วันรัฐธรรมนูญ ของไทยนั้นได้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นระยะเวลานานถึง 90 ปี ที่ประเทศไทยของเราได้มีการใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยในทุกวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีก็จะมีการจัดการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญใรประวัติศาสตร์ไทยที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้มีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านต่าง ๆ อย่างเช่นในทุกวันนี้ นับว่าเป็นเวลานานเกือบ 100 ปีแล้วที่ประเทศไทยของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเช่นนี้
รอบรู้เรื่อง วันรัฐธรรมนูญ วันสำคัญการเมืองไทยที่คนไทยควรต้องรู้
ก่อนที่จะมาศึกษาเรื่อง วันรัฐธรรมนูญ เรามาดูกันตั้งแต่แรกเลยดีกว่าว่าวันรัฐธรรมนูญคืออะไร รัฐธรรมนูญ หรือ constitution แปลว่าหลักการหรือข้อตกลงที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรองรับบริบทต่าง ๆ ของสังคม เริ่มต้นมาจากประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1215 ในปีนั้น พระเจ้าจอห์นที่ 5 ถูกขุนนางบังคับให้ร่วมลงนามในมหากฎบัตรแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) เพื่อลดอำนาจของกษัตริย์และประกันสิทธิเสรีภาพของเหล่าประชาชน และแน่นอนว่าพระเจ้าจอห์นที่ 5 ก็ได้ลงนามในกฎบัตรนั้นและเริ่มใช้ทันที
และนั่นเป็นต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก และทำให้ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตย โดยกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และทำให้กฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้ได้กลายเป็นต้นแบบการปกครองที่แพร่หลาย มีหลายประเทศทั่วโลกได้นำระบอบการปกครองนี้ไปปรับประยุกต์ใช้กับประเทศของตนเองตั้งแต่สมัยนั้นมาจนถึงในปัจจุบัน ระบอบการปกครองที่เป็นของประชาชน เปิดให้ประชาชนได้มีเสรีภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ หลุดพ้นจากยุคที่โดนกดขี่ข่มเหงและไร้ซึ่งอิสรภาพของประชาชนตั้งแต่นั้นมา
-
ประวัติ วันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.2475 ในวันที่ 4 มิถุนายน ภายหลังจากที่คณะราษฎรที่เกิดจากการรวมกันของงข้าราชการทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน 99 คน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการอภิวัฒน์สยาม ยึดอำนาจการปกครองจากกษัตริย์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้มาเป็นประชาธิปไตย จนถือว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในแง่ของการเมืองการปกครองเลยก็ว่าได้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ถูกประกาศใช้ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังครองราชย์หรือในช่วงรัชกาลที่ 7 ของไทยนั่นเอง โดยมีสาระสำคัญคือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย มีผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และ ศาล
โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ฉบับแรกของไทย ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ต่อมาในวันที่ 10 ตุลาคมปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรกของไทยและได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญของทุกปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ซึ่งถ้านับระยะเวลามาจนถึงปัจจุบันแล้วเราได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองให้มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั่นกว่า 90 ปีและมีรัฐธรรมนูญรวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ มีการแก้ไขเพิ่มเติมกว่า 17 ครั้ง นับเป็นจำนวนการเปลี่ยนแปลงกว่า 30 ครั้งตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี พ.ศ.2475
โดยฉบับที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ฉบับที่ 20 ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ลงประชามติและมีผู้เห็นชอบและลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 นับรวมแล้วกว่า 5 ปีเลยทีเดียวที่เราได้ใช้กฎหมายฉบับนี้
-
วันรัฐธรรมนูญ มีความสำคัญอย่างไร
วันรัฐธรรมนูญ ที่ได้จัดขึ้นทุกปีนี้นอกจากจะมีเพื่อระลึกถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว ยังจัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เพื่อแสดงถึงการสถาปนาอำนาจของรัฐ แสดงถึงความเป็นเอกราชไม่ขึ้นต่อใคร รวมถึงเป็นการแสดงเจตจำนงที่ว่าต้องการให้การปกครองเป็นไปในทิศทางไหน อีกทั้งยังเป็นการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพทางกฎหมายที่ทุกคนพึงได้รับ สิทธิในการแสดงออก สิทธิในการเคลื่อนไหว รวมถึงเสรีภาพในทุกด้านภายใต้กฎหมายฉบับนี้
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ช่วยในการจัดการ วางกรอบ กำหนดการปกครองและสร้างเสถียรภาพในด้านการเมือง ระบุหน้าที่และกำหนดบทบามและกลไกการทำงานของสถาบันการเมือง คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวในทุกด้าน และรับรองความชอบธรรมให้แก่ประชาคมนานาชาติในภาคีความร่วมมือต่าง ๆ อีกด้วย
-
กิจกรรม วันรัฐธรรมนูญ
ในทุก ๆ วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญจะมีการจัดพิธีวันรัฐธรรมนูญที่สำคัญนั่นคือพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม มีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อระลึกถึงช่วงเวลาที่ได้ก่อตั้งรัฐธรรมนูญขึ้นมานั่นเอง รวมถึงมีการประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน สำนักงานราชการ ตามท้องถนน รวมถึงมีการนำเสนอข่าวและถ่ายทอดพิธีสำคัญต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงและรับรู้กันโดยทั่วกัน
ในแต่ละสถานศึกษาต่างได้มีการจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก่นักเรียนและเยาวชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เห็นถึงความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ วิถีประชาธิปไตยที่ประเทศไทยได้ใช้ปกครองประเทศมาเกือบร้อยปี อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญของไทยและกระตุ้นความเป็นประชาธิปไตยในตัวเยาวชนให้ได้รับรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงมี ปลูกฝังประชาธิไตยให้แก่เยาวชนเพื่อเติบโตมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพ
-
สัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย
แน่นอนว่าในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประวัติศาสตร์เช่นนี้ย่อมมีสิ่งที่แสดงถึงสัญลักษณ์อย่างในวันรัฐธรรมนูญนี้ก็มีสัญลักษณ์เป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนถนนราชดำเนินกับถนนดินสอ สร้างขึ้นในสมัยของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากที่มีเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นการนำสถาปัตยกรรมลอยตัวแบบไทยมาผสมกับการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล และสร้างโดยบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทยที่รู้จักกันในนามว่าศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นั่นเอง
ความหมายที่ซ่อนอยู่ในการออกแบบนี้เริ่มตั้งแต่ ปีกทั้ง 4 ด้านที่แสดงถึง 4 กลุ่มบุคคลในคณะราษฎรนั่นคือทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชน โดยแต่ละปีกจะสูง 24 เมตรซึ่งตรงกับวันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นอกจากนั้นยังมีการรวมอำนาจอธิปไตบทั้ง 3 อำนาจได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีกระบอกปืนใหญ่ฝังลงดินและมีโซ่ร้อยเรียงกันจำนวน 75 กระบอกบ่งบอกถึงปี 2475 ที่ได้ทำรัฐประการและโซ่หมายถึงความสามัคคีของคณะปฏิวัติ
นอกจากนี้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญในการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย มีทั้งการชุมนุมของประชาชนและนักศึกษา อย่างเช่นในเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือแม้แต่ในการชุมนุมในปัจจุบันก็จะมีการเดินทางหรือรวมตัวไปยังที่อนุสาวรีย์แห่งนั้น ไม่ว่าจะกี่เหตุการณ์ก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่นี่ทั้งนั้น อีกทั้งยังกำหนดให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้นในการนับระยะทางไปยังที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย
สืบทอดประชาธิปไตยให้คงอยู่สืบไป 10 ตุลาคม วันรัฐธรรมนูญ วันที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพ
ในทุกวันนี้ความเป็นประชาธิปไตยนั้นได้เข้าถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกคนล้วนได้รับสิทธิที่ทุกคนพึงมีตามกฎหมาย และ วันรัฐธรรมนูญ จึงเป็นวันที่ทุกคนไม่ควรลืมเลือนให้หายไปจากประวัติศาสตร์ของไทย และอยากให้ทุกคนเคารพสิทธิและเสรีภาพทั้งของตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ เพื่อความเป็นระบบระเบียบในสังคมและเป็นการจัดระเบียบสังคมให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดีได้ การเริ่มจากเคารพสิทธิเหล่านี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ แต่จะยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้าได้
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.songkhlacity.go.th/2020/news/detail/9959
- https://th.wikipedia.org/wiki/วันรัฐธรรมนูญ_(ประเทศไทย)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎