สวัสดีค่ะท่านผู้ชม เราเชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็น “Prototype” มากันบ้างแล้ว ไม่ว่าคุณจะทำงานในสายงานไหน ก็ต้องได้ทำ Prototype กันบ้าง ยิ่งไปกว่านั้นคนที่อยู่วงการพวกธุรกิจขายของ ออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานได้ใช้ ออกแบบ Application ต่างๆ รวมไปถึง เกม online ต่างๆ จะต้องคุ้นเคยกับ Prototype แน่นอน สำหรับคนที่ทำงานด้านนี้ก็อาจจะรู้จักอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยทำด้านนี้แต่เคยเห็นก็อาจจะไม่รู้จักว่ามันคืออะไรใช่ไหมคะ ซึ่ง Prototype ที่เคยเห็นกันทั่วไปก็เช่น วีดีโอแนะนำสินค้า, Storyboard, ภาพร่างหรือแบบจำลองการออกแบบสินค้านั้นเองค่ะ
วันนี้เราเลยจะมาอธิบายเกี่ยวกับ Prototype ให้ทุกๆ เข้าใจกันง่ายๆว่า Prototype คืออะไร ทำไมถึงต้องทำ Prototype วิธีการสร้าง Prototyping ยังไง ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรกับผู้ใช้งาน
ทำความรู้จัก Prototype คืออะไร
Prototype คือ ต้นแบบ หรือแบบจำลอง ที่เป็นการดัดแปลงจากไอเดียที่เราคิดออกมาให้เป็นรูปร่างที่เข้าใจง่าย เพื่อนำไปเป็นแบบทดสอบหรือแบบจำลองเพื่อเก็บ Feedback จากผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจก่อนจะนำไปพัฒนาหรือสร้างเป็น Product ที่น่าพึงพอใจให้ผู้ใช้งาน ซึ่งการทำต้นแบบหรือแบบจำลองออกมาก่อนจะสั่งผลิตในขั้นตอนสุดท้ายนั้นสำคัญมาก เพราะจะสามารถช่วยให้ทีมหรือเจ้าของกิจการได้เห็นภาพว่ามีตรงไหนผิดพลาดหรือไม่ หลังจากนั้นก็นำข้อผิดพลาดหรือนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงจน Product สมบรูณ์ก่อนสั่งทำการผลิต Product ออกมาให้กับผู้ใช้งาน
ทำไมเราต้องทำ Prototype
จะเห็นได้ว่าธุรกิจปัจจุบันไม่ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือ SME ต่างๆ มักจะมีไอเดียมากมายที่อยากนำเสนอ แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มนำไอเดียที่มีไปออกแบบหรือวางโครงร่างยังไงให้ทุกคนเข้าใจหรือเห็นภาพเหมือนกับที่เราเห็น และไอเดียที่นำเสนอออกมาไม่รู้ว่าดีไหม และการทำ Prototype ถือว่าทำให้หลายฝ่ายทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นทีมนักออกแบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าของกิจการ ฉะนั้นการทำ Prototype หรือการสร้างต้นแบบ หรือแบบจำลองออกมาจะเป็นแนวทางในการช่วยให้การนำเสนอไอเดียนั้นสมบรูณ์ จากนั้นก็นำ Prototype ที่สร้างขึ้นไปทดสอบแล้วก็นำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Product ที่สมบรูณ์
หลักการในการสร้าง Prototype จะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
- การสร้างต้นแบบ – การสร้างต้นแบบจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณมีไอเดีย และเมื่อมีไอเดียก็นำมาสู่สมมุติฐาน ซึ่งการสร้างต้นแบบนั้นหัวใจสำคัญคือ “การตั้งสมมุติฐานว่า Product ที่เราต้องการนำเสนอจะมีหน้าตาแบบไหน มี function การใช้งานอย่างไร โดยการสร้างต้นแบบจะต้องเข้าใจง่ายไม่สับซ้อน เป็นที่จดจำ และมีเอกลักษณ์”
- นำไปทดสอบกับผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมาย – เมื่อเราสร้างต้นแบบเสร็จแล้วจากนั้นเราก็ต้องมีกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจเพื่อนำมาเป็นผู้ทดสอบในการใช้ Product ของเรา ตัวอย่างเช่น
Product น้ำมันพืชชนิดหนึ่ง ของบริษัท All About ที่มีฤทธิ์ในการช่วยลดภาวะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งหมดดังนี้ 500 คน ได้แก่
1.ชาย/หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 25-40 ที่มีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อเมตรกำลังสองขึ้นไป
2.ชาย/หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ที่มีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อเมตรกำลังสองขึ้นไป และมีภาวะโรค แทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- การเรียนรู้ – เรียนรู้และวิเคราะห์ผลรับที่ได้จากกลุ่มผู้ทดสอบและนำไปปรับปรุงตามสิ่งที่ได้รับคำแนะนำและผลวิเคราะห์ที่ได้มาจนสามารถนำไปผลิต Product ได้
- การทำซ้ำ – การทำซ้ำก็เหมือนการทำการทดลองซ้ำๆ จนได้ผลที่มีความน่าเชื่อถือ ก่อนนำออกมาใช้จริง โดยทำซ้ำในรูปแบบที่ดีอยู่แล้ว และนำข้อบกพร่องมาปรับใช้เพื่อทำใหม่ในครั้งหน้า ทำให้ดีขึ้น พัฒนา Product อยู่เรื่อยๆ และอย่าทำอะไรซ้ำซาก ควรสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจว่าต้องการแบบไหน สิ่งในตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายก็ทำต่อไป อันไหนไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายก็เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ Product อยู่ได้และมีการพัฒนาเรื่อยๆ
***การสร้างต้นแบบที่ดีคือ เราควรสร้างต้นแบบ > ฟัง Feedback > ปรับแก้ไข > ทดสอบ > ฟัง Feedback > ทดสอบ ทำซ้ำๆ วนไปจนแก้ไขข้อผิดพลาดหมดและทำ Product ออกมาอย่างสมบรูณ์ ซึ่งถ้าทำแบบนี้จะทำให้งานที่ทำออกมามีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
วิธีการสร้างต้นแบบจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. Paper Prototyping หรือการสร้างต้นแบบแบบใช้กระดาษ
การสร้าง Prototype ด้วยกระดาษจะเหมาะสมอย่างมากกับระยะเริ่มต้นของการคิดไอเดีย หรือ Design โดยทุกคนก็ทำงานร่วมกันเพื่อสำรวจไอเดียต่างๆ กับสมาชิกร่วมทีม หรือเป็นการร่างไอเดียนั้นเองค่ะ โดยจะใช้ปากกา หรือดินสอในการร่างไอเดียออกมาให้มีรูปร่าง และคีย์เวิร์ดที่เข้าใจง่าย ไม่เน้นความสวยงาม
ข้อดีของการใช้กระดาษคือ
- รวดเร็ว คุณสามารถหาหยิบได้ง่ายตามโต๊ะทำงานของคุณ หรือไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน กระดาษก็คือเครื่องมือที่หาได้ง่ายๆ เมื่อคุณมีไอเดียในสร้าง prototype คุณแค่หยิบกระดาษและปากกาหรือดินสอของคุณขึ้นมาวาดหรือร่าง Prototype ของคุณได้เลย ฉะนั้นไอเดียของคุณจะไม่หายไปไหน
- ราคาไม่แพง มีแค่ดินสอกับกระดาษคุณก็สร้าง prototype ได้แล้ว ทั้งเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว
- การสร้างทีม กระดาษถือเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของไอเดียต่างๆของสมาชิกมารวมกันอย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณว่างกระดาษตรงกลางแล้วให้ทุกคนมีไอเดียเขียนลงไปก็จะทำให้เห็นภาพที่กว้างและง่ายแถมเข้าถึงทุกไอเดียอีกด้วย นอกจากนั้นยังทำให้ได้ฝึกความเป็นทีมที่ดีได้อีกด้วย
- เอกสารประกอบ กระดาษถือว่าเป็นตัวจดจำที่ดีของคนขี้ลืมเลย อย่างเลยน้อยเวลาคุณออกแบบ prototype เสร็จแล้วก็สามารถเก็บเป็นสำเนาและเอกสารเพื่อแจกให้กับทุกคนเก็บไว้อีกด้วย
มีข้อดีก็ต้องมีเสียบ้างสิใช่ไหมคะ สำหรับข้อเสียของการใช้กระดาษคือ การสร้าง prototype บนกระดาษนั้นทำให้เห็นภาพไม่ชัด หรือไม่สมจริงนั้นเองค่ะ
2. Digital Prototyping
การสร้าง prototype แบบ Digital เป็นการออกแบบที่เหมือนของจริงมากที่สุด โดยต้นแบบ Digital จะมีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่
- Wireframe คือโครงร่างที่บ่งบอกภาพรวมให้กับผู้ออกแบบ ผู้เขียนโปรแกรม และผู้ใช้งาน เข้าใจตรงกัน
- User Interface เป็นเหมือน Application หรือ Website ของจริง
- การสร้าง Prototype แบบ HTML and JaVaScript
ข้อดีของการสร้าง Prototype แบบ Digital คือ ทำให้เห็นภาพชัดเจน สมจริง สามารถปรับเปลี่ยนตาม Feedback ที่ได้รับมาได้อย่างรวดเร็ว และพัฒนาต่อยอดไปให้เกิด Product ที่สมจริงได้สมบรูณ์ทำ
สำหรับข้อเสียของการสร้าง Prototype แบบ Digital คือ ต้องการคนที่ความรู้ด้าน Software ในการสร้างPrototype ของ Produce ออกมากให้เห็นภาพ และการสร้าง Prototype แบบ Digital นั้นเป็นการสร้างแบบความใช้ความแม่นยำสูง ดังนั้นอาจจะต้องใช้ต้นทุนที่สูงและใช้เวลานาน
นอกจาก 2 เครื่องมือที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น บางทีมอาจจะใช้ HTML ในการสร้าง Prototype ก็ได้ ซึ่งเหตุผลที่ใช้ HTML สร้างก็คือเพื่อให้ได้ลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น
ข้อดีของการสร้าง Prototype ด้วย HTML คือ มันสามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
ข้อเสียคือนักออกแบบจะต้องมีความรู้ด้าน Software มากๆ ใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลานานเนื่องจากมีเทคนิคเป็นจำนวนมาก
**ทริคเล็กๆ ในการสร้าง Prototype อย่างมีคุณภาพ กระบวนการสร้าง prototype ที่ดีคือ paper > Wireframe > User Interface > HTML
การสร้าง prototype สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม งบประมาณ เวลาในการทำ Product ไม่มีวิธีไหนดีที่สุด แต่จงออกแบบ prototype ให้เหมาะกับผู้ใช้งานจะดีที่สุดนะคะ
Prototype ที่สร้าง หรือต้นแบบที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
- Representation (ตัวแทน) เลือกสร้างต้นแบบให้เหมาะสมกับ Product ที่จำนำเสนอว่าควรเป็นแบบไหน เช่น แบบกระดาษ Mobile หรือ HTML และ Desktop
- Precision (ความแม่นยำ) ต้นแบบควรมีลักษณะที่แม่นยำ มีความละเอียด ชัดเจน เหมือนของจริงสุด
- Interactivity (การโต้ตอบ) การใช้งานที่เปิดให้กับผู้ใช้งาน เช่น ต้นแบบสามารถ click ได้ หรือสามารถดูได้อย่างเดียว หรือจับต้องได้
- Evolution (วิวัฒนาการ) การสร้างต้นแบบ หรือ Prototype ต้องเป็นแบบที่สามารถแก้ไขได้ เปลี่ยนแปลงได้ นำไปพัฒนาต่อไป
ตัวอย่าง Prototyping
- Mockup เช่น Popapp เป็น Application ที่เน้นทำ Prototype ที่ใช้มือถือเข้ามาช่วย หลักการคือวาดภาพลงบนกระดาษหลังจากนั้นใช้มือถือถ่ายภาพที่วาดและเลือกพื้นที่ที่ต้องการให้ตอบสนอง โดยสามารถกำหนดผ่านแอพ Popapp ได้เลย เช่น ไอเดียของ Nasal Surgery เป็นการจำลองเครื่องมือที่ใช้ทำศัลยกรรมจมูกเป็น Mockup แบบง่ายที่เข้าใจทั้งทีมออกแบบและทีมแพทย์
- Dropship เป็นเทคนิคที่เห็นกันอยู่ทั่วไปนั้นก็คือ E-Commerce โดยจะทำการใส่สิ้นค้าลงไปแล้วรอให้มีคนมากดสั่งซื้อสินค้า หลังจากนั้นเราค่อยทำการ order สินค้าจริงตามที่ลูกค้าได้สั่งมา พูดง่ายๆ ก็คือการ preorder สินค้านั้นเองค่ะ
- 3D Printing เป็นวิธีที่สามารถสร้าง prototype ออกมาได้เสมือนจริงมากๆ และมีราคาถูก ใช้เวลาน้อย
- Cardboard คือการใช้กระดาษลังในการสร้าง Prototype ขึ้นมา เช่นการนำกระดาษลังออกมาสร้างเป็นบ้านตัวอย่าง แก้วนำ การนำเสนอร้านค้า กล่องไปรษณีย์ที่มีชื่อ brand เป็นของตัวเอง
- User Journey เป็นแบบจำลองที่ใช้วีดีโอในการเล่าเรื่อง แล้วดูว่าชอบหรือไม่ชอบ เช่น วิดีโอ Wearable Translator
- Landing Page เป็นการสร้าง Landing Page หลอกขึ้นมาเพื่อจะดู Track ดูข้อมูลของผู้ใช้งานว่าสนใจหรือไม่ เช่น เว็บไซต์ X.ai
- Storyboard เป็นแบบจำลองที่เป็นการสร้างภาพให้เห็นลำดับไอเดียที่ชัดเจน โดยเล่าเรื่องเป็นลำดับขั้นตอนทำให้ทุกคนในทีมได้เห็นความเป็นมาก่อนจะออกมาเป็น Product เช่น Storyboard ของ IU ที่เกี่ยวกับการสั่งอาหาร online
เป็นอย่างไรกันบ้างพอจะเข้าใจเกี่ยวกับการทำ prototype กันบ้างไหมคะ บอกเลยว่าการทำ Prototype เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมงานของคุณเข้าใจในตัวสินค้า หรือสิ่งๆนั้นที่คุณอย่างนำเสนอ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น มองภาพออกว่าธุรกิจจะไปทิศทางไหน มีผลอย่างไรกับผู้ใช้งานเพราะก่อนจะนำไปผลิตจริงก็ได้ทำการทดสอบถึงความเชื่อมั่นหรือความน่าเชื่อถือกันออกมาแล้ว หลังจากนั้นก็รอดูความสำเร็จอีกขั้นของธุรกิจได้เลย นอกจากนี้การนำ Prototype ไม่ได้มีประโยชน์แค่สำหรับนักธุรกิจเท่านั้นนะคะ เราคิดว่าการทำ Prototype เหมือนเป็นนำเสนอภาพกว้างของความคิดหรือไอเดีย ทำให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยนะคะ เช่นการจัดเวลาในการอ่านหนังสือ การทำงานวิจัย ออกแบบการทดลองต่างๆ ปรับใช้เกี่ยวกับด้านภาพยนตร์การแสดง ได้อีกด้วยค่ะ และสำหรับใครที่กำลังจะ Prototype ก็ควรที่จะเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน ใช้งานง่ายไม่สับซ้อนนะคะ เพราะจะทำให้งานออกมาดี อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้ง่ายเข้าถึงได้อีกด้วย อีกย่างที่อยากจะฝากไว้ให้คิดคือ อย่าไปงกหรือขี้เหนียวกับการทำ Prototype เลยค่ะ เพราะว่าถ้าคุณทำ Prototype ออกมาได้ดีจะสามารถช่วยให้คุณประหยัดงบและเวลาในการผลิตได้มากเลยนะคะ อีกทั้งงานของคุณจะพัฒนาก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยค่ะ เราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ให้กับทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.borntodev.com/2022/09/19/prototyping/
- https://techsauce.co/tech-and-biz/10-prototyping-techniques-keynote-techsaucesummit
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pinterest.com/pin/1054686806465702885/
- https://careerfoundry.com/en/blog/ui-design/best-storyboard-examples/
- https://pin.it/5LlVaIq