วันตรุษจีนที่โด่งดัง มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อลังการในหลากหลายพื้นที่ที่มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่นั้น แน่นอนว่าทุกน้องรู้จักและเคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาบ้าง และน่าจะเคยได้ยินคำ อวยพร ตรุษจีน ผ่านหูกันมาบ้าง แต่เชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อยที่ไม่รู้เรื่องราวลึก ๆ และความสำคัญที่แท้จริงของเทศกาลนี้ วันนี้เราได้รวมเรื่องราวน่ารู้ของเทศกาลนี้มาฝากกันแบบลงลึกเก็บทุกรายละเอียด
รวมเรื่องราวน่ารู้เทศกาลจีนสุดยิ่งใหญ่ วันตรุษจีน ที่จัดขึ้นประจำทุกปี
วันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของจีนเทศกาลที่แม้จะอยู่ในไทยแต่ก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั้งจากชาวไทยและชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานอย่างใหญ่โตจนทำให้เป็นเทศกาลที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ คนไทยเชื้อสายจีนต่างพร้อมใจกันเฉลิมฉลองเทศกาลนี้พร้อมกับส่งมอบคำ อวยพร ตรุษจีน ให้กับผู้คนรอบข้างเพื่อความเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้นแต่รู้หรือไม่ว่าเทศกาลนี้มีที่มาและ มีเรื่องราวอะไรน่าสนใจกันบ้างไปติดตามกันเลย
-
ประวัติและที่มาวันตรุษจีน
เทศกาลตรุษจีน CHINESE NEW YEAR หรือ LUNAR NEW YEAR คือ เทศกาลการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนที่อาศัยอยู่ทั้งในประเทศจีนเองและต่างประเทศ เฉลิมฉลองกันยาวนานถึง 15 วันเป็นงานเทศกาลที่ใช้เวลาเฉลิมฉลองยาวนานที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน โดยจะเริ่มนับตามวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลตรุษจีนนี้เป็นประเพณีที่ชาวจีนได้ยึดถือและสืบทอดกันมาอย่างนานจนไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดแต่เชื่อกันว่านานกว่า4000 ปีเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ประวัติวันตรุษจีน หรือสามารถเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากตามปฏิทินแล้วจะเริ่มต้นปีวันที่ 1 เดือน 1 ด้วยวันที่มีชื่อเรียกว่าวันลีชุน หรือวันแรกที่เริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ทำให้เทศกาลตรุษจีนตรงกับการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนผ่านฤดูจากฤดูหนาวที่ปกคลุมไปด้วยหิมะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นฤดูที่ชาวบ้านจะสามารถเริ่มทำการเพาะปลูกได้ตามปกติหลังจากสิ้นสุดฤดูหนาวที่ยาวนานนั่นเอง
-
ตำนานความเชื่อตรุษจีนกับสีแดง
ความเชื่อที่สำคัญของเทศกาลนี้คือเรื่องราวของปีศาจเหนียน 年 ในบางตำราเล่าว่าปีศาจเหนียงเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้าย อาศัยอยู่ในป่าทึบ นิสัยที่ชอบอาละวาด กัดกินผลผลิตทางการเกษตร สัตว์เลี้ยงที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้และทำร้ายชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ทำให้พระเจ้าได้ลงโทษให้ปีศาจตัวนี้สามารถออกมาจากเขาที่มันอยู่ได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง ในบางตำราบอกว่าเป็นปีศาจดุร้ายที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก มีลักษณะหัวยาว เขาแหลม และจะขึ้นมาอาละวาดบนฝั่งปีละหนึ่งครั้ง
และในทุกตำราจะได้บอกตรงกันว่าวันที่ปีศาจดุร้ายอย่างปีศาจเหนียนนั้นจะออกอาละวาดทำลายข้า;ของและผู้คน ก็คือวันเริ่มต้นปีใหม่หรือวันเริ่มต้นเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลินั่นเอง ตามความเชื่อเล่าว่า ในวันนี้ของทุกปีชาวบ้านจะต้องหลบหนีไปซ่อนในหุบเขาลึก อพยพไปยังเขาห่างไกล เพื่อให้รอดปลอดภัยจากปีศาจ
แต่แล้วก็มีชายชราคนหนึ่งยืนยันว่าจะปักหลักอยู่ที่หมู่บ้านแหละจะขับไล่ปีศาจเหนียนนี้ออกไป โดยบ้านของชายชราคนนี้ได้รับการตกแต่งด้วยกระดาษสีแดง จุดเทียนส่องแสงสว่างไสวไปทั่วทั้งบ้าน พร้อมทั้งเผาไม้ไผ่ที่ทำให้เกิดเสียงดังเหมือนประทัด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ปีศาจเหนียนตัวนี้กลัวทั้ง กลัวสีแดง กลัวแสงไฟและกลัวเสียงประทัดที่ดังกึกก้อง ในคืนนั้นทำให้เหนียนต้องหนีกลับลงสู่ทะเลและ ไม่กลับขึ้นมาอาละวาดอีกเลย
หลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านก็ไม่ได้อพยพไปยังพื้นที่ห่างไกลอีกต่อไปแต่ได้ใช้วิธีการประดับตกแต่งบ้าน เพื่อมาป้องกันและต่อสู้กับสัตว์ร้ายตัวนี้แทน อย่างเช่น การตกแต่งอาคารบ้านเรือนด้วยสีแดง สวมใส่เสื้อผ้าสีแดง การจุดเทียนให้สว่างไสวเพิ่มแสงสว่าง รวมถึงการจุดประทัดเสียงดังกึกก้องตลอดทั้งวัน และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นความเชื่อตำนานของวันตรุษจีนที่เต็มไปด้วยของตกแต่งสีแดงอย่างที่เราเห็นกันจนถึงทุกวันนี้
-
วันตรุษจีน 2566 ตรงกับวันไหน
วันตรุษจีนจะยึดตามปฏิทินสุริยจันทรคติของจีน ซึ่งทำให้วันที่จะเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลนี้เปลี่ยนไปทุกปีหากดูตามปฏิทินสากล โดยจะอยู่ในช่วงระหว่างปลายเดือนมกราคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ วันตรุษจีนในปี พ.ศ. 2565 นั้นตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่จะตรงกับวันที่ 22มกราคม พ.ศ. 2566 ทำให้การเริ่มเทศกาล วันตรุษจีน 2566 วันตรุษจีนในไทย เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคมเป็นต้นไป ซึ่งคือวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจีนในปี 2566
ประเพณีวัฒนธรรมจีนได้มีการแพร่หลายเข้ามาในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เริ่มจากการอพยพของคนจีนมาปักหลักอาศัยและค้าขายอยู่ในประเทศไทย เกิดเป็นชุมชนที่เรียกว่า ไชน่าทาวน์ ย่านที่อยู่อาศัยและค้าขายของชาวไทยเชื้อสายจีน และได้มีการสืบทอดตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงเทศกาลตรุษจีนที่มีการเฉลิมฉลองคล้ายคลึงกับเทศกาลสงกรานต์ของคนไทยที่แสดงออกถึงความกตัญญู เคารพนับถือบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นพื้นฐานของคนไทยและชาวจีน ทำให้เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่คนไทยได้รับทำเนียมตรุษจีนมาปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน
ย่านไชน่าทาวน์ในปัจจุบันได้กระจายไปหลากหลายในพื้นที่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในจังหวัดกรุงเทพอย่างย่านเยาวราชและสำเพ็ง รวมไปถึงตามจังหวัดต่าง ๆ ทั้งนครสวรรค์ เชียงใหม่ ภูเก็ตขอนแก่น และ สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของผู้คนเชื้อสายจีนและวัฒนธรรมจีนต่าง ๆ มากมาย เช่นวัดจีน อาหารจีน ร้านขายของชำจีน ซึ่งได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทยเลยก็ว่าได้
-
กิจกรรมวันตรุษจีน
ธรรมเนียมที่นิยมทำกันในวันตรุษจีนนั้นครอบคลุมไปทั้งเรื่องการแต่งกาย อาหาร หรือแม้แต่การไหว้บูชาเทพเจ้า โดยในวันนี้ผู้คนจะแต่งตัวในชุดสไตล์จีนอย่างกี่เพ้าหรือจะเน้นเป็นชุดเสื้อผ้าสีแดงสวยงามลวดลายจีนตลอดทั้งช่วงวันตรุษจีนนี้ ธรรมเนียมปฎิบัติประเพณี กิจกรรมวันตรุษจีน ของชาวไทยเชื้อสายจีนจะแบ่งเป็นวันสำคัญ 3 วันนั่นคือ วันจ่าย วันไหว้และวันเที่ยว
- วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปีเป็นวันที่ชาวบ้านและผู้คนจะเตรียมอาหาร เครื่องเซ่นไหว้ ที่ต้องใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของเทศกาลนี้ ที่เรียกว่า วันจ่าย ก็เพราะว่าทุกคนมักจะต้องจ่ายเงินในการออกไปซื้ออาหารและสิ่งของต่าง ๆ จากร้านค้าที่เตรียมจะปิดในวันหยุดยาวมาเตรียมไว้นั่นเอง นอกจากนี้จะเป็นวันที่หลายบ้านได้ทำความสะอาดบริเวณบ้านเพื่อเตรียมพื้นที่และตามความเชื่อที่ว่าเป็นการปัดเอาสิ่งเก่าหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป เพื่อต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะถึง
- วันไหว้ ก็คือวันที่เริ่มต้นเฉลิมฉลองโดยจะเริ่มด้วยการเซ่นไหว้เทพเจ้าทำความเคารพบรรพบุรุษผู้หลักผู้ใหญ่ภายในบ้านเพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวที มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษ และโมเดลที่ทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น บ้าน รถ เครื่องประดับ เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย นอกจากนี้ยังมีการร่วมรับประทานอาหารหลังจากการเซ่นไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย จะแบ่งเวลาไหว้เป็น 3 ช่วงคือ
- ช่วงเช้ามืด เป็นช่วงการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ เรียกว่า “ป้ายเล่าเอี๊ย” (拜老爺 / 拜老爷) โดยใช้เนื้อ สัตว์สามชนิดคือหมูเป็ดและไก่พร้อมด้วยน้ำชา เหล้า และกระดาษเงินกระดาษทอง
- ช่วงสาย เป็นช่วงการไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า ป้ายแป๋บ้อ” (拜父母) โดยจะใช้อาหารคาวและหวาน ที่บรรพบุรุษชอบทาน เผากระดาษเงินกระดาษทองและสิ่งต่างๆเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับหลังจากนั้นจะเป็นการร่วมรับประทานอาหารจากของเซ่นไหว้และแลกเปลี่ยนอั่งเปา
- ช่วงบ่าย เป็นการไหว้พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า ป้ายฮ่อเฮียตี๋” (拜好兄弟) โดยจะใช้ของไหว้เป็นขนมจีนอย่างขนมเข่ง ขนมเทียน พร้อมทั้งจะมีการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและความเป็นมงคลในช่วงบ่ายนี้ด้วย
- วันเที่ยว คือวันขึ้นปีใหม่หรือวันที่หนึ่งของปี กิจกรรมในวันนี้คือ ป้ายเจีย คือการนำของมงคลไปไหว้ขอพรจากญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ส่วนมากจะนิยมใช้ผลส้มสีทอง 4 ผล ที่ในภาษาจีนออกเสียงคล้ายกับคำว่าความสุขและโชคลาภ ซึ่งเปรียบเสมือนการนำความสุขและโชคลาภไปให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพและได้รับคำ อวยพร ตรุษจีน เพื่อการเริ่มต้นใหม่ในปีนั้น
วันเที่ยว หรือ วันถือ เป็นวันที่มีความเชื่อเรื่องการละเว้นการทำบาปบางประการ เช่น การกวาดบ้าน การพูดคำหยาบ การทวงหนี้หรือการให้ยืมเงิน เพราะ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเริ่มต้นปีที่ไม่ดีเสียเท่าไหร่ ชาวเชื้อสายจีนจึงนิยมที่จะละเว้นการทำสิ่งเหล่านั้นและใช้เวลาในวันเที่ยวนี้สวมใส่เสื้อผ้าใหม่ ๆ ออกไปพบปะผู้คน เดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมและพักผ่อนนอกบ้านแทน
นอกจากกิจกรรมภายในบ้านแล้วตามชุมชนที่เป็นแหล่งอาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีนอย่างบริเวณไชน่าทาวน์ ก็ได้มีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองวันตรุษจีนแบบยิ่งใหญ่เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายในงานก็จะมีการเดินขบวนพาเรท กิจกรรมการแสดง เชิดสิงโต ขบวนแห่มังกร การตกแต่งพื้นที่ให้เข้ากับบรรยากาศความเป็นจีน มีการตั้งโต๊ะขายอาหารจีนหลากหลายชนิด รวมไปถึงพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีนให้แก่ผู้คนที่ผ่านไปมา
-
ฉลองตรุษจีนยาวติดกัน 15 วัน
วันตรุษจีน 2566 ที่กำลังจะถึงนี้ถ้าใครอยาก เสริมสร้างบุญบารมีตามหลักความเชื่อของชาวจีนที่มีมาอย่างยาวนาน ต้องร่วมเฉลิมฉลอง 15 วันตามแบบฉบับดั้งเดิมของชาวจีนเริ่มจาก
- วันที่ 1 เป็นการฉลองต้อนรับเทวดาในวันนี้จะมีการงดทานเนื้อ ตามความเชื่อที่ว่าจะช่วยต่ออายุให้กับผู้นั้น
- วันที่ 2 มีความเชื่อว่าเป็นวันที่สุนัขเกิดดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันที่โทรคอนจะทำการอาบน้ำเลี้ยงดูและจัดอาหารมื้อพิเศษให้กับเหล่าสัตว์เลี้ยง
- วันที่ 3 และ 4 เป็นวันของพ่อตาและแม่ยายที่ลูกเขยต้องทำความเคารพ แทนคำขอบคุณที่ได้ดูแลเลี้ยงดูลูกสาวและยกลูกสาวให้มาเป็นภรรยาของเขา
- วันที่ 5 หรือเรียกว่า วันพูวู เป็นวันที่ชาวจีนจะเฝ้ารออยู่ที่บ้านของตนเองเพื่อต้อนรับการกลับมาของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย
- วันที่ 6 เป็นวันขอพร สำหรับการเยี่ยมญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงหลังจากการเฝ้าบ้านในวันที่ห้า และเป็นวันที่ทุกคนจะเข้าวัดทำบุญสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
- วันที่ 7 มีความเชื่อว่าเป็นวันเกิดมนุษย์ เพื่ออายุที่ยืนยาวจึงนิยมทานหมี่ซั่วและเพื่อความสำเร็จจึงนิยมทานแลาดิบกันในวันนี้ และยังเป็นวันที่ชาวนาจะนำผลผลิตของตนออกมารับประทานเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย
- วันที่ 8 เป็นวันแห่งการขอพรจากเทพเจ้าเขียนกงหรือเทพแห่งสวรรค์ ในเวลาเที่ยงคืนหลังจากการทานอาหารร่วมกันในครอบครัว
- วันที่ 9 เป็นวันสำหรับการทำความเคารพ เง็กเซียนฮ่องเต้ ด้วยการสวดมนต์และถวายอาหาร
- วันที่ 10 ถึงวันที่ 12 เป็นวันสำหรับการทานอาหารมื้อใหญ่ร่วมกับผู้อื่นทั้งเพื่อนครอบครัวและญาติ เพื่อเป็นการ อวยพร ตรุษจีน และขอบคุณที่ได้อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา
- วันที่ 13 เป็นวันสำหรับการชำระล้างร่างกายโดยการทานอาหารธรรมดายังข้าวและผักดองกิมจิ
- วันที่ 14 คือวันที่จะใช้เตรียมงานเฉลิมฉลองโคมไฟ
- วันที่ 15 คือวันฮ่วงเชียว วันเฉลิมฉลองโคมไฟที่ตัดขึ้นอย่างสวยงามเพื่อแสดงความขอบคุณแก่เทพท้องฟ้า
-
ของไหว้ความหมายมงคล
เทศกาลวันตรุษจีนเป็นเทศกาลที่ได้รวมวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของจีนเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่ในเทศกาลนี้จะเลือกใช้อาหารที่มีความหมายดี แสดงออกถึงความมั่งคั่งร่ำรวย มาเซ่นไหว้ ทำพิธีเคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษถือได้ว่าถ้าหากได้รับประทานอาหารเหล่านี้หลังจากเสร็จพิธีไหว้เรียบร้อยแล้วเปรียบเสมือนการรับคำอวยพรจากเหล่าเทพเจ้าและบรรพบุรุษนั่นเอง มาดูกันดีกว่าว่าอาหารชนิดไหนจะมีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง
- เนื้อปลา หมูและปลาหมึก หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี
- เป็ด หมายถึง ความสะอาด บริสุทธิ์และความสามารถที่หลากหลาย
- ไก่ หมายถึง ความก้าวหน้า เกียรติยศ และชื่อเสียง
- หมี่ซั่วหรือบะหมี่เส้นยาว หมายถึง อายุที่ยืนยาว
- สาหร่ายสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
- เม็ดบัว หมายถึง การมีลูกชายจำนวนมาก
- ส้ม หมายถึง ความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรือง
- สาลี่ทอง หมายถึง โชคลาภ เงินทองที่ไหลมาเทมา
- องุ่น หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ รุ่งเรือง เติบโต
- กล้วย หมายถึง โชคลาภ มีลูกหลานเต็มบ้าน
- แอปเปิล หมายถึง สันติสุข ความปรองดอง สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
- ทับทิม หมายถึง ครอบครัวที่อบอุ่น ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
- ขนมเข่งและขนมเทียน หมายถึง ความราบรื่น หวานชื่นและความเจริญ
- ขนมถ้วยฟูและขนมสาลี่ หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองเพิ่มพูน เฟื่องฟู อุดมสมบูรณ์
- ซาลาเปาและหมั่นโถว หมายถึง โชคลาภ การห่อโชค
- ขนมถั่วตัด หมายถึงแท่งเงินและร่ำรวย
- ขนมจันอับ หมายถึง ความสุขตลอดไป
-
อั่งเปา ซองแดงประจำเทศกาลตรุษจีน
อั่งเปา คือ ซองสีแดง ที่ผู้ใหญ่มักจะนำเงินใส่ลงในซองสีแดงเพื่อแจกจ่ายให้กับเด็ก ๆ ลูกหลาน หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่าที่ยังไม่มีรายได้เพื่อเป็นตัวแทนคำ อวยพร ตรุษจีน สำหรับผู้ที่มีรายได้แล้วก็สามารถให้อั่งเปาแก่ผู้ที่มีพระคุณเพื่อแสดงถึงความกตัญญูและความเป็นมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ อั่งเปาจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แต๊ะเอีย มาจากคำว่าผูกเอวที่แสดงถึงลักษณะการนำเงินมาร้อยเป็นพวงและผูกไว้ที่เอวของคนในสมัยก่อน จำนวนเงินที่ใส่ในซองก็มักจะใส่ตามเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8 ความเชื่อของไทยอย่างเลข 9 ความเชื่อในการใส่ธนบัตรใบใหม่ที่สวยงามเพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่รวมอยู่ด้วย
-
คำ อวยพร ตรุษจีน 2566
แน่นอนว่าในเทศกาลแห่งความเป็นสิริมงคลแบบนี้ ก็ต้องมีการอวยพรให้แก่กันและกัน มาดู คำ อวยพร ตรุษจีน 2566 ที่คนส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้แทนคำ อวยพร ตรุษจีน ให้กับเหล่าบรรดาลูกหลานญาติพี่น้องรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ คำ อวยพร วัน ตรุษจีน ภาษาจีน จะมีคำอวยพรอะไรบ้างไปชมกันเลย
- 新正如意, 新年发财 (ซิงเจียหยู่อี่ ซิงนี้ฟาไฉ) – ขอให้สมหวังสมปรารถนา คิดหวังสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น มีแต่ความสุขและร่ำรวยตลอดปี
- 新年快乐 (ซินเหนียนไคว่เล่อ) – สวัสดีปีใหม่ หรือ สุขสันต์วันปีใหม่
- 春节快乐 (ชุนเจี๋ยไคว่เล่อ) – สุขสันต์วันตรุษจีน
- 祝您顺利, 步步高升 (จู้หนินซุ่นลี่ ปู้ปู้เกาเซิง) – ขอให้ท่านประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
- 恭喜发财, 招财进宝, 大吉大利 (กงซีฟาไฉ เจาไฉจิ้นเป่า ต้าจี๋ต้าลี่) – ขอให้ร่ำรวย เงินทองไหลมาเทมา ค้าขายได้กำไร
- 一本万利 (อีเปิ่นว่านลี่) – ลงทุนสิ่งใด ขอให้ได้กำไรมหาศาล
- 身体健康 (ซิงที่เกี่ยงคัง) – ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
- 福寿万万年 (ฝูโซ่วว่านว่านเหนียน) – อายุยืนยาวหมื่น ๆ ปี
- 幸福安康 (ซิ่งฝูอันคัง) – ขอให้มีแต่ความสุข สุขภาพแข็งแรง
คำ อวยพร วัน ตรุษจีน ภาษาจีน สั้น ๆ นี้เป็นคำอวยพรที่ผู้ใหญ่จะใช้เป็นคำอวยพรให้กับลูกหลาน รวมถึงเป็นคำที่เด็กจะฝึกพูดเพื่อไปขออั่งเปาซองแดงจากผู้ใหญ่ นอกจากการฝึกพูดออกเสียงธรรมดาแล้วถ้าสามารถเขียนตัวจีน โชว์ความสามารถทำ การ์ด อวยพร ตรุษจีน มอบให้แก่ผู้ใหญ่ก็จะน่าเอ็นดูเพิ่มมากขึ้นไปอีก เด็ก ๆ สามารถนำไอเดียการ์ดแบบง่าย ๆ ที่รับรองเลยว่าถ้ามอบให้ใครก็ตะได้ซองแดงตอบแทนกลับมา
เตรียมตัวใส่กี่เพ้า ฝึกพูดคำ อวยพร ตรุษจีน ไปรอรับอังเปาในปี 2566 กัน
ชาวไทยเชื้อสายจีนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุต่างเฝ้ารอเทศกาลตรุษจีน เทศกาลเฉลิมฉลองวันเริ่มต้นปีใหม่ ต้อนรับเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตรวมถึงเป็นเทศกาลที่เหล่าญาติเธอถือโอกาสมารวมตัวพบปะพูดคุยและร่วมรับประทานอาหารจนถึงการร่วมขอคำอวยพร ตรุษจีน จากผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพและการไหว้บูชาเทพเจ้าเพื่อความเป็นสิริมงคลตามขนบธรรมเนียมทั้งการใส่ชุดกี่เพ้าสีสวยงาม การฝึกพูด ประโยค อวยพร ตรุษจีน และการแจกอั่งเปาที่เด็ก ๆ รอคอย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม