หลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เราต้องการศึกษา เป็นหลักฐานที่ได้มีการบันทึกเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้นไปแล้ว และที่สำคัญคือการบันทึกโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง จึงทำให้หลักฐานชั้นต้นเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือและมีความสำคัญกับการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก
เรื่องราวประวัติศาสตร์จาก หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชิ้นสำคัญที่ไม่อาจบิดเบือน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นล้วนแล้วแต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานในแต่ละยุคสมัย หลักฐานทุกชิ้นนั้นบ่งบอกถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาต่าง ๆ ไปจนถึงการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ภายในประเทศไทยล้วนแล้วแต่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวในอดีตได้ดียิ่งขึ้น
-
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (historical sources) หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การอยู่อาศัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน การสร้าง การประดิษฐ์ ทั้งแบบสิ่งของรูปธรรม ไปจนถึงความคิด ความรู้สึก การปฏิบัติในอดีต ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผู้คนล้วนแล้วแต่จัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันได้ใช้หลักฐานเหล่านี้ในเป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษา เรียนรู้เรื่องราวในอดีต เพื่อสร้างความเข้าใจและใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการค้นคว้าข้อเท็จจริงที่สามารถอ้างอิงถึงได้
-
การแบ่งประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งตามวิธีการบันทึก จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ได้มีการบันทึก จารึก ลงไว้เป็นตัวอักษร โดยมนุษย์อาจจะทิ้งร่องรอยการขีดเขียนให้เป็นตัวหนังสือที่หลากหลาย สิ่งที่จัดเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก บันทึก จดหมายเหตุ ตำนาน พงศาวดาร หนังสือ เอกสารต่าง ๆ บันทึกต่างชาติ เป็นต้น
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือหลักฐานอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นโดยไม่มีตัวอักษร เป็นหลักฐานที่ได้จากการบอกเล่า การสัมภาษณ์ หลักฐานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏกรรม ดนตรี ไปจนถึงหลักฐานทางมานุษยวิทยา โครงกระดูกต่าง ๆ รวมถึงหลักฐานด้านสังคมวิทยาอย่างเช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี คติความเชื่อ วิถีชีวิต ล้วนแล้วแต่จัดเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น
แบ่งตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ได้ 4 สมัย นั่นคือสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยประวัติศาสตร์ สมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือสมัยที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร โดยหลักฐานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้จะเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และอาวุธ ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่ยุคหินเก่าที่เครื่องมือจะเป็นหินหยาบ ยุคหินกลางที่ได้มีความประณีตในการทำเครื่องมือมากขึ้น ยุคหินใหม่หรือยุคหินขัดที่นิยมนำหินมาทำเป็นอาวุธ ไปจนถึงยุคโลหะอย่างยุคสำริดที่ได้นำทองแดงหลอมรวมกับดีบุกมาทำเป็นเครื่องใช้และอาวุธ จนถึงยุคเหล็กที่นำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือที่คงทนมากขึ้น
- สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มนับตั้งแต่มีการใช้ตัวอักษร ตั้งแต่สมัยโบราณที่มีกลุ่มอารยธรรมเมโสโปเตเมียตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำไทกริสยูเฟรทิสทและได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม อารยธรรมอียิปต์ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์และได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรภาพไฮโรกลิฟิก อารยธรรมโรมันที่ได้รับวัฒนธรรมกรีกมาปรับใช้ จนถึงการล่มสลายของอาณาจักรโรมันจนมีการแยกดินแดนเป็นแคว้นเล็ก ๆ และ ผู้คนได้เริ่มหันมาสนใจศาสนากันมากขึ้น
- สมัยใหม่ เป็นช่วงที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ผู้คนเริ่มเดินทางสำรวจทางทะเล มีการค้า การแข่งขันและเป็นช่วงที่ชาตินิยมสุดโต่ง
- สมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ยาวมาจนถึงครั้งที่ 2 จนถึงช่วงสงครามเย็น การล่มสลายของโซเวียตจนถึงปัจจุบัน
แบ่งตามลำดับความสำคัญได้ 2 ประเภทคือ หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง
- หลักฐานชั้นต้นคือ หลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ จากการบันทึกหรือสร้างขึ้น โดยบุคคล เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
- หลักฐานชั้นรอง คือ หลักฐานที่เกิดจากการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น จากการวิจัยรวบรวมและตีความผ่านหลักฐานชั้นต้นมาแล้ว โดยนักเขียนและผู้รวบรวมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องจากเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเพียงแต่การศึกษาค้นคว้า วิจัย ตรวจสอบและตีความข้อมูลที่มีเท่านั้น
-
หลักฐานชั้นต้น กับ หลักฐานชั้นรอง ต่างกันอย่างไร
- หลักฐานปฐมภูมิ ความหมาย คือ หลักฐานชั้นต้น หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการศึกษา ต้องจัดทำและบันทึกโดยผบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย อาจจะเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ต้องเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง ๆ
- หลักฐานขั้นทุติยภูมิ หรือหลักฐานชั้นรอง ที่เกิดจากการเรียบเรียงหลังจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุติลงไปแล้วเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นภายหลังและไม่จำเป็นต้องจัดทำขึ้นจากบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ แต่เกิดจากผู้เขียน ผู้ศึกษาค้นคว้าวิจัยที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลและตีความจากหลักฐานชั้นต้น แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นหนังสือตำรางานวิจัยต่าง ๆ
หลักฐานบางอย่างอาจเป็นได้ทั้ง หลักฐานชั้นต้น กับหลักฐานชั้นรอง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการเก็บหลักฐานชิ้นนั้นและการเรียบเรียงข้อมูลอย่างเช่นข่าวจากหนังสือพิมพ์หากเป็นการรายงานข่าวตามความเป็นจริงจะถือเป็นหลักฐานชั้นต้น แต่หากเป็นบทวิจารณ์เหตุการณ์จะถูกจัดเป็นหลักฐานชั้นรองทันที สังเกตได้เลยว่าหลักฐานชั้นต้นจะเกิดขึ้น ณ เวลานั้น และไม่มีข้อคิดเห็นต่าง ๆ มาแทรกแซง ฉันจัดเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุดแต่ต้องผ่านการประเมินคุณค่าของหลักฐานอย่างรอบคอบก่อนจะนำมาอ้างอิง
-
หลักฐานชั้นต้น ความสำคัญ
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าหลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานปฐมภูมินั้น เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นโดยมีการบันทึกจากผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เรื่องราวในบันทึกเหล่านี้นี้มีความแม่นยำสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด จึงทำให้หลักฐานชั้นต้นเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก จัดเป็นหลักฐานสำคัญระดับแรกในการค้นคว้าเรื่องราวและเป็นหลักฐานที่สามารถใช้อ้างอิงถึงได้อย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานที่จะใช้นำมาตีความเพื่อสร้างเป็นหลักฐานขั้นทุติยภูมิหรือหลักฐานชั้นรองต่อไป
แต่ถึงอย่างไรนั้น การนำหลักฐานชั้นต้นมาใช้จะต้องผ่านการประเมินความน่าเชื่อถือและควรศึกษาการใช้หลักฐานอย่างระมัดระวังเพราะในหลักฐานบางอย่างอาจกล่าวถึงเรื่องราวเพียงด้านเดียวไม่ได้ครอบคลุมถึงเรื่องราวทั้งหมด หรือ อาจเป็นหลักฐานที่บันทึกไว้เพื่อสร้างเรื่องราวให้เป็นไปตามที่ผู้เขียนหรือผู้บันทึกอยากให้เป็นเท่านั้นไม่ได้อ้างอิงถึงเรื่องความเป็นจริงในสมัยนั้นทั้งหมด นอกจากนี้การบันทึกเรื่องราวผู้เขียนอาจจะเพิ่มความคิดเห็นหรือบทวิจารณ์ในเหตุการณ์นั้นเข้ามาด้วยก็ได้
-
หลักฐานชั้นต้น มีอะไรบ้าง
หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นปฐมภูมินี้ เป็นได้หลักฐานที่มีลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
-
- จารึก หรือ จาร คือการเขียนตัวอักษรลงบนวัสดุต่าง ๆ โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ เช่น การจารึกบนแผ่นศิลาจะเรียกว่าศิลาจารึก, การจารึกลงบนแผ่นทองเรียกว่าจารึกลานทอง, การจารึกบนแผ่นเงินจะเรียกว่าจารึกลานเงิน, การจารึกบนใบลานก็จะเรียกว่าหนังสือใบลานเป็นต้น การจารึกเป็นหลักฐานที่สำคัญและคงทนมาก ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทำขึ้นเพื่ออธิบายเรื่องราวเหตุการณ์ของสังคม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรมข้อมูลด้านสังคม
- ปูม บันทึกและจดหมายเหตุ เป็นบันทึกร่วมสมัยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวันเวลาที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น มีรายละเอียดและความถูกต้องของระยะเวลารวมถึงมีการแทรกแซงความคิดเห็นของผู้บันทึกลงไปด้วย ดังนั้นการนำจดหมายเหตุมาใช้อ้างอิงจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เช่น จดหมายเหตุของหลวง จดหมายเหตุโหร พี่ได้มีการบันทึกวันเวลาและฤกษ์ยามที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของพระมหากษัตริย์และบ้านเมืองเอาไว้
- ตำนาน คือคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาอย่างช้านานเพียงแต่ถูกนำมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลังส่วนใหญ่จะเป็นนิทานความเชื่อต่าง ๆ
- พงศาวดาร คือบันทึกที่ราชสำนักจัดทำขึ้นโดยจะเน้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยตรงรวมไปถึงเรื่องราวของราชวงศ์ต่าง ๆ ที่ทำให้รู้ถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ภายในที่มีความแม่นยำมากขึ้น
- บันทึกของชาวต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในแต่ละสมัย ทั้งจากนักการทูตพ่อค้า หรือผู้คนที่ได้มีโอกาสเข้า มาใช้ชีวิตในประเทศบันทึกของชาวต่างชาติ มีการบันทึกเรื่องราวทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตที่ทำให้เราได้ทราบเหตุการณ์เรื่องราวในสังคมในสมัยนั้นมากยิ่งขึ้น
- เอกสารทางราชการ เป็นเอกสารที่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารราชการ การปกครองของรัฐบาล ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รายงานการประชุมไปจนถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ หลังจากที่ได้มีการตั้งกระทรวง ทบวงและกรม ขึ้นมาในรัชกาลที่ 5 เอกสารทางราชการต่าง ๆ ก็ถูกจำแนกไว้เป็นอย่างดี
- กฎหมาย เอกสารที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์ในตอนนั้น เป็นการบันทึกเรื่องราว สภาพสังคม จารีตและประเพณีต่าง ๆ รวมไปถึงข้อกำหนด ข้อบังคับที่ใช้จัดระเบียบผู้คนและใช้ควบคุมเรื่องราวการค้าและสังคมในสมัยนั้น
- หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสารที่บอกเล่าความเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมือง ซึ่งมีการรวบรวมไว้หลากหลายเรื่องราว หลากหลายด้าน การจะนำมาใช้ต้องผ่านการประเมินความน่าเชื่อถือก่อนที่จะนำมาอ้างอิง เพราะว่าอาจจะมีการแทรกคำวิจารณ์ในเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาในบทความ
- โบราณสถาน หรือสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์อยู่ติดกับทวินไม่อาจเคลื่อนที่ไปไหนได้
- โบราณคดี อย่างเช่น สิ่งของที่เกี่ยวกับกิจกรรมในอดีต โครงสร้างทางมานุษยวิทยา เศษซากอาคารเครื่องใช้ และหลักฐานทางสิ่งแวดล้อม
- โบราณวัตถุ คือสิ่งที่สามารถนำติดตัว เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นในสมัยก่อนเช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปเคารพต่าง ๆ อาวุธ เครื่องปั้นดินเผา ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นโบราณวัตถุทั้งสิ้น
- จารึก หรือ จาร คือการเขียนตัวอักษรลงบนวัสดุต่าง ๆ โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ เช่น การจารึกบนแผ่นศิลาจะเรียกว่าศิลาจารึก, การจารึกลงบนแผ่นทองเรียกว่าจารึกลานทอง, การจารึกบนแผ่นเงินจะเรียกว่าจารึกลานเงิน, การจารึกบนใบลานก็จะเรียกว่าหนังสือใบลานเป็นต้น การจารึกเป็นหลักฐานที่สำคัญและคงทนมาก ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทำขึ้นเพื่ออธิบายเรื่องราวเหตุการณ์ของสังคม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรมข้อมูลด้านสังคม
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางจิตรกรรมและประติมากรรมที่ได้ที่ทิ้งร่องรอยความคิดและความเชื่อต่าง ๆ อย่างเช่น ภาพตามผนัง ภาพบุคคล การแต่งกาย การติดต่อค้าขาย หลักฐานโสตทัศน์ อย่างเช่น ภาพถ่าย แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง ไปจนถึงหลักฐานทางนาฏศิลป์อย่างดนตรี การร่ายรำ การละเล่น ทำนองและเนื้อร้องที่ได้มีการแทรกเรื่องราวความเชื่อไว้ในบทเพลงนั้นอีกด้วย ไปจนถึงหลักฐานคำบอกเล่าที่ได้มีการบอกเล่าต่อกันมานั่นเอง
-
หลักฐานชั้นต้นสำคัญ ๆ ของไทย
หลักฐานชั้นต้นของไทยที่สำคัญมีมากมายและหลากหลายชนิดที่พร้อมให้ทุกคนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทย โดย หลักฐานชั้นต้นสำคัญ ๆ ของไทย ที่เราได้ยกตัวอย่างมาให้นั้นจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
-
- ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 หรือที่เรียกว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง
- พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
- ตำนานจามเทวีวงศ์
- จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ
- พงษาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับฟานฟลีต หรือวัน วลิต
- จดหมายเหตุลาลูแบร์
- กฎหมายตราสามดวง
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
- ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 หรือที่เรียกว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง
เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ต้องผ่านการประเมินและตีความอย่างดีก่อนที่จะปักใจเชื่อหลักฐาน
แน่นอนว่า หลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นก็ต้องผ่านการประเมินความน่าเชื่อถือและตีความเรื่องราวของหลักฐาน ถึงแม้ว่าจะเป็นหลักฐานที่เก่าแก่และเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญแต่ก็อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บันทึกหรือสร้างเรื่องราวให้เป็นไปตามที่ผู้เขียนอยากให้เป็น ดังนั้นก่อนที่เราจะเชื่อหลักฐานเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องประเมินและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งนั้นอย่างดี ก่อนที่จะอ้างอิงและนำข้อมูลจากหลักฐานเหล่านั้นไปใช้ต่อไป
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม