สวัสดีเพื่อนๆ ในยุคปัจจุบัน หรือยุคดิจิตอลที่กำลังเติบโตเช่นนี้ เรื่องอาชยากรรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะเหล่าเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์ iPad หรือเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของทุกคนบนโลก และเทคโนโลยีเหล่านี้ก็กำลังพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการพัฒนาระบบเครือข่าย หรือสัญญาณต่างๆ ของเครื่องมือสื่อสารเหล่ามีทั้งด้านดีและไม่ดี ที่มาจากตัวเครื่องมือเอง และจากการฝีมือชาญฉลาดของมนุษย์เอง
ปัจจุบันนี้มนุษย์ได้พัฒนาความฉลาดของตัวเองไปในด้านที่ไม่ดีก็เยอะมากมายจนก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม และที่ชัดที่สุดคือการก่อปัญหาด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหาที่นับวันจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าทางองค์กรป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตจะป้องกัน หรือปราบปรามแก้ไขอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ วันนี้เราเลยจะพาเพื่อนๆ มารู้จักอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และวิธีป้องกกันการเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์กัน เพื่อให้รู้เท่าทันการหลอกลวงทางคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ยิ่งใหญ่ของประเทศเพราะสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เสียหายเป็นอย่างมาก จัดว่าเป็นอาชญากรรมทางธุรกิจเลยก็ว่าได้ ก่อนอื่นเราก็ต้องอธิบายก่อนว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรไซเบอร์ โดยการทำผิดกฎหมายโดยใช้เครื่องมือสื่อสารในการทำลายข้อมูลต่างๆที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เช่น การขโมยข้อมูลต่างๆของลูกค้า การ Hacker ข้อมูลของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง การทำลาย การปล่อยไวรัสเพื่อทำลายระบบของบริษัท การคัดลอกการเขียนโค้ดของบริษัทต่างๆ การหลอกลวงการโอนเงินหรือลงทุน การโจมตีทางด้านการส่งข้อความ หรือการแสดงความคิดเห็นในเชิงลบทำให้ผู้อื่นเสียหาย ซึ่งในกรณีบอกได้เลยว่าเกิดขึ้นทุกวันและทั่วโลกส่งผลให้ใครหลายคนได้รับผลรับผลกระทบจากการกระทำของคนเหล่านี้
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทั่วโลกแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่
- การขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- อาชญากรการนำเอาระบบสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
- การละเมิดลิขสิทธ์
- การใช้คอมพิวเตอร์เผยแพร่ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ลกมกอนาจาร
- การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟอกเงิน
- ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ที่เข้าไปในระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์เพื่อก่อกวน หรือเพื่อทำลายระบบเครือข่ายของสาธารณูปโภค เช่น การจ่ายน้ำ จ่ายไฟ การจราจร
- หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม เช่นการชักชวนให้เริ่มลงทุนแต่ไม่กลับไม่มีกิจการเหล่านั้นอยู่จริงๆ
- แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เช่น ดักฟังข้อมูลหรือเก็บข้อมูลทางการค้า การลักรอบนำรหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้
- ลักลอบโอนเงินจากบัญชีคนอื่นเข้าบัญชีตัวเอง
และนอกจากนี้พวกที่กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์นั้นก็เรียกว่า อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ โดยจะแบ่งบุคคลเหล่านี้ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
- พวกเด็กหัดใหม่ พวกที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์
- พวกจิตวิปริต/วิกลจริต เป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรง และก้าวราว
- อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด เป็นกลุ่มคน บริษัท หรือเป็นองค์กรที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
- อาชญากรอาชีพ
- พวกฉลาด พวกหัวนักพัฒนา
- พวกบ้าลัทธิ/ ช่างคิดช่างฝัน
- พวก Hacker และ Cracker กลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถหรือทักษะด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นบุคคลอัจฉริยะด้านคอมพิวเตอร์สุดๆ
โดยในปัจจุบันและโดยเฉพาะในประเทศไทยมีการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ สแกม (Scam) โดยเฉพาะ การหลอกโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น โดยอาชญากรทางคอมพิวเตอร์อาทิเช่น พวกอาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด พวกอาชญากรอาชีพ โดยวิธีที่ใช้ในการหลอกหลวงได้แก่
ลักษณะอาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1.การหลอกลวงทางโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซนเตอร์
บอกเลยว่าเจ้าพวกแก๊งคอลเซนเตอร์เหล่านี้คือตัวตึงแห่งวงการการหลอกลวงทางคอมพิวเตอร์ โดยเจ้าแก๊งนี้จะทำเป็นสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ผู้เสียหายตกใจ โดยสวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานของรัฐ อ้างว่าผู้เสียหายมีการกระทำผิดร่วมในการทำผิดกฎหมาย หรือการกู้เงินหรือนำบัตรเครดิตไปใช้แล้วไม่จ่ายคืนกับทางธนาคาร ซึ่งแก๊งนี้มีความสามารถที่โดดเด่นคือเขาจะมีข้อมูลของเรา หรือข้อมูลของเพื่อนๆ อย่างสมจริงไม่ว่าจะเป็นชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรธนาคาร ฉะนั้นเพื่อนๆ ที่ได้อ่านข้อมูลก็อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด จงมีสติ นอกจากนี้อย่าลืมเตือนพ่อแม่ปู่ย่าตายายให้ระวังการรับโทรศัพท์สายที่ไม่รู้จักด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยทางการเงินค่ะ
2. หลอกให้ลงทุน
มิจฉาชีพจะมาในรูปของนักธุรกิจ ที่ร่ำรวยมีเงินทองมากมาย มีบริษัทใหญ่โต มีคนรู้จักยศใหญ่หรือแซงว่าเป็นไฮโซอยู่ในวงการ หรือเป็นคนดังมีคนรู้จักมากมาย เชิญชวนให้มาลงทุนกับบริษัทไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นบริษัท หรือลงทุนร่วมในการทำธุรกิจด้วยกัน โดยอ้างผลตอบแทนที่สูง
3. แชร์ลูกโซ่
การหลอกลวงประเภทนี้ก็อยู่ในรูปแบบของการลงทุน หรือเกี่ยวกับธุรกิจเช่นกัน แต่มักจะมาในรูปของแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ มักอ้างว่าถ้าทำหรือลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่สูง
4. จากการซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์
เป็นการหลอกขายสินค้าทางออนไลน์ เมื่อมีการสั่งสินค้าทางออนไลน์แล้วมีการโอนเงินแบบออนไลน์แล้วไม่ได้รับสินค้านั้นๆ
5. การโดนแฮ็กข้อมูล หรือเรียกว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์
“ประเทศไทย ไม่มีอธิปไตยทางไซเบอร์” เพราะในโลกออนไลน์การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโลกไร้พรมแดนทั้งบก น้ำ อากาศ และอากาศ โดยคนไทยในปัจจุบันกำลังใช้ Platform ส่วนใหญ่ของต่างประเทศ และเจ้าของของ Platform ก็สามารถดึงข้อมูลของคนไทยไปได้มากกว่ารัฐบาลไทย นอกจากนี้ยังมี Deep Web เป็นการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะต่างๆ และ Dark Web ที่เป็นเว็บผิดกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทยไม่มีเบราว์เซอร์หรือ Platform เป็นของตัวเองเลย เช่น Google, Facebook, Line, Instagram, Chrome Safari หรือ Platform ต่างๆ ดังนั้น ในโลกใครที่สามารถควบคุมข้อมูลได้ก็จะมีอำนาจ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในขณะนี้เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มองค์ความรู้ทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ให้กับประชาชน
6. การถูกบลูลี่ในโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying
ในปัจจุบันปัญหาของการบลูลี่ยังไม่หมดไปจากโลก ไม่ว่าจะเป็นการบลูลี่หน้าตา สีผิว ชาติเกิด การแต่งกาย มารยาททางสังคม ความจนความรวย รวมถึงการประจาน สร้างเพจแอนตี้ ส่งข้อความขู่ทำร้าย ทำให้ทุกวันนี้มีการเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งกระทบต่อคนถูกบลูลี่จนทำให้ผู้เสียหายบางคนถึงขึ้นเป็นซึมเศร้า ไร้ค่า หวาดกลัวหวาดระแวง เสียชื่อเสียง ไม่มีเพื่อนคบ โดนแกล้งเวลาอยู่โรงเรียน หรือที่ทำงาน ท้อแท้ สิ้นหวัง และที่แย่ที่สุดคือคนเหล่านี้เขาคิดว่าเขาไม่สามารถยืนบนโลกนี้ได้ เพราะไม่มีคนรักเขาหรือต้องการเขาเลย เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ฉะนั้นจากผลกระทบที่เกิดเพื่อนๆที่ใช้ประโยชน์กับอินเทอร์เน็ตบนโลกออนไลน์ควรจะมีจิตสำนึกหรือมารยาทในการใช้เทคโนโลยีดิจิดอล เพราะไม่มีใครอยากโดนบลูลี่หรือว่าร้าย คนเราเกิดเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะทำหรือไม่ทำได้ ก่อนจะทำอะไรควรคิดถึงใจเขาใจเรา เพราะถ้าหากเราโดนเราก็คงรับไม่ไหวเหมือนกัน ฉะนั้นจงมีสติในการรับข่าวสาร และไม่ควรไปว่าร้าย ใส่ร้าย หรือคิดร้ายกับใคร และสำหรับคนที่โดนบลูลี่มีวิธีเตรียมตัวรับมือ คือ เข้าใจ รู้ว่าต้องการความช่วยเหลืออย่างไร เรียนรู้ และฟื้นฟู นอกจากนั้นอย่าอ่านข้อความหรือสนใจสิ่งที่โดนกระทำ แต่ก็เชื่อเถอะว่าไม่มีใครสามารถทำได้ แต่ก็อยากให้ใช้สติและมองคนรอบตัวที่รักเราเช่นครอบครัว เพื่อนสนิท ว่ายังมีคนเหล่านี้ที่ดีกับเราเสมอ
วิธีป้องกันอาชญากรทางคอมพิวเตอร์
- มีสติ รอบคอบ ตรวจสอบข้อมูลของทางการเงินของตัวเองให้ดีว่าได้ทำธุรกิจการเงินอะไรไว้บ้าง และเมื่อตรวจสอบลายละเอียดว่าตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็กดวางสายได้เลย
- เมื่อเพื่อนๆ คิดจะลงทุนหรือซื้อหุ้นควรตรวจสอบที่มาของบริษัทนั้นๆว่ามีอยู่จริงในประเทศ หรือบนโลกหรือไม่
- อย่าหลงเชื่อคำเชิญชวนที่เกินจริง เช่นลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนสูง
- ก่อนจะซื้อสินค้าเอาซื้อพ่อค้าแม่ค้าไปค้นหาว่าไม่ใช่บุคคลที่ตกเป็นมิจฉาชีพใช่หรือไหม หรือควรดูรีวิวดีๆ ว่าสินค้าและร้านค้าน่าเชื่อถือ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://sites.google.com/a/kts.ac.th/it_kts/unit6/subunit6-2
- https://www.smartfinn.co.th/article/6-cyber-crimes-in-thai
- https://www.moj.go.th/view/45017
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pinterest.com/pin/1114852082739041746/
- https://www.pinterest.com/pin/659144095486532633/
- https://www.pinterest.com/pin/258605203582570636/