ขนมโบราณไทย เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่ยังคงความเอกลักษณ์ของความเป็นไทยผ่านทางรูปร่างหน้าตา และรสชาติที่คัดสรรวัตถุต่างๆมาจากผลหมากรากไม้ รวมทั้งเครื่องปรุงแบบไทยแท้ได้เป็นอย่างดี แถมขนมไทยบางอย่างยังเกิดจากการผสมผสานของหลายวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในไทยบ้านเรา จนถ่ายทอดออกมาเป็นเจ้าขนมไทยที่มีรูปร่างหน้าตาและรสชาติอันแสนหวานเฉพาะตัวได้อีกด้วยล่ะ ขนมไทยที่เพื่อนๆหลายคนมักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือ ขนมทองหยิบ ทองหยอด นั้นเองแต่หลายๆคนคงจะไม่รู้ประวัติความเป็นมาของเจ้าขนมสีเหลืองทองอร่ามกันใช่ไหมล่ะ หากใครอยากรู้ประวัติความเป็นมาที่แสนจะไม่ธรรมดาของเหล่าขนมไทย ที่นำมารีวิวและวิธีทำง่ายๆฉบับเบสิคเข้าใจง่ายก็ไปดูกันได้เลย
รีวิว ขนมโบราณไทย กับประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา และวิธีทำฉบับเบสิค เข้าใจได้ง่าย
ทองหยิบ ทองหยอด
ทองหยิบ ทองหยอด เป็นขนมโบราณไทยที่มีชื่อเสียงเรียงนามทั้งในเรื่องของรสชาติหวานหอม และรูปร่างหน้าตาเฉพาะตัวที่ใครๆก็ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่มีไม่กี่คนที่จะรู้ประวิติความเป็นมาของเจ้าขนมหวาน สีเหลืองทองอร่ามทั้งสองแบบ อันที่จริงแล้วขนมทองหยิบ ทองหยอดนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือ เจ้านางมารี นินยา เดอ กีย์มาร์ ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-โปรตุเกส โดยได้ทำงานเป็นผู้ปรุงอาหารหลวง จนได้ฉายาว่า ท้าวทองกีบม้า ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นสูตรขนมไทยที่ได้ทำขึ้นในวังและ สูตรอาหารไทยโบราณ ชาววังเป็นครั้งแรกอีกด้วย ในบรรดาขนมไทยที่ว่ามานี้ก็คือ ทองหยิบ ทองหยอดด้วย เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าทองต่างๆก็เพื่อเป็นสิริมงคล ขนมทองหยิบ ทองหยอดจึงมักมีการนำมาทำเฉลิมฉลองในงานมงคลต่างๆจนสืบทอดกันมาถึงปจจุบันนั้นเอง
วิธีทำทองหยิบทองหยอด
ส่วนผสมที่ใช้
- น้ำตาลทราย 1 กก.
- น้ำสะอาด ½ ลิตร
- ดอกมะลิ
- กระดังงา
- ไข่เป็ด 30 ฟอง หรือ เท่าปริมาณที่ต้องการแต่ให้ลดและเพิ่มวัตถุอื่นด้วย
How to วิธีทำทองหยิบ
- นำดอกมะลิและดอกกระดังงา มาลอยในน้ำสะอาด ½ ลิตรที่เตรียมไว้ หนึ่งคืน พอเช้าก็ให้นำดอกไม้ออก จากนั้นก็นำน้ำที่ได้ไปใส่หม้อตั้งไฟ เพื่อเตรียมน้ำเชื่อม
- การทำน้ำเชื่อม นำน้ำลอยดอกไม้ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ และเทน้ำตาลทราย 1 กก. ที่เตรียมเอาไว้ใส่ลงไป จากนั้นก็หมั่นคนอยู่เสมอจนกว่าน้ำตาลจะละลาย
- วิธีทำทองหยิบ ตอกไข่เป็ดที่เตรียมไว้แยกเอาเฉพาะไข่แดง ใส่ไว้บนผ้าขาวกรอง จากนั้นก็ทำการกรองเพื่อให้ได้ไข่แดงที่มีเนื้อละเอียดมากขึ้น เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วก็ใช้ตะกร้อตีไข่ให้เข้ากันโดนวนเข้าหาตัว จนกว่าเนื้อของไข่จะเหนียวและเข้ากันพอดี สังเกตได้จากฟองอากาศและเนื้อของไข่
- หากน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ได้ที่แล้ว ให้เบาไฟอ่อนลง หรือจะปิดก่อนก็ได้ จากนั้นก็ใช้ช้อนหยอดไข่ลงไปในหม้อน้ำเชื่อมลอยดอกไม้ ก็จะได้ลักษณะเป็นแผ่น แต่หากเนื้อไข่ไม่จับเป็นแผ่นก็สามารถแก้ได้ด้วยการ ใส่ไข่เป็นแดงลงไปอีกโดยที่ไม่ต้องตี เมื่อหยอดแล้วก็ให้กลับมาเปิดไฟอ่อนๆ จากนั้นก็กลับเนื้อไข่เมื่อสังเกตเห็นสีทองหยิบได้ที่สุกแล้ว ก็ให้แกว่งไปมาและตักขึ้น
- จากนั้นก็จับเนื้อไข่จีบใส่ถ้วยเล็กๆไว้เป็นรูปทองหยิบ ก็จะได้ทองหยิบขนมไทยโบราณ เมนูของหวานไทยง่ายๆแล้วล่ะ
How to วิธีทำทองหยอด
ส่วนผสมที่ใช้
- แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาล 1 กก.
- น้ำสะอาด 1 ½ ลิตร
- ไข่เป็ด 30 ฟอง หรือ ตามปริมาณที่ต้องการ
- ดอกมะลิ
- ดอกกระดังงา
- เทียนอบ
How to ทำทองหยอด
- วิธีแรกให้ทำน้ำลอยดอกไม้ ใช้วิธีเดียวกับการทำน้ำลอยดอกไม้ของทองหยิบได้เลยล่ะ
- ต่อมาร่อนแป้งข้าวเจ้าและนำไปตากแดด จากนั้นก็นำเทียนอบมาอบแป้งไว้
- วิธีการทำน้ำเชื่อมก็ทำตามวิธีเดิม โดยนำน้ำลอยดอกไม้ที่ได้มาตั้งไฟอ่อน และนำน้ำตาลทราย 1 กก. เทใส่ลงในน้ำและคนให้เข้ากันอยู่เสมอ
- จากนั้นก็นำไข่เป็ดมาตอก แยกไข่แดงออกจากไข่ขาว และใช้ผ้าขาวกรองแยกนื้อไข่แดงออกเช่นเดียวกับการทำทองหยิบ
- ใช้ตะกร้อตีไข่แดงที่ได้ให้เข้ากัน โดยเนื้อไข่จะต้องขึ้นฟูกว่าทองหยิบอีก เพื่อความหนืดเหมาะที่จะนำไปหยอด
- นำไข่บางส่วนค่อยๆมาผสมกับแป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นก็ค่อยๆคนให้เข้ากัน และนำน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้มาตั้งหม้อใช้ไฟอ่อน เมื่อน้ำเชื่อมตั้งไฟจนมีฟองแล้ว ก็ตั้งไข่ยกมือตั้งฉาก เตรียมหยอดใช้นิ้วโป้งกดแป้งเล็กน้อย ก็จะได้ทองหยอดที่มีหน้าตากลมๆ รสชาติหวานหอมกันแล้วล่ะ
ขนมพระพาย
ขนมพระพาย เป็นเมนูของหวานไทยง่ายๆที่แค่ฟังชื่อก็สัมผัสได้ถึงความปราณีตของการตั้งชื่อขนมไทยชิ้นนี้กันแล้ว ส่วนในเรื่องของหน้าตาและรสชาติ ก็มีความประณีตและคงความอร่อยหวานมันกลมกล่อมสไตล์ขนมไทยไว้ได้อย่างสวยงาม เมื่อพูดถึงเรื่องความเป็นมาของขนมพระพาย ก็ถือเป็นขนมอีกหนึ่งชนิดที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาที่ นางมารี กีมาร์ ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็น พระนางท้าวทองกีบม้า ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชาววิเสท คุมห้องเครื่องอยู่ในวัง และนางก็ยังคงมีส่วนช่วยในการถือกำเนิดของ เจ้าขนมพระพาย ที่เกิดขึ้นจากการที่ขุนพิทักษ์ราชกิจ ขุนทหารคู่ใจของ สมเด็จพระเพทราชา ที่ได้รับการอวยยศเป็นพระพิทักษ์ราชกิจ ได้จัดพิธีแต่งงานทำให้ เหล่าวิเสทในวังได้คิดค้นขนมพระพายขึ้น เพื่อใช้ในงานแต่งงานโดยเฉพาะ
โดยมีการใช้ข้าวเหนียวมาทำเพื่อสื่อถึงความรักที่จะผูกผันและรักกันแน่นเหนียวคู่กันไปอย่างยาวนานเลยล่ะ แถมเนื่องจากเป็นขนมในวังจึงมีการใช้สีสันจากใบเตย และแก่นฟางตกแต่งด้วย ที่สำคัญยังมีการสอดไส้ด้วยถั่วกวย และพระพร้าวเพื่อเพิ่มความหวาน เพื่อสื่อถึงความรักอันหอมหวานอย่างยาวนาน จึงกลายเป็นที่มาของเจ้าขนมพระพาย ของว่างไทยโบราณรสชาติอร่อยที่มีการสืบโทษกันอย่างยาวนาน ส่วนชื่อของขนมที่ชื่อว่า ขนมพระพายก็แปลว่าลม ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงพิธีแต่งงานของพระพิทักษ์ราชกิจ และยังเหมือนเป็นการสื่อความหมายถึงความสงบร่มเย็น และความรักการใช้ชีวิตคู่ที่สงบร่มเย็น มั่นคงด้วย ทำให้ขนมพระพายมักจะใช้ในงานมงคลนั้นเองล่ะ
วิธีทำขนมพระพาย
ส่วนผสมที่ใช้ทำแป้ง
- แป้งข้าวเจ้า 90 กรัม
- แป้งข้าวเหนียว 400 กรัม
- น้ำใบเตย,น้ำอัญชัน,น้ำกระเจี้ยบ 50 มิลลิลิตร
- กะทิ 250 มิลลิลิตร
ส่วนผสมที่ใช้ทำไส้ถั่ว
- ถั่วเขียวเราะเปลือก 200 กรัม
- กะทิ 250 มิลลิลิตร
- น้ำตาลทรายขาว 200 กรัม
- น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
ส่วนผสมทำหน้ากะทิ
- กะทิ 150 กรัม
- เกลือ 10 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 15 กรัม
How to วิธีทำขนมพระพาย
ทำแป้งตัวขนม และหน้ากะทิ
- วิธีแรกนำกะทิเพื่อเตรียมทำแป้ง แบ่งใส่ถ้วย หรือ ภาชนะเท่าๆกัน สามส่วนเพื่อจะนำไปผสมสีจากธรรมชาติแต่ล่ะสีจาก น้ำอัญชัน น้ำใบเตยและน้ำกระเจี๊ยบ พอแบ่งเสร็จแล้ว ก็นำสีทั้งสามมาผสมกับกะทิแยกกันแต่ล่ะสี
- ขั้นตอนการเตรียมแป้ง นำแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้าผสมและแบ่งออกเป็นสามส่วน และนำกะทิที่แบ่งเอาไว้ทั้งสามสี เทลงบนภาชนะแยกสีใส่แป้งที่เตรียมไว้ จากนั้นก็นวดให้เข้ากัน สักประมาณ 10-15 นาที ให้ตัวแป้งเข้าเป็นเนื้อเดียวกันและเหนียวกำลังดีไม่ติดจาน
- การทำหน้ากะทิ ให้นำแป้งข้าวเจ้า กะทิมาผสมกันและใส่เกลือเพิ่มความเค็มเล็กน้อย จากนั้นก็ตั้งหม้อไฟอ่อน คนกะทิเรื่อยๆจยกว่าจะเหนียวนิดหน่อยและเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นก็ปิดไฟและตั้งพักไว้ได้เลย
ทำไส้ถั่วขนมพระพาย
- นำถั่วเขียวเราะเปลือกที่เตรียมเอาไว้แช่น้ำเปล่าอุณหภูมิปกติไว้หนึ่งคืน หรือ จะแช่น้ำร้อนไว้ 3 ชั่วโมงก็ได้ จากนั้นก็นำมาล้างให้สะอาดและรอเตรียมนึ่ง
- วิธีนึ่งก็ให้ห่อผ้าสีขาว จากนั้นก็รอจนน้ำเดือดและนำไปนึ่งจนสุก
- จากนั้นก็ให้ทำถั่วมาปดให้ละเอียด
- ตั้งกระทะใช้ไฟอ่อนค่อนไปปานกลาง นำถั่วเขียวที่บดแล้วมาผสมกับกะทิ น้ำตาลทราย และนำไปคนในกระทะจนกว่าจะได้ที่ ก่อนที่จะปั้นเป็นก้อนๆเพื่อเตรียมจะใส่สอดไส้ไว้ในแป้ง
ทำขนมพระพาย
- นำตัวแป้งที่ทำเป็นสีๆมาปั้นเป็นกลมๆและกดให้เป็นแผ่นกลมๆเพื่อเตรียมสอดใส่ โดยให้ตรงกลางแป้งมีความหน้ากว่าบริเวณขอบ จากนั้นก็นำถั่วที่ปั้นเป็นกลมๆใส่ลงไปตรงกลาง และห่อแป้งปั่นให้กลมอีกรอบ
- จากนั้นก็ทำการนึ่งโดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เท่านั้นสามารถนึ่งบนลังได้ปกติใช้ไฟอ่อนค่อนไปกลางเล็กน้อย
- เมื่อนึ่งเรียบร้อยแล้วก็ให้จัดใส่จาก และหยอกกะทิราดหน้าลงไป เพียงเท่านี้ก็จะได้ขนมพระพายขนมน่าทานได้แล้วล่ะ
สำหรับอาหารว่างไทยประยุกต์ที่นำมาแนะนำกัน นอกจากประวิติความเป็นมาจะมีที่มาที่ไป มาจากในวังหลวงที่สืบต่อกันมาแต่ช้านานแล้ว ขนมยังมีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังสามารถทำไว้รับประทานต้อนรับแขกบ้านแขกเรือนเนื่องในโอกาสพิเศษ หรือจะทำไว้ทานเล่นๆก็สามารถทำได้เช่นกัน หากพูดถึงขนมทองหยิบ ทองหยอดก็อาจจะมีวางขายหาซื้อได้ง่าย แต่ถ้าพูดถึงขนมพระพาย ถือเป็นขนมไทยที่หาทานได้ยากได้ปัจจุบัน หากเพื่อนๆคนไหนอยากประเดิมีมือลองทำขนมไทยกันก็สามารถไปลองทำตามวิธีที่นำมาแนะนำกันได้เลยนะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม