หากจะพูดถึง สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ นั้นถือว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กวัยเรียน ที่เป็นวัยที่กำลังมีความอยากรู้อยากทดลอง การศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เยาวชนได้ทดลองและเรียนรู้ความเป็นเหตุและผลตามศาสตร์สาระการเรียนรู้ในแต่ละหมวดหมู่ในชีวิตประจำวันอย่างครบถ้วน
ในหลักสูตรการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องมีการทดลองหรือการทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ในสาขาวิชาสอดแทรกในแผนการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถทำความเข้าใจกลไกที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ได้มีทักษะการสังเกต ฝึกการวิเคราะห์ และเพิ่มทักษะการจดจำ เพื่อต่อยอดไปยังบทเรียนที่ซับซ้อนมากขึ้นในอนาคตได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง
คำเตือน
ในการประดิษฐ์ หากมีการใช้งานของมีคมหรือของอันตราย เช่น มีด คัตเตอร์ บัดกรี เลื่อย ให้ทำโดยมีผู้ปกครองอยู่ด้วยเสมอ
🔔 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ประเภทใช้ไฟฟ้า และมอเตอร์ในการประดิษฐ์ 🔔
👑 1. สร้างรถของเล่นไฟฟ้า ด้วยขวดพลาสติก 👑
🎯 ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 1 ที่มาแนะนำในวันนี้คือ รถของเล่นไฟฟ้า จากขวดพลาสติก ทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน ระดับ ประถมปลาย หรือมัธยมต้น โดยใช้พลังงานจากถ่าน 9V เป็นตัวหมุนใบพัด ทำให้รถเคลื่อนที่ และใช้ล้อรถที่ทำจากฝาขวด เพราะเป็นรูปร่างทรงกลม สามารถวิ่งได้ ส่วนตัวรถนั้นทำจากขวด โดยใช้ส่วนหัว เพราะเป็นรูปทรงที่ทำให้รถวิ่งได้เร็วขึ้น มีสวิตช์เปิด/ปิด บนตัวรถ
🎯 อุปกรณ์ที่ต้องมี
- ขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็ก
- ปากกาเมจิค
- คัตเตอร์ กรรไกร ไม้บรรทัด
- กระป๋องน้ำอัดลม
- มอเตอร์
- หลอด และฝาขวด 4 ฝา (สำหรับทำล้อ)
- ไม้เสียบ
- สายไฟ ถ่าน 9V 1 ก้อน
- สวิทช์
- ปืนกาว
🎯 วิธีการทำ
- นำขวดมาตัด ให้เป็นช่องสำหรับใส่ถ่านเข้าไปด้านใน
- ติดตั้ง สวิทช์ สายไฟ และมอเตอร์
- สร้างใบพัดของรถ จากกระป๋องน้ำอัดลม
- สร้างล้อจากฝาขวด โดยเจาะรูและใส่ไม้เสียบ ครอบด้วยหลอดอีกที
👑 2. เครื่องปั้มน้ำ 👑
🎯 ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์
ดูสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของเล่นกันไปแล้ว มาดูสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของใช้กันบ้างดีกว่า ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้จริง นั่นคือ เครื่องปั้มน้ำนั่นเอง การทำงานของเครื่องจะใช้มอเตอร์หมุนใบพัดที่ตัดเป็นเกลียว เพื่อดึงน้ำเข้ามาจากท่อหนึ่ง แล้วปล่อยไปยังอีกท่อหนึ่ง โดยวิธีการทำระดับ ง่าย-ปานกลาง ทำยังไงมาดูกันเลย
🎯 อุปกรณ์ที่ต้องมี
- กล่องพลาสติกเปล่า (ใสหรือทึบก็ได้)
- คัตเตอร์
- DC Motor
- แบตเตอรี่ 9V
- สวิตช์
- หัวแรงและลวด
- สายไฟ
- กาวร้อน
- สายยางขนาดเล็ก
🎯 วิธีการทำ
👑 3. กระปุกออมสินแบบมีคันโยก 👑
🎯 ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์
สิ่งประดิษฐ์นี้ไม่มีมอเตอร์ และการใช้ไฟฟ้าแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้กลไกง่ายๆ ในการทำคันโยกที่ใช้เก็บเหรียญ สิ่งประดิษฐ์นี้อยู่ในระดับง่าย สำหรับน้องๆประถม ทำกันได้เลยจ้า
🎯 อุปกรณ์ที่ต้องมี
- กระดาษลัง
- กาวร้อน / กาว UHU
- คัตเตอร์
- ไม้เสียบ
- กระดาษสี หรือของตกแต่ง
- ยาง
🎯 วิธีการทำ
- ตัดกระดาษ ทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยม
- เจาะไม้เสียบเพื่อทำเป็นคันโยก
- เชื่อมคันโยก กับฝากล่องด้วยยาง
- ตกแต่งให้สวยงาม
🔔 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ทำง่ายๆจากวัสดุใกล้ตัว 🔔
🔔 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ สุดล้ำจากวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ทวีคูณ! 🔔
สำหรับสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ทำได้ง่ายและสะดวกที่สุดและเหมาะกับเด็กวัยเริ่มต้นประดิษฐ์ที่สุดโดยมีอุปกรณ์หลักที่จะต้องใช้ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติก กรรไกร และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์อย่างขวดน้ำนั้นถือว่าเป็นสิ่งของเหลือใช้ที่มีประจำอยู่ทุกบ้านอย่างแน่นอน เริ่มต้นจากการนำขวดน้ำที่ได้มาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยและนำไปตากให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้ทำงานประดิษฐ์ทักครั้ง
กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก นำขวดน้ำมาตัดผ่าครึ่ง แล้วนำส่วนก้นขวดมาวาดตกแต่งเป็นตัวการ์ตูนต่าง ๆ โดยมีการเจาะรูบริเวณก้นขวด เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมและแลกเปลี่ยนอากาศได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยเด็ก ๆ สามารถใช้จินตนาการในการเพ้นท์และวาดตัวการ์ตูนได้อย่างเต็มที่ เพื่อความน่ารักและความสวยงามของชิ้นงาน
แท่นแขวนแปรงสีฟันจากฝาขวดน้ำ เมื่อได้ทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากตัวขวดไปเรียบร้อยแล้ว ตัวฝาก็สามารถนำมาประดิษฐ์สร้างมูลค่าเพิ่มได้เช่นเดียวกัน โดยการนำมาตัดเฉือนออกตามขนาดความกว้างเท่ากับบริเวณคอของแปรงสีฟัน เพื่อให้สามารถแขวนได้อย่างสะดวก จากนั้นนำไปแปะวางประดับเอาไว้ในห้องน้ำประกอบรวมให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เพื่อให้มีความน่าสนใจและมีประโยชน์กับสมาชิกในครอบครัวทุกคน ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจเล็ก ๆ ให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย ซึ่งขั้นตอนการใช้ของมีคมนี้ผู้ปกครองควรมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย
👑 ประโยชน์ของการประดิษฐ์สิ่งของในวัยเด็ก 👑
สำหรับการทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ในเด็กวัยเรียนนั้นล้วนมีแต่ข้อดีแก่พัฒนาการของเด็กมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยทำให้เด็ก ๆ ได้ใช้ช่วงเวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยกระตุ้นทักษะทางความคิด การเชื่อมโยงผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง โดยอยู่ภายใต้การดูแลในด้านความปลอดภัยจากผู้ปกครองจึงถือว่าเป็นการสร้างความรักและความอบอุ่นให้เกิดเพิ่มมากขึ้นในครอบครัว
นอกจากนี้การลงมือทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ยังเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กประถมวัยได้เป็นอย่างดี ทำให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาการไปได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมกับวัย และยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ฝึกให้ตัวเด็กกลายเป็นคนที่มีเหตุผลรอบคอบ มีจิตใจที่ละเอียดอ่อน ฝึกความใจเย็นมีความอดทน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และช่วยฝึกให้เด็กสมาธิในการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
ภาพบางส่วนจาก https://www.youtube.com/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎