วันฉัตรมงคล หรือวัน พิธีบรมราชาภิเษก ประจำปีพ.ศ.2566 ในปีนี้มีวันหยุดยาวถึง 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2566 ถึงวันที่ 7 พ.ค. 2566 ซึ่งวันเหล่านี้จะเป็นวันที่ทุกคนจะลางานเพื่อกลับไปยังบ้าน หรือไม่ก็ไปเที่ยวเพื่อพักผ่อน แต่ความจริงแล้ววันสำคัญอย่างวันฉัตรมงคล นับเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่ในอดีต แต่ทว่าในปัจจุบันเอง อาจจะดูห่างไกลจากประชาชนพอประมาณ แต่ความจริงแล้วก็ยังเป็นวันสำคัญสำหรับทางราชวงศ์ไทยอยู่นั่นเอง และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ก็จะขอพาทุกคนไปรู้จักวันสำคัญวันนี้แบบละเอียดยิบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันฉัตรมงคล ความเป็นมาที่สำคัญที่คนไทยต้องรู้
วันฉัตรมงคล หรือวัน พิธีบรมราชาภิเษก เป็นวันที่พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ ซึ่งในวัน วันฉัตรมงคล จะมีพระราชพิธีทำนายอนาคตบ้านเมืองว่าภายในปีนั้น ๆ บ้านเมืองจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้างเช่น จะมีความแห้งแล้ง จะมีโรคระบาด จะมีเหตุจลาจล เป็นต้น ซึ่งในจุดนี้ก็จะมีการทำพิธีเพื่อหาคำทำนาย อนาคตล่วงหน้า และทางคนไทยก็จะช่วยกันแก้ไขปัญหา หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่ดีออกไป
วันฉัตรมงคล ถูกจัดครั้งแรกตอนรัชกาลที่เท่าไหร่
โดย วันฉัตรมงคล หรือวัน พิธีบรมราชาภิเษก ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2393 และหลังจากสิ้นสุดการจัด พิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 4 ก็ได้จัดให้ พิธีบรมราชาภิเษก เป็นวันที่ประชาชนทั่วไปควรเฉลิมฉลอง จึงได้ตั้งให้วันที่ 15 พฤษภาคม ในปีถัด ๆ ไปได้ถูกตั้งให้เป็น วันฉัตรมงคล ที่นับว่าเป็นวันสำคัญ
จนต่อมาจนสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้เข้า พิธีบรมราชาภิเษก ในช่วงเดือนธันวาคมแต่ไม่ได้รับการยอมรับให้จัดงานฉัตรมงคล จึงทำให้ในรัชกาลที่ 5 ยังคงจัดให้ วันฉัตรมงคล ในช่วงเดือนพฤษภาคมตามเดิมกับของรัชกาลที่ 4 จึงทำให้ต่อมา วันฉัตรมงคล จะถูกให้จัดขึ้นเฉพาะในเดือนพฤษภาคมเท่านั้น หรือก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม นั่นเอง
วันฉัตรมงคล ของรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างไร
โดย วันฉัตรมงคล หรือวัน พิธีบรมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เข้า พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จึงทำให้ในรัชสมัยของพระองค์ วันฉัตรมงคล จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม จนกว่าจะถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 10
ซึ่งนับตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 5 – 8 ทุกพระองค์จะเข้า พิธีบรมราชาภิเษก ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ทำให้ทางพระราชวังจะกำหนดให้ใช้วันที่ 15 พฤษภาคม เป็น วันฉัตรมงคล โดยนับว่าเป็นวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก และในรัชกาลที่ 9 เมื่อได้จัด พิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นในเดือนพฤษภาคม ทำให้ทางพระราชวังอนุญาตให้ใช้วันบรมราชาภิเษกเป็นวันที่จะจัดงานฉัตรมงคลขึ้นด้วยเช่นเดียวกันรัชกาลที่ 4
วันฉัตรมงคล ของรัชกาลที่ 10 เป็นอย่างไร
และหลังการจากไปของรัชกาลที่ 9 ทำให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ต้องเข้า พิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งพระองค์ก็ได้เข้า พิธีบรมราชาภิเษก ในช่วงเดือนพฤษภาคมเช่นเดียวกัน นั่นก็คือวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ถือเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของประเทศไทย ที่ได้มีการจัด พิธีบรมราชาภิเษก ถึง 3 วัน เพราะในรัชกาลอื่นจะมีการจัดพิธีเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น
ในปัจจุบันจะจัดขึ้นในวันที่เท่าไหร่
ซึ่งในปัจจุบันนี้ที่พวกเราอยู่คือรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ได้มีการจัด พิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นในวันที่ 4 – 6 พฤษภาคมจึงทำให้ วันฉัตรมงคล จะถูกจัดขึ้นทุกวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปีจนกว่าจะหมดรัชสมัยนั่นเอง ทั้งนี้รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีบรมราชาภิเษกก็จะมีประกาศให้ประชาชนได้รู้โดยทั่วกันอีกด้วย
ใน พิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ต้องทำอะไรบ้าง
โดยใน พิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์จะดำเนินการตามพิธีสงฆ์ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะมีพราหมณ์ทำพิธีเพื่อเชิญพระมหากษัตริย์ขึ้นประทับบนพระราชบัลลังก์ และจะมีการส่งมอบเครื่องราชูปโภคส่วนพระองค์ ที่ได้มีพิธีส่งต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยเครื่องราชูปโภคส่วนพระองค์จะประกอบไปด้วยของ 4 อย่างนั่นก็คือ
- พานพระขันหมาก
- พระมณฑปรัตนกรัณฑ์
- พระสุพรรณศรีบัวแฉก
- พระสุพรรณราช
เมื่อเสร็จพระราชพิธีก็จะเป็นการเฉลิมฉลองของประชาชนนั่นเอง ที่ในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละปีเลย ว่าจะให้ประชาชนสามารถร่วมพิธีแบบไหนได้บ้าง แต่ถ้าหากเป็นทางฝั่งราชวงศ์ก็จะมีพิธีและรายละเอียดที่เคร่งครัด เพราะนับว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของในหลวงแต่ละรัชกาล
วันฉัตรมงคล ในปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีตอย่างไรบ้าง
ซึ่งในอดีตที่ได้มีการจัดงาน วันฉัตรมงคล ขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีประชาชนชาวไทยธรรมดา ก็จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับรัชสมัยใหม่ที่กำลังมาถึง จึงเรียกได้ว่าเป็นวันมงคลที่คนทั้งชาติจะร่วมกันเฉลิมฉลองนั่นเอง เป็นวันแห่งงความปิติยินดี ที่ประชาชนชาวไทยจะได้สรรเสริญในหลวงที่ทุกคนเคารพรัก
แต่ในยุคปัจจุบัน วันฉัตรมงคล หรือ พิธีบรมราชาภิเษก เป็นสิ่งที่ค่อนข้างไกลตัวไม่เหมือนในสมัยก่อนจึงทำให้ในยุคปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการจัดงานเฉลิมฉลองเช่นเดียวกันกับในสมัยอดีต แต่ในยุคปัจจุบันจะเป็นการที่ประชาชนชาวไทยจะนำเอาธงชาติมาประดับไว้หน้าบ้าน มีการทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นกุศลแก่พระมหากษัตริย์ และท้ายที่สุดก็จะมีการลงนามเพื่อเป็นการภวายพระพรแก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัยของรัชกาลที่ 9 การลงนามจะมาในรูปแบบของสมุดภวายพระพรที่ทางสำนักพระราชวังได้เตรียมไว้ในสถานที่ต่าง ๆ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 10 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการลงนามออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง
ความประทับใจของคนไทยใน วันฉัตรมงคล เทียบอดีตกับปัจจุบัน
ในยุคอดีต วันฉัตรมงคล ถือได้ว่าเป็นวันที่ประชาชนชาวไทยจะมีความประทับใจเป็นอย่างมาก เพราะพระมหากษัตริย์ในสมัยอดีตนั้นจะมีความใกล้ชิดกับประชาชนเป็นอย่างมาก จึงทำให้เมื่อมีการจัด พิธีบรมราชาภิเษก ประชาชนจะมีการแสดงความยินดี มีการไปเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์กันที่หน้าพระราชวังเป็นจำนวนมาก และเมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็จะมีการฉลองไปทั่วประเทศ ทำให้คนไทยในตอนนั้นต่างมีความปิติ และได้แสดงความขอบคุณที่ในหลวงได้ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความชอบธรรม
แต่ในปัจจุบันในยุคที่ประชาชนทั่วไปไม่ได้เข้าถึงหรือว่าใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เฉกเช่นเดียวกับในสมัยอดีต จึงส่งผลทำให้ใน วันฉัตรมงคล ประชาชนทั่วไปจะไม่ค่อยได้มีความประทับใจเทียบเท่ากับสมัยอดีตนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนจำนวนนึงไปร่วมเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่หน้าพระราชวังแต่ก็มีจำนวนที่น้อยกว่าในอดีต และเมื่อ พิธีบรมราชาภิเษก สิ้นสุดลงก็ไม่ได้มีการงานเฉลิมฉลองอีกต่อไป ในจุดนี้อาจทำให้ประชาชนเหินห่างกับในหลวงมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยบริบท ณ ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป จึงไม่แปลกที่คนไทยจะใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ได้น้อยลง
วันฉัตรมงคล เป็นวันที่มีทูตต่างประเทศเข้าเฝ้ามากที่สุด
ซึ่งวัน วันฉัตรมงคล หรือ พิธีบรมราชาภิเษก ถือได้ว่าเป็นอีก 1 วันที่มีคณะทูตหรือตัวแทนราชวงศ์จากต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของเรามากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการเข้ามาแสดงความยินดีกับการขึ้นครองราชย์แล้ว ยังเป็นการเข้ามาเพื่อพูดคุยถึงแนวโน้มของประเทศและประกาศความร่วมมือกันในอนาคตอีกด้วย
จึงเรียกได้ว่า พิธีบรมราชาภิเษก เป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่า มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศใดบ้างในโลกนั่นเอง วันนี้จึงได้เห็นบุคคลสำคัญในแต่ละประเภทเข้ามาร่วมพิธีการและเฉลิมฉลองกัน
พิธีบรมราชาภิเษก จะจัดขึ้นที่ไหน
โดยใน พิธีบรมราชาภิเษก จะถูกจัดขึ้นที่พระบรมมหาราชวัง ซึ่งถือว่าเป็นพระราชวังหลวงที่พระมหากษัตริย์ ไทยทุกพระองค์ประทับในช่วงที่ขึ้นครองราชย์นั่นเอง และพระบรมมหาราชวังยังเป็นสถานที่สำคัญ ที่จะถูกใช้ในการจัดงานที่มีความสำคัญของทางราชวงศ์ต่าง ๆ และในการเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ก็จะต้องไปเข้าเฝ้าที่พระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกัน
และในวันธรรมดาที่ไม่ได้มีการจัดพิธี พระบรมมหาราชวังก็จะถูกเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงชาวต่างชาติเข้าชมได้ในบริเวณรอบนอกของพระบรมมหาราชวังนั่นเอง และพระบรมมหาราชวังยังถูกจัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทยของเรา ที่เมื่อต่างชาติมาเที่ยวจะต้องแวะมาเยี่ยมชมสักครั้งหนึ่ง
สรุปข้อมูลของวัน วันฉัตรมงคล ณ ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร
วันฉัตรมงคล คือวันที่พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยจะเข้า พิธีบรมราชาภิเษก เพื่อขึ้นครองราชตามพิธีที่ได้สืบทอดต่อกันมา โดย วันฉัตรมงคล จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกรัชสมัย และในรัชสมัยปัจจุบันของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 วันฉัตรมงคล จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคมของทุกปี
และในปี 2566 วันฉัตรมงคล ถือว่าเป็นอีก 1 วันหยุดยาวเพราะทางรัฐบาลได้มีการประกาศว่าวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ถือว่าเป็นวันหยุดราชการ เพราะฉะนั้นถ้าหากใครที่กำลังมีแพลนอยากจะหาวันหยุดเพื่อไปใช้พักผ่อนกับครอบครัว หรือกับเพื่อนในช่วงเดือนพฤษภาคม ในช่วง วันฉัตรมงคล ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกในการไปเที่ยวได้เป็นอย่างดี และถ้าหากเรื่องราวที่ทุกคนได้อ่านในวันนี้มีประโยชน์ก็อย่าลืมแชร์ให้คนใกล้ตัวเข้ามาอ่านกันด้วยนะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.thairath.co.th/news/politic/2599006
- https://www.nsf.or.th/วันฉัตรมงคล
- https://www.ect.go.th/satun/ewt_news.php?nid=382&filename=index
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pexels.com/th-th/photo/11105015/
- https://www.pexels.com/th-th/photo/1317365/
- https://www.pexels.com/th-th/photo/11105015/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม