สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรที่ให้การดูแลผู้ที่เป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และได้มีการผลักดันให้มีมาตราใหม่ ๆ ที่คลอบคลุมกับแรงงานชาวไทยทุกท่านอย่างเสมอมา ม.40 ก็เป็นอีกหนึ่งมาตราที่ทางสปส. ได้จัดการให้เกิดขึ้นมา เพื่อขยายให้ผู้ที่อยู่นอกเงื่อนไขสามารถเข้าร่วมกองทุนได้ และรับสิทธิประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน ในวันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ ม.40 เป็นยังไง มีเงื่อนไขแบบไหน ทำยังไงถึงจะได้รับสิทธิ และเรื่องควรรู้เกี่ยวกับมาตรานี้
ทำความรู้จัก ม.40 ชี้แจงเงื่อนไข ความหมาย และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ให้เข้าใจกันมากขึ้น
ม.40 คือ อะไร ม.40 หรือมาตรา 40 นั้นคือ หนึ่งในมาตราของสำนักงานประกันสังคมเช่นเดียวกันกับ ม.33 หรือ ม.39 แตกต่างกันที่เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อรับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนดต่าง ๆ มาตรา 40 นั้นคลอบคลุมถึงบุคคลทั่วไปผู้ประกอบอาชีพอิสระ และมิได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 หรือ 39 มีสิทธิได้รับความคุ้มครองทั้งหมด 5 กรณี โดยในแต่ละกรณีนั้นก็จะได้รับเงินเยียวยาที่แตกต่างกันไป และสำหรับสิทธิความคุ้มครองนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสมทบเงินเข้ากองทุนในทางเลือกใด
-
ผู้ที่จะ ขึ้นทะเบียนม.40 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
- ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 จะต้องมีสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยที่เลขประจำตัวหลักแรกจะต้องเป็นเลข 6, 7, 0 แต่ไม่รวมผู้ที่มีเลขหลักแรกกับหลักที่สองเป็นเลข 0 ทั้งคู่ (00)
- จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์ ค้าขาย ไรเดอร์ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ
- จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิประกันตนในมาตรา 33 และ มาตรา 39
- จะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี
- จะต้องไม่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- หากเป็นผู้พิการ จำต้องระบุลักษณะหรืออาการโดยละเอียด ไม่รวมผู้พิการทางสติปัญญา
-
ม.40 สมัคร ยังไง สมัครช่องทางไหนได้บ้าง
สำหรับผู้ที่ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองว่ามีสิทธิเป็นผู้ประกันตน ม.40 แล้วนั้น สามารถเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 40 ได้ที่ สายด่วน 1506, ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา, บิ๊กซี ทุกสาขา, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และทางอินเตอร์เน็ตที่ www sso go th ประกันสังคม ม.40 สามารถเลือกช่องทางในการสมัครได้ตามสะดวก หลักฐานที่ใช้ในการสมัครมี 2 อย่าง คือ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และแบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40)
-
ทางเลือกในการ จ่ายม.40 มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร
การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.40 นั้นมีทั้งหมด 3 ทางเลือกหลัก ๆ โดยแต่ละทางเลือกนั้นก็มีการกำหนดจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่ายทุกเดือนแตกต่างกันไป และเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับก็มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงินสมทบในแต่ละเดือน สามารถเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองได้
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท รัฐสนับสนุนอีก 30 บาท รวมเป็น 100 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีตาย
- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐสนับสนุนอีก 50 บาท รวมเป็น 150 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีตาย
- กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
- ทางเลือกที่ 3 แบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐสนับสนุนอีก 100 บาท รวมเป็น 200 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี
- กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
- จ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐสนับสนุนอีก 100 บาท รวมเป็น 200 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี
-
- จ่ายเงินสมทบ 170 บาท รัฐสนับสนุนอีก 130 บาท รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีตาย
- กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
- จ่ายเงินสมทบ 200 บาท รัฐสนับสนุนอีก 150 บาท รวมเป็น 350 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีตาย
- กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)
- กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
- จ่ายเงินสมทบ 170 บาท รัฐสนับสนุนอีก 130 บาท รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี
-
คุณสมบัติ ม.40 สิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ประกันตน ม.40 ควรรู้
- “กรณีทุพพลภาพ” จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี
- “กรณีตาย” จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
- “กรณีชราภาพ” – เงินบำเหน็จ ได้รับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
- “กรณีชราภาพ” – เงินบำนาญ ได้รับเงินขั้นต่ำ 600 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 35 ปีขึ้นไป หรือยอดถึงบำนาญขั้นต่ำ)
- ม.40 กรณีเจ็บป่วย – จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เมื่อจำเป็นต้องรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่นอนโรงพยาบาลเท่านั้น
ร่วมสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 สมาชิกกองทุนประกันสังคม เพื่อรับสิทธิประโยชน์คุ้มครองขั้นพื้นฐาน
ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์แบบไหนจะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต ดังนั้นเราควรที่จะมีอะไรที่เป็นหลักประกันให้เราได้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด สมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 เพื่อสร้างหลักประกันและรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานกันเถอะ หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดก็ยังมีกองทุนให้ความช่วยเหลืออยู่ หรือหากไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี ก็จะได้รับเงินคืนเมื่ออายุครบ 60 ปี สมัครไว้ไม่เสียหาย จ่ายเพียงเดือนละไม่กี่บาทเท่านั้น
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎