วรรณคดีไทย มีรากฐานมาจากวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเขียนดี และเป็นเนื้อหาที่มีคุณค่า ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ ซาบซึ้ง ในการอ่าน โดยมีแบบแผนของการเขียนที่ใช้ภาษาอันไพเราะ สามารถที่จะยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นได้จากการได้อ่านวรรกรรมเหล่านั้น และรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ ซึ่งแน่นอนว่าเราทุกคนล้วนแต่ได้ศึกษาเล่าเรียนกันมาเป็นเวลานานพอสมควร เพราะถือว่าเป็นหนึ่งสาระการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า จากบรรดานักวีที่มากความสามารถของไทย หลายต่อหลายท่าน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีวรรณคดี และวรรณกรรมมากมายหลายเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเป็นเรื่องที่มีตัวละครโดดเด่น เป็นที่น่าจดจำอีกด้วย และในวันนี้เราจะมากล่าวถึงลักษณะของตัวละครในวรรณคดี ที่หลาย ๆ คนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ก็อาจจะไม่ไม่รู้ว่ามาจะวรรณกรรมเรื่องอะไร และแท้จริงแล้วมีภูมิหลังอย่างไร
แต่ก่อนที่เราจะไปเริ่มรู้จักกับตัวละครในวรรณคดีไทย ที่ทรงคุณค่า น้อง ๆ รู้กันหรือไม่ว่า ยุคทองของวรรณคดีไทยคือช่วงใด เพราะก่อนที่วรรณกรรมจะได้รับการยกย่องมาจนถึงในปัจจุบันนี้ มาจากนักกวีชื่อดังหลายท่านในสมัยโบราณ ตอนนี้เราลองมาดูกันว่า ยุคทองของวรรณคดีมามาตั้งแต่สมัยใดกันแน่
ยุคทองของวรรณคดีไทย
รู้กันหรือไม่ว่ายุคทองของวรรณคดีไทยได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไร ? สำหรับวรรณคดีที่คนไทยต่างรู้จักตัวละครมากมาย และเรื่องราวที่น่าประทับใจกันดีมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กนักเรียน ล้วนแต่เป็นเรื่องที่มีคุณค่าทั้งทางปัญญา และทางจิตใจของผู้อ่านทั้งนั้น แต่หากถามว่าเป็นผลงานของใครนั้น ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจไม่ใช่ทุกคนที่ตอบได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ที่เป็นกษัตริย์นักประพันธ์ไทย ที่มีพระปรีชาสามารถอย่างล้นเหลือ เป็นผู้ที่ทำให้ช่วงเวลาในยุคนั้น กลายเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายกันเลยทีเดียว
เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น มีนักกวีศิลป์เกิดขึ้นมากมาย และรู้หรือไม่ว่ามีใครบ้างที่กวีก็เป็นคนโปรด เพราะอย่างที่เราได้บอกไปแล้วข้างต้นว่า นักกวีไทยเก่ง ๆ มีอยู่มากในสมัยนี้ และกวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์แล้วยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, สุนทรภู่, พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) อีกด้วย ซึ่งก็ยังไม่หมดเพียงเท่านี้เพราะบรรดานักกวีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก แต่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ ฯลฯ นอกจากนี้ในด้านดนตรี ก็ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำอีกด้วย ซึ่งเครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานมากที่สุดก็คือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า “ซอสายฟ้าฟาด” และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า” แต่ต่อมามักจะเรียกว่า “เพลงทรงพระสุบิน” เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้นั่นเอง ต้องยอมรับเลยว่ายุคนี้เป็นยุคที่วรรณกรรมไทยและวรรณคดีได้รับการพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลมาถึงในยุคปัจจุบันนี้
มาทำความรู้จักกับตัวละครเด่น ๆ ในวรรณคดีไทยสุนทรภู่ กวีเอกในยุคทอง
วรรณกรรมเด่นของไทยที่ได้รับความสนใจมาทุกยุคทุกสมัย นั่นก็คือพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมแห่งประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี เป็นผลงานที่สะท้อนแนวความคิดของ สุนทรภู่ ออกมามากที่สุด โดยโครงเรื่องมีความเป็นสากลมากยิ่งกว่าวรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ ตัวละครมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังแสดงถึงความละเอียดในการใช้ถ้อยคำ และการเป็นคนใฝ่รู้ของ สุนทรภู่ อีกด้วย มาดูกันว่าตัวละครในเรื่องนี้มีใครกันบ้างที่น่าจดจำ
- พระอภัยมณี
เป็นโอรสของท้าวสุทัศน์กษัตริย์แห่งกรุงรัตนา กับนางปทุมเกสร มีน้องชายชื่อศรีสุวรรณ พระอภัยมณีไปเรียนวิชาเป่าปี่จนเชี่ยวชาญสามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียงปี่เคลิ้มหลับได้ แต่ท้าวสุทัศน์ไม่พอใจถึงขับไล่ออกจากเมืองไปพร้อมกับศรีสุวรรณ พระอภัยมณีมีนิสัย เจ้าชู้ จึงมีภรรยาหลายคน ทั้ง นางผีเสื้อสมุทรมีลูกชายชื่อ สินสมุทร
นางเงือกมีลูกชายชื่อ สุดสาคร นางวาลีอยู่ด้วยกันไม่นานนางก็ตาย นางสุวรรณมาลีมีธิดาฝาแฝด คือ สร้อยสุวรรณ จันทร์สุดา และนางละเวงวัณฬามีลูกชายชื่อ มังคลา
- นางสุวรรณมาลี
เป็นธิดาของท้าวสิลราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรูปโฉมงดงามมาก แต่มีนิสัยขี้หึง ได้หมั้นหมายไว้กับอุศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยวทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพระอภัยมณีที่เกาะแก้วพิสดาร
- นางผีเสื้อสมุทรเป็นยักษ์
อาศัยอยู่ในถ้ำซึ่งอยู่กลางทะเล สามารถแปลงร่างเป็นหญิงสาวสวยได้ ชาติก่อนได้พรจากพระอิศวรให้ถอดดวงใจใส่ไว้ในก้อนหินได้ นางจึงกำเริบใจไปต่อสู้กับพระเพลิงจึงถูกไฟกรดเผาจนร่างมอดไหม้ นางก็กลายเป็นปีศาจสิงอยู่ในก้อนหินที่ฝากดวงใจไว้
- นางเงือก มีร่างครึ่งคนครึ่งปลา
คือ กายท่อนบนเป็นหญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปมีหางเป็นปลา อาศัยอยู่ในทะเล นางเงือกกับพ่อแม่ของนางได้ช่วยพาพระอภัยมณีกับสินสมุทรหนีนางผีเสื้อสมุทรไปที่เกาะแก้วพิสดาร แต่พ่อแม่ของนางหนีไม่ทันจึงโดนนางผีเสื้อสมุทรจับกิน แล้วนางเงือกก็ตกเป็นภรรยาของพระอภัยมณี
- สุดสาครเป็นบุตรของพระอภัยมณีกับนางเงือก
ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โยคีนำมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เพิ่งคลอดและสั่งสอนวิชาต่างๆให้แตกฉาน เมื่ออายุได้ ๓ ขวบก็จับม้านิลมังกรมาได้ โยคีแนะนำให้สุดสาครตามหาพ่อโดยให้ไม้เท้าวิเศษไว้ป้องกันตัวและบวชเป็นโยคีให้ ระหว่างเดินทางถูกชีเปลือยแก่หลอกไปผลักตกเหว แล้วยึดไม้เท้ากับม้านิลมังกรไปแต่ไม่นานม้าก็หนีกลับมาหา โยคีตามไปช่วยสุดสาครขึ้นจากเหวได้สุดสาครจึงเลี้ยงไว้เป็นลูกบุญธรรม
รวม 6 ตัวละครเด่น ๆ ในวรรณคดีไทยพื้นบ้าน 3 เรื่อง
จากวรรณคดีเรื่อง แก้วหน้าม้า
- นางแก้ว เป็นชาวบ้านเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเช่นนี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมารดาได้ฝันว่าเทวดานำแก้วมาให้ พอให้กำเนิดบุตรสาวเลยตั้งชื่อว่า “แก้ว” แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนม้า ชาวบ้านเรียกว่า นางแก้วหน้าม้า
จากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน
- ขุนช้าง ลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง เกิดมาก็หัวล้าน รูปร่างน่าเกลียด ยิ่งเติบใหญ่ หัวก็ยิ่งล้านกว่านกตะกรุม คางและอกมีขนขึ้นรุงรังดูน่าเกลียดน่ากลัวจนเด็กเล็กต่างร้องไห้ตกใจกลัว นอกจากนี้รับราชการกรมตำรวจภูบาล กรมเดียวกับขุนแผน และยังลวงนางพิมพิลาไลยมาเป็นเมียอีกด้วย
- นางวันทองเดิมชื่อ “พิมพิลาไล” เป็นบุตรของพันศรโยธาและนางศรีประจัน นางเป็นหญิงที่มีรูปร่างหน้าตาดี ปากร้าย เป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา มีความซื่อ เชื่อคนง่าย เมื่อนางได้แต่งงานกับพลายแก้วแล้วพลายแก้วจึงไปรบเป็นเวลานาน ทุกคนจึงนึกว่าพลายแก้วนั้นตายแล้ว และนางป่วยอย่างหนัก นางจึงเปลี่ยนชื่อเป็น นางวันทอง
จากวรรณคดีเรื่อง พระสุธณ-มโนราห์
- พระสุธณ ราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งชื่อว่า “ปัญจาลนคร” ปกครองโดยกษัตริย์ผู้ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมทรงพระนาม ว่า “อาทิตยวงศ์” พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า “จันทาเทวี” ซึ่งต่อมาได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า “พระสุธน”
- นางมโนราห์ เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้
- พรานบุญ ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมืองปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม