เพิ่งผ่านช่วงหยุดยาวเดือนเมษายนในเทศกาลสงกรานต์มาไม่กี่วันร่างกายเริ่มโหยหาวันหยุดยาวอีกครั้งแล้ว เพราะวันหยุดยาวคือสวรรค์ของคนทำงาน หยุดเสาร์อาทิตย์ 2 วันอาจไม่พอสำหรับเพื่อนๆหลายคนจนโหยหาวันหยุดเพิ่มกันเลยทีเดียว มาเปิดปฏิทินเช็คกันว่าเดือนพฤษภาคม 2566 นี้มีวันหยุดยาววันไหนให้เราได้ชื่นใจกันบ้าง บอกเลยว่าทำงานเพื่อรอวันหยุดมีอยู่จริง มาเช็คและเตรียมแพลนล่วงหน้าจะไปไหนดีในวันหยุดยาวในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้
เช็ควันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566
เดือนนี้เป็นอีกเดือนที่มีวันหยุดยาวแม้อาจจะไม่ได้เยอะเท่ากับเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีช่วงหยุดยาวให้พักกันอยู่บ้างมาเช็คกันว่าเดือนนี้มีวันไหนหยุดกันบ้าง เผื่อเพื่อนๆจะได้เตรียมแพลนไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดยาวนี้ และที่สำคัญเดือนพฤษภาคม 2566 นี้มีสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำอีกด้วยด้วย นั่นคือการออกไปไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั่นเอง
- วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566: วันแรงงาน (หยุดเฉพาะภาคเอกชน, ธนาคาร ข้าราชการไม่หยุด)
- วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566: วันฉัตรมงคล (หยุดทั้งข้าราชการ, ภาคเอกชน, ธนาคาร)
- วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566: วันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ (ครม. เห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2566) (หยุดทั้งข้าราชการ, ภาคเอกชน, ธนาคาร)
- วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566: พืชมงคล วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ(หยุดเฉพาะข้าราชการ, ภาคเอกชน, ธนาคารไม่หยุด)
หากนับรวมวันหยุดในเดือนพฤษภาคมมีทั้งสิ้นประมาณ 3-4 วันขึ้นอยู่กับเพื่อนๆทำงานในหน่วยงานไหน หากเพื่อนๆยังไม่จุใจกับวันหยุดประจำเดือนพฤษภาคมที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าให้เตรียมตัวยื่นใบลาเพิ่มกันล่วงหน้า แต่เราควรลาวันไหนไปดูกันเลยค่ะ
พฤษภาคม 2566 ควรลาเพิ่มวันไหนดี
เดือนพฤษภาคม 2566 นี้มีวันหยุดพิเศษนอกเหนือจากวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ประมาณ 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับว่าเพื่อนๆทำงานในหน่วยงานใด หากเพื่อนต้องการวันลาเพิ่มเราแนะนำให้เพื่อนเตรียมยื่นใบลาตามวันที่เราแนะนำดังนี้ เพื่อนๆจะได้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันหลายวันมากขึ้นไปดุกันค่ะว่าเราควรลาเพิ่มวันไหนบ้าง จะได้เตรียมเขียนใบลาไปยื่น HR กันล่วงหน้า
- วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566: วันแรงงาน
- วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2566: แนะนำให้ลาหยุด
- วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2566: แนะนำให้ลาหยุด
- วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566: วันฉัตรมงคล
- วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566: วันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ
- วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566: วันหยุดปกติ
- วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566: วันหยุดปกติ
- วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566: พืชมงคล
- วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566: แนะนำให้ลาหยุด
- วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม 2566: วันหยุดปกติ
- วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566: วันหยุดปกติ
หากเพื่อนๆสามารถลาหยุดได้เดือนพฤษภาคม 2566 นี้จะมีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันมากถึง 7 วันจุกๆกันเลยทีเดียว อีกช่วงที่ควรลาหยุดคือช่วงวันพืชมงคลหากเพื่อนสามารถลาหยุดได้จะมีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันถึง 4 วันเลยทีเดียว รู้วันหยุดกันแล้วเตรียมเขียนใบลา จองตั๋ว จองที่พักเตรียมเที่ยวยาวๆกันได้เลย
วันสำคัญประจำเดือนพฤษภาคม 2566
นอกจากวันหยุดราชการที่สำคัญที่เราได้กล่าวไปแล้ว ในเดือนพฤษภาคมของทุกปียังมีวันสำคัญอื่นๆอีกหลายวันด้วยเช่นกัน มาดูกันค่ะว่า ในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้มีวันสำคัญอื่นๆตรงกับวันไหนกันบ้างและมีวัญสำคัญอะไรบ้างเป็นวันสำคัญประจำเดือนพฤษภาคมของทุกปี
- วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566: วันแรงงานแห่งชาติ
- วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566: วันฉัตรมงคล
- วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566: วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
- วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2566: วันกาชาดสากล
- วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566: พืชมงคล และวันปรีดี พนมยงค์
- วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566: วันพยาบาลสากล
- วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566: วันอาภากร
- วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566: วันความหลากหลายทางชีวภาพ / วันอัฏฐมีบูชา
- วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566: วันเต่าโลก
- วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566: International Flight Attendant Day / วันงดสูบบุหรี่โลก
ชวนรู้จักวันสำคัญประจำเดือนพฤษภาคม 2566
รู้หรือไม่คะวันหยุดพิเศษในเดือนพฤาภาคม 2566 นี้มีความสำคัญและที่มาอย่างไร ทำไมจึงต้องกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำเดือนพฤษภาคมของทุกๆปี มาทำความรูจักวันหยุดในแต่ละวันกันค่ะว่ามีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ความสำคัญของวันแรงงาน
ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกๆปีถูกกำหนดให้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) ซึ่งปีนี้วันแรงงานตรงกับวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคมนั่นเอง เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ “แรงงาน” ในทุกระดับ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพด้านความเป็นอยู่ ความคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง นอกจากใช้ประเทศไทยมีการกำหนดให้วันที่ 1 เป็นวันแรงงานแล้ว ประเทสทางยุโรปส่วนใหญ่ก็มีการกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันแรงงานเช่นเดียวกันและเรียกวันดังกล่าวว่า “วันกรรมกรสากล” หรือ “วันเมย์เดย์” ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาที่มีการกำหนดให้วันแรงงานเป็นวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
ความสำคัญของวันฉัตรมงคล
วันที่ 4 พฤษภาคม วันฉัตรมงคลเป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีไทย ซึ่งความหมายของคำว่าฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คล) มีความหมายว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกความสำคัญของวันฉัตรมงคล ปัจจุบันพระราชพิธีฉัตรมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน 3 วัน ประกอบด้วย
- วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย สรงพระมุรธาภิเษก ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทรงรับน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ เลี้ยงพระ พระสงฆ์ดับเทียนชัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
- วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ และเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราสถลมารค จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- วันที่ 6 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ให้ประชาชนเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เสด็จออกให้ทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ความสำคัญของวันพืชมงคล
วันพืชมงคล (Royal Ploughing Ceremony) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะจัดขึ้นในเดือน 6 หรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำอาชีพเกษตรกรรม พิธีนี้เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร ในวันพืชมงคลของทุกปีจะมีการประกอบพระราชพิธิพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแบ่งเป็นพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ
- พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงาม
- พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
จึงกล่าวได้ว่าพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่จัดขึ้นในวันพืชมงคลของทุกปีนอกจากเพื่อระลึกถึงความสำคัญของอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักและมีความสำคัญกับคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ยังเป็นพิธีเรียกขวัญกำลังใจ และเป็นสัญญาณที่ดีในการเริ่มทำการเกษตรต่างๆในปีนั้นๆอีกด้วย อีกไฮไลท์ของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในทุกๆปีจะมีพิธีเสี่ยงทายของพระโคเพื่อทำนายความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตรกรรมในปีนั้นๆอีกด้วย
จะว่าไปเดือนนี้ก็มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวันไม่แพ้เดือนเมษายนเลยนะคะ และหากเพื่อนสามารถยื่นใบลาล่วงหน้าได้ตามวันที่เราแนะนำไปข้างต้นเพื่อนๆจะมีวันหยุดยาวต่อเนื่องกัน 2 ช่วงเลยทีเดียว ใครมีแพลน มีทริปไปที่ไหนเตรียมทำเรื่องเขียนใบลายื่นล่วงหน้ากันได้เลย ออกไปพักผ่อนในวันหยุดยาวให้เต็มที่แล้วค่อยกลับมาลุยงานกันต่อ
นอกจากนี้เดือนพฤษภาคม 2566 นี้ยังมีหน้าที่ที่เราในฐานะคนไทยต้องปฏิบัติอีกด้วย นั่นคือการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งการเลือกตั้งปกติกำหนดให้มีการออกไปใช้สิทธิ์ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม ส่วนเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านก็สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตได้ โดยการเลือกตั้งนอกเขตจะมีการเลือกในวันที่อาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 นี้ อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันทุกคนนะคะ เลือกคนที่ใช่ พรรคที่ชอบมาบริหารจัดการพัฒนาบ้านเมืองให้ดียิ่งขึ้น ก่อนออกไปเลือกตั้งตรวจเช็คเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในวันเลือกตั้ง และดูให้ดีว่าเราต้องเลือกเขตเลือกตั้งไหน จังหวัดอะไร ต้องการเลือกใคร พรรคไหนเข้ามาบริหารประเทศ เช็คพรรค หมายเลขผู้ลงสมัครให้ดีนะคะ เพราะเราต้องเลือกตั้ง 2 ใบคือส.ส.แบบแบ่งเขต (เลือกพรรคการเมืองที่ชอบ) และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (เลือกคนที่ชอบ)
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม