โรคซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ก่อเกิดมาจากความรู้สึก หรือ สารเคมีในสมองและค่อยๆลามมาในระยะเวลานาน วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งทริค ที่จะช่วยให้กำลังใจ หรือ แสดงถึงความห่วงใย ให้กับคนที่เพื่อนๆรัก หรือ รู้สึกห่วงใย ที่กำลังเผชิญอยู่กับโรคแห่งความเจ็บป่วย อันเกิดมาจากบาดแผลทางความรู้สึก หรือ สารเคมีในสมอง ให้ได้สัมผัสถึงความห่วงใย และความรู้สึกอยากช่วยเหลือ อยากรับฟังปัญหาจากเพื่อนๆได้อย่างถูกวิธีกัน
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรที่จะได้รับการรับฟัง หรือ พูดคุยกับคนรอบข้าง รวมทั้งครอบครัวไปจนถึงคนที่รักได้แบบถูกวิธี เพื่อนๆจึงควรรู้ วิธีปลอบใจคนเป็นโรคซึมเศร้าง่ายๆเพราะนอกจาก การรักษากับแพทย์เฉพาะทาง ที่จะสามารถช่วยเหลือคนที่คุณรักได้แล้ว สิ่งแวดล้อมหรือผู้คนรอบข้าง ก็สามารถเยียวยาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้เช่นกันเลยล่ะ หากเพื่อนๆอยากรู้ว่าวิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างถูกวิธี จะมีวิธีไหนบ้างก็ไปดูกันได้เลย
รวม How to วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า คุยยังไง ให้ถูกวิธี
ชวนทำกิจกรรมด้วยกัน
วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้าวิธีแรก ที่จะทำให้ผู้ป่วย หรือ คนในครอบครัว ไปจนถึงคนที่เพื่อนๆรักที่กำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า ค่อยๆรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกปลอดภัย รวมทั้งได้ใช้เวลาว่ากับคนที่รักไปกับกิจกรรมเล็กๆน้อยๆร่วมกันได้แบบไม่เครียด ทั้งยังเป็นวิธีปลอบใจคนเป็นโรคซึมเศร้าเลยก็คือ การพูดคุยชวนทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆด้วยกันนั้นเอง หากผู้ป่วยไม่อยากออกไปทำกิจกรรมข้างนอก อย่างนอกบ้าน หรือ เปลี่ยนสถานที่อื่น ก็ให้หากิจกรรมที่ทำในบ้านได้ เช่นปลูกต้นบ้าน วาดรูประบายสี กิจกรรมผ่อนคลายน่ารักๆ และระหว่างทำกิจกรรมร่วมกันก็สามารถชวนคุยกับกิจกรรมที่ทำ หรือ เรื่องอื่นๆแบบทั่วไปได้ เพียงเท่านี้ก็ช่วยเยียวยาให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว หรือ มีคนอยู่ข้างๆ เผื่ออยากระบายความรู้สึกออกมาได้ง่ายๆแล้วเช่นกันล่ะ
ไม่พูดจาตัดสินสิ่งที่อีกฝ่ายพบเจอ
แน่นอนว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น เกิดจากการพบเจอปัญหาที่กระทบกระเทือนต่อความรู้สึก หรือ สภาพจิตใจ อย่างยาวนาน หรือ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง จนทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและรู้สึกว่าโลกนี้ไม่ได้สวยงามเหมือนอย่างที่คิด ทั้งยังเกิดจากสารเคมีในสมองที่หลั่งสารบางชนิดมากจนเกินไป เมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อม หรือ สารเคมีในสมอง หรือ ไปพบเจอเรื่องราวที่ไม่ดี กระทบกระเทือนกับความรู้สึก ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเสียใจและรู้สึกหมดหวัง ไม่มีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปได้
วิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้า หากเพื่อนๆอยากจะคำปรึกษา หรือ อยากจะอยู่เคียงข้างผู้ป่วย แนะนำให้ระมัดระวังในเรื่องของการใช้คำพูดตัดสิน หรือ เชิงตัดสิน สิ่งที่อีกฝ่ายพบเจอมา เช่น การเปรียบเทียบเรื่องราวว่า มีคนอื่นเจอมาหนักกว่านี้ หรือ พูดว่าเรื่องแค่นี้เอง เพราะเรื่องแค่นี้สำหรับเราอาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนอื่นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่พยายามสู้กับโรคนี้
การพูดคุยโดยการไม่ตัดสินสิ่งที่อีกฝ่ายพบเจอมา อาจจะแค่คอยรับฟังปัญหา ไม่พูดจาตัดสินสิ่งที่อีกฝ่ายพบเจอมาก็ช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม และสัมผัสได้ถึงความหวงใย และเอาใจใส่จากเพื่อนๆได้แล้วล่ะ
รับฟังปัญหาที่ผู้ป่วยเจอมา
การรับฟังปัญหา หรือ เรื่องราวที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพบเจอมาก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยฮีลความรู้สึก และช่วยให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความใส่ใจของเพื่อนๆได้ง่ายดายเช่นกัน การพูดคุยกับผู้ป่วยในบางครั้ง หากผู้ป่วยต้องการจะบอกเล่า หรือ เล่าเรื่องราวที่พบเจอมา ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือเป็นเรื่องราวที่ผู้ป่วยไม่อาจจะผ่านไปได้ หรือ อาจจะผ่านไปได้อยากยากลำบาก
สิ่งที่ควรทำในระหว่างการพูดคุยกันก็คือ การรับฟังปัญหาที่ผู้ป่วยพบเจอมา และอยากจะบอกเล่าโดยที่ไม่พูดตัดบท หรือ พูดจบบทสนทนานั้นเอง การที่ผู้ป่วยอยากบอกเล่าเรื่องราวที่พบเจอมาให้เพื่อนๆฟัง ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยไว้ใจเพื่อนๆ และอยากจะบอกเล่าเรื่องราว หรือ อยากจะมีใครสักคนที่ไว้แชร์เรื่องราว ทั้งยังเป็นสัญญาณ ที่ไม่ควรปล่อยอีกฝ่ายให้อยู่คนเดียว หรือ ควรพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนอีกด้วยล่ะ
ให้คำปรึกษา หากทำได้
แน่นอนว่าการพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในบางเรื่อง คนปกติทั่วไปอาจจะมองเห็นหนทางแก้ปัญหาออก และสามารถผ่านเรื่องที่ต้องเผชิญ หรือ พบเจอไปได้ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เมื่อเจอสิ่งแวดล้อมที่ทำให้โรคที่เป็นอยู่ยิ่งแย่ลงกว่าเดิม
การเผชิญหน้ากับความผิดหวัง หรือ ปัญหาในบางเรื่อง ก็ไม่อาจะทำให้ผู้ป่วยผ่านเรื่องราวที่พบเจอ หรือ หาหนทางแก้ไขปัญหาได้เหมือนกับคนอื่น สิ่งที่เพื่อนๆอาจจะทำได้บ้างก็คือ การให้คำปรึกษา ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจากการค่อยๆหาหนทางแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าตัวเอง จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหา เพียงลำพังได้แล้วล่ะ
ที่สำคัญ ก็อย่าลืมว่า การที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกิดความรู้สึกเศร้า เสียใจ หรือ เผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆไม่ไหวนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมแค่อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมาจากปัจจัยของร่างกายและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมาได้ การให้คำปรึกษาในบางครั้งก็อาจจะไม่ได้ผล หรือ อีกฝ่ายอาจจะไม่ได้นำไปใช้ แต่วิธีปลอบใจคนเป็นโรคซึมเศร้า ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยสัมผัสถึงความห่วงใย และรู้สึกมีคนที่คอยเคียงข้างได้ง่ายๆเช่นกันล่ะ
ให้กำลังใจในการใช้ชีวิต
การพูดคุยอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเยียวยาและรักษาจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดีเลยก็คือ การให้กำลังใจในการใช้ชีวิตนั้นเอง โดยอาจจะเริ่มจากการชื่นชมในสิ่งที่เขามี หรือ สิ่งที่เขาเป็น หรือ อาจจะเป็นสิ่งเล็กๆที่ผู้ป่วยกำลังทำอยู่ รวมทั้งสิ่งที่เคยทำมาแล้ว หรือ อาจจะให้กำลังใจด้วยการใช้คำพูดที่ไม่เป็นการบีบบังคับ หรือ เปรียบเทียบกับผู้อื่น เช่น แค่มีชีวิตทำในสิ่งที่ชอบ ก็ถือเป็นสิ่งที่พิเศษที่สุดแล้ว หรือ แค่มีชีวิต ใช้ชีวิตในแบบที่อยากจะใช้ ปัญหาที่ผ่านมา เดี๋ยวก็จะค่อยๆผ่านไปได้ แค่นี้ก็เก่งมากๆแล้ว
การชื่นชม โดยที่ไม่บีบบังคับ ให้ผู้ป่วยต้องพยายาม หรือ เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้กำลังใจ ในการใช้ชีวิตกับผู้ป่วยโลกซึมเศร้าได้ง่ายๆแล้วเช่นกันล่ะ
ไม่พูดจารุนแรงกับผู้ป่วย
แน่นอนว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกผิดหวัง หรือ ความรู้สึกเสียใจกันอยู่แล้ว การพูดคุย หรือ พูดจาด้วยความเข้าใจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วยสัมผัสถึงความใส่ใจจากคนรอบข้างได้ และอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ควรทำกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเลยก็คือ การพูดจารุนแรง ทั้งถ้อยคำ น้ำเสียง หรือ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ไปกว่าเดิม เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้า หรือ เสียใจ รวมไปถึงโทษตัวเองได้
การพูดจารุนแรง ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนอื่นเป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญเลยก็คือ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ควรพูดจากระทบกระเทือนจิตใจ เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียความรู้สึก และอาการซึมเศร้าอาจจะแย่ลงได้ หากพลั้งพูดลงไป ก็แนะนำให้ขอโทษอย่างจริงใจและบอกไปว่าไม่ตั้งใจ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายๆเช่นกันล่ะ
ไม่พูดจากดดันผู้ป่วย
อีกหนึ่งวิธีเอาใจ คนเป็นโรคซึมเศร้าการพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ช่วยทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิมก็คือ การไม่พูดจากดดันผู้ป่วย อย่างที่เพื่อนๆรู้ดีว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอาการท้อ เหนื่อยกับการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นแล้วในบางเรื่องที่เขาต้องเผชิญหน้าอยู่ เขาอาจจะรู้สึกเผชิญหน้าไม่ไหว หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เมื่อผู้ป่วยต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้ในการใช้ชีวิตบางเรื่อง สิ่งที่เพื่อนๆควรทำก็คือ การพูดให้กำลังใจและไม่พูดจากดดันผู้ป่วยนั้นเอง การเข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยถึงมีความรู้สึกนึกคิดและเหนื่อยกับสิ่งที่ทำอยู่ ก็แค่แสดงความเข้าใจและเป็นห่วง ไม่พูดจากดดัน หรือ คาดหวังผู้ป่วยเพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเศร้า หรือ มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ง่ายๆแล้วล่ะ
ไม่พูดว่าผู้ป่วยอ่อนแอ
หลายๆครั้งที่มีข่าวเกี่ยวกับผู้เป็นโรคซึมเศร้าทำร้ายตัวเอง หรือ ไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้แล้ว ในบางครอบครัว หรือ บางคนก็ไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญหน้าอยู่ และมักจะบอกว่าผู้ป่วยอ่อนแอเสมอ เรื่องแค่นี้ทำไมผ่านไปไม่ได้ การบอกว่าผู้ป่วยอ่อนแอ ถือเป็นการแสดงออกชัดเจนว่า เพื่อนๆนั้นไม่ได้เข้าใจโรคที่ผู้ป่วยต้องเผชิญหน้าอยู่อย่างแท้จริง สิ่งที่ควรพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจ หรือ อยากระบายความรู้สึกกับเพื่อนๆจึงควรใช้คำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจ และไม่พูดว่าผู้ป่วยอ่อนแอ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้โลกของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน่าอยู่ขึ้นกว่าเดิมได้แล้วล่ะ
ไม่พูดว่า เรื่องแค่นี้เอง
แน่นอนว่าความรู้สึกเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การพบเจอเรื่องราวต่างๆบนโลกบนนี้ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเช่นกัน หากผู้ป่วยบอกเล่าเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดี หรือ เรื่องราวที่เคยพบเจอมาซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคซึมเศร้า หรือ เป็นอีกอาการจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งที่เพื่อนๆควรทำก็คือ การพูดให้กำลังใจกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยไม่กลับไปคิดวกวนกับเรื่องเดิมๆ หรือให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับเรื่องที่พบเจอได้ และที่สำคัญเลยก็คือ ไม่ควรใช้คำพูดว่าเรื่องแค่นี้เอง เพราะเหมือนเป็นการมองปัญหาที่ผู้ป่วยต้องเผชิญเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย ควรที่จะให้กำลังใจ และบอกผู้ป่วยว่าจะอยู่ข้างๆ ก็ถือเป็นอีกวิธีที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีได้ง่ายๆแล้วล่ะ
สังเกตอาการผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เสมอ
การป่วยเป็นโรคซึมเศร้าไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง ควรที่จะพบแพทย์เพื่อพูดคุยอยู่เสมอ แม้ตัวผู้ป่วยอาจจะไม่อยากรักษาด้วยการทานยา ก็สามารถปรึกษาแพทย์ วิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้าเพื่อให้แพทย์ชี้แนวทางในการรักษาได้ แถมการพูดคุยกับแพทย์ยังถือเป็นการบำบัดผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า และเป็นการสังเกตอาการของผู้ป่วย คอยระมัดระวังให้ผู้ป่วยไม่อยู่ในขั้นวิกฤต และยังเป็นการเฝ้าสังเกตอาการ แถมยังช่วยให้เพื่อนๆและครอบครัวที่รักและเป็นห่วง สบายใจว่าผู้ป่วยอยู่ในมือของแพทย์อย่างสม่ำแสมอกันได้อีกด้วยล่ะ
วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า ใช้ได้ผลจริงหรือไม่
วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า ที่นำมาแนะนำเพื่อนๆกัน ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เพื่อนๆสามารถสื่อสาร พูดคุยกับคนที่รัก คนในครอบครัว และคนใกล้ชิดที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพื่อให้เขารู้สึกถึงความห่วงใย และช่วยปรับสภาพแวดล้อม ให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากระบาย หรือ พูดคุย รวมทั้งทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น กว่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ และควรที่จะพาผู้ป่วยไปพบแพทย์อยู่เสมอด้วย เพียงเท่านี้ ก็สามารถทำให้โลกของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม หรือ มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคซึมเศร้ากันได้แล้วล่ะ