หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ชี้ทางไปสู่นิพพานนั้นมีมากมาย แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงหลักข้อสำคัญในการสู่นิพพานขั้นเริ่มต้นนั่นคือ การดับทุกข์ หรือคำที่เราได้ยินบ่อย ๆ คือ อริยสัจ 4 เราจะมาดูกันว่าเส้นทางของการดับทุกข์นั้นมีอะไรบ้าง สามารถนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า อริยสัจ 4 เส้นทางของการดับทุกข์ คืออะไร ?
อริยสัจ 4 คือ ความจริงในการดำรงชีวิตทั้ง 4 ประการ กล่าวได้ว่า การมีทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ และหนทางไปสู่การดับทุกข์ แล้ว อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันว่าเส้นทางแห่งการดับทุกข์นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
-
ทุกข์
การเกิดทุกข์นั้นมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ว่าเป็นการเกิด แก่ เจ็บ ตายก็ล้วนแต่เป็นความทุกข์ ซึ่งบ่อที่ทำให้เกิดทุกข์ไม่ได้มีแค่เกิด แก่ เจ็บ ตายเท่านั้น แต่ยังมีความโศกเศร้าเสียใจ ความโกรธ ความกลัว ความผิดหวัง การยึดติดกับของที่เป็นที่รัก ความอิจฉา ความริษยา ความวิตกกังวล ความอยาก ความใคร่ ทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดความทุกข์
-
สมุทัย
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เหตุที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มองไม่เห็นความจริงของชีวิตเพราะตกอยู่ในกิเลสตัณหา ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความโศกเศร้า ความกลัว ความผิดหวัง ความวิตกกังวล และความโศกทั้งหลายทั้งมวล
-
นิโรธ
นิโรธ คือ การดับทุกข์ และการดับทุกข์ที่ว่านี้คือการเข้าใจความจริงของชีวิตอย่างท่องแท้ จึงนำไปสู่การดับทุกข์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความโศกเศร้าเสียใจ ความโศกทั้งหลายทั้งมวล และจะทำให้เกิดความสงบและมีความเบิกบานอีกด้วย
-
มรรค
หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นการใช้สติมาดำรงชีวิต และใช้สตินำทางไปสู่สมาธิและปัญญา จึงทำให้เกิดการปลดปล่อยความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งหลายทั้งปวง และเมื่อเราปลดปล่อยความทุกข์ได้แล้วนั้นเราก็จะมีความสุข ความสงบ ความเบิกบาน
ตัวอย่าง การแก้ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันโดยการนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า อริยสัจ 4
เส้นทางของการดับทุกข์นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมายกตัวอย่าง อริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เห็นภาพง่าย ๆ ว่าเราควรนำหลักคำสอนเรื่อง อริยสัจ 4 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าว่าเส้นทางของการดับทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรานั้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง
-
ตัวอย่างที่ทำให้ทุกคนมองเห็นได้ง่ายขึ้น
ทุกข์ ผลที่ทำให้เกิดความทุกข์
สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์
นิโรธ ผลจากการปลดปล่อยแล้วทำให้ไม่เกิดทุกข์
มรรค เหตุที่นำทางเราให้ปลดปล่อยจากความทุกข์
-
ตัวอย่างที่ 1
ทุกข์ (ผล) ได้รับบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม
สมุทัย (เหตุ) ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาท
นิโรธ (ผล) ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างระมัดระวังปลอดภัยไม่ประสบอุบัติเหตุ
มรรค (เหตุ) มีสติและระมัดระวังขณะขับขี่
-
ตัวอย่างที่ 2
ทุกข์ (ผล) มีอาการปวดเข่า
สมุทัย (เหตุ) น้ำหนักตัวเยอะเกินกว่าที่ขาจะรับไหว
นิโรธ (ผล) ไม่มีอาการปวดเข่า
มรรค (เหตุ) ออกกำลังกายและลดน้ำหนัก
-
ตัวอย่างที่ 3
ทุกข์ (ผล) น้ำตาลในเลือดสูง
สมุทัย (เหตุ) รับประทานของหวานในปริมาณที่มาก
นิโรธ (ผล) น้ำตาลในเลือดปกติ
มรรค (เหตุ) ลดอาหารประเภทของหวาน หรืออาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
-
ตัวอย่างที่ 4
ทุกข์ (ผล) เงินเดือนไม่พอใช้
สมุทัย (เหตุ) ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
นิโรธ (ผล) เงินเดือนพอใช้
มรรค (เหตุ) แบ่งสัดส่วนของเงินว่าควรใช้จ่ายส่วนไหนเท่าไหร่
-
ตัวอย่างที่ 5
ทุกข์ (ผล) สอบตก
สมุทัย (เหตุ) ไม่อ่านหนังสือ
นิโรธ (ผล) สอบผ่าน
มรรค (เหตุ) อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน ฝึกทำแบบฝึกหัด
-
ตัวอย่างที่ 6
ทุกข์ (ผล) ปวดกล้ามเนื้อ
สมุทัย (เหตุ) ไม่วอร์มอัพ หรือยืด ก่อน – หลัง ออกกำลังกาย
นิโรธ (ผล) ไม่ปวดกล้ามเนื้อ
มรรค (เหตุ) ทำการวอร์มก่อนการออกกำลังกาย และทำการยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย
-
ตัวอย่างที่ 7
ทุกข์ (ผล) เพื่อนไม่ยอมเล่นด้วย
สมุทัย (เหตุ) พูดไม่เพราะ แกล้งเพื่อน
นิโรธ (ผล) เพื่อนเล่นด้วย
มรรค (เหตุ) ปรับการพูดให้ไพเราะมากขึ้น และเปลี่ยนจากแกล้งเพื่อนเป็นเล่นกับเพื่อนดี ๆ
-
ตัวอย่างที่ 8
ทุกข์ (ผล) น้ำหนักขึ้น
สมุทัย (เหตุ) กินแต่ของทอดของมัน
นิโรธ (ผล) น้ำหนักลดจนเหลือเท่าเดิม
มรรค (เหตุ) ลดของทอดของมัน และรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น และออกกำลังกาย
-
ตัวอย่างที่ 9
ทุกข์ (ผล) ทำอาหารไม่เป็น
สมุทัย (เหตุ) ไม่เคยฝึกฝน ไม่เคยช่วยผู้ปกครองทำอาหาร
นิโรธ (ผล) ทำอาหารเป็น
มรรค (เหตุ) ฝึกฝนเอง หรือให้ผู้ปกครองช่วยสอน
-
ตัวอย่างที่ 10
ทุกข์ (ผล) ป่วยง่าย
สมุทัย (เหตุ) พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย
นิโรธ (ผล) สุขภาพแข็งแรง
มรรค (เหตุ) ปรับเวลาให้พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น และเริ่มออกกำลังกาย
อริยสัจ 4 เส้นทางแห่งการดับทุกข์ที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
อริยสัจ 4 คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนผู้คนมากมายให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง พระพุทธองค์ทรงเมตตากับชาวพุทธทั่วโลกจึงนำแนวทางการทำให้พ้นทุกข์นี้มาเผยแพร่ให้ชาวพุทธอย่างพวกเราได้รู้แจ้งถึงแนวทางการนำหลักคำสอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและพ้นทุกข์ในที่สุด
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎