ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์นั้น ขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ การทบทวนวรรณกรรม เพื่อให้ทราบว่าเรื่องที่กําลังจะดำเนินการนั้น มีงานวิจัยเรื่องใดที่เกี่ยวข้องบ้าง เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเปรียบเทียบกับงานที่กําลังจะดำเนินการ ซึ่งในการนําข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาอ้างอิงในงานวิจัยของเรานั้นจะต้องมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ รวมทั้งให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานด้วย
ความสำคัญของการเขียนบรรณานุกรม
การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งนําเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงาน เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้ และยังเป็นการให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง รวมถึงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน
การเขียนบรรณานุกรม เป็นรูปแบบการรวบรวมสารสนเทศ จากการสืบค้นข้อมมูลต่าง ๆ ทั้ง หนังสือ วารสาร เว็บไซต์ รวมถึงข้อมูลจากสังคมออนไลน์ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือที่เราเห็นกันมากก็คือวิทยานิพนธ์ โดยจะปรากฎอยู่ท้ายบท หรือท้ายเล่มของเอกสารที่เราได้เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เราสืบค้นให้ผู้อ่านได้รับทราบ
สำหรับรูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม มี 2 ส่วนคือส่วนเนื้อหาและท้ายเล่มนั่นเอง
- ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
- ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของ แหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนวแล้วนํามาเรียบเรียงใหม่
3 ลักษณะของการเขียนอ้างอิงให้มีความน่าเชื่อถือ
- การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote) เป็นการอ้างอิงที่แยกการอ้างอิงออกจากเนื้อหาโดยเด็ดขาด โดยให้อยู่ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษแต่ละหน้า
- การอ้างอิงท้ายบท เป็นการอ้างอิงที่สะดวก เนื่องจากไม่ต้องพะวงการกะระยะเนื้อที่แต่ละหน้าของบทนิพนธ์เพื่อเผื่อเขียนอ้างอิงเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะการอ้างอิงทั้งหมดจะไปรวมอยู่หน้าสุดท้ายของแต่ละบท
- การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา เป็นการอ้างอิงที่อยู่รวมกันกับเนื้อหา ไม่แยกกันคนละส่วนเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถหรือแบบการอ้างอิงท้ายบท ทำให้รูปแบบการอ้างอิงกะทัดรัด และยืดหยุ่นกว่า เพราะสามารถเขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาได้ หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้
วิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาของรายงานและตัวอย่าง มีดังนี้
- การอ้างอิงโดยคัดลอกข้อความไม่เกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์วิธีอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลังข้อความที่ผู้เขียนคัดลอกจากข้อเขียนหรือคำพูดของผู้อื่นโดยข้อความ ที่คัดลอกมานั้นอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ
ตัวอย่างเช่น
ปัจจุบันการกระจายอำนาจ เป็นเรื่องที่กล่าวขวัญกันมาก ด้วยความหวังว่าหากมีการกระจายอำนาจแล้ว สังคมจะดีขึ้น จะแข่งแกร่งขึ้น เพราะโอกาสที่คนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและจัดการกับท้องถิ่นของตนมีอยู่สูง “การที่พูดเรื่องการกระจายอำนาจแล้วฝันไปว่าทุกอย่างจะดีขึ้น คงไม่จริง ต้องสร้างกลไกตรวจสอบในส่วนกลาง ตรวจสอบเป็นทางการ ไปตรวจสอบว่าโกงกินหรือไม่” (ชูชัย ศุภวงศ์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. 2540 : 20)
- การอ้างอิงโดยคัดลอกข้อความเกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยย่อหน้าเข้ามาอีก 3 ระยะตัวพิมพ์จากย่อหน้าธรรมดาทุกบรรทัด คือเริ่มพิมพ์ช่วงอักษรตัว ที่ 12 หากข้อความที่คัดลอกมามีย่อหน้าด้วย ให้พิมพ์ย่อหน้าเข้ามาอีก 2 ระยะตัวพิมพ์ข้อความที่คัดลอกมาพิมพ์แบบนี้ ไม่ต้องมีเครื่องหมายอัญประกาศก ากับ พอจบข้อความที่คัดลอกแล้ว ตามด้วยการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
ตัวอย่างเช่น
การที่หญิงด้อยกว่าชาย ไม่เท่าเทียมชายเช่นทุกวันนี้สาเหตุสำคัญเกิดจากชายนั้นเองต้องการอำนาจ……………….เพื่อว่าบุตรจะได้มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากบิดา ท่านเมธีผู้บรรยายเรื่องนี้ได้ชี้ไว้ว่าการเลิกล้าง ‘สิทธิทางมารดา’ และได้มีการก่อตั้ง ‘สิทธิทางบิดา’ ขึ้นมาแทนที่นี้ นับเป็นการปราชัยอย่างย่อยยับของสตรีเพศต่อบุรุษเพศ (กุหลาบสายประดิษฐ์. 2523: 95)
- การอ้างอิงโดยมิได้คัดลอก หากจับความมาเรียบเรียงใหม่ มีทั้งแบบการอ้างอิงหลังข้อความที่เรียบเรียงมา การอ้างอิงก่อนข้อความที่คัดลอกมา การอ้างอิงเมื่อมีการตัดข้อความที่คัดลอกออกมาบางส่วน การอ้างอิงเมื่อกล่าวถึงผู้แต่งชาวต่างประเทศไว้ในข้อความ
ตัวอย่างเช่น
แสวง รัตนมงคลมาศ และคณะ (2508 : 1-3) ทำการศึกษาเรื่องการสรรหา การคงอยู่ และการลาออกจากอาชีพข้าราชการ อาจารย์มหาวิทยาลัย : บทวิเคราะห์เชิงทัศนะ โดยท าการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 947 คน จากมหาวิทยาลัยของรัฐ 14 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของประเด็นเรื่องการสรรหา 108 คน การคงอยู่ 754 คน และการลาออก85 คน ผลการศึกษาพบว่า…………………………………………………..
แหล่งที่มาของบรรณานุกรม หาได้จากที่ไหน
- คุณสามารถที่จะเขียนแหล่งที่มาของบรรณานุกรม หนังสือดูข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังหน้าปกใน
- สำหรับวารสารดูข้อมูลจากหน้าปก ส่วนใหญ่แล้วจะลงข้อมูลไว้บนปกเลย
- หนังสือพิมพ์ดูข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ หรือในคอลัมน์ข่าวนั้น ๆ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ดูข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจ จะมีการแจ้งทั้งชื่อเพจ และชื่อผู้เขียน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม