ภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นภาษาในการสื่อสารที่สำคัญ ไม่ใช่เฉพาะแต่ชาวภาคเหนือเท่านั้น เพราะยังมีคนอีกหลายภูมิภาคที่สนใจในสเน่ห์ของภาษาพื้นเมืองดังกล่าว นั่นก็เพราะว่าประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีหลายภูมิภาคและมีชาวพื้นเมืองที่หลากหลายอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยหนึ่งในชาวพื้นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ทั้งยังมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงภาษาในการสื่อสารที่ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือภาษาเหนือ ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าภาษาดังกล่าวนั้นมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่ควรค่าแก่การศึกษา รวมถึงอนุรักษ์เอาไว้ให้เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทยเลยนั่นเอง โดยภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีคำไหนบ้าง “ตามมาอ่านไปโตยกั๋นได้เลยเจ้า”
ประโยคภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จดไว้ได้ใช้แน่นอน
นอกจากเรื่องของสำเนียงในภาษาเหนือ ที่อาจจะทำให้คนซึ่งไม่เคยเรียนรู้ภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวันกันมาก่อนไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริง รวมถึงมีคำศัพท์บางคำที่แตกต่างไปจากภาษากลางซึ่งใช้กันโดยทั่วไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว คำบางคำในภาษาเหนือก็ยังพอที่จะทำให้เราสามารถคาดเดาความหมายของประโยคโดยรวมได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นภาษาเหนือจึงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งภาษาถิ่นที่มีความน่าสนใจ ทั้งยังสนุกที่จะได้เรียนรู้เป็นคลังคำติดตัวเอาไว้ เพราะเข้าใจได้ง่าย จำไม่ยาก ทั้งยังมีความน่ารักแบบกลิ่นอายของชาวเหนือแท้ ๆ อีกด้วย ซึ่งประโยคที่ใช้กันได้ในชีวิตประจำวันก็ได้แก่
- ไป-ตาง-ใด-มา มีความหมายว่า ไปไหนมา
- ไป๋-เถิง-จัง-งาย-บ่อ มีความหมายว่า เดินทางลำบากไหม
- มา-หา-ไผ๋ มีความหมายว่า มาหาใคร
- มา-เมิน-แล้ว-กา มีความหมายว่า มานานแล้วเหรอ
- กิ๋น-ข้าว-แล้ว-ก๋า มีความหมายว่า กินข้าวหรือยัง
- กิ๋น-ข้าว-กับ-หยัง มีความหมายว่า กินข้าวกับอะไร
- เป๋น-ใด สบาย-ดี-บ๋อ มีความหมายว่า เป็นยังไงบ้าง สบายดีไหม
- สบาย-ดี-ก่อ มีความหมายว่า สบายดีไหม
- ตั๋ว-ยะ-ก๋าน-อะ-หยัง มีความหมายว่า เธอทำงานอะไร
- อัน-นี้-รา-คา-เต้า-ใด มีความหมายว่า อันนี้ราคาเท่าไหร่
- ไป-แอ่ว-ไหน-มา มีความหมายว่า ไปเที่ยวที่ไหนมา
- ขอ-สุ-มา-เต๊อะ มีความหมายว่า ขอโทษ
- จะ-ไป-กึ๊ด-นัก มีความหมายว่า อย่าคิดมาก
- กึ๊ด-ม่ะ-ออก มีความหมายว่า คิดไม่ออก
- ไว้-ปิ้ก-มา-ใหม่-กั๋น-เน่อ-เจ้า มีความหมายว่า เอาไว้กลับมาใหม่กันนะ
- มี-หยัง-กั๋น มีความหมายว่า มีอะไรกัน หรือ มีอะไรเหรอ
- จ๊าด-ลำ มีความหมายว่า อร่อยมาก
- จ้วย-อู้-แหม-กำ-ได้-ก่อ มีความหมายว่า ช่วยพูดอีกครั้งได้ไหม
- อยาก-หื้อ-เปิ้น-จ้วย-อะ-หยัง-ก่อ มีความหมายว่า ต้องการให้ฉันช่วยอะไรไหม
- จะ-ไป-นอน-เดิก-เน่อ มีความหมายว่า อย่านอนดึกนะ
- ผ่อ-ตัว-เก่า-ดี ๆ -เน่อ มีความหมายว่า ดูแลตัวเองดี ๆ นะ
- ขอ-หื้อ-วัน-นี้-เป็น-วัน-ตี้-ดี-เน่อ มีความหมายว่า ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะ
- ขะ-จ๊าย-โวย ๆ มีความหมายว่า เร็ว ๆ หน่อย
- ตั๋ว-เข้า-ใจ๋-ก่อ มีความหมายว่า คุณเข้าใจไหม
- ตั๋ว-บ้าน-มี-ตาง-ใด มีความหมายว่า บ้านเธออยู่ที่ไหน
- บ่า-เอา-ละ ขอบ-คุณ-เน่อ มีความหมายว่า ไม่เอาแล้ว ขอบคุณนะ
- ขอ-แหม-หน่อย-ได้-ก่อ มีความหมายว่า ขออีกหน่อยได้ไหม
- หว่าง-นี้-เจ๋บ-แอว-หนัก-พ่อง มีความหมายว่า ระยะนี้ปวดเอวมาหน่อย
- ท่า-กำ-เน่อ จะ-ไป-เอา-สะตาง-ก่อน ท่า รอก่อนนะ จะไปเอาเงินก่อน
คำสรรพนามแทนตัวในภาษาเหนือ
คำศัพท์ที่เรียกว่า ‘คำสรรพนาม’ ไม่ว่าจะเป็นในภาษาไทยภาคกลางที่ใช้เพื่อสื่อสารกันทั่วไป หรือจะเป็นคำสรรพนามในภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือคำศัพท์ที่เอาไว้ใช้เรียกแทนบุคคล สัตว์ สิ่งของ รวมไปถึงสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้โครงสร้างของประโยคมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยคำสรรพนามก็จะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 6 ประเภทเพื่อแบ่งแยกออกไปว่ามันเป็นสรรพนามเพื่อใช้แทนสิ่งประเภทไหน เช่น
- บุรุษสรรพนาม : สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล (ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่ถูกกล่าวถึง เช่น ฉัน เธอ คุณ เขา)
- นิยมสรรพนาม : สรรพนามชี้เฉพาะ (เช่น ปีนี้ ตอนนี้ เวลานี้)
- อนิยมสรรพนาม : สรรพนามที่บอกความไม่เจาะจง (เช่น ใด ๆ อะไรๆ )
- ประพันธสรรพนาม : สรรพนามที่เอาไว้ใช้เชื่อมประโยค (ที่ ซึ่ง อัน)
- วิภาคสรรพนาม : สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (เช่น ต่าง กันและกัน)
- ปฤจฉาสรรพนาม : สรรพนามที่เป็นคำถาม (เช่น ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม)
ซึ่งคำสรรพนามที่ใช้กันในภาไทยกลางกับภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็จะมีหลักในการแบ่งแยกไม่ได้ต่างกัน แต่จะต่างกันตรงคำศัพท์ที่ใช้ ซึ่งอาจจะทำให้บรรดามือใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มทำการเรียนรู้ หรือศึกษาภาษาเหนือด้วยตัวเองเกิดความสับสนกันได้ โดยคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสรรพนามแทนตัวในภาษาเหนือ ที่ควรจะรู้เอาไว้รวมทั้งเป็นคำศัพท์เบื้องต้นที่อาจจะได้ใช้บ่อยมากที่สุดก็จะมีอยู่หลายคำ เช่น
- ตั๋ว มีความหมายว่า เธอ (มีความหมายสุภาพ ใช้ได้กับบุคคลที่เพิ่งพบเห็นหรือต้องการให้ความเคารพ)
- คิง มีความหมายว่า เธอ (ใช้กับเพื่อนหรือคนที่สนิทกันเท่านั้น)
- เปิ้น มีความหมายว่า ฉัน (มีความหมายสุภาพ ใช้ได้กับบุคคลที่เพิ่งพบเห็นหรือต้องการให้ความเคารพ)
- ฮา มีความหมายว่า ฉัน (ใช้กับเพื่อนหรือคนที่สนิทกันเท่านั้น)
- เปิ้น มีความหมายว่า เขา
- ป้อจาย มีความหมายว่า ผู้ชาย
- แม่ญิง (ออกเสียงว่าแม่ยิง) มีความหมายว่า ผู้หญิง
- หมู่เขา มีความหมายว่า พวกเขา
- สูเขา มีความหมายว่า พวกเขาหรือพวกเธอ
- หมู่เฮา มีความหมายว่า พวกเรา
- อิป้อ มีความหมายว่า พ่อ
- อิแม่ มีความหมายว่า แม่
แจกคลังคำศัพท์ภาษาเหนือน่ารู้
- หัน มีความหมายว่า เห็น
- อู้ มีความหมายว่า พูด
- ฮัก มีความหมายว่า รัก
- อิด มีความหมายว่า เหนื่อย
- ฮ้อง มีความหมายว่า เรียก
- ม่วน มีความหมายว่า สนุก
- ติ้ว มีความหมายว่า หิ้ว
- หื้อ มีความหมายว่า ให้
- ล่น มีความหมายว่า วิ่ง
- เจ้น มีความหมายว่า เช่น
- หื่อ มีความหมายว่า ให้
- ยะ มีความหมายว่า ทำ
- ขี้จุ๊ มีความหมายว่า โกหก
- เจ๊บ มีความหมายว่า เจ็บ
- อาจ๋าน มีความหมายว่า อาจารย์
- แม่ก๊า มีความหมายว่า แม่ค้า
- ป้อก๊า มีความหมายว่า พ่อค้า
- จ้อง มีความหมายว่า ร่ม
- หว่ายรถ มีความหมายว่า กลับรถ
- โตย มีความหมายว่า ด้วย
- ละอ่อน มีความหมายว่า เด็ก
- ใค่ฮาก มีความหมายว่า อยากอ้วก
- แอ่ว มีความหมายว่า เที่ยว
- ท่า มีความหมายว่า คอย
- ผ่อ มีความหมายว่า มอง
- บ่ มีความหมายว่า ไม่
- จะอั้น มีความหมายว่า อย่างนั้น
- จะไปพั่ง มีความหมายว่า อย่ารีบ
- จะใด มีความหมายว่า อย่างไร
- แอว มีความหมายว่า เอว
- ต๋า มีความหมายว่า ตา
- เขี้ยว มีความหมายว่า ฟัน
- ต๊อง มีความหมายว่า ท้อง
- ป้อหลวง มีความหมายว่า ผู้ใหญ่บ้าน
- จาวนา มีความหมายว่า ชาวนา
- จ๊อน มีความหมายว่า ช้อน
- เกือก /เกิบ มีความหมายว่า รองเท้า
- ข้าวเจ้า มีความหมายว่า ข้าวเช้า
- ข้าวตอน มีความหมายว่า ข้าวกลางวัน
- ข้าวแลง มีความหมายว่า ข้าวเย็น
- ขายคัว มีความหมายว่า ขายของ
- เฮือน มีความหมายว่า เรือน
- ร้านก้า มีความหมายว่า ร้านค้า
- กาด มีความหมายว่า ตลาด
- ผ้าต๊วบ มีความหมายว่า ผ้าห่ม
ศัพท์ผักและผลไม้ ไปเมืองเหนือไม่มีอดอยากแน่นอน
- ม่ะก้วยเต้ศ มีความหมายว่า มะละกอ
- ก้วยอ่อง มีความหมายว่า กล้วยน้ำว้า
- ส้มเกลี้ยง มีความหมายว่า ส้มเขียวหวาน
- หมะเขือขะม่า มีความหมายว่า มะเขือยาว
- หมะห่อย มีความหมายว่า มะระขี้นก
- หมะแต๋ง มีความหมายว่า แตงกวา
- ก้วยใต้ มีความหมายว่า กล้วยน้ำว้า
- หมะตัน มีความหมายว่า พุทรา
- หมะมุด มีความหมายว่า ละมุด
- หมะแขว้ง มีความหมายว่า มะเขือพวง
- บ่ะเขือส้ม มีความหมายว่า มะเขือเทศ
- บะตึ๋น มีความหมายว่า กระท้อน
- ชักไคร มีความหมายว่า ตะไคร้
- ผักแคบ มีความหมายว่า ตำลึง
- ผักแค มีความหมายว่า ชะพลู
- หมะตื๋น/หมะต้อง มีความหมายว่า กระท้อน
- หมะผาง มีความหมายว่า มะปราง
- บ่ะก้วย/ก้วยก๋า/ก้วยเปา มีความหมายว่า ฝรั่ง
- หมะหนุน/บ่ะหนุน มีความหมายว่า ขนุน
- หมะป๊าว มีความหมายว่า มะพร้าว
- หมะโอ มีความหมายว่า ส้มโอ
- หมะฟักแก้ว มีความหมายว่า ฟักทอง
- ผักก๊อมก้อ มีความหมายว่า โหระพา
- หมะฟักหม่น มีความหมายว่า ฟักเขียว
- มันอะลู มีความหมายว่า มันฝรั่ง
- ผักป้อม มีความหมายว่า ผักชี
- หมะแขว้งขม มีความหมายว่า มะแว้ง
- บ่ะเขือมื่น มีความหมายว่า กระเจี๊ยบเขียว
- เข้าโป้ด มีความหมายว่า ข้าวโพด
- ผักหละ มีความหมายว่า ชะอม
- บ่ะถั่วซ้าง มีความหมายว่า ถั่วฟักยาว
- ผักหนอก มีความหมายว่า ใบบัวบก
- หอมด่วน มีความหมายว่า สะระแหน่
- พริกหนุ่ม มีความหมายว่า พริกสด
- สะเลียม มีความหมายว่า สะเดา
การนับเลขในภาษาเหนือ
การจะเรียนรู้คำศัพท์ภาษาเหนือที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ นอกจากจะต้องศึกษาคำศัพท์พื้นฐานทั่วไป รวมไปถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสรรพนามหมวดต่าง ๆ แล้ว การจดจำคำศัพท์ที่ใช้นับเลขตลอดจนตัวเลขพื้นฐานต่าง ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะในเวลาที่เราต้องการซื้อของ ซื้ออาหาร หรือต้องการต่อราคากับเหล่าพ่อค้าแม่ขายก็จะได้เข้าใจได้ง่าย รวมถึงสามารถคำนวณราคาสินค้าเวลาไปเดินตลาดได้ง่ายด้วยนั่นเอง
- เลข 1 ในภาษาเหนือใช้คำว่า นึ่ง
- เลข 2 ในภาษาเหนือใช้คำว่า สอง
- เลข 3 ในภาษาเหนือใช้คำว่า สาม
- เลข 4 ในภาษาเหนือใช้คำว่า สี่
- เลข 5 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ห้า
- เลข 6 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ฮก
- เลข 7 ในภาษาเหนือใช้คำว่า เจ๋ด
- เลข 8 ในภาษาเหนือใช้คำว่า แปด
- เลข 9 ในภาษาเหนือใช้คำว่า เก้า
- เลข 10 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ซิบ
- เลข 11 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ซิบเอ๋ด
- เลข 20 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ซาว
- เลข 21 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ซาวเอ๋ด
- เลข 100 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ร้อย
- เลข 220 ในภาษาเหนือใช้คำว่า สองร้อยซาว
- เลข 221 ในภาษาเหนือใช้คำว่า สองร้อยซาวเอ็ด
- เลข 1,000 ในภาษาเหนือใช้คำว่า ปันนึ่ง/ปันเดว