ใครที่กำลังสนใจในด้าน การเขียน เรื่องสั้น ไม่ว่าจะเป็นแนวไหน หรือมีเพียงแค่ไอเดียในหัวแต่ยังไม่รู้ตั้งต้นอย่างไรดี งานนี้ต้องบอกเลยว่าบทความนี้นำวิธีการคิดเรื่องสั้นตั้งแต่ต้น – จบ ที่ต้องบอกว่าละเอียดยิบ ซึ่งสิ่งนี้ก็สามารถนำไปใช้กับงานเขียนประเภทนิยาย หรือบทภาพยนตร์ก็ได้เช่นเดียวกัน และถ้าใครอยากหารายได้จากการเขียน จะสามารถทำผ่านช่องทางไหนบ้างไปดูรายละเอียดพร้อม ๆ กันเลย
✨ การเขียน เรื่องสั้น คืออะไรมาทำความเข้าใจกันก่อน ✨
สำหรับ การเขียน เรื่องสั้น คือการเล่าเรื่องขนาดสั้น ที่มีเพียงตัวละครเดียวในการดำเนินเรื่อง หรืออาจมีมากกว่านั้น ในส่วนของเนื้อเรื่องก็จะเน้นโฟกัสเรื่องไปที่ประเด็น ๆ เดียว สำหรับความยาวของเรื่องสั้นนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนเลย ซึ่งต้องบอกว่าสามารถมีได้ตั้งแต่ 1000 คำ – 10000 คำเลยทีเดียว แต่ในจำนวนคำต่าง ๆ นั้นเราก็จำเป็นต้องมาแยกเป็นตอน ๆ อีกที ซึ่งการเขียนก็ควรมีกำหนดไว้คร่าว ๆ แล้วว่าควรจะมีจำนวนตอนเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะกับเรื่องนั้น ๆ
เริ่มต้น การเขียน เรื่องสั้น ควรต้องคิดสิ่งไหนกันก่อนนะ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเรื่องจาก การเขียน เรื่องสั้น ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เขียนควรจะหัดเริ่ม หรือนำเอาไอเดียที่อยู่ในหัวมากมายนำมาสโคปให้ชัดลงก็จะเห็นทิศทางในการเขียนเรื่องสั้นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถนำคำถามที่ตั้งไว้ แล้วหาคำตอบตามด้วยตัวเองได้เลย
-
แนวเรื่องอยากให้เป็นแบบไหน ?
นักเขียนทุกคนจำเป็นต้องรู้ว่าเรื่องที่อยากเล่าเป็นแนวไหน ซึ่งแนวที่นี้จะหมายถึงประเภทของเนื้อเรื่อง หรือถ้าหากให้เข้าใจง่าย ๆ จะเรียกว่า Genre ที่จะมักจะเห็นในประเภทของภาพยนตร์อยู่ตลอดเช่น รักโรแมนติก รักคอมาดี้ แฟนตาซี ระทึกขวัญ สมองขวัญ ตลกโปกฮา รวมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถระบุให้เด่นชัดได้ เพื่อที่ว่าเราจะได้กำหนดอารมณ์ของเรื่องได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
-
พล็อตเรื่องสรุปสั้น ๆ สามารถอธิบายได้อย่างไร ?
เมื่อกำหนดแนวเรื่องที่จะเขียนได้เป็นที่เรียบร้อย ลองเอาไอเดียต่าง ๆ มาวางเป็นพล็อตสั้น ๆ ที่ระบุเพียงแค่ 3 – 5 บรรทัดพอ ซึ่งตรงนี้เราสามารถคิดหลายเรื่องได้ จะเป็น 5 เรื่อง หรือ 10 เรื่องก็ได้ แต่ขอให้จำกัดอยู่แค่ 3 – 5 บรรทัด โดยสามารถเล่าได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร เป็นต้น ซึ่งตรงนี้หากใครยังคิดตอนจบไม่ได้ ก็สามารถเว้นไว้ก่อนได้เลย
-
Theme หรือ Key Message ของเรื่องจะเป็นแบบไหน ?
ในส่วนสำคัญที่สุดของ การเขียน เรื่องสั้น นั่นก็คือการกำหนด Theme หรือ Key Message ที่ผู้อ่านจะได้รับอะไรกลับไป หรือใจจริงแล้วเนื้อหาของเรื่องราวทั้งหมดต้องการจะสอนอะไร แต่การเล่าเรื่องก็ไม่ใช่การบอกเรื่องนี้โดยตรง จะต้องทำให้ผู้อ่านสามารถฉุกคิดได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เป็นเรื่องราวของโลกพ่อมดที่ต้องต่อกรกับโวลเดอรเมอร์ ซึ่งธีมของเรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่า ความดี ความรักสามารถชนะความชั่วร้ายได้นั่นเอง
สำหรับ การเขียน เรื่องสั้น ทั้ง 3 อย่างนี้ จะมองว่าเป็นการนำไอเดียที่กระจัดกระจาย มาขยายให้เห็นเป็นภาพคร่าว ๆ ได้มากยิ่งขึ้น แต่ทีนี้เมื่อเริ่มจะคิดเพื่อจะเขียนจริงจังแล้ว แนะนำว่าให้เลือกมาสัก 1 พล็อตก่อนสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่ จากนั้นก็สามารถนำไปทำตามขั้นตอนต่อไปได้ในเนื้อหาถัดไปเลย
✨ 4 วิธีการคิดตั้งแต่ต้นเพื่อเริ่ม การเขียน เรื่องสั้น ได้อย่างเต็มที่ ✨
หลังจากที่เราได้กำหนดไอเดียเบื้องต้นในการเขียนเรียบร้อยแล้ว จากการสโคปที่ด้านบน ทีนี้ก็จะเป็นการเข้าสู่เนื้อหาที่จำเป็นเพื่อที่จะนำไปใช้ใน การเขียน เรื่องสั้น ซึ่งต้องบอกเลยว่าตรงนี้จะต้องละเอียดนิดนึง แต่ไม่จำเป็นต้องคิดเยอะแบบมหาศาลเพราะเบื้องต้นของงานเขียนจะเป็นงานขนาดสั้นซึ่งละเอียดในแบบปริมาณน้อยได้ แต่ถ้าเป็นนิยายเราจะต้องขยายขอบเขตทั้ง 4 อย่างที่กำลังจะกล่าวให้ขยายไปมากขึ้น ซึ่งสามารถสรุปสิ่งที่ต้องคิดได้ดังนี้
-
✅ การสร้างตัวละคร
ในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นแนวไหนก็จำเป็นต้องมีตัวละคร โดยสำหรับ การเขียน เรื่องสั้น ตัวละครหลักที่ควรจะมีภายในเรื่องอาจมีเพียงแค่ 1 – 2 ตัวละครเท่านั้น อาจยกตัวอย่างว่า มีตัวละครชื่อ A และ B ที่ถือว่าเป็นตัวเอกของเรื่อง แต่ทีนี้การโฟกัสหรือการดำเนินเรื่องควรมีแค่ A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในขณะตัวประกอบภายในเรื่องสามารถมีได้ประมาณ 3 – 4 ตัวเท่านั้น เพราะถ้ามากกว่านี้จะเหมาะไว้ใช้สำหรับนิยายที่มีขนาดเรื่องที่ยาวมากกว่า
-
✅ การสร้างความขัดแย้ง
ลองสังเกตว่าในเรื่องสั้น นิยาย หรือหนัง ภายในเรื่องจะต้องมีปมขัดแย้งอะไรบางอย่าง เพื่อที่ว่าให้ตัวละคร A หรือไม่ก็ B ตามที่ได้กำหนดว่าให้เป็นตัวเอง ได้ทำอะไรบางอย่างกับความขัดแย้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น A ไม่ชอบขี้หน้า B เพราะวัยเด็กโดนกลั่นแกล้งมาตลอด ซึ่งนี่คือความขัดแย้งที่ทั้งสองตัวละครจะต้องจัดการเพื่อเปลี่ยนผลลัพธ์ไปเป็นอีกอย่างที่ไม่เหมือนตอนแรก ซึ่งอาจจะเป็นแนวที่ว่า A กลายเป็นคนที่มาตกหลุมรัก B หรือ A ตัดสินใจล้างแค้น ด้วยการฆ่า B ทิ้งอะไรแบบนี้ สำหรับเรื่องสั้นแนะนำว่าให้กำหนดความขัดแย้งมาเพียงแค่ 1 อย่างพอ
-
✅ การสร้างเป้าหมาย
ตัวละครในเรื่องควรจะมีเป้าหมายบางอย่าง เพื่อที่จะกำหนดเส้นเรื่องให้ไปทิศทางไหน ซึ่งถ้ามีแบบนี้รับรองว่าเรื่องไม่ออกนอกทะเลอย่างแน่นอน เพราะตัวละครที่มีเป้าหมายจะต้องมุ่งหวังที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น A ใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นนักเขียนที่ตีพิมพ์หนังสือล้านเล่ม เส้นเรื่องก็จะไปในทิศทางนี้ไม่มีการสะเปะสะปะแน่นอน
-
✅ การสร้างโลกในเรื่องสั้น
สำหรับการสร้างโลกในเรื่องสั้น ก็เหมือนเป็นการกำหนดฉากภายในเรื่องโดยรวม เช่น อยากเล่าเรื่องสมัยอยุธยา , อยากเล่าเรื่องที่อยู่อวกาศนอกโลก , อยากเล่าเรื่องในเมืองแห่งแสงสีอย่างกรุงเทพ สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องกำหนดให้ได้ตั้งแต่ต้น เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เห็นฉาก เห็นบรรยากาศ และนึกภาพตามได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
สำหรับทั้ง 4 อย่างนี้ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญใน การเขียน เรื่องสั้น ที่นักเขียนทุกคนควรจะตอบคำถามเหล่านี้ให้เคลียร์ ก่อนจะไปลงรายละเอียดเชิงลึก ในการสร้างเรื่องย่อที่จะอธิบายเนื้อหาคร่าว ๆ ตั้งแต่ต้น – จบ เพราะถ้าพวกนี้ไม่เคลียร์ตั้งแต่ต้น อาจทำให้การสร้างเรื่องย่อขึ้นมา มีทิศทางผิดเพี้ยนไปได้พอสมควรนั่นเอง ทีนี้เมื่อสร้างตรงนี้เสร็จแนะนำว่าสามารถไปดูการเขียนเรื่องย่อในส่วนต่อไปได้เลย
✨ เขียนเรื่องย่ออย่างไรให้มีประสิทธิภาพเคลียร์จบทุก การเขียน เรื่องสั้น ✨
ในส่วนต่อมาต้องบอกเลยว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้เรา ๆ เข้าใจภาพรวมของเนื้อเรื่อง หรือแม้แต่การนำเนื้อหาส่วนนี้ไปเสนอสำนักพิมพ์ก็เป็นเรื่องที่จะต้องทำให้ดีที่สุด เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวตัดสินว่าจะสามารถอ่าน หรือสามารถไปดูเนื้อหาของเรื่องสั้นทั้งหมดได้หรือเปล่า เพราะถ้าตรงนี้ทำได้ไม่ดีหลายสำนักพิมพ์บางทีก็มีการปัดตกไป โดยการเขียนเรื่องย่อมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
1. เปิดเรื่อง
สำหรับเนื้อหาส่วนนี้คือส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านอยากจะเปิดอ่านเรื่องนี้ต่อหรือเปล่า ดังนั้นการเขียนเนื้อหาส่วนเปิดจะต้องดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ระดับนึง และเมื่อเปิดเรื่องเสร็จจากนั้นจึงเข้าสู่การแนะนำตัวละคร รวมถึงสถาพแวดล้อมภายในเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพคร่าว ๆ ก่อน
-
2. ดำเนินเรื่อง
ในส่วนนี้จะมองว่าเป็นการที่ตัวละครของเรื่อง ได้ทำการเดินตามเส้นเรื่องที่ได้มีกำหนดไว้ ซึ่งตรงนี้ก็มีเป็นการไล่ลำดับเหตุการณ์ที่อาจไม่ต้องเรียงลำดับ หรือจะเรียงลำดับก็ได้ แต่เป็นเส้นเรื่องที่จะพัฒนาเรื่องราว ๆ ต่าง ๆ เพื่อมุ่งไปสู่ไคลแมกซ์ของเรื่องที่ได้มีการวางไว้นั่นเอง
-
3.ไคลแมกซ์เรื่อง
ส่วนนี้ถือว่าเป็นจุดพีค ที่จะกระชากอารมณ์ผู้อ่านได้ ซึ่งการกระชากอารมณ์อาจะเป็นในแง่บวก หรือลบก็ได้ วิธีการสังเกตว่าสิ่งที่เหล่านั้นเป็นไคลแมกซ์หรือยัง นั่นก็คือตัวละครได้พบจุดเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ที่ทำให้สั่นคลอนเนื้อหาที่ได้ดำเนินเรื่องมาทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าการสั่นคลอนเหล่านี้ก็สามารถเป็นไปในทิศทางไหนก็ได้เช่นกัน
-
4.จบเรื่อง
จบเรื่อง คือ การคลี่คลายปมปัญหาความขัดแย้งของเรื่องเป็นที่เรียบร้อย และตัวละครต่าง ๆ ภายในเรื่องเองก็ได้มีการมุ่งสู่เป้าหมายที่เส้นชัยที่ตัวละครได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น นี่จึงเป็นวิธีการจบเรื่องที่เคลียร์ที่สุด ที่ การเขียน เรื่องสั้น ควรจะมี
สำหรับทั้ง 4 ข้อนี้ คือเนื้อหาเบื้องต้นในการเขียนงานต่าง ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญคือจะต้องมีครบทุกข้อ และควรที่จะต้องกำหนดอย่างชัดเจนว่าส่วนไหนจะมีปริมาณเนื้อหาเท่าไหร่ ซึ่งส่วนของเนื้อหาที่ต้องมีมากที่สุดก็คือส่วนของดำเนินเรื่อง ที่ตัวผู้เขียนจะต้องร้อยเรียงให้ดีก่อนไปสู่ไคลแมกซ์ หรือจุดพีคของเรื่อง ก่อนที่ทุกอย่างจะคลี่คลายและเป็นการจบเรื่องนั่นเอง
✨ เริ่มต้น การเขียน เรื่องสั้น ด้วยการเขียนในบรรทัดแรกและวางแผนการเขียนให้ดี ✨
สำหรับใครที่ได้มีการเขียนเรื่องย่อเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือเอาดี ๆ การเขียนเรื่องย่อให้เสร็จตั้งแต่ต้นนั้นไม่จำเป็นก็ได้ เพราะบางไอเดียก็ไม่ได้ผุดเดียวนั้น เราสามารถนำมาเติมหรือปรับเปลี่ยนกันได้เสมอ แต่ทีนี้ถ้าหากจะเริ่มลงมือกับ การเขียน เรื่องสั้น จะต้องทำอย่างไรดี ขอแนะนำว่าให้ทำตามลำดับขั้นตอนนี้ได้เลย
- เตรียมโซนหรือพื้นที่การทำงานให้เป็นที่เรียบร้อย และให้มั่นใจว่าไม่มีใครรบกวน เวลาตอนที่เราจะเริ่ม การเขียน เรื่องสั้น
- เริ่มทำการวางแผน การเขียน เรื่องสั้น ว่าจะเขียนวันไหน ในช่วงเวลาใด และจะหยุดพักวันไหน โดยสามารถระบุจำนวนหน้าที่จะเขียนแบบเป็น A4 หรือจะเป็นแบบ A5 ได้เลย
- ให้ทำสมาธิเรียกสติก่อนที่จะเริ่มการเขียน โดยระหว่างนั่งสมาธิก็ให้คิดถึงภาพในหัวของเนื้อหาเปิดเรื่องที่อยากจะเล่าออกมาเป็นอย่างไร โดยต้องนึกให้เห็นเป็นภาพแล้วบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร
- เมื่อนึกได้เสร็จเป็นที่เรียบร้อยให้ลงมือเขียนอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าภาษาจะถูกผิดหรือไม่ จะเขียนแล้วดำเนินเรื่องถูกหรือเปล่า แนะนำว่าให้ปล่อยไหลไปตามอารมณ์ก่อน
- แล้วเมื่อปล่อยไหลไปจนหมดแม็กซ์ แนะนำว่าให้กลับมาย้อนสิ่งที่เราเขียน แล้วเริ่มเกลาภาษา หรืออยากจะเสริมเติมแต่งตรงไหนก็สามารถทำได้ หรือถ้าหากใครสามารถเขียนจนจบ 1 ตอนก็สามารถทำขั้นตอนนี้ต่อได้เช่นกัน
- ทำวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หากเกิดว่าคิดงานไม่ออก หรือจดจ่อมานานเกินไป แนะนำว่าให้ถอนตัวออกจากงานเขียนชั่วคราว ลองเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เผื่อว่าไอเดียอะไรใหม่ ๆ จะปิ๊งแว่บเข้ามานั่นเอง
เมื่อได้มี การเขียน เรื่องสั้น จบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่าเพิ่งตัดสินใจที่จะส่งผลงานหรือเผยแพร่เป็นอันขาด แนะนำว่าให้เว้นช่วงสัก 1 – 2 อาทิตย์และกลับมาทบทวนสิ่งที่เขียนไปอีกครั้ง เพื่อจะเช็คว่าความสนุกของเรื่องเป็นอย่างไร ตัวผู้เขียนนั้นมีตกหล่นรายละเอียดตรงไหนหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ควรจะรีเช็คให้ดี หรือเป็นไปได้ให้นักเขียนลองเอางานให้คนอื่นอ่านดู แล้วขอคำวิจารณ์ก็ได้เช่นเดียวกัน
💲💲 อยากจะขายเรื่องสั้นที่ตัวเองได้แต่งมีช่องทางไหนบ้างที่ทำเงินได้ 💵💸
สำนักพิมพ์ที่เปิดพิจารณา
สำหรับ การเขียน เรื่องสั้น เบื้องต้นก็จะมีคร่าว ๆ ประมาณนี้ ซึ่งความจริงแล้วการเขียนงานในเชิงนี้ยังมีเทคนิคต่าง ๆ อีกมากที่คิดว่าผู้ที่เริ่มต้นเขียนควรจะลองหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Point of view เทคนิคการเปิดเรื่องอย่างไรให้น่าสนใจ ความสมเหตุสมผลของตัวละคร รวมไปถึงเนื้อหาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้นักเขียนจำเป็นจะต้องค้นคว้า เพื่อที่ว่าจะสร้างสรรค์งานให้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎