สำหรับคนไทยการไหว้คือการทักทายกัน เหมือนกับต่างชาติหรือคนทั่วโลกปฏิบัติเมื่อพบเจอหน้ากันและการไหว้ของคนไทยมีหลากหลายรูปแบบ โดยจะแสดงออกตามอายุ ความเหมาะสม รวมไปถึง การไหว้พระสงฆ์ ในสถานการณ์ที่เดินทางไปวัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และการได้ตื่นเช้าตักบาตร อย่างไรก็ตามสำหรับวิธี การไหว้พระสงฆ์ รวมไปถึงการกราบบุคคลต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดมากมาย ลองไปศึกษาพร้อม ๆ กัน
รวมการกราบไหว้ในบริบทต่าง ๆ
สำหรับการไหว้และกราบจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมและช่วงอายุ อีกทั้งขึ้นอยู่กับว่าแสดงออกต่อบุคคลหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใด ศึกษาตามรายละเอียดได้ดังนี้
- การไหว้พระสงฆ์ และกราบพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ รูปแบบการกราบ คือ แบบเบญจางคประดิษฐ์ ให้ร่างกายส่วนทั้ง 5 สัมผัสพื้น เข่าทั้ง 2 ข้าง มือทั้ง 2 ข้างและหน้าผาก แต่หากอยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยให้ก้มลงกราบตามเหมาะสมหรืออาจใช้วิธี การไหว้พระสงฆ์ ได้โดยประนมมือจะต้องให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ส่วนปลายนิ้วชี้จรดหน้าผากและทำการค่อมศีรษะลงเล็กน้อย การไหว้พระสงฆ์ เป็นการไหว้ที่ไม่ใช่แค่พระรัตนตรัยเท่านั้น ยังรวมไปถึงปูชนียวัตถุและปูชนียสถานหรือทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถกราบเบญจางคประดิษฐ์ได้ สามารถแสดงึวามเคารพด้วยการประนมมือขึ้นโดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดที่กลางระหว่างคิ้ว โดยให้นิ้วชี้แตะเหนือหน้าผาก ก้มหัวลงและค้อมหลังให้พอประมาณ
- กราบไหว้ผู้มีพระคุณบิดา มารดา ผู้ให้วิชาครูอาจารย์ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปและกราบศพ ในการกราบจะต้องนั่งพับเพียบแล้วเก็บเท้าให้เรียบร้อย จากนั้นก้มหมอบทั้งตัวแล้วเอี้ยวตัวให้ข้อศอกแนบกับพื้นตลอดถึงมือ พร้อมพนมมือ ก้มศีรษะลงโดยหน้าผากจะต้องจรดมือ กราบเพียงครั้งเดียวโดยที่ไม่ต้องแบราบ
- การกราบไหว้บุคคลที่อาวุโสกว่าอย่างเช่น พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือไหว้บุคคลที่เคารพ รูปแบบการไว้จะต้องประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับโน้มศีรษะโดยให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
- การไหว้บุคคลที่อายุเท่ากัน จะไม่โน้มตัวลงมากกว่ารูปแบบอื่น เพียงแต่ประนมมือพร้อมโน้มสีศีรษะลงเล้กน้อย โดยให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
- การกราบไหว้บูชายานพาหนะเช่นรถ สำหรับรูปแบบการไหว้นี้เป็นเรื่องของความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาในผู้ที่ออกรถใหม่ป้ายแดงจะทำพิธีการไหว้บูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษารถ อย่างแม่ย่านาง ถือเป็นผู้ปกปักรักษาและส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองและก่อนที่จะออกเดินทางจะทำให้การเดินทางปลอดภัย แต่บางคนที่เชื่อและศรัทธามักจะให้ความสำคัญกับเรื่องฤกษ์งามยามดี เตรียมข้าวของสำหรับไหว้บูชา
การ การไหว้พระสงฆ์ แบบเบญจางคประดิษฐ์
สำหรับรูปแบบการกราบนี้จะใช้มในการแสดงความเคารพหรือ การไหว้พระสงฆ์ ต่อพระรัตนตรัย พระพุทธรูป โดยเป็นการจะใช้อวัยวะทั้ง 5 อันได้แก่ หน้าผาก มือ และข้อศอกทั้งสอง โดยการให้เข่าทั้งสองสัมผัสกับพื้น ซึ่งการกราบจะมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ
ท่าเตรียมเพื่อกราบ
ในการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์มีความแตกต่างทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย จะแสดงออกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามที่เรากำลังจะนำเสนอ ดังนี้
- ผู้ชาย จะต้องนั่งคุกเข่าหลังยืดตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน จากนั้นให้นั่งบนส้นเท้า อยู่ในท่าทางเข่าทั้งสองห่างพอประมาณ โดยจะต้องให้มือทั้งสองนิ้วชิดกันข้างวางคว่ำเหนือเข่า เรียกว่า ท่าเทพบุตร
- ผู้หญิง จะต้องนั่งคุกเข่าให้หลังตรงปลายเท้าราบ ให้ตั้งแต่เข่าไปถึงปลายเท้าชิดกันและนั่งบนส้นเท้า มือและนิ้วมือชืดกันวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง เรียกว่า ท่าเทพธิดา
การไหว้พระสงฆ์
- สเต็ปที่ 1 เริ่มต้นที่การยกมือขึ้นให้อยู่ในท่าประนมมือหรือที่เรียกว่า อัญชลี
- สเต็ปที่ 2 ต่อจากนั้นจะต้องยกมือขึ้นไหว้ในท่าประนมมือหรือที่เรียกว่า วันทา
- สเต็ปที่ 3 ค่อย ๆ วางมือทั้งสองลงพร้อม ๆ กันในท่ากราบพระ ให้มือและแขนทั้งสองข้างปล่อยราบไปกับพื้น คว่ำมือห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสอง
การแสดงความเคารพผู้ใหญ่ด้วยกราบไหว้
สำหรับคำว่ากราบใช่ว่าจะใช้ได้แค่กับ การไหว้พระสงฆ์ เท่านั้น สำหรับผู้มีพระคุณสามารถแสดงออกเช่นนี้ได้เช่นกัน ฉะนั้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีอายุเยอะมากกว่า ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ รวมไปถึงที่เราเคารพนับถือ สำหรับผู้หญิงและผู้ชายมีการแสดงออกในท่าทางที่เหมือนกันทั้งสอง คือ ให้อยู่ในท่านั่งพับเพียบมือทั้งสองข้างค่อย ๆ ทอดลงพร้อมกัน โดยให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าด้านล่างเพียงเข่าเดียวและมือจะยังคงต้องประนมตั้งกับพื้นไม่แบมือ ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม กราบเพียงครั้งเดียว
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ในการกราบเพื่อเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น
- กราบเท้า เป็นการแสดงออกถึงความเคารพอย่างสูงมักจะใช้กับพ่อแม่ ผู้มีพระคุณหรือบุคคลที่เคารพอย่างสูง
- กราบสามี ถือเป็นธรรมเนียมของไทยตั้งแต่อดีต ซึ่งเชื่อกันว่าภรรยาจะต้องปฏิบัติกับสามี เพื่อเป็นการขอบคุณที่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ให้ชีวิตพบเจอความสุขสบาย ทางกลับกันปัจจุบันการปฏิบัติเล่นนี้แทบไม่มีแล้ว เพราะผู้หญิงเท่าเทียมผู้ชาย สามารทำงานและเลี้ยงตัวเองได้เช่นกัน แต่ยังคงสามารถเห็นในพิธีมงคลสมรสที่ทางเจ้าสาวกราบฝ่ายเจ้าบ่าวนั้นเอง ถือเป็นการแสดงความเคารพอเช่นกัน
คงได้เห็นกันแล้วว่าวัฒนธรรมไทยไม่เพียงมีแค่ การไหว้พระสงฆ์ หรือกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น บุคคลอื่นทั้งอายุมากกว่า เท่าเทียมกันก็สามารถแสดงออกต่อกันได้เช่นกัน เพราะสำหรับคนไทยแล้วการไหว้คือการทักทายซึ่งกันแลกันถือเป็นภาพที่งดงามทีเดียว ควรรักษาไว้
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม