ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงต่อกันอย่างมีระบบ สามารถเข้าใจได้ว่าใคร ทำอะไร แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ตามการสื่อสาร เช่น ประโยคบอกเล่า คือประโยคที่มีใจความเพื่อบอกให้ทราบ ว่าใครทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร เป็นการแจ้งเรื่องราวให้ทราบ หรือบอกเรื่องราวต่าง ๆ
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ลักษณะของรูปประโยตค เพื่อใช้ในการสื่อสาร
ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีความเกี่ยวข้องกันถูกต้องตามระเบียบของภาษาและมีเนื้อความบริบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง และองค์ประกอบของประโยค คำที่นำมาเรียงกันจะเป็นประโยคได้ก็ต่อเมื่อมีภาคประธานและภาคแสดง นอกจากนี้ประโยคยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งการสื่อสารของมนุษย์ทุกครั้งเป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดที่กว้างขวาง ประเภทของสารแบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ประเภท ดังนี้
ข้อเท็จจริง
คือ สารที่มีอยู่จริงในโลกมนุษย์และสามารถตรวจสอบได้ หากตรวจสอบแล้วเป็นจริง ข้อเท็จจริงนั้นก็เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง หากตรวจสอบแล้วไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงนั้นก็เป็นเท็จ
ข้อคิดเห็น
คือ สารที่เกิดขึ้นในใจของผู้ส่งสาร อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อหรือแนวคิดที่ผู้ส่งสารมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ข้อคิดเห็นเป็นสิ่งที่ตรวจสอความจริงไม่ได้ เป็นแต่เพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า ข้อคิดเห็นนั้นน่ายอมรับหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่ อย่างไร
6 ประเภทของรูปประโยคในภาษาไทย
- ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่มีเนื้อหารายละเอียดเพียงเพื่อให้คนฟังรับทราบ รับรู้เพียงเท่านั้น ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เช่น
- วันนี้แม่พาเราไปกินสุกี้ MK
- ฉันชอบอ่านบทความของเว็บเด็กทีนมาก
- ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่บอกถึงการไม่ยอมรับ ข้อเสนอ หรือข้อตกลงต่างๆ ซึ่งมักจะมีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้ ประกอบอยู่ในประโยคด้วย เช่น
- แม่ยังไม่ได้กลับบ้านเลย
- ฉันไม่ต้องการทำการบ้านตอนนี้
- ฉันไม่รักเธอ
- ทศพร ไม่ชอบผู้ชายเจ้าชู้
- ทศพล ไม่ใช่พี่ของทศพร
- ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่ต้องการ คำตอบในสิ่งที่ถามมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นคำอื่นแทนที่ใช้คำถาม (คำถามปลายเปิด ตอบแบบไหนก็ได้) มักจะมีคำว่า ใคร อะไร เหตุใด เช่น
- อะไรอยู่ในกล่องใบนี้ ? (คำตอบจะเป็นอะไรก็ได้)
- ใครตด? (อาจจะเป็นใครก็ได้)
- เหตุใดถึงมาโรงเรียนสาย (เหตุผลเป็นร้อยเป็นพันเก้าที่จะตอบ)
และประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ หรือ ปฏิเสธ ซึ่งจะมีคำว่า ไหม หรือ หรือไม่ อยู่ในประโยคคำถาม เช่น
- เธอจะไปดูหนังกับฉันไหม ? (คำตอบคือ ไป กับ ไม่ไป ซึ่งถ้าไม่ไปก็จะได้ใช้ประโยคปฏิเสธในข้อ 2 มาเกี่ยวด้วย)
- เธอชอบดูดารารึเปล่า ? (คำตอบคือ ชอบ กับ ไม่ชอบ)
- ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่บอกให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตาม ให้ทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยคคำสั่งให้ทำ มักนิยมใช้ คำกริยา ขึ้นต้นประโยค หรือ ใช้คำว่า “จง” ขึ้นต้น และในประโยคมักจะมีคำว่า ซิ นะ หน่อย อยู่ในประโยคด้วยเช่นกัน และประโยคห้าม หรือ สั่งไม่ให้ทำ มักละประธานไว้ และ ใช้คำว่า อย่า ห้าม เช่น
- เธอ จง ทำงานที่ครูสั่งให้เสร็จ นะ
- เดิน ให้มันดีๆ หน่อย
- ห้ามออกนอกบ้านเวลากลางคืน
- อย่าส่งเสียงดัง
- ประโยคแสดงความต้องการ คือ ประโยคที่บอกถึงความต้องการ ความยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น หรือ ต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเราจะพบคำว่า ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยคด้วย เช่น
- เขาต้องการที่จะเป็นที่มีชื่อเสียง *สังเกตจะมีความต้องการอยู่ในประโยค
- โตขึ้นมาหนูอยากเป็นคุณหมอ
- ผมอยากมีรถสักคันเอาไว้ขับไปเที่ยว
- ฉันมีความปรารถนาที่สอบได้ที่ 1
- ประโยคขอร้อง คือ ประโยที่ขอให้ผู้ฟังทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ ซึ่งผู้ฟังจะทำหรือไม่ทำก็ได้ จะแตกต่างจากประโยคคำสั่ง ซึ่งประโยคขอร้อง จะร่วมไปถึงประโยคชักชวน และ ประโยคอนุญาต ซึ่งจะมีคำว่า กรุณา โปรด วาน ขอ ช่วย อยู่หน้าประโยค และจะมีคำว่า ซิ หน่อย นะ น่า อยู่หลังประโยค เช่น
- ช่วยหยิบดินสอให้หน่อย
- กรุณาเขาแถว
- เธอช่วยฉันทำการบ้านหน่อยนะ
รวม 10 ตัวอย่างประโยคบอกเล่า ให้เข้าใจง่ายขึ้น
- ลูกแกะกลัวหมาป่า
- ลูกแกะเถียงหมาป่า
- หมาป่าตะครุบลูกแกะ
- ลูกแกะเดินท่องน้ำมาแต่ไกล
- หมาป่ากำลังกินน้ำที่เต็มลำธาร
- น้ำเต็มลำธารไหลไปยังปลายลำธาร
- เจ้ากระต่ายตัวน้อย กำลังวิ่งเล่นอยู่กับผีเสื้อในป่า
- ธิดาปั่นจักรยานมาโรงเรียนในทุก ๆ เช้า
- มาวินเป็นเด็กนักเรียนชั้นป.5 ของโรงเรียนรุ่งเจริญพัฒนา
- มานพชอบเล่นกีฬาฟุตบอลมาก และเข้ามาจะมาเล่นที่สนามหมู่บ้านทุกวันหลังเลิกเรียน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม