การเปลี่ยนแปลงการปกครองปีพุทธศักราช 2475 อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับการเกิดเป็น ประวัติคณะราษฎร ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษากันมาถึงปัจจุบัน วันนี้เราจึงจะมาย้อนศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางเรื่องราวประวัติศาสตร์เรื่องนี้ไปพร้อมกันรับรองว่าได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจัดเต็มแน่นอน และเหตุการณ์ในอดีตอาจเป็นบทเรียน หรือบทสะท้อนให้กับอนาคตหรือกับคนรุ่นหลังต่อไป โดยรายละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบที่ทุกคนจะได้ตามอ่านนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ย้อนกลับไปในวันที่ 24 เดือนมิถุนายนเคยเป็นวันชาติไทย เพราะตรงกับวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญที่ทำให้ระบบการปกครองได้เปลี่ยนผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ โดยมีรายละเอียดไทม์ไลน์ก่อนจะมาเป็น ประวัติของคณะราษฎร ดังนี้
ก่อนเกิดเหตุการณ์วันที่ 24 เดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช 2475
ในอดีตบรรยากาศในการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในไทยที่ถูกใช้มาอย่างเนิ่นนานถูกกระทบจากระบบเศรษฐกิจโลกในช่วงทศวรรษที่ 1920 พบหนังสือตำราเก่าหลายเล่มบันทึกโดยเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง เริ่มต้นจากการที่ประเทศไทยของเราเริ่มก้าวเข้าสู่การมีระบบราชการ คนที่เคยอยู่ในสถานะไพร่จึงได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง เกิดการศึกษาหาความรู้มากขึ้น จึงมองเห็นโอกาสที่ชีวิตของตัวเองจะเกิดความเจริญก้าวหน้าได้ กอปรกับการได้ไปศึกษายังต่างประเทศจึงรูปแบบการปกครองอื่น
กว่าจะมาเป็นประวัติคณะราษฎร
ย้อนเวลากลับไปเคยมีเจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ทำการถวายคำกราบบังคมทูลร้องขอ “คอนสติติวชั่นใหม่ตามทางชาวยุโรป” ให้กับรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีรัตนโกสินทรศก 103 โดยฝ่ายทหารเองก็เคยมีกบฏรัตนโกนสินทรศก 130 ที่มีความต้องการอยากเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้กลายมาเป็นการปกครองแบบประเทศญี่ปุ่นหรือฝรั่งเศส จึงเป็นกระแสเริ่มต้นสำหรับแนวคิดและความรู้สึกใหม่ที่ประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้นไม่เคยมีมาก่อนและพึ่งเริ่มจะมีขึ้น
1 ในบุคคลสำคัญที่อยู่ในประวัติคณะราษฎร
“ปรีดี พนมยงค์” หนึ่งในบุคคลชนชั้นใหม่ ผู้เป็นนักเรียนทุนกระทรวงยุติธรรมที่มีแนวคิดใหม่ เขาถูกส่งไปศึกษากฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส ในวันธรรมดาวันหนึ่งปรีดีก็ได้สนทนากับเพื่อนของเขา “ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี” ผู้เป็นนักเรียนนอก ปรีดีบอกว่าได้ยินเสียงจากหลายคนที่มีความต้องการอยากที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ยังไม่มีใครที่จะก้าวเข้ามาตัดสินใจเอาจริง พวกเขาจึงตกลงกันว่าจะไม่พูดแต่ปาก แต่จะต้องทำจริงจากน้อยไปมาก จึงเกิดการวางแพลนผ่านวิธีการชวนเพื่อนคนอื่นๆ เข้ามา
กระทั่งเกิดเป็นการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปในปีพุทธศักราช 2469 ณ บ้านเลขที่ 9 ถนน Rue de sommerard ปารีส โดยที่นั่นปรีดี พยมยงค์ได้รับกับร้อยแปลก ขีตตะสังคะ ซึ่งในช่วงเวลาต่อมากลายมาเป็นจอมพล ป. พิบูลสงคราม การประชุมครั้งนั้นเองที่ทำให้เกิดประวัติ “คณะราษฎร” และมีหลัก 6 ประการออกมา เรียกว่า “หลักหกประการของคณะราษฎร”
หลังจากนั้นมีการเชิญชวนหลายคนให้เข้าร่วม ชื่อที่เป็นที่รู้จัก อาทิ นายควง อภัยวงศ์ พระยาทรงสุรเดช ในช่วงเวลาต่อมาพระยาทรงสุรเดชเองก็ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นตัวเชื่อมเพื่อทำหน้าที่ประสานกับกลุ่มทหารที่อยู่ในระบอบการปกครองเดิม
เมื่อ “คณะราษฎร” กลับมาประเทศไทย
คณะราษฎรเมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทยก็มีบทบาทหน้าที่ในการเข้ารับราชการตามสายงานต่างๆ โดยที่ยังมีการติดต่อประสายและแบ่งสายจัดตั้งเป็น 4 สาย ได้แก่
- สายพลเรือน
- สายทหารเรือ
- สายทหารบกชั้นยศน้อย
- สายนายทหารชั้นยศสูง
ทุกฝ่ายต่างก็แยกย้ายกันออกไปหาสมาชิกเข้ามากระทั่งมีจำนวน 115 คน โดยทั้งหมดเป็นกลุ่มคนอายุน้อยที่ล้วนแล้วแต่อายุต่ำกว่า 30 ปี ตลอดระยะเวลาที่มีการเตรียมการยาวนาน 7 ปีมีชั้นความลับอย่างแน่นหนา แม้แต่คนที่อยู่ต่างสายกันก็จะไม่เคยเห็นหน้ากัน ในการประชุมแต่ละคราวจะนัดหมายเพียงผู้เป็นแกนนำหรือบุคคลสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นการรวมตัวที่แอบซ่อนและปิดบังความลับได้มากที่สุด
กระทั่งช่วงเวลาที่เป็นฤกษ์งามยามดีก็มาถึง เมื่อที่ประชุมคณะราษฎรยกให้พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้วางแผนการ แน่นอนว่ามีหลายแผนการถูกหยิบยกขึ้นมาเสนอ แต่มีแค่เพียงแผนการเดียวที่ถูกเลือก เนื่องจากเชื่อว่าแผนการที่เลือกจะทำให้เกิดการนองเลือดน้อยที่สุด ครั้งแรกตกลงเลือกวันที่ 19 เดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช 2475 เป็นวันปฏิวัติ แต่เนื่องจากสถานการณ์ไม่เอื้อ จะต้องคอบสืบข่าวเอาจากฝ่ายที่ถือครองอำนาจจึงขยับเลื่อนมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 24 เดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช 2475
ประวัติคณะราษฎรกับวันปฏิบัติการปฏิวัติ
เช้ามืด เวลา 04.00 นาฬิกาของวันที่ 24 เดือนมิถุนายน สายโทรเลขและโทรศัพท์ถูกตัดเพื่อสกัดการติดต่อสื่อสารโดยคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน นำโดยนายควง อภัยวงศ์ ในช่วงเวลานั้น “ทางรถไฟที่ตัดถนนประดิพัทธ์ปัจจุบัน” ในอดีตเป็นสถานที่ซึ่งได้ถูกใช้โดยเหล่าคณะราษฎรสายทหารสำหรับนัดหมายกันที่นี่ในช่วงเวลา 05.00 นาฬิกา จากบันทึกของ “พระประศาสน์พิยายุทธ” หนึ่งในบุคคลผู้ร่วมก่อสารเล่าว่า เขาออกจากบ้านตั้งแต่ช่วงเวลา 04.00 นาฬิกา ในเวลานั้นมีตำรวจสันติบาลมาคอยเฝ้าดูอยู่บริเวณหน้าบ้านเช่นเดียวกันกับแหนนำคนอื่น แต่ตำรวจก็ไม่ได้จับกุมตัว ตัวเขาจึงเดินทางไปรับ “พระยาพหลพลพยุหเสนา” ที่บ้านก่อนมายังที่หมาย เมื่อไปถึงจึงพบกับผู้ก่อสารฝ่ายทหารหลายคน โดยนนั้นมี “หลวงพิบูลสงคราม” อยู่ด้วย
เมื่อทุกคนพบกันพระยาสุรเดชก็นัดแนะให้ทำตามแผนที่เก็บเอาไว้เป็นความลับมาตลอดจนชั่วโมงสุดท้าย เสร็จแล้วจึงเริ่มออกปฏิบัติการ โดยการมุ่งหน้าตรงไปยังกรมทหารม้าที่ 1 เป็นสถานที่แรก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งรถรบและรถยนต์เกราะมาไว้ฝ่ายของตน พอไปถึงประตูก็สามารถเข้าไปภายในได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากทหารส่วนนั้นเป็นศิษย์ของ “พระประศาสตร์พิทยายุทธ” คณะผู้ก่อการเรียกรวมทหารภายในกรม แจ้งบอกว่ามีกบฏกลางเมือง ให้นำทหารม้า รถรบ รถเกราะออกมาให้หมด
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้อีกฝั่งได้แบ่งไปดำเนินการเข้าคุมตัวผู้บังคับกรมและงัดคลังกระสุน เพียงไม่นานรถเกราะและทหารม้าก็ออกมารวม โดยมุ่งหน้าไปยะงพระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังมีการเรียกทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันเข้ามาร่วมด้วย
ในช่วงเวลาต่อมาพระยาสุรเดชเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ต่อจากนี้ไว้ โดยพิจารณาวิเคราะห์ว่า การยึดอำนาจในครั้งนั้นสำเร็จ ไม่ได้เป็นเพราะสาเหตุที่ทหารจำนวนมากเห็นด้วย แต่เป็นเพราะทหารไทยคุ้นชินกับการฟังคำสั่ง เมื่อมีบุคคลที่มีอำนาจสูงกว่าสั่งก็จะพากันเชื่อและทำตามในทันที
ไทม์ไลน์ต่อมาในช่วงเวลา 06.05 นาฬิกา เมื่อขบวนรถยนต์มาถึงหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อไปถึงพบว่ามีนักเรียนนายร้อย ทหารเรือ และทหารในกองพันทหารราบที่ 1 และที่ 2 รออยู่ก่อนแล้ว แน่นอนว่าทหารหลายคนที่มารวมตัวอยู่ ณ ที่แห่งนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น
- นักเรียนนายร้อยได้รับแจ้งเพียงว่าจะต้องมารอดูรถรบ
- ทหารจากกองพันทหารราบที่ 1 และ 2 ได้รับแจ้งว่าจะถูกนำตัวมาฝึกหัดหน้าพระลาน
ในกลุ่มของเหล่าทหาร มีเพียงทหารเรือเท่านั้นที่เตรียมมอาวุธมาด้วยครบมือ ขณะที่ทหารมากกว่าครึ่งไม่ทราบถึงแผนปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นและยังงุนงง ทาง “พระยาพหลพยุหเสนา” จึงอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 โดยอ่านจากจุดทิศตะวันออกของลานพระบรมรูปทรงม้า สถานที่ซึ่งช่วงเวลาต่อมาได้มีการปักหมุดคณะราษฎรเป็นหมุดหมายว่า เคยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ โดยหมุดดังกล่าวได้หายไปในปีพุทธศักราช 2560
หลังพระยาพหลหยุเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร
หลังอ่านประกาศเสร็จสิ้น ทางด้านกลุ่มของทหารก็ถูกต้อนเข้ารั้วประตูเหล็กในบริเวณที่นั่งอนันตสมาคม โดยเป็นการต้อนเข้าไปแบบคละหมู่กัน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการใดๆ ได้โดยง่าย งานยึดอำนาจทางการทหารจึงสำเร็จลงในเช้าของวันนั้น ( 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
งานสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติคณะราษฎร
งานสำคัญในที่นี้คือการยึดสถานที่สำคัญและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์มาเป็นตัวประกัน โดยมีเป้าหมายในขณะนั้นอยู่ที่ “กรมพระนครสวรรค์วรพินิต” ผู้เป็นขุนนางที่ทรงอิทธิพลในช่วงเวลานั้น มีบันทึกเล่าว่าตำรวจได้เข้าเฝ้าถวายรายชื่อผู้ที่อาจก่อการก่อนหน้านี้แล้ว แต่ทรงปฏิเสธที่จะลงชื่ออนุมัติจับกุม
วันก่อการคนที่ได้รับมอบให้เข้าคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯ คือ “พระประศาสน์พิยายุทธ” ซึ่งได้นำขบวนของนักเรียนนายร้อยออกจากพระบรมรูปทรงม้าไปยังวังบางขุนพรหม ทูลเชิญกรมพระนครสวรรค์วรพินิต หลังจากนั้นมีการคุมตัวบุคคลสำคัญคนอื่นๆ อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ในช่วงเวลานั้นคณะราษฎรออกแถลงการณ์ด้วยว่าถ้ามีใครออกมาขัดขวางหรือต่อต้าน ตัวประกันเหล่านี้จะต้องถูกทำร้าย วันเดียวกันนั้นมีการทยอยยึดสถานที่ต่างๆ เช่น พระบรมมหาราชวัง
ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ที่วันนั้นล่องเรืออยู่คลองบางลำพูข้างวัดบวรก็ได้แจกแถลงการณ์คณะราษฎรที่พึ่งจะพิมพ์ใหม่ กระทั่งเวลาสายมีแถลงการณ์อีกฉบับลงพระนาม “บริพัตร” ระบุว่า …ข้าพเจ้าขอให้ทหาร ข้าราชการ และราษฏรทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบ อย่าให้เสียเลือดเนื้อของคนไทยกันเองโดยไม่จำเป็นเลย… นั้นจึงเป็นจุดที่หลายฝ่ายมองว่าการก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎรทำสำเร็จนั้นเอง
วันที่ 25 เดือนมิถุนายน “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบคณะราษฎรว่า “…ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นอยู่ว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมืองและความจริงข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงตามทำนองนี้คือ มีพระเจ้าแผ่นดินตามพระธรรมนูญจึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาล…”
หลังจากประทับรถไฟนิวัติถึงกรุงเทพฯ และรับถวายรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม ซึ่งคณะราษฎรร่างขึ้น ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และทรงเขียนคำว่า “ชั่วคราว” ลงไปกำกับ เพื่อต่อรองให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งมีฝ่ายอำนาจเดิมร่วมร่างและต่อรองด้วย ทั้งหมดจึงเป็นทั้งประวัติคณะราษฎรที่มาพร้อมเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรกของไทย ซึ่งถ้าทุกคนได้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบก็จะได้ทราบประวัติโดยละเอียด รวมไปถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถไล่ไทม์มิ่ง และได้รับบทสรุปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_2768098
- https://th.wikipedia.org/wiki/คณะราษฎร
- https://www.khaosod.co.th/politics/hot-topics/news_2644032
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม