วิธีกินใบกระท่อม ความเป็นมา ประโยชน์ และโทษ พร้อมสูตรน้ำกระท่อมเพื่อสุขภาพ
ก่อนที่จะไปดู วิธีกินใบกระท่อม เราจะพาไปดูความเป็นมาของใบกระท่อมกันก่อน สำหรับประเทศไทยไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเริ่มนำใบกระท่อมมากินกันเมื่อไร รู้แต่เพียงว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประกาศว่าใบกระท่อมเป็นยาเสพติดเมื่อ พ.ศ. 2486 ห้ามปลูก ห้ามจำหน่าย ห้ามครอบครองโดยเด็ดขาด แต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย พืชกระท่อมที่อยู่ในรูปของ ต้น ใบ ราก ไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด
ลักษณะของกระท่อม จะเป็นต้นไม้ขนาดปานกลางไปถึงใหญ่ ดอกสีขาวกลมเท่าลูกพุทรา มีก้านสีแดง ส่วนใบเหมือนใบกระดังงามีสีเขียว กว้างราว ๆ 5-10 ซม. ยาว 8-14 ซม. สามารถพบเจอได้ทั่วไปตามป่าภาคใต้เช่น สงขลา ยะลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล และพัทลุง เป็นต้น ส่วนในภาคกลางของประเทศก็อย่างเช่น ปทุมธานี การเรียกชื่อใบกระท่อมในบ้านเราก็แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ อย่างทางภาคเหนือ จะเรียก อีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้จะเรียกสั้น ๆ ว่า ท่อม หรือท่ม
ในสมัยก่อนคนไทยมักจะนำใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาเกี่ยวกับช่องท้อง หรือโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง อาการปวดมวนท้อง หรือโรคบิด บางพื้นที่ก็เชื่อว่าช่วยบรรเทาโรคเบาหวานได้ และยังเอามาใช้สำหรับการอดฝิ่น แก้อาการ “ลงแดง” ส่วนผู้ใช้แรงงานอย่างชาวนาก็นำมาเป็นตัวช่วยให้รู้สึกมีแรง อึด ทนต่อแดดซึ่ง วิธีกินใบกระท่อม ในสมัยก่อนก็จะใช้วิธีเคี้ยวแบบสด ๆ เรียกว่าทำงานไปเคี้ยวไปเลยทีเดียว
ประโยชน์สรรพคุณของใบกระท่อม
วิธีกินใบกระท่อม จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันก็มีอยู่หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับจุดประสงค์แต่ละคน โดยทุกส่วนของต้นกระท่อมสามารถนำมาเป็นยาได้ทั้งหมดโดยแยกได้ดังนี้
- กินเพื่อให้ทำงานทน – อย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า ในสมัยก่อนหากอยากทำงานได้นานทนทานก็ใช้วิธีเคี้ยวใบแบบสด ๆ นอกจากนี้ยังนำไปย่างให้เกรียม แล้วนำไปตำกับน้ำพริก รับประทานเป็นอาหาร จะทำให้ทำงานท่ามกลางแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย หรือจะนำใบไปตากจนแห้ง แล้วบดเป็นผงแล้วนำไปละลายในน้ำอุ่นหรือกาแฟก็ได้
เพื่อการรักษาโรค
- ใช้รักษาแผล – หากเกิดแผลขึ้นตามร่างกาย สามารถใช้ใบกระท่อมพอกที่แผลได้ ซึ่งวิธีนี้ชาวมาลายูนิยมใช้กัน
- ใช้รักษาอาการปวดท้อง ท้องร่วง – วิธีกินใบกระท่อม เพื่อรักษาอาการนี้ สามารถใช้วิธีเคี้ยวใบกระท่อมแล้วดื่มน้ำตาม หรือจะใช้วิธีต้มใบกระท่อม แล้วเติมเกลือกับน้ำตาลทรายแดงลงไป หากไม่ใช้ใบก็สามารถใช้เปลือกของต้นกระท่อม เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นมะขาม ประมาณอย่างละ 50 กรัม นำหัวขมิ้นชันแก่ กับหัวกระทือแก่ อย่างละหนึ่งหัวนำไปย่างไฟให้สุก แล้วนำทั้งหมดต้มรวมกับน้ำปูนใส แล้วให้เติมน้ำเปล่าลงไปในปริมาณเท่าของที่ต้มรับประทาน ครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ
- วิธีกินใบกระท่อม เพื่อบรรเทาโรคเบาหวาน – นำ ใบ กิ่ง เปลือกลำต้น รากของกระท่อม นำมาสับรวมกันแล้วนำไปต้ม ทานครั้ง 3-5 ช้อนโต๊ะ เช้า-เย็น หรือจะเคี้ยวใบกระท่อมสด ๆ วันละ 1 ใบ ติดต่อกันประมาณ 40 วัน นำใบกระท่อม ไม้ค้อนหมาแดง หญ้าหนวดแมว ในปริมาณที่เท่ากัน นำไปต้ม จนน้ำแห้งเหลือหนึ่งในสาม ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้าเย็น ใช้ใบกระท่อม ต้นกระเทียม กระเทียมเถา อินทนินน้ำ ต้มรวมกันแล้วดื่ม
- แก้ปวดเมื่อย – วิธีกินใบกระท่อม เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย ให้แบ่งของเหล่านี้เป็น 3 ส่วน แก่นขี้เหล็ก ใบมะกา มะแว้งต้น มะแว้งเครือ หญ้าหนู ต้นผักเสี้ยนผี เถาสังวาล พระอินทร์ 1 ส่วน ใบกระท่อม 2 ส่วน เถากําแพงเจ็ดชั้น 3 ส่วน และ ราชพฤกษ์ 5 ฝัก นำไปต้มรวมกัน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารเช้า – เย็น
- วิธีกินใบกระท่อม เพื่อแก้ไอ – ใช้ใบกระท่อมสด ๆ ประมาณ 2 ใบ นำไปต้ม รอจนน้ำเดือดให้เติมน้ำทรายแดงลงไป ใช้ดื่มเพื่อแก้ไอ หรืออาจจะใช้วิธีเคี้ยวสด ๆ แล้วคายกากทิ้ง แล้วทานน้ำอุ่นตามมาก ๆ
- ใช้ขับพยาธิ – นำใบกระท่อมสดมาตำ หรือขยี้ให้แหลกพร้อมกับปูนกินหมาก แล้วนำไปทาที่ท้อง
นอกจากนี้ยังสามารถนำใบกระท่อมเผาร้อน ๆ แล้วมาวางบนท้องเพื่อบรรเทาอาการม้ามโตก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการนำใบกระท่อมมาทดแทนฝิ่น สำหรับที่ผู้ที่ติดฝิ่นอย่างหนัก และอยากจะเลิก
วิธีกินใบกระท่อม เพื่อรักษาโรคอาจจะมีผลข้างเคียงคืออาการท้องผูก วิธีแก้ก็คือให้ใช้ร่วมกับสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบายเช่น ชุมเห็ดเทศ หากมีอาการมึน หรือวิงเวียนศีรษะก็ให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ อาการก็จะทุเลาลง แต่ผู้ที่ไม่ควรกินใบกระท่อมโดยเด็ดขาดก็คือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่มีการติดสุราเรื้อรัง และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
ข้อเสียของการกินใบกระท่อม
วิธีกินใบกระท่อม ด้วยการเคี้ยว เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่จะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีความสุข ไม่อยากอาหาร ไม่รู้สึกเมื่อยล้าถึงแม้ต้องทำงานหนักกลางแดด แต่หากกินต่อเนื่องจนติดก็มักจะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาฝนตก หรือครึ้มฟ้าครึ้มฝน เลือดจะไปหล่อเลี้ยงผิวหนังได้ดีขึ้นทำให้ผิวมีสีแดง รวมไปถึงอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ริมฝีปากแห้ง ปัสสาวะบ่อยครั้ง เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็ก ๆ นอนไม่หลับ
วิธีกินใบกระท่อม ไม่ว่าจะแบบไหนหากกินในปริมาณที่มากไป ก็จะทำให้รู้สึกเวียนหัว มึน มีอาการเมา คลื่นไส้อาเจียน หากกินต่อเนื่องนาน ๆ ก็จะทำให้ผิวเข้มคล้ำมากขึ้น หากกินกระท่อมโดยไม่เอาก้านออกจากใบก็จะทำให้ลำไส้มีปัญหา หรือที่เรียกกันว่าถุงท่อม เพราะก้านที่กลืนลงไปนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้มีตะกอนตกค้าง ขับถ่ายลำบาก นานวันเข้าก็จะเกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ ส่วนอาการทางจิตก็จะมีทั้งอาการหวาดระแวง เห็นภาพหลอน เหมือนมีคนจะมาทำร้าย หนักเข้าก็อาจจะกลายเป็นพูดไม่รู้เรื่องไปเลย
ยิ่งหากใช้ วิธีกินใบกระท่อม แบบแปลก ๆ ผิด ๆ อยางเช่น 4x100 ที่วัยรุ่นทางภาคใต้นิยมกันเป็นอย่างมากในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทอย่างรุนแรง ทำให้รู้สึกเมามาย หากกินในปริมาณน้อย ก็จะกระตุ้นประสาทเหมือนเสพยาบ้าอ่อน ๆ หากกินในปริมาณที่สูงก็จะทำให้เคลิบเคลิ้ม กดประสาทคล้ายฝิ่น เพราะในเครื่องดื่ม 4x100 มีส่วนผสมของน้ำกระท่อม ยาแก้ไอน้ำดำที่มีส่วนผสมของโคเดอีน น้ำอัดลมน้ำดำ ( น้ำโคคาโคล่า ) และยากันยุง ที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทแตกต่างกันออกไป
ซึ่ง วิธีกินใบกระท่อม แบบผสมผสานแบบ 4x100 ก็จะมีโทษต่อร่างกายดังนี้
- รู้สึกเบื่ออาหาร ส่งผลให้ร่างกายซูบผอม ปากแห้ง คอแห้ง อยู่ตลอดเวลา
- ผิวหนังดำเกรียมโทรมไม่มีน้ำมีนวล โดยเฉพาะใบหน้า และโหนกแก้ม
- หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น
- มีความผิดปกติในระบบขับถ่ายเรื้อรัง เช่น ปวดท้อง ท้องผูก อุจจาระเป็นก้อนสีดำ
- ปวดเมื่อยตามข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจจะมีอาการแขนขากระตุกแบบไม่รู้ตัว และชักเกร็งได้
- นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน สับสน ประสาทหลอนได้
วิธีกินใบกระท่อม
มีอยู่หลายรูปแบบ แต่หากกินติดต่อกันนาน ๆ ในปริมาณที่มากแล้วหากหยุดกิน ก็อาจจะส่งผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
-ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้
-ไอบ่อย ไอถี่
-ถ่ายอุจจาระเหลว
-ปวดเมื่อยร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อ และกระดูก
-อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ
-แขนขากระตุก
-อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
-อารมณ์หดหู่ซึมเศร้า
-นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล
-คลื่นไส้อยากอาเจียน
-หงุดหงิด ก้าวร้าว
-หลับยาก หรือนอนไม่หลับ
-เบื่ออาหาร
วิธีกินใบกระท่อม แบบเครื่องดื่มให้ความสดชื่นไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตามใบกระท่อมนั้นหากกินในปริมาณที่พอดีก็จะดีต่อสุขภาพ รู้สึกกระปรี้กระเปร่า โดยได้มีการนำใบกระท่อมมาเป็นส่วนผสมอาหาร แบบต่าง ๆ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และยาสมุนไพร ซึ่งก็สามารถสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรไทย อย่างเช่น “อภัยภูเบศร เดย์ สปา” โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ได้คิดค้นสูตรเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากใบกระท่อม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจนำไปต่อยอดผลิตออกจำหน่ายซึ่ง วิธีกินใบกระท่อม แบบเครื่องดื่มก็สามารถทำได้ดังนี้
- เริ่มต้นให้เตรียมน้ำเชื่อม (หวานตามใจชอบ) มะนาว และโซดา เอาไว้ แล้วนำใบกระท่อมสดไม่เกิน 5 ใบ หรือประมาณ 3.5 กรัม (เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นโทษต่อร่างกายควรชั่งน้ำหนักจะดีกว่า) ใบเตยสด 15 กรัม และแก่นฝาง 10กรัม นำไปล้างแล้วผึ่งไว้ให้แห้ง แล้วนำไปหั่นเตรียมไว้ แล้วนำทั้งหมดลงไปต้ม (ใช้น้ำ400มิลลิลิตร) เติมกานพลู กับกระวานอย่างละ 5 กรัม ลงไป ขณะที่ต้มให้ใช้ไฟปานกลาง ต้มนานประมาณ 20 นาที
- หลังจากนั้นให้ยกลงมา แล้วกรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาว แล้วนำขึ้นตั้งด้วยไฟกลางอีกครั้ง แล้วเติมน้ำเชื่อมลงไป ต้มประมาณ 20 นาที แล้วยกลงพักให้หายร้อน
- นำแก้วใส่น้ำแข็ง เทน้ำกระท่อมที่ผสมน้ำเชื่อมลงไป 60 มิลลิลิตร และมะนาวอีก 20 มิลลิลิตร และโซดาอีก 120 มิลลิลิตร
เพียงแค่นี้ก็จะได้ วิธีกินใบกระท่อม ในรูปแบบน้ำกระท่อมมะนาวโซดาที่ชื่นใจแล้ว หากใครทำขายอาจจะมีการแต่งแก้ว และเพิ่มรสชาติด้วยใบสะระแหน่ หรืออาจจะเพิ่มสีสันด้วยน้ำดอกอัญชันก็ได้เช่นกัน หากทานไม่หมดก็สามารถนำน้ำเชื่อมใบกระท่อมใส่ภาชนะแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ หรือหากจะได้ วิธีกินใบกระท่อม รูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นขนมหรืออาหาร ก็สามารถคิดค้นสูตรทำได้เช่นกัน แต่ไม่ควรใช้กับส่วนผสมอื่นที่เป็นสารเสพติด หรือเป็นสิ่งที่ให้โทษต่อร่างกาย และไม่ควรมีส่วนผสมของใบกระท่อมมากเกิน 1-5 กรัม เพราะหากมากกว่านี้อาจจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
แนวโน้มใบกระท่อมในอนาคต
มีการเปิดเผยของรองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก วิธีกินใบกระท่อม ในอนาคตอาจจะเป็นรูปแบบของเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะมีนักธุรกิจหลายรายสนใจใบกระท่อม ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่าในอีกไม่นานอาจจะมีเครื่องดื่มประเภท Energy Drink คล้าย ๆ กับกาแฟกระป๋อง ซึ่งก็ต้องมีการวิจัยเรื่องของความปลอดภัยไม่ให้เกิดผลข้างเคียง
ใบกระท่อมถือว่าเป็นสมุนไพร หากใช้ให้ถูกวิธีก็ถือว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก แต่หากใช้ วิธีกินใบกระท่อม แบบผิด ๆ ก็ให้โทษเช่นกัน ดังนั้นก่อนจะกินใบกระท่อมจึงควรต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ปริมาณการกินในแต่ละครั้ง วิธีกิน เพื่อที่จะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม