ต้องยอมรับว่าถ้าไปสอบถามความเห็นของหลาย ๆ คน อาชีพหมอเป็นอีกหนึ่งความฝัน ซึ่งเหตุผลของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป แต่หนึ่งในเหตุผลจากทั้งหมดก็คือ เงินเดือนแพทย์ที่ได้รับค่อนข้างสูง รวมไปถึงการอยากที่จะรักษาคนไข้ที่เจ็บป่วยให้หายจากอาการเหล่านั้น บางคนก็มีเป้าหมายเพราะไม่อยากสูญเสียคนในครอบครัวไปด้วยโรคร้ายแรง ทุกเหตุผลล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งนั้น โดยในบทความนี้เราจะพาไปคุณไปเจาะลึกเกี่ยวกับเส้นทางก่อนที่จะไปเรียนแพทย์ รวมถึงตีแผ่เงินเดือนแพทย์ให้ทุกคนได้รู้กันด้วย ใครที่กำลังสนใจอยากเรียนคณะนี้ก็ลองเข้ามาอ่านเรื่องน่าสนใจในบทความของเรากันก่อนได้
เจาะลึกทุกเรื่องที่น่าสนใจ เรียนหมอต้องสอบอะไร เงินเดือนแพทย์ได้เท่าไหร่?
ใครที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเส้นทางสู่การเป็นแพทย์บทความนี้จะเจาะลึกให้คุณได้ทุกเรื่องเลย แต่ก่อนอื่นเราจะเริ่มจากเรื่องที่ใครก็อยากรู้ก่อนก็คือ เงินเดือนแพทย์ ซึ่งขออธิบายก่อนว่าการคำนวณเงินเดือนของแพทย์จะแบ่งออกเป็น 5 อย่าง ได้แก่ เงินเดือน, เงิน P4P, เงินประจำตำแหน่ง, เงินเวร และเงินไม่ทำเวช ซึ่งเราจะแจกแจงเงินเดือนของแพทย์โรงพยาบาลรัฐบาล ดังนี้
เงินเดือน
โดยปกติเงินเดือนของแพทย์จะเริ่มต้นที่ 18,000 บาทและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในกรณีที่มีการลาไปเรียนเฉพาะทางคุณก็จะไม่ได้รับเงินเดือนในส่วนนี้ แต่สำหรับเงินเดือน 18,000 บาทจะสำหรับแพทย์ที่ยังไม่ได้เรียนเฉพาะทาง เพราะถ้าหากจบเฉพาะทางแล้วจะมีการปรับเงินเดือนขึ้นไปอยู่ที่ 25,000 บาท
เงิน Pay for Performance (P4P)
เงินค่าตอบแทนซึ่งได้จากการปฏิบัติหน้าที่ โดยเงินจำนวนนี้จะขึ้นอยู่กับการตรวจเคสคนไข้ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ประมาณ 7,000 บาทจนถึง 15,000 บาท ซึ่งจำนวนเงินที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละคนเป็นหลัก
เงินประจำตำแหน่ง
ส่วนถัดไปคือเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งถ้าเป็นหมอจบใหม่จะได้เงินประจำตำแหน่ง 5,000 บาท ส่วนหมอที่จบเฉพาะทางมาเรียบร้อยแล้วจะได้เงินประจำตำแหน่งประมาณ 10,000 บาท ในกรณีที่คุณจบเฉพาะทางในสาขาที่มีความขาดแคลนเงินเดือนประจำตำแหน่งอาจจะได้ 15,000 บาท
เงินค่าไม่ประกอบเวช
สำหรับเงินค่าไม่ประกอบเวช สามารถอธิบายสั้น ๆ ก็คือ เงินที่คุณไม่ไปทำงานเอกชน หรือเงินที่ไม่นำไปเปิดคลินิก ซึ่งจ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ไม่ย้ายไปทำงานเอกชน ในส่วนนี้จะมีการจ่ายให้ 10,000 บาทต่อคน
เงินค่าเวร
เวรของแพทย์จะมีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ เวรห้องฉุกเฉินและเวรวอร์ด ปกติแล้วใน 1 เดือนแพทย์จะมีเวรประมาณ 11 เวร แยกออกเป็นเวรวอร์ด 8 เวรและเวรห้องฉุกเฉิน 2 เวร ซึ่งเงินค่าเวรวอร์ดจะแยกเป็นวันธรรมดาและวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หากเป็นวันธรรมดาจะได้ค่าขึ้นเวรครั้งละ 1,400 บาท ส่วนวันเสาร์อาทิตย์จะได้ค่าขึ้นเวรครั้งละ 2,000 บาท ในส่วนของเวร ER จะมีการเข้าเวร 8 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่ละครั้งได้ค่าเวร 1,100 บาท หากรวมทั้งหมด 11 เวรจะได้ค่าเวรประมาณ 15,300 บาท
สำหรับใครที่สนใจอยากจะเรียนหมอ เราขออธิบายก่อนว่าการเรียนหมอจะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 ปี ซึ่งในแต่ละปีจะเรียนอะไรบ้างลองไปดูก่อนได้ เพื่อที่จะศึกษาและเตรียมความพร้อมในฐานะว่าที่นักศึกษาแพทย์กันก่อน ซึ่งมีรายละเอียดการเรียนในแต่ละปีดังนี้
ปีที่ 1 จะเริ่มต้นจากการศึกษาวิชาพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อทบทวนวิชาของระดับชั้นมัธยมปลาย โดยจะเน้นที่วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิชาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ใครที่ห่วงเรื่องพื้นฐานไม่แน่นเท่าคนอื่นก็ไม่ต้องห่วงเพราะคุณจะได้ทบทวนความรู้ทั้งหมดในปีที่ 1
ปีที่ 2 ปีนี้คุณจะเริ่มก้าวเข้าสู่การเป็นนักเรียนแพทย์ที่มากขึ้น เพราะจะได้เจาะลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกาย เรียนเรื่องระบบการทำงานในร่างกาย ตั้งแต่วิชากายวิภาค วิชาสรีวิทยา หรือวิชาพันธุศาสตร์ เรียกว่าเป็นการเจาะลึกเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นแพทย์
ปีที่ 3 ในปีที่ 3 การเรียนจะเริ่มเจาะลึกมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการสอนเกี่ยวกับยาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในเภสัชวิทยา รวมไปถึงหลักภูมิคุ้มกัน, พยาธิวิทยา, ปรสิตวิทยาและอื่น ๆ อีกมากมายที่เจาะลึกมากกว่า 2 ปีก่อนหน้านี้
ปีที่ 4 คุณจะได้สัมผัสการเป็นว่าที่แพทย์ในปีนี้ เพราะจะเริ่มเข้าสู่คลินิกและเรียนรู้การดูแลคนไข้ในโรงพยาบาลจริง ๆ มีทั้งการออกตามวอร์ดต่าง ๆ ตื่นเช้า อดนอน นอนดึก รวมถึงจะหมดเวลาชีวิตไปทั้งหมด เพราะจะเรียนหนักทำวอร์ดหนัก
ปีที่ 5 ปีที่ 5 กับปีที่ 4 จะมีการเรียนที่คล้ายคลึงกัน แต่จะให้คุณไปเรียนในวอร์ดที่ไม่เคยเจอในปีที่ 4 เช่น แผนกนิติเวชและแผนจิตเวช ใครที่ไม่รู้จะเรียนเฉพาะทางไหนด้านไหน คุณจะเริ่มต้นหาความชอบของตัวเองเจอในปีที่ 4 กับปีที่ 5 นี่แหละ
ปีที่ 6 เส้นทางสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็นแพทย์ ในปีนี้เรียกว่าคุณอยู่ในตำแหน่ง Extern ซึ่งจะได้เรียนรู้ทุกอย่างเสมือนเป็นแพทย์จริง ๆ ทั้งตรวจคนไข้ เย็บแผล ฝึกทำคลอด โดยจะมีการย้ายไปฝึกตามโรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดด้วย เรียกว่าเป็นปีแห่งการตัดสินชี้ชะตาการเป็นแพทย์เต็มตัว และจะได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้ในปีนี้ทั้งหมดเลย คนส่วนใหญ่จะบอกว่าเป็นปีที่สำคัญมากและไม่ค่อยมีเวลาว่างสักเท่าไหร่เนื่องจากต้องเข้าเวร
เจาะลึกสาขาเฉพาะทางที่คนอยากเรียนแพทย์ต้องรู้!
หลังจากที่ไปดูเงินเดือนแพทย์แบบคร่าว ๆ กันมาแล้ว สำหรับใครที่เริ่มสนใจอยากศึกษาคณะแพทย์ สิ่งคุณควรจะรู้เอาไว้ก็คือ สาขาเฉพาะทางที่ต้องเลือกหลังจากเรียนแพทย์ครบ 6 ปีแล้ว เพื่อที่จะต่อยอดและมีความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งในบทความนี้เราไม่ได้รวมเอามาฝากทั้งหมด แต่ก็คัดสรรมาฝากทั้งหมด 10 สาขาเฉพาะทางของคนเรียนแพทย์จะมีอะไรบ้างลองตามไปดูเลยดีกว่า
- วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาแรกคือ “วิทยาศาสตร์การแพทย์” เป็นเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ โดยจะศึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค และเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ
- กุมารเวชศาสตร์
สาขาเฉพาะทางถัดไปที่เราจะแนะนำคือ “กุมารเวชศาสตร์” สำหรับสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับเด็ก โดยจะดูแลตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กวัยรุ่นช่วงอายุตั้งแต่ 14 ปีจนถึง 18 ปี ส่วนใหญ่คนมักจะเรียกแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ว่า “กุมารแพทย์”
- เลนส์สัมผัส
“เลนส์สัมผัส” เป็นอีกหนึ่งสาขาที่มีให้แพทย์เลือกเรียนเฉพาะทางได้ โดยจะเกี่ยวข้องกับคอนแทคเลนส์จึงเรียกว่าเป็นเลนส์สัมผัส เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสายตา ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การใช้ชีวิตแบบไม่ต้องพึ่งพาการใช้แว่นตา
- จิตเวชศาสตร์
ถ้าพูดถึง “จิตเวชศาสตร์” หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่าเป็น “จิตแพทย์” คุณอาจจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น สำหรับสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการบกพร่องของจิตใจ ศึกษาภายในของสมองมนุษย์และระบบประสาทต่าง ๆ เป็นหลัก
- นิติเวชศาสตร์
สำหรับ “นิติเวชศาสตร์” จะเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรศพ เพื่อค้นหาสาเหตุการตายที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวตายหรือการถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย โดยสาขานี้จะเป็นแพทย์ที่ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายด้วย เพราะคุณจะต้องเอาเรื่องการแพทย์ไปประยุกต์ใช้ให้เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
- พยาธิวิทยา
อีกหนึ่งสาขาเฉพาะทางที่บางคนอาจไม่รู้จักคือ “พยาธิวิทยา” สาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับการตรวจอวัยวะ, สารคัดหลั่ง, เนื้อเยื่อ และเซลล์จากร่างกายมนุษย์ โดยคนมักเรียกหมอพยาธิวิทยาว่า “พยาธิแพทย์” สำหรับเงินเดือนแพทย์สาขานี้ในโรงพยาบาลรัฐบาลจะอยู่ที่ 50,000 บาทเป็นต้นไป ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 100,000 บาท
- รังสีวิทยา
สาขาถัดไปชื่อว่า “รังสีวิทยา” เป็นแพทย์ที่เรียนเฉพาะทางเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายออกมา โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษทางการแพทย์ เช่น เครื่อง x-ray, เครื่องรังสีแกมมา หรืออัลตราซาวด์ หน้าที่หลัก ๆ คือ การแปลผลภาพวินิจฉัยออกมาให้คนไข้เข้าใจโรคที่ตัวเองกำลังเป็นอยู่ได้อย่างลึกซึ้ง
- วิสัญญีวิทยา
หนึ่งในสาขาที่ยากเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ “วิสัญญีวิทยา” ซึ่งเมื่อจบมาจะถูกเรียกว่าเป็น “วิสัญญีแพทย์” หน้าที่หลักคือการระงับความรู้สึกของผู้ป่วย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้ารับการผ่าตัด และการให้ยาชาแบบเฉพาะส่วน โดยจะต้องคำนวณระยะเวลาที่ยาจะระงับความรู้สึกในช่วงผ่าตัดไปจนถึงช่วงที่ส่งคนไข้กับหอผู้ป่วย โดยเงินเดือนแพทย์สาขานี้ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลจะอยู่ที่ 60,000 บาทเป็นต้นไป ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะเริ่มต้นที่ 150,000 บาทไปจนถึง 300,000 บาทเลยทีเดียว
- อายุรศาสตร์
สาขาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายผู้ใหญ่ชื่อว่า “อายุรศาสตร์” สำหรับผู้ที่จบอายุรศาสตร์จะได้เป็นหมออายุรกรรม โดยจะต้องมีความชำนาญและรู้จักการสังเกตอย่างละเอียด เพื่อที่จะซักประวัติคนไข้และค้นหาให้ได้ว่ามีความผิดปกติในเรื่องใดอยู่ ซึ่งอาจจะเรียนเพื่อเพิ่มความพิเศษในสาขาวิชาอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ, โรคไต และโรคอื่น ๆ สำหรับเงินเดือนแพทย์อายุรศาสตร์ของโรงพยาบาลรัฐบาลจะเริ่มต้นที่ 40,000 บาทไปจนถึง 80,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะเริ่มต้นที่ 160,000 บาทไปจนถึง 250,000 บาท
- ศัลยศาสตร์
การเรียนแพทย์เฉพาะทางสาขาสุดท้ายที่เราจะแนะนำคือ “ศัลยศาสตร์” หรือที่เรียกว่าเป็น ศัลยแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์ที่จะเรียนเรื่องการใช้เครื่องมือหรือหัตถการในการผ่าตัดคนไข้ เพื่อรักษาอาการผิดปกติในร่างกาย โดยส่วนใหญ่คนจะเรียกศัลยแพทย์ว่า หมอผ่าตัด ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในสาขาที่เงินเดือนสูงแต่ความกดดันก็สูงตาม
หลังจากที่เราได้พาไปสำรวจเงินเดือนแพทย์แบบคร่าว ๆ กันมาแล้ว เชื่อว่าหลายคนที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเรียนด้านไหนดี คณะแพทย์อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่คุณอยากจะเรียนกันอย่างแน่นอน เพราะเป็นอาชีพที่เงินเดือนสูง อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือคนอีกด้วย หากเริ่มสนใจอยากเข้าศึกษาในคณะแพทย์ก็ต้องอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถสอบเข้าเรียนให้ดีก่อน นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมอ่านหนังสือก็สำคัญ เพราะคณะแพทย์เป็น TOP 10 ของไทยที่มีผู้แข่งขันจำนวนมาก หากอยากเข้าเรียนแม้จะไม่เก่งก็ต้องมีความขยันที่มากพอ รับรองว่าความฝันนี้อยู่ไม่ไกลอย่างแน่นอน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.ondemand.in.th/อยากเป็นหมอ-เรียนแพทย์-6/
- https://www.sanook.com/campus/1416223/
- https://www.edugentutor.com/content/?ctid=MjIwOTAxMDE=
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://campus.campus-star.com/app/uploads/2017/08/doctor-study.jpg
- https://cimjournal.com/wp-content/uploads/2021/11/ทักษะที่จำเป็นสำหรับแพทย์.jpg
- https://blog.wu.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/2.-Anatomy.jpg