ยันต์แปดทิศ เป็นเครื่องรางที่นำไปสร้างในหลากหลายรูปแบบทั้ง รอยสัก ผ้ายันต์ แผ่นยันต์ เหรียญต่าง ๆ เชื่อว่ามีพุทธคุณสูงในเรื่องของการช่วยป้องกันภัย แคล้วคลาดจากภัยร้าย โชคลาภ มหาอำนาจ ให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี หากใครอยากใช้ไปเสริมความเป็นสิริมงคล การสักลายนี้จะช่วยให้เกิดคุณแก่ตัวผู้นั้น
ยันต์แปดทิศ “พระคัมภีร์พระเวทฯ” เรียก ยันต์แปดทิศ ว่า “ยันต์พระอิติปิโส เกราะเพ็ชร”
ยันต์แปดทิศ หรืออีกชื่อตามพระคัมภีร์พระเวทฯ ฉบับจัตตุถบรรพ พระตำรามหาพิชัยสงคราม เรียกยันต์นี้ว่า “ยันต์พระอิติปิโส เกราะเพ็ชร” เป็นตาราของ อ.เทพย์ ท่านเป็นผู้ที่เกิดในตระกูลโหรจึงมีทั้งความรู้และมีความเข้าใจและผูกพันกับวิชาไสยศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก โดยบิดาของท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า พันเอกหลวงธรณีนิติญาณ ไม่เพียงเท่านี้ท่านได้ไปเล่าเรียนวิชาจากหลายเกจิเป็นร้อย ๆ ท่าน จึงทำให้มีความแตกต่างยอย่างมากในเรื่องของไสยศาสตร์ อย่างในเรื่องของการีนำวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เชื่อว่าหากไม่สามารถใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ได้จะถือเป็นการหลอกลวง
แน่นอนว่า ยันต์แปดทิศ หรือ “ยันต์พระอิติปิโส เกราะเพ็ชร” นของท่านอาจารย์เทพย์ทรงคุณค่าและล้ำเลิศที่สุด สำหรับลูกศิษย์ลูกหาแล้วคือมหาวิเศษ สารพัดรูปแบบที่จะนำไปใช้ ทั้งในรูปแบบผ้ายันต์หรือตระกรุดก็ สำหรับรายละเอียดในการลงยันต์พระไตรสณาคมไว้รอบใน รอบนอกให้เป็นการลงพระคาถาอิติปิโส เมื่อลงอาคมเสกตัวเองจะมีพุทธคุณเสริมหลายประการ โดยมีบทสวดอาราธนาศีล 5 “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง”
มุมทั้ง 4 ลง คาถาหัวใจพระไตรปิฎก “มะ อะ อุ” มีรูปวงกลมแทน “พระอาทิตย์” โดยมีคาถาบริกรรมเรียกสูตรว่า “สุ ริ ยา เส วะ รา ชิ โน โร โห ติ สัม พะ โว จงมาบังเกิดเป็นพระอาทิตย์ “รวมทั้งมีรูป “พระจันทร์ครึ่งซีก” โดยมีคาถาบริกรรมเรียกสูตรว่า “อัฐิ จัน ทัง กา โร โห ติ สัม พะ โว จงมาบังเกิดเป็นพระจันทร์”
ด้วยความที่รอยสัก ยันต์แปดทิศ เป็นหัวใจพระไตรปิฎกหรือยันต์หัวใจตรีเพชจึงเต็มไปด้วยความหมายที่มงคลและมักมีบทสวดที่ว่า “มะ อะ อุ” มาในลักษณะของตัวอักขระขอมอยู่ในพระเครื่องเสมอ ๆ และบ่อยครั้งจะพบว่า นะ ร่วมอยู่ในกลุ่มด้วย เป็น “นะ มะ อะ อุ” โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
มะ เป็นตัวแทน พระพุทธ มาจาก มนุสสานํ พุธ์โธ ภควาติ
อะ เป็นตัวแทน พระธรรม มาจาก อกาลิโก เอหิปัส์สิโก โอปะนะยิโก
อุ เป็นตัวแทน พระสงฆ์ มาจาก อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ
สำหรับ คาถาบูชา ยันต์แปดทิศ หรือ “อิติปิโส 8 ทิศ” นิยมใช้ในตอนที่ต้องเดินทางเข้าป่า เพื่อเป็นการป้องกันภัยอันตราย 108 เวลาเดินทาง จะใช้ในการเสกก้อนดิน 8 ก้อน วางไว้ 8 ทิศ จะทำให้ศัตรูทั้งหลาย ผีป่า สัตว์ร้ายใด ๆ ไม่กล้าทำอันตรายใด ๆ ศักดิ์สิทธิ์มากทีเดียว โดยพระเกจิอาจารย์ท่านพรรณนาออกมาในรูปแบบคาถา ให้ได้สัมผัสถึงความมหัศจรรย์ของคาถา อิติปิโส 8 ทิศ พร้อมทั้งพุทธคุณไว้ป้องกันภยันตราย ดังนี้
บท 1 “อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา” เรียกว่า กระทู้ 7 แบก คุ้มทิศบูรพา เสกเป่าแก้พิษสัตว์ กัด ต่อยๆ ได้ฉมังนัก
บท 2 “หัง จะ โต โร ถิ นัง ติ” เรียกว่า ฝนแสนห่า คุ้มทิศอาคเนย์เสกทำน้ำมนต์ รดคนเจ็บไข้ได้ป่วย ผีเจ้าเจ้าทรงดีนัก
บท 3 “ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุธ” เรียกว่า นารายณ์เกลื่อนสมุทร คุ้มครองทิศทักษิณ เสกภาวนากันภูติฝีปีศาจ เป่าพิษบาดแผลดีนัก
บท 4 “โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ” เรียกว่า นารายณ์คลายจักร คุ้มทิศหรดี เสกพรมร่างคนไข้ ไล่ภูตผีปีศาจร้าย ดีนัก
บท 5 “ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ” เรียกว่า นารายณ์ขว้างจักร ไตรตรึงภพ คุ้มทิศประจิม
บท 6 “คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ” เรียกว่า นารายณ์พลิกแผ่นดิน คุ้มครองทิศพายัพ เสกน้ำมนต์ป้องกันผีเจ้าเข้าทรง หรือถูกคุณกระทำชะงัดนักแล
บท 7 “วา โธ โน อะ มะ มะ วา” เรียกว่า ตลาดป่าหิมพานต์ คุ้มทิศอุดร เสกด้วย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผีบ้าน ผีป่าเวลาเดินทางดีนัก
บท 8 “อะ วิช สุ นุต สา นุ ติ” เรียกว่า นารายณ์แปลงรูป คุ้มทิศอิสาน เสกเป่าตัวเอง ป้องกันตัวเองเวลาเดินทางออกจากบ้าน แคล้วคลาด
อิติปิโสแปดทิศ หรือ ยันต์แปดทิศ บทสวดคุ้มภัยอันตรายรอบทิศ
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา – คาถากระทู้ 7 แบก
ติ หัง จะ โต โล ภิ นัง – คาถาฝนแสนห่า
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท – คาถานารายณ์เกลื่อนสมุทร
โส มา นะ กะ ริ ถา โธ – คาถานารายณ์ถอดจักร
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ – คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ
คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ – คาถานารายณ์พลิกแผ่นดิน
วา โธ โน อะ มะ มะ วา – คาถาตวาดป่าหิมพานต์
อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ – คาถานารายณ์แปลงรูป
อิทธิฤทธิ์ของ ยันต์แปดทิศ เด่นในเรื่องของการปกป้องคุ้มภัยร้ายต่าง ๆ นิยมใช้ในตอนเดินป่า สามารถป้องกันผู้ที่สักได้จากสัตว์ คน ผี ปีศาจและภัยที่มองไม่เห็นได้ดี ในเรื่องของเมตตามหานิยมก็สามารถให้พุทธคุณได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้นั้นจะต้องปฏิบัติเป็นคนดี ถือศีล
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม