ปัจจุบันประเทศไทยที่พบปัญหาด้านขยะเป็นอันดับต้นๆ มีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี ปัญหาขยะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ โดยใช้หลักการ 5 R ลดปริมาณขยะ ตั้งแต่การลดการใช้ถุงพลาสติก อย่างการที่ห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง งดการจ่ายใช้ถุงพลาสติกให้กับลูกค้า บางห้างก็อาจจะต้องกำหนดขั้นต่ำในการซื้อสินค้าถึงจะได้ถุงพลาสติก บางห้างก็หันมาจำหน่ายถุงผ้าให้กับลูกค้าแทน โรงเรียนหลายแห่งมีการทำจุดแยกขยะ ปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียน
5 R ลดปริมาณขยะ มาตรการระดับโลกสร้างนิสัยช่วยลดขยะ
หลายคนคงคุ้นชินและได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ กับคำว่า Recycle Reduce และ Reuse เนื่องจากเป็นแนวคิด 3 R ในการจัดการกับปัญหาขยะในประเทศไทย หลักการทั้ง 3 นี้ ถือเป็นสิ่งที่ช่วยลดขยะและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาขยะล้นเมืองถือเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญใจแก่คนในสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งการที่จะต้องทนกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของขยะที่มีความล้นเมือง
การที่มีขยะปริมาณมากทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายลงไปด้วย ทำให้การใช้หลักการ 3R มีความนิยมมากในสังคมไทยในปัจจุบัน เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จะทำให้เป็นการดีกว่าเราจะต้องไปแก้ตอนที่ปัญหาเกิดแล้วเสมอ หลายองค์กรได้นำหลักการนี้มาใช้แล้วได้ผลจริง นั่นคือการที่ขยะในองค์กรลดน้อยลง คนในองค์กรเล็งเห็นคุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในองค์กรลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หลัก 3R ที่เจอได้บ่อยๆ ภายในองค์กร มีหลากหลาย ดังนี้
การนำกระดาษที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ อาจจะเป็นการใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า ไม่ใช้หน้าใดหน้าหนึ่งแล้วทิ้ง การทำจดหมายหรือเอกสารเพียงไม่กี่ฉบับแล้วหมุนเวียนกันใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องมีเอกสารฉบับนั้นๆ ไว้คนละฉบับ เพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างไม่จำเป็น หรือหากเป็นเอกสารที่สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการลดปริมาณขยะได้ก็ควรทำ เช่น การหันมาใช้ Gmail ในการส่งต่อเอกสาร การติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยี แทนการส่งจดหมายเหมือนยุคก่อนๆ นอกจากจะเป็นการประหยัดทรัพยากรกระดาษแล้วยังสะดวกสบายและรวดเร็วอีกด้วย
การที่คนในองค์กรส่วนใหญ่นำภาชนะและอุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองมาใช้ในองค์กร อย่างเช่น การนำขวดน้ำมาใช้ เมื่อต้องการจะดื่มน้ำ หรืออยากทานกาแฟก็จะใช้ขวดน้ำที่นำมาเพื่อใส่เครื่องดื่มที่ต้องการจะดื่ม แทนที่จะใช้แก้วน้ำกระดาษขององค์กร หรือใช้แก้วน้ำพลาสติกของทางร้านค้า การนำปิ่นโตหรือกล่องข้าว ใส่อาหารมาทานที่องค์กร แทนที่จะซื้ออาหารใส่กล่องโฟม
วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรแล้วยังเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋า และลดความเสี่ยงของโรคอีกด้วย เพราะทุกคนรู้ดีว่ากล่องโฟมคือต่อก่อมะเร็งชั้นดี เมื่อคนในองค์กร 1 คน นำหลักการเหล่านี้มาใช้ หลายคนในองค์กรก็จะทำตามๆ กัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ในองค์กร
จากนั้นเราก็จะเห็นภาพที่น่ารักหลายๆ ภาพ เช่น เมื่อการใช้หลักการ 3R เกิดได้ผลกับ 1 องค์กร ก็จะมีหลายๆ องค์กรนำหลักการนี้ไปใช้ตาม ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี และถือเป็นสัญญานที่ดี ที่สังคมของเราจะมีหลายองค์กรที่หันมาใส่ใจกับปัญหาส่วนรวม อย่างปัญหาขยะล้นเมือง ต่อไปในอนาคตข้างหน้า
สังคมของเราก็จะมีปัญหาขยะล้นเมืองน้อยลง หรืออาจจะไม่มีเลยก็เป็นได้หากทุกคนร่วมใจกัน รักษาและปฏิบัติตามหลักการที่องค์กรกำหนดไว้ สิ่งทีตามมาหลังจากนั้นคือ สังคมจะมีความน่าอยู่มากขึ้น เนื่องจากปัญหาขยะที่ล้นเมืองหายไป คนในสังคมไม่ต้องเผชิญกับปัญหากวนใจต่างๆ อีกต่อไป
นอกจากนี้ องค์กรต่างประเทศ หรือระดับโลกก็มีมาตรการและหรือหลักการที่จะช่วยดลกลดปัญหาและปริมาณขยะที่ล้นโลกอยู่เหมือนกัน แต่ในต่างประเทศจะนิยมใข้ 5 R ลดปริมาณขยะ เป็นมาตรการที่ทั้งโลกใช้กันในการจัดการปัญหาปริมาณขยะ ซึ่งจะมีคำศัพท์เพิ่มจาก Recycle Reduce และ Reuse เพิ่มมา 2 คำ คือ Repair และ Upcycle ส่วนแนวทางการปฏิบัติก็คล้ายๆ กันกับองค์กรในบ้านเรา ซึ่งเราจะไปดูความหมายของทั้ง 5 คำ กัน ว่าแต่ละมีความหมายอย่างไร และขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรการมีอะไรบ้าง ดังนี้
5 คำสุดปัง Recycle Reduce Reuse Repair และ Upcycle
Reduce
การลดการบริโภคทรัพยากรต่างๆ ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด ไม่ได้มีวิธีที่ยุ่งยาก การลดการบริโภคทรัพยากรลง โดยวิธีนี้จะช่วยประหยัดทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างเช่นวิธีง่ายๆ คือการรับประทานอาหารให้หมด ให้เหลือเศษอาหารน้อยที่สุด ต่อไปคือการลดการใช้พลาสติก ที่หลายหน่วยงานมีการรณรงค์ให้มีการลดการใช้ถุงพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้าแทน หรือแม้แต่ร้านกาแฟและร้านอาหารต่างๆ ก็หันมาใช้หลอดกระดาษและแก้วกระดาษในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม
หากใครอยากช่วยโลกในการลดปริมาณขยะ ลองพกถุงผ้าติดตัวไว้ หากไปไหนแล้วมีความจำเป็นจะต้องใส่ของก็สามารถจะหยิบถุงผ้ามาใช้ได้อย่างสะดวก การใช้เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันร่วมกับหลักการ 5 R ลดปริมาณขยะ ให้เป็นประโยชน์ อย่างการจดบันทึกในแท็บเล็ทหรือแล็ปท็อป แทนการจดบันทึกในกระดาษ นอกจากจะทำให้ไม่ใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองแล้ว ยังทำให้การเก็บข้อมูลเต็มไปด้วยความปลอดภัย และสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างยาวนานขึ้น การหมุนเวียนเอกสารแทนการทำสำเนาเฉพาะสำหรับทุกคน ไม่ต้องกลัวสูญหาย ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น หรืออาจจะเป็นการใช้แก้วน้ำแบบพกพา ใช้ปิ่นโต กล่องใส่อาหารแทนการเลือกใช้กล่องโฟม
Reuse
การนำของที่เราเคยใช้แล้วตั้งไว้โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หรือของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ได้อีกนั้นจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะของแข็ง รวมถึงปริมาณวัตถุดิบและทรัพยากรด้วย เช่น
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถ refillได้ การเลือกใช้แท่นชาร์จแทนสายชาร์จ เนื่องจากแท่นชาร์จสามารถช่วยลดปริมาณขยะและสารพิษปนเปื้อนได้ การเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ ใช้ถุงพลาสติกที่ยังสามารถใช้การได้อยู่ติดมือไปด้วยเวลาไปซื้อของ การนำสิ่งของที่คิดว่าไม่จำเป็นกับตัวเองแล้วไปบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคที่ต่างๆ การใส่ใจทำความสะอาดและรักษาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อความใหม่และสะอาดเพื่อที่จะได้ใช้งานไปนานๆ
Recycle
การนำทรัพยากรที่เราไม่สามารถใช้ได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ของที่ฉีกขาด แตกหัก กลับมาเข้ากระบวนการแปรรูป หรือเรียกว่าการหลอม เพื่อนำของที่ไม่สามารถใช้การได้แล้วนั้นมาผลิตเป็นทรัพยากรใหม่ ที่เรียกว่าการหมุนเวียน เช่นการนำเศษอาหารมาทำเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากธรรมชาติได้ การนำเศษอาหารที่เหลือจากการกิน มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ จะช่วยให้ดินสามารถดูดซับอากาศ และน้ำ ลดการกัดเซาะพื้นผิว และทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปการทำปุ๋ยทำได้ง่ายๆ โดยนำเศษอาหารมาใช้ นอกจากจะสามารถช่วยลดขยะได้แล้วสามารถเป็นปุ๋ยที่ดีได้อีกด้วยเพราะจะดึงดูดพวกแมลง ที่ถือเป็นสิ่งน่ารำคาญได้อีกด้วย
Repair
การรู้จักซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือทรัพยากรต่างๆ ที่คิดว่าไม่สามารถใช้งานได้แล้วให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หรือแปลได้ตามตัว Repair ก็คือการซ่อมแซมนั่นเอง การรู้จักเรียนรู้วิธีการซ่อมแซมสิ่งต่างๆ รอบตัวให้กลับมาใช้งานได้ในระยะเวลาที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น แทนที่เลือกที่จะนำสิ่งของเครื่องใช้ที่พังแล้วไปทิ้ง โดยไม่ได้ศึกษาวิธีการซ่อมแซมหรือลองซ่อมแซมเลยแม้แต่น้อย
การดูแลรักษาสิ่งของเครื่องใช้อย่างดีจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น นอกจากนี้การเลือกซื้อสินค้าที่มีการรับประกันที่ยาวนาน ดูอัตราการชำรุดเสียหาย ดูความพึงพอใจของลูกค้าหรือรีวิวจากสินค้านั้นๆ อีกทั้งเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถซ่อมเองได้ จะยืดอายุการใช้งานได้ การซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่เสียแล้ว นำกลับมาซ่อมให้ใช้งานได้ดี เช่นเดิม ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ การนำหลักการ 5 R ลดปริมาณขยะ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ผลดียิ่งขึ้น
Upcycle
เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นขยะให้กลับมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือมีมูลค่าสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง วัตถุประสงค์หลักของการ Upcycle คือ การยืดอายุของวัสดุที่เห็นว่าอาจไม่เกิดประโยชน์อีกต่อไปแล้วมาเข้ากระบวนการเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้น โดยสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือกระบวนการดังกล่าวจะต้องไม่เกิดผลกระทบหรือส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น
การนำลูกขนไก่มาทำเป็นไฟราวประดับ การน้ำขวดพลาสติก อาจจะเป็นขวดน้ำดื่มที่หลายๆ บ้าน เก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร มาใช้เป็นกระถางต้นไม้ หรือที่เห็นได้บ่อยๆ คือ การใช้ถังใส่น้ำมันขนาดใหญ่มาใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งบ้าน คือการทำเป็นเก้าอี้หรือโซฟา เป็นต้น ในขณะเดียวกันวิธีการ Upcycle นี้ ยังสามารถสร้างอาชีพให้คนในสังคมได้อีกด้วย เพราะของที่นำมาดัดแปลงแล้วอาจจะมีความสวยงามจนไม่รู้เลยว่าของเดิมนั้นคืออะไร เรียกได้ว่าสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้หลายด้านจริงๆ
สรุป :
เนื่องจากปัญหาขยะในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาสามารถใช้ 5 R ลดปริมาณขยะ มาช่วย เพื่อการจัดการที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และจะช่วยปลูกฝังให้คนในสังคมมีนิสัยรักษ์โลก จะช่วยให้ปริมาณขยะลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลักการ การปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ เป็นการปลูกฝังที่ได้ผลที่สุด เหมือนสุภาษิตที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หรือแม้แต่องค์กรใหญ่ๆ ถ้าสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับคนหมู่มากได้ก็จะเป็นผลดีกับองค์กรเป็นอย่างมาก โดยสามารถสรุปหลักการ 5R ได้ดังนี้
Reduce การลดการบริโภคทรัพยากรต่างๆ ลง ถือเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด และจะช่วยประหยัดทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย
Reuse การนำของที่เราเคยใช้แล้วตั้งไว้โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หรือของที่ยังใช้ได้แต่วางไว้เฉยๆ โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง
Recycle การนำทรัพยากรที่เราไม่สามารถใช้ได้อีกแล้ว เข้ากระบวนการแปรรูป เพื่อนำของที่ไม่สามารถใช้การได้แล้วนั้นมาผลิตเป็นทรัพยากรใหม่ ที่เรียกว่าการหมุนเวียนทรัพยากร เช่น การนำเศษอาหารมาทำเป็นปุ๋ยธรรมชาติ
Repair การรู้จักซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือทรัพยากรต่างๆ ที่คิดว่าไม่สามารถใช้งานได้แล้วให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการใช้ทรัพยากรให้หมดไปอย่างสิ้นเปลือง
Upcycle เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นขยะให้กลับมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือมีมูลค่าสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/16656/
- https://www.tv360entertainment.com/5r-reduce-reuse-recycle-repair-reject/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.freepik.com/free-vector/recycled-clothes-concept-flat-hand-drawn_12178790.htm#query=Recycle&position=5&from_view=search&track=sph
- https://www.freepik.com/free-vector/gradient-upcycle-illustration_27259194.htm#query=Upcycle&position=47&from_view=search&track=sph
- https://www.freepik.com/free-vector/maintenance-concept-illustration_5421740.htm#query=Repair&position=1&from_view=search&track=sph
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม