ซอฟต์แวร์ เป็นหนึ่งในคำที่เชื่อว่าผู้คนส่วนมากจะต้องเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างไม่ก็บ่อย แต่อย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินสักครั้งหนึ่งในชีวิตอย่างแน่นอน อาจจะผ่านมาในวิชาเรียน หรือได้ยินผ่านหูจากทีวี ยูทูป ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ที่มักจะผ่านมาให้เห็นเมื่อมีการพูดถึงเทคโนโลยี แล้วความหมายของคำนี้คืออะไร ทำหน้าที่แบบไหน มีกี่ประเภท มีประโยชน์อย่างไร แล้วทำไมคำนี้หรือสิ่งนี้ถึงใกล้ตัวของเรา จะใกล้ตัวเรามากแค่ไหน เป็นโอกาสดีที่เราจะมาค้นหาคำตอบและทำความรู้จัก SOFTWARE ไปด้วยกัน
เจาะลึกความหมายของ ซอฟต์แวร์ คืออะไร มีกี่แบบ และแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ณ ปัจจุบัน เราคงได้ยินคำว่า ซอฟต์แวร์ กันบ่อย ๆ ในเวลาที่มีการพูดถึงเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางไอที ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่มีการเปิดตัวสินค้าไอทีใหม่ หรือเวลาที่มีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ก็มักจะมีคำนี้มาเกี่ยวข้อง แต่หลายคนอาจสับสนกับคำว่าฮาร์ดแวร์ รู้หรือไม่ว่าสองคำนี้มีความหมายและหน้าที่ที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีความเชื่อมโยงกันอยู่ แล้ว ซอฟต์แวร์ กับ ฮาร์ดแวร์ ต่างกันอย่างไร ในวันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจถึงความหมายของคำว่า SOFTWARE และไขความสับสนกับฮาร์ดแวร์ให้กระจ่าง ไปดูกันเลย
-
ความหมายของ ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกัน เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ชุดคำสั่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้นั้นก็ต้องมีผู้สร้าง นั่นก็คือนักเขียนโปรแกรมนั่นเอง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะทำงานได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการสร้าง ซอฟต์แวร์ นี่แหละ แล้วฮาร์ดแวร์เกี่ยวข้องยังไงล่ะ ฮาร์ดแวร์ก็คืออุปกรณ์ภายนอกที่จะทำงานโดยรับคำสั่งมานั่นเอง เปรียบง่ายๆคือ ฮาร์ดแวร์เป็นแขนขา ส่วน SOFTWARE ก็เป็นคำสั่งจากสมองนั่นเอง
-
ประเภทของ ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า SOFTWARE นั้นได้มีการแบ่งประเภทออกมาด้วย ที่จริงแล้ว ซอฟต์แวร์ นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ เลยคือ ประเภทที่หนึ่งเรียกว่า ซอฟต์แวร์ระบบ (SYSTEM SOFTWARE) และ ประเภทที่สองเรียกว่า ซอฟแวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE) โดยที่ทั้งสองประเภทนี้ก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกันและมีแบ่งแยกย่อยออกไปตามหน้าที่การใช้งานอีกด้วย แต่ละประเภทเป็นอย่างไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ไปดูกัน
- ซอฟต์แวร์ระบบ (SYSTEM SOFTWARE) คือชุดคำสั่งหรือโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ควบคุมพื้นฐานการทำงานของฮาร์ดแวร์ ที่จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานนั้นใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ได้อย่างดีขึ้น มักจะเป็นโปรแกรมเบื้องหลังที่เป็นระบบหลักไว้ใช้ดูแลภายในของอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการ ไดร์เวอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการนั้นก็มีหลายแบบ เช่นระบบปฏิบัติการ OS หรือระบบปฏิบัติการ WINDOWS และยังมีอีกมาก ระบบเหล่านี้ก็มีการเขียนชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน และส่งผลต่อฮาร์ดแวร์ไม่เหมือนกันอีกด้วย
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE) คือประเภทหนึ่งของชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ถูกเขียนหรือสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานภายในที่ดีขึ้นและเพื่อเพิ่มความสามารถของคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยที่จะไม่ใช่การทำงานที่มีหน้าที่ในการดูแลระบบเบื้องหลังแล้ว แต่จะเป็นการทำงานที่เฉพาะเจาะจงหน้าที่มากขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่าแอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยที่จะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ USER PROGRAM และ PACKAGE PROGRAM
- USER PROGRAM เป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานที่เฉพาะทาง เช่นโปรแกรมทางด้านบัญชี
- PACKAGE PROGRAM เป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานทั่วไปเช่น MICROSOFT WORD
-
แนะนำ ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ ใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้ามไป
อาจจะยังเห็นภาพกันไม่ชัดว่า ซอฟต์แวร์ แต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร เราจึงจะมายกตัวอย่างจากสิ่งของใกล้ตัวที่ใช้ชุดคำสั่ง ระบบต่างๆ เพื่อที่อาจจะทำให้คุณ “อ๋อ” กันมากขึ้น เริ่มกันที่ “ ซอฟต์แวร์ระบบ ”ก่อนเลย ซอฟต์แวร์ระบบใกล้ตัวเรานั้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ WINDOWS ที่อยู่ในโน้ตบุ๊กของเราที่มีตัวเลขตามหลังที่แตกต่างกัน หรือเวลาที่ทาง APPLE เปิดตัวระบบปฏิบัติ IOS ใหม่ๆ นั่นคือการ การพัฒนา ซอฟต์แวร์ ของแต่ละบริษัทนั่นเอง เพื่อที่จะรองรับเทคโนโลยีใหม่และการใช้งานที่ดีขึ้น
ต่อกันที่ “ ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ ” ใกล้ตัว สิ่งนี้บอกเลยว่าเป็นอะไรที่เราใช้งานกันอยู่แล้วทุกวัน ก็คือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ นั่นเอง เช่น แอพไลน์ เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เกม ฟังเพลง และอื่น ๆ อีกมากที่เราใช้งานกันผ่านโทรศัพท์มือถือ แล้ว APPLICATION SOFTWARE ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กล่ะมีอะไรบ้าง แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มักจะถูกเรียกในชื่อว่าโปรแกรม ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ GOOGLE CHROME, โปรแกรม MICROSOFT OFFICE และอีกมากมาย คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว
สรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจกันอย่างง่ายถึงการทำงานของ ซอฟต์แวร์ ว่ามีหน้าที่อะไรและใช้งานอย่างไร
มาถึงตรงนี้เราเชื่อว่าทุกคนคงได้ทำความรู้จักกับ ซอฟต์แวร์ และรู้ถึงความหมายกันไปเป็นอย่างดีแล้ว แต่ขอสรุปการทำงานของแต่ละประเภทอย่างง่าย อีกครั้ง SYSTEM SOFTWARE นั้นไม่จำเป็นต้องสั่งการอะไรเพียงแค่เปิดเครื่องก็จะทำงานได้เอง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดูแลระบบของฮาร์ดแวร์ แต่ APPLICATION SOFTWARE จำเป็นต้องได้รับการสั่งงานจากผู้ใช้อีกครั้ง และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานทั่วไป คงจะพอนึกภาพกันออกแล้ว เหตุผลที่ว่าทำไมคำนี้ถึงเป็นคำที่ได้ยินกันบ่อยนัก
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎