เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” กันบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ได้เข้าใจว่าประโยคที่บอกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไร และมีความหมายในเชิงไหนบ้าง ซึ่งต้องบอกเลยว่าสุภาษิตนี้สามารถตีความได้หลายแบบ หนึ่งในรูปแบบที่สามารถตีความออกมาได้คือเชิงจิตวิทยา ซึ่งในบทความนี้ก็จะพาคุณไปเจาะลึกความหมายของประโยคอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไร พร้อมกับแนะนำสุภาษิตอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย ใครที่อยากเรียนรู้ประโยคสอนใจดี ๆ ก็สามารถเข้ามาอ่านผ่านบทความที่เรานำมาฝากกันได้
รู้จักกับสำนวนอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไร สำคัญยังไงในเชิงจิตวิทยา
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไรลองมาหาคำตอบกันได้ ถ้าให้แต่ละคนลองคิดภาพอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เชื่อว่าคุณจะมองเห็นในหลาย ๆ มุมมองอย่างแน่นอน บางคนบอกว่าคำคมอดเปรี้ยวไว้กินหวานหมายถึงว่าให้อดกินเปรี้ยวไปกินของหวานแทน ซึ่งผลไม้บางอย่างในไทยก็เป็นแบบนั้น เช่น มะม่วง เพราะตอนเริ่มแรกก็จะมีรสชาติที่เปรี้ยว แต่พอปล่อยเอาไว้สักระยะมะม่วงก็จะเริ่มสุกและเปลี่ยนจากรสชาติเปลี่ยนเป็นรสหวาน ซึ่งรสชาติหวานก็เป็นรสที่น่าทานเป็นอย่างมาก จึงมีสุภาษิตออกมาว่าให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน รอจนกว่าผลจะสุกก็จะคุ้มค่ากับสิ่งที่รอมาอย่างยาวนาน
ส่วนในทางจิตวิทยามีการให้ความหมายของอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือการควบคุมความต้องการของตัวเอง เพื่อที่จะรอโอกาสหรือสิ่งที่มีค่าในอนาคต แม้ว่าการรอคอยจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะได้รับความสุขหรือคำพึงพอใจในภายหลัง แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ โดยเฉพาะผู้คนในยุคนี้ที่ชอบความรวดเร็วเป็นหลัก รวมถึงการตอบสนองที่รวดเร็วทั้งเรื่องการรับบริการ หรือการเดินทาง
แต่ถ้าหากเป็นสมัยก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ต ผู้คนต้องใช้จดหมายติดต่อสื่อสารกัน ก็ทำให้ต้องใช้การรอคอยกว่าจะติดต่อกันได้ แต่พอเป็นยุคนี้แค่ตอบคำถามช้าไปเพียงสองสามนาทีก็สร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ที่ส่งข้อความไปหาได้แล้ว อีกทั้งยังมีบริษัทหลายแห่งที่พยายามพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทำให้การดำเนินชีวิตง่ายดายกว่าเดิม อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมายด้วย
โดยมีนักจิตวิทยาหลายคนศึกษาและสนใจเกี่ยวกับเรื่องการชะลอความพึงพอใจของมนุษย์ โดยได้กล่าวเอาไว้ว่าหากต้องการเพิ่มความสามารถในการชะลอความพึงพอใจในเด็ก กิจกรรมที่ควรจะทำก็คือ การระบายสี การร้อยลูกปัด หรือการวาดภาพ เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องใช้เวลาหากอยากให้เกิดผลสำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้การรอคอย โดยให้คุณตั้งรางวัลเมื่อเด็กทำได้สำเร็จด้วย ซึ่งควรจะแบ่งรางวัลออกเป็นทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รางวัลที่จะได้รับในทันทีแต่จะมีคุณค่าน้อย ส่วนอีกแบบคือรางวัลที่ต้องรับในอนาคตแต่มีคุณค่ามาก เช่น ถ้าจะรับเลยทันทีจะได้ช็อกโกแลตแค่เพียง 1 แท่งเท่านั้น แต่ถ้าหากจะรับในวันถัดไปจะได้รับช็อกโกแลต 2 แท่ง และมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับการชะลอความพึงพอใจและสรุปออกมาว่าปัจจัยที่จะส่งผลให้เด็กยอมที่จะรอคอยมีอะไรบ้าง ซึ่งมีดังนี้
- จากการวิจัยพบว่าเด็กจะสามารถชะลอความพึงพอใจได้ หากว่ารางวัลไม่ได้อยู่ตรงหน้าเด็กคนนั้น โดยเด็กในวัย 5 ถึง 8 ปีมักจะเลือกไม่มองไปที่ของรางวัล และบางคนก็หาสิ่งของมาปิดของรางวัลเอาไว้ พร้อมบอกกับตัวเองว่า ถ้าฉันกดกริ่งฉันจะได้สิ่งนี้ แต่ถ้าหากรอต่อไปฉันจะได้สิ่งที่ดีกว่า
- การเบี่ยงเบนความสนใจไปอยู่ที่สิ่งอื่น ในงานวิจัยมีการลองนำกิจกรรมต่าง ๆ มาให้เด็กทำขณะรอ ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ค่อนข้างได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการตบเท้าเป็นจังหวะ หรือการร้องเพลงล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสามารถรอคอยได้ของรางวัลได้
- ชักชวนหรือกล่าวอ้างถึงเด็กคนอื่นที่ตัดสินใจแตกต่างไป โดยมีการวิจัยที่ลองเล่าถึงการตัดสินใจของเด็กอีกคนให้เด็กคนหนึ่งฟัง โดยเล่าว่าเด็กคนนั้นยอมรอคอยของรางวัลในวันถัดไปเพื่อได้ของที่มีคุณค่ามากกว่าเดิม และถามหาเหตุผลจากเด็ก ก็จะได้คำตอบว่าเด็กคนนั้นอยากได้ของขวัญที่มีมูลค่าสูงกว่าเลยทำให้รอคอยในวันถัดไปได้ ซึ่งการให้เด็กได้มีโอกาสคิดเชิงเหตุผลก็ทำให้เด็กเปลี่ยนใจ และเลือกที่จะตัดสินใจตามเด็กคนนั้นได้ แม้ว่าจะขัดแย้งกับจิตใจที่อยากได้รางวัลเลย แต่พอได้ลองใช้หลักการเหตุและผลก็ทำให้เด็กยอมที่จะรอคอยของรางวัลที่มีคุณค่ามากกว่าในวันถัดไป
- ความไว้วางใจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดการรอคอยได้ ถ้าหากเราพูดแบบลอย ๆ ว่าจะให้ของรางวัลในวันถัดไป เด็กอาจไม่ไว้ใจและเลือกที่จะรับในวันนี้เลย เพื่อให้มั่นใจว่าเขาจะได้ของรางวัลจริง ๆ แต่ถ้าหากว่ามีการมอบคูปองให้เด็ก เพื่อให้นำมาแลกของขวัญได้ในวันพรุ่งนี้ โดยใช้คูปองเป็นสิ่งยืนยันว่าจะได้ของอย่างแน่นอน สิ่งนี้ก็ช่วยให้เด็กไว้วางใจได้ ส่วนใหญ่เด็กที่ไม่ไว้ใจและต้องเลือกใช้วิธีนี้มักจะเจอเหตุการณ์ที่จำฝังใจมาก่อน เช่น เคยเจอผู้ใหญ่ที่ไม่รักษาคำพูดจนทำให้ไม่ไว้ใจคนอื่น
อีกหนึ่งสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจว่าเด็กจะอดเปรี้ยวไว้กินหวานหรือไม่นั่นมาจากการที่มองเห็นคุณค่าในอนาคตด้วย เพราะถ้าหากของที่เราจะให้ในอนาคตเป็นสิ่งที่เขาเปรียบเทียบแล้วไม่ได้อยากได้ เขาก็จะเห็นคุณค่าในอนาคตน้อย แต่ในทางกลับกันหากเขาเห็นคุณค่าในอนาคตก็จะทำให้เขาตัดสินใจที่จะรอรับรางวัล และอยู่ในสถานะที่สามารถชะลอความพึงพอใจเอาไว้ได้ และอีกหนึ่งสิ่งคือต้องสร้างความสบายใจให้กับเด็ก เพราะถ้าขาดความสบายใจก็จะทำให้ขาดความรอบคอบเวลาตัดสินใจและเลือกที่จะรับของรางวัลทันที
แนะนำตัวอย่างสุภาษิตไทยอื่น ๆ ที่มีความหมายไว้สอนใจคน
ทุกคนคงจะหาคำตอบกันได้แล้วว่าสุภาษิตอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไร และมีความหมายอย่างไรบ้าง หากอยากรู้สุภาษิตอื่น ๆ ก็สามารถเข้ามาอ่านในบทความนี้กันได้ รับรองว่าคุณจะได้สุภาษิตสอนใจดี ๆ เอาไว้เป็นคติธรรมสำหรับดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน โดยจะมีสำนวนสุภาษิตอะไรบ้างที่เราคัดสรรมาฝากลองตามไปดูกันเลยดีกว่า
- คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล สำหรับสุภาษิตนี้มีความหมายว่าการคบคนแบบไหนเราก็จะกลายเป็นคนแบบนั้น เช่น ถ้าคบคนไม่ดีเขาก็จะพาเราไปเจอกับสิ่งที่ไม่ดี
- ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ความหมายของสุภาษิตนี้คือ ไม่ว่าคุณจะมีความรู้มากมายแค่ไหน แต่ถ้าทำตัวไม่ดีก็จะไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย สื่อให้เห็นว่าแค่ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถทำให้เอาตัวรอดได้
- คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ความหมายของสุภาษิตนี้คือ ถ้าหากเป็นที่อยู่อาศัยแม้ว่าจะเล็กหรือคับแคบคุณก็สามารถอยู่ได้ แต่ถ้าหากอยู่ที่ไหนแล้วรู้สึกอึดอัด คับอกคับใจ ต่อให้เป็นสถานที่ขนาดใหญ่ก็อยู่ไม่ได้
- ตามใจปากมากหนี้ สุภาษิตนี้มีความหมายว่า อย่าเห็นแก่กินเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเราอยากกินโน้นอยากกินนี่มากเกินไปก็จะสิ้นเปลืองเงิน
- เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ ความหมายของสุภาษิตนี้คือ การเอาตัวเองไปเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นทั้งที่ตัวเองไม่ได้ผลประโยชน์กับเรื่องนั้น โดยมีเหตุให้ต้องรับบาปไปด้วยและเสียหายไปด้วยทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย
- ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา สุภาษิตนี้มาจากที่สมัยก่อนมีคนศึกษาเล่าเรียนน้อย การเขียนการอ่านก็ยังไม่แพร่หลายไปในแต่ละที่ สำหรับบางคนเลยได้ดีเพราะปากเป็นส่วนใหญ่ การคิดเลขหรือการคำนวณที่จะทำให้คนนั้นได้ดีมีน้อยมาก ส่วนการทำตัวก็เป็นเหมือนสิ่งที่ตราหน้าว่าคน ๆ นั้นเป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว
- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง สำหรับสุภาษิตนี้ความหมายคือ บางครั้งคำพูดก็อาจก่อให้เกิดผลเสียกับบุคคลอื่นได้ ดังนั้นถ้าอยากให้เกิดผลดีก็ควรจะอยู่นิ่งมากกว่าจะพูดอะไรออกไป เพราะถ้าพูดมากเกินไปอาจเสียทั้งตัวเอง และเสียไปถึงคนรอบข้างได้
- ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก สุภาษิตนี้หมายความว่า การจะอบรมสั่งสอนใครสักคน ควรเริ่มต้นอบรมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งเป็นช่วงที่สั่งสอนได้ง่าย เพราะถ้ารอจนแก่ตัวไปแล้วจะดัดยาก สอนยาก ต่างจากไม้อ่อนที่ดัดได้ง่าย
- รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี สำหรับสุภาษิตนี้ความหมายคือ ถ้าลูกดื้อก็ควรจะดุหรือตีบ้าง อย่าปล่อยลูกให้ทำผิดต่อไปแบบไม่รู้สึกตัว เพราะบางครั้งการตามใจมากเกินไปก็ส่งผลต่อนิสัยในอนาคตได้
- สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ความหมายของสุภาษิตนี้คือ คนเราอาจผิดพลาดกันได้ แม้แต่นักปราชญ์ที่การศึกษาสูงก็ต้องเคยผิดพลาดมาก่อน ดังนั้นต้องห้ามประมาทในการใช้ชีวิต แม้จะเป็นสัตว์สี่เท้าก็ยังพลาดล้มได้ ดังนั้นเราที่เป็นคนมีสองเท้าก็ต้องมีพลาดได้เหมือนกัน
เชื่อว่าทุกคนคงจะเห็นกันแล้วว่าสุภาษิตอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คืออะไร และมีความหมายอะไรบ้างในเชิงจิตวิทยา นอกจากนี้เราก็ยังมีสุภาษิตอื่น ๆ มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันด้วย ลองเอาไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน รับรองว่าคุณจะได้คติสอนใจดี ๆ อย่างแน่นอน สุภาษิตเหล่านี้สร้างขึ้นมาจากแนวทางการใช้ชีวิตเป็นส่วนใหญ่ รับรองว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างระมัดระวัง อีกทั้งยังเป็นคนที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://hoonsmart.com/archives/279190
- https://www.wordyguru.com/article/20-สุภาษิตสอนใจ
- https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/waiting
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://t1.blockdit.com/photos/2019/07/5d22b8f4b4fce81003d93c23_800x0xcover_v-SnacB4.jpg
- https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_537500_540000/538691/cms/images/562018_2.jpg
- https://www.painandpill.com/sites/tylenol_th/files/no.36_fuekluukrakaihruucchakrkhy.jpg