ในศาสนาพุทธนั้นผู้ที่ดำรงตนอยู่ในศีลและเคร่งในการศึกษาหลักพระธรรมคำสอนไม่ได้มีแต่พระสงฆ์เท่านั้น เพราะเราจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับบุคคลซึ่งมักจะแต่งกายด้วยการนุ่งขาวห่มขาว ซึ่งบ่อยครั้งทีเดียวที่จะเห็นเป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ บ้างก็มีการโกนผม บ้างก็ยังคงมีผมเอาไว้เพียงแต่มัดรวบให้มีความสำรวม ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามวัดวาอารามตลอดจนสถานปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็คือเหล่า ‘แม่ชี’ นั่นเอง ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาอ่านเรื่องราวของแม่ชี พร้อมทั้งทำความเข้าใจกันว่าแม่ชีถือศีลกี่ข้อ ทั้งยังมาไขข้อสงสัยให้กับชาวพุทธหลายท่านว่าแท้จริงแล้วแม่ชีกับภิกษุณีแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
ทำความรู้จักกับความเป็นมาของ ‘แม่ชี’
ก่อนที่เราจะไปศึกษาเรื่องของแม่ชีถือศีลกี่ข้อรวมไปถึงข้อห้ามของแม่ชีกันนั้น เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับแม่ชีกันก่อน ว่าบุคคลเหล่านี้คือใคร ทำไมถึงมีการปฏิบัติตนคล้ายนักบวชแต่ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นพระ เพราะหลายคนก็อาจจะไม่ได้มีความรู้จักกับบุคคลเหล่านี้มากเท่าไหร่นัก โดยแม่ชีหรือที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า ‘นางชี’ นั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท (ศาสนาพุทธมี 2 นิกายหลัก ๆ ได้แก่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและศาสนาพุทธนิกายมหายาน) โดยแม่ชีจะไม่นับว่าเป็นนักบวชแต่เป็นเพียงอุบาสิกาหนึ่งในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้ทำการอุปสมบทและไม่ได้มีการรองรับเหมือนพระสงฆ์นั่นเอง
โดยลักษณะของแม่ชีที่เราพบเห็นได้ทั่วไปก็จะเป็นอย่างที่เราได้เกริ่นไปแล้ว นั่นก็คือมักจะนุ่งขาวห่มขาวและเดิมทีแม่ชีจะต้องโกนผม ส่วนผู้ที่ไม่ได้โกนผมนั้นจะถือว่าเป็นเพียงผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งความเป็นมาของแม่ชีนั้นไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนว่าเริ่มเข้ามาในไทยเมื่อไหร่ และมีการเข้ามาด้วยวิธีการใด แตกต่างจากการเข้ามาของศาสนาพุทธและพระสงฆ์ที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนา
แต่ถึงอย่างนั้นจากการหาข้อมูลมาแบบคร่าว ๆ ก็ทำให้ได้รู้ว่าเมื่อมองย้อนกลับไปครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมัยอยุธยาของสยามบ้านเรามีราชทูตชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ได้ทำการบรรยายถึงลักษณะของแม่ชีที่พบเห็นเอาไว้ ซึ่งมีใจความสำคัญในตอนหนึ่งว่า “ถึงแม้สยามจะมีนางชีคือสตรีที่ปฏิบัติตามพระวินัยสิกขาบทเป็นส่วนใหญ่ บางพวกไม่มีสำนักของตนต้องอาศัยในวัดของพระภิกษุ” เพราะฉะนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าอย่างน้อย ๆ ในประเทศไทยเราเองก็ได้มีลักษณะของการบวชชีมานานมากแล้วตั้งแต่ในสมัยโบราณนั่นเอง
ถึงแม้ว่าเวลามาผ่านมาอย่างยาวนาน แต่ก็ทำให้ได้รู้ว่าผู้ที่มีใจต้องการรักษาศีลและครองตนให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์ ปฏิบัติตามข้อห้ามของแม่ชีอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ตนเองได้เดินสู่เส้นทางของพระธรรม และพาตัวเองออกมาให้ไกลจากกิเลสทั้งปวงก็ยังไม่ได้ถดถอยหรือน้อยลงไปเลย ไม่เพียงเท่านั้นในปัจจุบันนี้ก็ยังมีรูปแบบของการถือศีลลปฏิบัติธรรมตามความสะดวกและความประสงค์ของคนในสังคมอีกมากมายอีกด้วย
แม่ชีถือศีลกี่ข้อ
เนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยของเราไม่ได้ถือว่าการบวชชีเป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำ หรือบังคับให้มีการทำแต่จะเน้นไปที่ความสมัครใจของบุคคลนั้น ๆ เองเลย ไม่เหมือนกับกรณีของการบวชพระที่อย่างน้อยสักครั้งในชีวิตก็ควรจะบวชเรียนเพื่อตอบแทนพระคุณพ่อพระคุณแม่ตามความเชื่อตลอดจนค่านิยมของคนในช่วงอายุหนึ่ง และยังหวังให้การบวชเรียนจะสามารถชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาดได้ด้วย
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่คนเราจะไม่ได้มีความรู้มากนักว่าแม่ชีถือศีลกี่ข้อ เนื่องจากคนที่หาความรู้และสนใจในเรื่องดังกล่าวก็มักจะเป็นผู้ที่ศึกษาพระธรรมอย่างจริงจัง หรือผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะบวรเรียนเป็นแม่ชีนั่นเอง แต่เพราะตัวผู้เขียนเชื่อว่าความรู้ไม่มีข้อจำกัด และเราทุกคนสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลที่เรานำเอาเรื่องราวของแม่ชี รวมถึงข้อมูลที่ตอบคำถามว่าแม่ชีถือศีลกี่ข้อมาเรียบเรียงให้ทุกคนได้อ่านกันนั่นเอง
โดยคำตอบที่ตัวผู้เขียนสงสัยและก็อาจจะมีอีกหลายคนที่สงสัยไม่ต่างกันว่า ‘แม่ชีถือศีลกี่ข้อ’ เพราะหากเราทุกคนได้ลองมีโอกาส ไปนั่งพินิจมองไปที่การปฏิบัติตนของแม่ชีตามวัดวาอารมหรือสถานปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ก็จะสามารถเห็นพวกท่านดำรงตนได้น่าเลื่อมใส เรียกได้ว่ามีความเคร่งในการปฏิบัติ มีความสง่างาม และดูเหมือนว่าจะมีหลักการปฏิบัติที่ไม่ได้ต่างไปจากพระสงฆ์ผู้เป็นหัวใจสำคัญในศาสนาพุทธสักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงนั้นข้อห้ามของแม่ชีที่พึงละเว้นตามหลักคำสอนจะมีทั้งหมด 8 ข้อ ได้แก่
-
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ข้อห้ามของแม่ชีในข้อแรก ที่จะต้องพึงปฏิบัติเพื่อไม่เป็นการสร้างกรรม และงดเว้นจากการสะสมกิเลสก็คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ซึ่งเป็นข้อห้ามที่ชาวพุทธทั่วไปก็น่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีแม่ชีจำนวนไม่น้อยที่ยังคงมีความเคร่งในข้อห้ามข้อนี้ ในขณะที่บางท่านก็อาจจะพึงระลึกถึงคุณค่าของชีวิตของสัตว์เหล่านั้นประกอบกันไปแทนนั่นเอง
-
อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
หลังจากได้รู้ไปแล้วว่าแม่ชีถือศีลกี่ข้อในส่วนของข้อห้ามในข้อนี้ จะกล่าวถึงการละเว้นจากการขโมยหรือฉกฉวยเอาสิ่งของคนอื่นมาเป็นของตน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ซึ่งข้อห้ามของแม่ชีข้อนี้ควบรวมตั้งแต่การฉกฉวยเอาสิ่งเล็ก ๆ จนถึงสิ่งใหญ่ ไม่ได้หมายรวมถึงแค่เงินทองหรือสิ่งมีค่าเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่าในยามที่จิตใจของเรา มุ่งหวังในสิ่งที่ไม่ได้เป็นของตนเอง นั่นเท่ากับว่าเราได้ยอมให้กิเลสและความโลภเข้ามาสู่ชีวิตของเราแล้ว
-
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
แม่ชีถือศีล 8 มีอะไรบ้างในข้อที่สามจะเป็นการพูดถึงเรื่องของกามา ซึ่งในส่วนนี้จะมีความแตกต่างจากศีลของบุคคลธรรมดาทั่วไปอยู่ เนื่องจากผู้เป็นแม่ชีนั้นจะต้องเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ไม่ใช่แค่เรื่องของการผิดลูกผิดเมียคนอื่นเหมือนศีล 5 ที่บุคคลทั่วไปยึดถือปฏิบัติกันเท่านั้น
-
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อีกหนึ่งข้อห้ามที่สำคัญสำหรับเรื่องราวของแม่ชีถือศีลกี่ข้อที่เราได้เขียนในบทความนี้ ก็คือข้อห้ามที่ว่าด้วยเรื่องของการเว้นจากการพูดโกหก คำหยาบคาย ส่อเสียด หรือทั้งหมดที่เป็นสาเหตุให้เกิดวจีกรรม หรือก็คือกรรมจากวาจานั่นเอง เนื่องจากศีลในข้อนี้สามารถละเมิดได้ง่ายมากที่สุด ทั้งยังสามารถทำผิดได้โดยที่หลายท่านไม่รู้ตัวหากไม่ครองสติเอาไว้ให้ดี
-
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ข้อห้ามและหลักการปฏิบัติตนในข้อนี้ของแม่ชี จะกล่าวเอาไว้ด้วยเนื้อที่ว่าด้วยการเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นของมึนเมาและเป็นสาเหตุของการเกิดกรรมในรูปแบบต่าง ๆ และยังเป็นต้นเหตุของการนำพามาสู่การผิดศีลอีกหลายข้อ โดยสุราและเมรัยนั้นควบรวมไปถึงเครื่องดื่มที่เกิดจากการหมักจนมีความมึนเมาทุกประเภท ไม่ใช่แค่เหล้าหรือเบียร์เท่านั้น
-
วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เรียกได้ว่าเป็นหลักในการปฏิบัติที่หลายคนน่าจะรู้กันดี เพราะพระสงฆ์เองก็มีข้อห้ามที่ว่าด้วยการงดเว้นจากการทานอาหารในยามวิกาลเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อห้ามของแม่ชีในข้อนี้ก็เป็นรายละเอียดของการปฏิบัติที่ไม่ได้ต่างกัน โดยระยะเวลาจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณเที่ยงวันไปจนกว่าจะเริ่มวันใหม่
-
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อีกหนึ่งสิ่งของศีลที่แม่ชีจะต้องพึงปฏิบัตินั่นก็คือการละเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง เล่นดนตรี หรือการรื่นเริงไปกับการแสดงประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการว่าด้วยเรื่องของการงดเว้นจากการแต่งกายด้วยดอกไม้ หรือเครื่องหอมต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้ครีมหอม น้ำหอม เครื่องหอม หรือแป้งประทินผิวที่มีกลิ่นหอมด้วยนั่นเอง
-
อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึล 8 ในข้อสุดท้ายซึ่งเป็นข้อห้ามของแม่ชี ก็คือการละเว้นจากการนั่งนอนในที่สูง หรืออาศัยหลับนอนบนที่นอนซึ่งมีการประดับตกแต่งเอาไว้อย่างวิจิตรงดงามจนเกินความจำเป็น เพราะมันจะทำให้ผู้ที่ปฏิบัติธรรมลุ่มหลงในความสุขสบาย และเป็นการเปิดโอกาสให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจได้ง่ายดาย
กิจวัตรของแม่ชีต้องทำอะไรบ้าง
หากจะต้องกล่าวถึงสิ่งที่แม่ชีจะต้องทำในแต่ละวันหรือกิจวัตรของแม่ชีก็คงจะไม่สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนทั้งหมดว่าแม่ชีจะมีการทำกิจวัตรที่เหมือนกัน เพราะตารางเวลารวมไปถึงระยะเวลาในการปฏิบัติธรรมอาจจะต่างกันได้ เพียงแต่โดยส่วนใหญ่แล้วหลักการปฏิบัติของแม่ชีก็จะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง เช่น รักษาตนให้อยู่ในศีล, จะต้องมีการนั่งสมาธิ, ทำวัตรสวดมนต์ร่วมกับคณะสงฆ์, เดินจงกรม เป็นต้น
ความแตกต่างของแม่ชีและภิกษุณี
หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแม่ชีกันไปแล้วมากมาย รวมไปถึงได้รู้กันไปแล้วว่าแม่ชีถือศีลกี่ข้อ ในหัวข้อสุดท้ายก่อนที่เราจะจากกันไปในบทความนี้เราก็จะมาไขข้อข้อใจของหลายคนที่ว่าด้วย ‘ความแตกต่างของแม่ชีและภิกษุณี’ ซึ่งแน่นอนว่าสถานะของทั้งสองท่านนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากแม่ชีจะเปรียบเป็นเพียงอุบาสิกาที่ทำการศึกษาพระธรรมและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดด้วยศีล 8 ข้อ ในขณะที่ภิกษุณีเป็นหนึ่งในนักบวช ทำการถือศีลทั้งหมด 311 ข้อ แต่เราทุกคนอาจจะไม่ได้มีความคุ้นชินกับภิกษุณี เนื่องจากไม่มีนักบวชประเภทนี้มาเป็นเวลานานมากแล้วนั่นเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2021/12/แม่ชีศันศนีย์.jpg
- https://women.kapook.com/view181355.html