ถ้าหากพูดถึงแผนที่โลกภาพที่หลาย ๆ คนคิดอาจเป็นแค่เพียงแผนที่ซึ่งบอกแค่เพียงว่าประเทศไหนอยู่ตรงไหน หรือแบ่งออกเป็นทวีปต่าง ๆ ซึ่งที่แท้จริงแผนที่บนโลกมีแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภทเลยทีเดียว ดังนั้นหากใครที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโลกให้มากกว่าเดิม เราก็ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับแผนที่โลกในแบบต่าง ๆ มาฝาก พร้อมกับวิธีการแบ่งทวีปทั้ง 7 อีกด้วย เพื่อที่จะได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้มากกว่าเดิม แล้วจะรู้ว่าบนโลกนี้มีเรื่องราวหลายสิ่งที่น่าสนใจ
เจาะลึกแผนที่โลกรูปแบบต่าง ๆ แบบไหนดีที่สุดและบอกอะไรบ้าง?
แผนที่โลก หรือ World Map เป็นแผนภาพที่จะแสดงรายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกให้คุณได้ทำความเข้าใจ โดยวัตถุประสงค์ของการแสดงรายละเอียดก็จะแตกต่างกันออกไป มีทั้งแผนที่โลกแสดงประเทศ แสดงตำแหน่งของภูเขาไฟ แสดงภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่จาก Google Map ถ้าหากเข้าไปดูบนโลกออนไลน์คุณก็จะสามารถกดเข้าไปที่แผนที่โลกและขยายเข้าออกเองได้อีกด้วย สำหรับใครที่มีความสนใจอยากศึกษาในเรื่องแผนที่โลกเพิ่มเติม เราก็มีรูปแบบต่าง ๆ มาให้ทำความรู้จัก ลองตามไปดูก่อนได้ว่ามีอะไรบ้าง
- แผนที่โลกแสดงประเทศ
สำหรับแผนที่โลกที่แสดงข้อมูลประเทศต่าง ๆ จะมีประเทศรวมอยู่ในแผนที่ทั้งหมด 195 ประเทศ ซึ่งจะแสดงตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเจาะลึกข้อมูลได้ว่าประเทศไหนอยู่ติดกับประเทศไหน หรือว่าในบริเวณโดยรอบมีประเทศอะไรอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังทำให้เห็นขนาดของพื้นที่อย่างชัดเจน แม้ว่าจะไม่ใช่ขนาดที่แท้จริง แต่ก็พอจะมองเห็นได้ว่าประเทศไทยใหญ่ ๆ ของโลกมีอะไรบ้าง
- แผนที่โลกแสดงทวีป
- ทวีปเอเซีย
- ทวีปยุโรป
- ทวีปแอฟริกา
- ทวีปอเมริกาเหนือ
- ทวีปอเมริกาใต้
- ทวีปออสเตเลีย
- ทวีปเอเซีย
หนึ่งในรูปแบบที่คนมักจะเห็นบ่อยก็คือ แผนที่โลกที่แสดงทวีปต่าง ๆ โดยจะมีทั้งหมด 7 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, แอฟริกา, แอนตาร์กติกา, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, ออสตราเลเชียหรือที่เรียกว่าโอเชียเนีย และอเมริกาใต้ ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาแผนที่แสดงทวีปที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ใครที่อยากศึกษาเรื่องทวีปต่าง ๆ การใช้แผนที่นี้จะมองเห็นตำแหน่งของแต่ละทวีปได้ชัดเจนที่สุด อีกทั้งยังมีการระบุว่าแต่ละทวีปอยู่ติดกับมหาสมุทรอะไรด้วย
เช่น ถ้าเป็นทวีปเอเชียก็จะติดกับ Arctic Ocean, Pacific Ocean และ Indian Ocean ถ้าเป็นทวีปออสตราเลเชียจะอยู่ติดกับ Pacific Ocean และ Indian Ocean ส่วนทวีปแอฟริกาจะอยู่ถูกล้อมด้วย Atlantic Ocean และ Indian Ocean จากแผนที่ที่แสดงทวีปจะทำให้เราได้ข้อมูลหลัก ๆ 2 อย่างคือ การแบ่งทวีปและมหาสมุทรที่อยู่ติดกับทวีปเหล่านั้น เผื่อว่าใครอยากศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ของประเทศเพิ่มเติม การดูรูปภาพแผนที่โลกจะช่วยให้จดจำได้ดีมากกว่า
- แผนที่โลกแสดงลักษณะภูมิประเทศ
ถ้าหากคุณต้องการทราบว่าลักษณ์ของภูมิประเทศเป็นแบบไหน พื้นที่ไหนเป็นป่า หรือพื้นที่ไหนเป็นทะเลทราย สามารถเข้ามาดูได้จากแผนที่โลกที่แสดงลักษณะของภูมิประเทศ เพราะว่าจะบอกรายละเอียดพื้นผิวตามพื้นที่โซนต่าง ๆ เอาไว้ทั้งหมด โดยเป็นแผนที่ที่เกิดจากภาพถ่ายดาวเทียม มีการระบุลักษณะกายภาพทั้งหมด เช่น พื้นที่ป่า, ที่ราบสูง, ภูเขา, ทะเล, ทะเลทราย
แผนที่ประเทศไทย
อีกทั้งยังเป็นแผนที่ซึ่งสามารถบอกความสูงและความลึกจากการอ้างอิงของระดับน้ำทะเลได้อีกด้วย บางแผนที่ที่แสดงลักษณะภูมิประเทศจะมีการแบ่งความเข้มของสีเอาไว้ พร้อมกับบอกตำแหน่งต่าง ๆ เป็นตัวเลข หรือถ้าอยากได้แผนที่ที่มีความละเอียดสามารถเข้าไปค้นหาใน Google ได้ด้วย จะมีการบันทึกแผนถ่ายดาวเทียมเอาไว้ให้เราได้เข้าไปขยายได้
- แผนที่โลกแสดงตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาไฟ
อีกหนึ่งแผนที่โลกซึ่งมีความสำคัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เพราะแผนที่นี้จะแสดงตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาไฟให้ทุกคนได้ศึกษา มีทั้งภูเขาไฟที่ดับไปแล้ว หรือภูเขาไฟที่กำลังเกิดการปะทุอยู่ในปัจจุบันด้วย เพื่อให้สามารถนำมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับภูเขาไฟในเชิงลึกได้ พร้อมกับมีการขีดรอยต่อของเปลือกโลก ทำให้เห็นว่าถ้าเกิดการเคลื่อนที่ของรอยต่อจะส่งผลกระทบต่อภูเขาไฟหรือไม่ แต่สิ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนจากแผนที่นี้เลยก็คือ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใกล้กับบริเวณรอยต่อของโลก
- แผนที่โลกบน Google Map
ยุคที่เทคโนโลยีมีส่วนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เราไม่จำเป็นที่จะต้องดูแค่แผนที่โลกแบบที่เป็นกระดาษเท่านั้น เพราะในตอนนี้มีแผนที่แบบ Google Map ให้เราสามารถเข้าไปดูกันได้ด้วย อัปเดตใหม่ตลอดทุกปี พร้อมกับฟีเจอร์ Google Street View แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ยังสามารถไปเดินเล่นในบริเวณอื่น ๆ ได้ ซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านของคนอื่นเลยทีเดียว นอกจาก Google Map จะเป็น GPS นำทางให้กับทุกคนแล้ว ก็ยังช่วยเรื่องการบอกข้อมูลต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ค้นหาสถานที่สำคัญต่าง ๆ ง่ายกว่าเดิม
- แผนที่โลกแสดงอายุเฉลี่ยของคนแต่ละประเทศ
หากใครอยากศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ การเจาะลึกแผนที่โลกที่เกี่ยวข้องกับอายุเฉลี่ยของผู้คนก็จะช่วยให้ประเมินภาพรวมได้อย่างชัดเจนขึ้น โดยแผนที่ซึ่งแสดงอายุเฉลี่ยของประชากรแต่ละประเทศ จะมีการระบุสีของแต่ละตัวเลขก่อนว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะบ่งบอกให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าประชากรในโซนเหล่านั้นจะมีช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง บางคนอาจคาดไม่ถึงว่าการอ่านแผนที่โลกที่บอกอะไรได้มากกว่าที่คิดเอาไว้ แต่การระบุในรูปแบบนี้จะมีการบอกปีที่ศึกษาด้วย ดังนั้นถ้าหากใครอยากศึกษาเกี่ยวกับอายุเฉลี่ยของผู้คนในแต่ละประเทศ แนะนำให้อัปเดตเป็นแผนที่ฉบับล่าสุดจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใช้ในการศึกษา
- แผนที่โลกแสดงความหนาแน่นของประชากร
อีกหนึ่งแผนที่โลกที่มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากศึกษาอยู่ก็คือ แผนที่โลกซึ่งแสดงให้เห็นความหนาแน่นของประชากร โดยจะมีการระบุพื้นที่ที่มีประชากรเป็นจำนวนมากเอาไว้ด้วยความเข้มของสี ถ้าหากมีประชากรหนาแน่นในบริเวณใน ตรงพื้นที่นั้นจะมีสีแดงเข้ม แต่ถ้ามีสีอ่อนแสดงว่ามีความหนาแน่นของประชากรน้อย พร้อมกับระบุโทนสีของความหนาแน่นแปลงเป็นอัตรา per square kilometer ด้วย
รวม 7 ทวีปบนแผนที่โลก ศึกษาข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่น่ารู้
สำหรับการศึกษาแผนที่โลกที่เป็นทวีปจะมีการแบ่งทวีปออกเป็นทั้งหมด 7 ทวีปด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้อย่างละเอียด เราจึงได้แยกแต่ละทวีปมาฝาก เผื่อว่าใครอยากศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติม พร้อมกับบอกขนาดของพื้นที่ ซึ่งคำนวณออกมาเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่โลกด้วย ใครที่มีความสนใจอยากศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ต้องห้ามพลาดเลย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- ทวีปแอนตาร์กติกา มีพื้นที่ทั้งหมด 14,000,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 2% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมด 10,180,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 8% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 24,7009,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 5% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 30,370,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 4% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปเอเชีย มีพื้นที่ทั้งหมด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 5% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 24,709,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 5% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
- ทวีปออสเตรเลีย มีพื้นที่ทั้งหมด 8,600,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 9% ของพื้นดินทั้งหมดบนโลก
ต้องอธิบายเพิ่มเติมก่อนเลยว่าในตอนนี้ก็จะมีการแบ่งทวีปที่แตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละประเทศก็สอนไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ที่อเมริกาจะสอนว่ามีทั้งหมด 7 ทวีป แต่ที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป หรือบางโรงเรียนในเม็กซิโกสอนว่ามีทั้งหมด 5 ทวีป ดังนั้นการแบ่งทวีปจึงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศด้วย แต่ที่เป็นสากลที่สุดคือแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ทวีปนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเรื่องแผนที่โลกหรือการแบ่งทวีปทั้ง 7 ล้วนแต่เป็นความรู้ทั่วไปที่ทุกคนควรรู้เอาไว้ เพราะเวลาเราจะไปท่องเที่ยวในทวีปต่าง ๆ หรือประเทศอื่น ๆ เราจะต้องศึกษาลักษณะภูมิประเทศ รวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับวีซ่าด้วย บางทวีปก็จะเปิดให้คนไทยไปได้แบบไม่ต้องใช้วีซ่า หรือบางทวีปอาจจะต้องยื่นเรื่องค่อนข้างนาน นอกจากนี้การศึกษาแผนที่โลกจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และจดจำมันได้ง่ายมากกว่าเดิม อย่างแผนที่ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดอย่าง Google Map ก็ถูกจัดทำมาจากแผนที่โลกเช่นเดียวกัน หากใครอยากศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปขยายดูแผนที่บนโลกออนไลน์กันได้
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://semihblogs.com/2019/09/world-map/
- https://semihblogs.com/2022/10/world-map-2/
- https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/โลกของเรามีกี่ทวีป/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/91/Winkel_triple_projection_SW.jpg
- https://storage.googleapis.com/semihblogs-cdn/post_images/5959/Volcano_Map.png
- https://media.wired.com/photos/59269cd37034dc5f91bec0f1/191:100/w_1280,c_limit/GoogleMapTA.jpg
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม