั่นสะเทือนกระดาษที่ปิดอยู่แล้วเกิดการสั่นสะเทือนผ่านไปยังเชือกอีกปลายข้างหนึ่งสั่นตามความถี่ของคลื่นเสียง จึงทำให้คนที่อยู่ปลายเสียงได้ยินเสียงเรานั้นเอง มีอุปกรณ์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น ได้แก่ แก้วกระดาษ เชือก กรรไกร วิธีการทำเจาะรู้ตรงก้นกระดาษเป็นรูให้สามารนำเชือกเข้าไปได้ จากนั้นมัดปมเชือกด้านในแก้วทั้งสองฝั่งเพียงเท่านี้ก็จะได้โทรศัพท์ไว้คุยเล่นกันแล้วค่ะ
จบไปแล้วกับการแนะนำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากของเหลือใช้ เป็นยังไงกันบ้างเพื่อนๆ เราหวังว่าจะสามารถนำไปเป็นไอเดียให้กับเพื่อนๆ คุณหนูๆ เหล่าคุณพ่อแม่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และ สามารถนำไปใช้ตกแต่งหรือช่วยโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งนะคะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pinterest.com/pin/40391727881575224/
- https://www.pinterest.com/pin/11610911536964786/
- https://www.pinterest.com/pin/773915517233513441/