เมื่อพูดถึงเสน่ห์ของภาษาไทย คำอุทาน คือ เสน่ห์ของภาษาไทยอีกหนึ่งอย่างที่นอกจากจะช่วยเสริมบริบทให้ผู้ฟังเข้าใจ หรือ บ่งบอกแสดงอากับกิริยาถึงความรู้สึกกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้แล้ว คำอุทานในภาษาไทยยังมีความสละสลวยและมักจะพบเห็นได้จากบทกลอน โคลาง กาพย์ ร่าย ที่หลายๆคนมักจะเคยเรียนกันมาจากวิชาวรรณคดีไทยด้วย ยิ่งเป็นภาษาโบราณแต่ก่อนกาลก็อาจจะมีคำอุทานแปลกๆที่หลายคนมักจะไม่ค่อยพบเห็น หรือนิยมพูดกันมากนัก คำอุทาน คืออะไร และ มีจุดเด่นยังไงบ้าง ไปไขความลับ คำอุทาน คำแสดงอาการ ที่แสนจะไม่ธรรมดากันได้เลย
คำอุทาน คือ
เมื่อพูดถึงคำอุทาน คือ สิ่งที่แวบเข้ามาในความคิดของเพื่อนๆก็คงจะเป็นคำพูดติดปากที่หลายๆคนมักจะชอบพูดเวลาตกใจ หรือ พบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ จนต้องหลุดอุทานออกมาจากปาก โดยที่ไม่ได้ผ่านลำดับ ขั้นตอนความคิดอย่างพิถีพิถัน หรืออาจจะอุทานขึ้นมาเฉยๆเลยก็เป็นได้ คำอุทานนั้นไม่มีคำจำกัดหรือ จำเพาะว่าจะต้องเป็นคำจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกเท่านั้น เพราะคำอุทานมักจะขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆที่นำมาใช้ หรือ เผลอพูดอุทานมาจนกลายเป็นนิสัย และแน่นอนว่าหนึ่งในคำอุทานยอดฮิตที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ก็มักจะมีคำหยาบที่แอบซ่อนอยู่ในนั้นด้วยเช่นกันเลย แม้คำอุทานจำพวกนั้นจะไม่ได้ถูกนำมายกตัวอย่างให้เห็นในบทเรียน เพราะไม่เป็นคำสุภาพในบริบทภาษาไทย แต่ก็ถือเป็นคำที่สามารถพบเจอให้เห็นกันได้อย่างง่ายดาย จากกลุ่มแก๊งค์เพื่อนของเราเลยใช่ไหมล่ะ
นอกจากคำอุทานเสริมบท คือ คำที่นิยม เปล่งเสียงกันในเวลาตกใจแล้ว คำอุทานยังรวมถึงคำเล่นเสียง หรือ คำสร้อยที่มักจะชอบพูดกันเพื่อเน้นประโยค หรือคำพูดนั้นๆให้น่าฟัง หรือ ให้ไพเราะขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เช่น กินข้าวกินปลา หนังส่งหนังสือ เป็นต้น ซึ่งคำเล่านี้จะไม่เรียกว่าสำนวนเหมือนกับที่เพื่อนๆบางลุ่มมักจะเข้าใจผิดกันเสมอไป แต่จริงๆแล้วคำเหล่านี้คือ คำอุทานที่เน้นความหมาย หรือ คำพูดเล่านั้นให้น่าฟัง หรือ เข้าใจขึ้นนั้นเอง ที่สำคัญคำอุทานยังถูกนำมาใช้ใน กาพย์ ร่าย กลอน เพื่อให้บทประพันธ์ไพเราะและน่าฟังกันด้วยล่ะ เรียกได้ว่าคำอุทาน มีความหมายที่กว้างและ มีคำนิยามมาจากอาการของผู้คนที่แสดงออกมาให้เห็นกันอีกด้วยล่ะ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น แบบไหนได้บ้าง
คำอุทานแสดงอาการตกใจ หรือ อาการต่างๆ
คำอุทานเสริมบท คือ แบบแรก เป็นคำอุทานที่เพื่อนๆหลายๆคนมักจะเข้าใจในความหมายของคำอุทานเองอย่างตรงไปตรงไป ก็คือ คำอุทานที่ อุทานขึ้นเพื่อแสดงอาการ หรือบ่งบอกอากับกิริยา ผ่านทางคำพูดและท่าทางที่เรียกว่า คำอุทานแสดงอาการนั้นเอง โดยส่วนใหญ่ทุกคนมักจะเปล่งคำอุทานเหล่านั้นออมาเมื่อเวลาที่เกิดอาการตกใจ ตื้นตันใจ หรือ มีความรู้สึกต่างๆโดยที่อาจจะเปล่งออกมาอย่างไม่ตั้งใจ โดยคำอุทานที่เพื่อนๆ มักจะเปล่งออกมานั้น ก็มีได้หลายคำหลายแบบ ตัวอย่างคำอุทานที่แสดงอากับกิริยาเช่น อุ้ย ! โอ๊ย ! คุณพระ ! ว้าย ! เห้ย ! อะไรนะ! ว่าไงนะ ! น่ารัก ! ก็ถือเป็นคำอุทานที่สามารถแสดงความรู้สึกออกมาที่เพื่อนๆมักจะพูดออกมาโดยที่ไม่รู้ตัวก็คือ คำอุทานที่แสดงอาการนั้นเอง
คำอุทาน คำสร้อย หรือ คำเสริมบท
คำอุทาน–ภาษาไทย อีกแบบที่มักจะพบเจอได้ใน กาพย์ กลอน ร่าย ร้อยแก้ว คำประพันธ์ ก็คือ คำอุทานเสริมบทที่มักจะช่วยเสริมบทพูด หรือ คำกลอนให้ไพเราะ เน้นคำความหมายแสดงอารมณ์ร่วมด้วยได้ โดยหากเป็นบทประพันธ์แล้วเพื่อนๆก็สามารถเห็นได้จาก บทประพันธ์ในวรรณคดีต่างๆ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างปากเปรียวเป็นนักหนา ,โอ้อกเอ๋ยเคยอุ่นละมุนละมอม
อีกคำอุทานเสริมบทที่มักจะใช้พูดเสริมเน้นคำ หรือ ประโยคนั้นๆ ทั้งยังใส่อารมณ์ร่วมด้วยก็เช่น ข้าวปลาอาหาร วัดวาอาราม หนังสือหนังหา มือไม้สั่น ถือเป็นคำอุทานที่นอกจะเน้นความหมายและสิ่งที่พูดไปในตัวแล้วก็ยังเป็นการเพิ่มความไพเราะให้กับคำที่พูดและเปล่งออกมาได้อีกด้วยล่ะ
ทำไมถึงใช้ คำอุทาน
หากถามว่าทำไมถึงใช้คำอุทาน จริงๆแล้วคำอุทานก็คือ นิยามของอาการต่างๆของคนเราที่แสดงออกผ่านคำพูดพร้อมท่าทางที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจนั้นเอง หากเป็นคำอุทานที่ใช้สำหรับเน้นบริบทและเน้นความหมายแล้ว ก็มักจะใช้เพื่อใส่อารมณ์ร่วม หรือ ต้องการเน้นคำพูดนั้นๆให้คนฟังเข้าใจมากขึ้น หรืออาจจะแค่เป็นคำอุทานในรูปแบบของคำสร้อยอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยล่ะ การใช้คำอุทานจึงเป็นการเอ่ยพูดถ้อยคำเมื่อเวลาพบเจอสถานการณ์ต่างๆ ที่มักจะเกินขึ้นได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว คำอุทานจึงเป็นคำนิยาม ของกการเรียกคำที่ใช้เมื่อเราพูดอุทานขึ้นมานั้นเอง
คำอุทานคืออะไร
สำหรับความหมายของคำอุทานในภาษาไทย ถือเป็นคำในรูปแบบหนึ่งที่นิยามการพูด หรือ ธรรมชาติของการพูดคำในภาษาไทย เพื่อให้เพื่อนๆได้เข้าใจบริบทของการใช้คำอุทานกันมากยิ่งขึ้น แถมคำอุทานไม่ได้มีแค่ภาษาไทยเท่านั้น คำอุทานในภาษาอื่นๆก็มีด้วยเช่นกันซึ่งมักจะใช้กันในภาษานั้นๆ มีทั้งการพ่นคำอุทานมาเป็นคำๆและคำอุทานที่เป็นภาษานั้นๆที่มีความหมายด้วย ถือเป็นการนิยามความหมายของคำอุทานที่ไม่ต่างจากภาษาไทยเลยล่ะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม