ในบทความนี้จะพาทุกคนไปย้อนวันวานในสมัยช่วงที่เรียนวิทยาศาสตร์กัน แน่นอนว่ามีสายวิทย์อย่างหนึ่งที่ทำให้เราสัมผัสความรู้เกี่ยวกับโลกมาตั้งแต่เล็กจนโต มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนพากันตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับโลกที่เราอยู่อย่างมากมาย แน่นอนว่าความเชื่อใหม่ ๆ มีเข้ามาเสมอ แต่จะตัดความเชื่อเก่า ๆ นั้นออกไป และในปัจจุบันนี้หลักทางวิทยาศาสตร์ก็หาทางอธิบายเกี่ยวกับ โครงสร้างโลก ได้แบบเห็นภาพ ว่าแล้วเราไปรู้จักโลกที่เราอาศัยอยู่กันมากขึ้นดีกว่า
ตามหลักวิทยาศาสตร์ โครงสร้างโลก แบ่งได้อย่างไร
สำหรับ โครงสร้างโลก ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ได้มีการสำรวจมาอย่างยาวนาน ก็สามารถระบุได้ว่า โครงสร้างสามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่าง ด้วยกัน ได้แก่ แก่นโลก , เนื้อโลก และเปลือกโลก ซึ่งทั้ง 3 อย่างนั้นก็จะมีลักษณะที่แตกต่างไป โดยการแบ่งชั้นนี้จะมีในลักษณะของทรงกลม เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปดูกันดีกว่าว่าแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
1. แก่นโลก
สำหรับแก่นโลก จัดว่าเป็น โครงสร้างโลก ที่อยู่ชั้นในสุดของโลก หรือก็คือจุดศูนย์กลางของโลกนั่นเอง โดยความความหนาของแก่นโลกจะอยู่ที่ 3,470 กม. และมีลักษณะที่กลม อุณหภูมิของโลกในส่วนนี้ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย เพราะมีมากถึง 2,200 – 27,500 องศาเซลเซียส แบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ส่วนดังนี้
- แก่นโลกชั้นใน จะมีลักษณะของแข็งเนื่องจากมีโลหะอย่างเหล็กและนิกเกิลเป็นองค์ประกอบ โดยมีความหนาอยู่ที่ 1,370 กม. นับว่าเป็นส่วนที่ลึกที่สุด
- แก่นโลกชั้นนอก จะมีลักษณะเป็นของเหลวที่จะมีโลหะอย่างเหล็กและนิกเกิลเป็นองค์ประกอบ โดยมีความหนาประมาณ 2,100 กม.
2. เนื้อโลก
ในส่วนต่อมาจะเป็นเนื้อโลกที่จะเป็นตัวคั่นกลางระหว่างแก่โลกและเปลือกโลก ที่จะมีองค์ประกอบเป็นแร่ซิลิเกตเป็นหลัก โดยอุณหภูมิของชั้นนี้จะมีน้อยกว่าแก่นโลก แบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ส่วนดังนี้
- เนื้อโลกชั้นล่าง มีลักษณะเป็นของแข็ง มีความหนาประมาณ 2,100 กม.
- เนื้อโลกชั้นบน จะสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 อย่าง คือ ฐานธรณีภาค จะเป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ถือว่ามีความร้อนที่สูงเลยทำให้เกิดการหลอมละลายในชั้นนี้ และอีกอย่าง คือ ธรณีภาค จะเป็นของแข็งที่เป็นเนื้อหินที่จะอยู่ชิดติดกับเปลือกโลก
3. เปลือกโลก
ในส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนนอกสุดของโลก นั่นก็คือเปลือกโลก ที่มีความหนาประมาณ 22 กม. หรือก็คือเป็นส่วนที่มนุษย์อยู่อาศัยและสามารถมองเห็นได้ในบริเวณที่เป็นผิวของเปลือกโลก ที่เรามักจะรู้ว่าโลกแบ่งเป็นพื้นที่น้ำ 3 ส่วน และในดินแบ่งเป็น 1 ส่วน ในส่วนนี้สามารถสรุปแยกย่อยได้ดังนี้
- เปลือกโลกทวีป จะบริเวณที่เป็นชั้นดิน หิน โลหะและแร่ธาตุต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หินแกรนิต ซิลิคอน อะลูมิเนียม มีความหนาประมาณ 35-70 กม.
- เปลือกโลกมหาสมุทร จะเป็นบริเวณพื้นใต้น้ำมหาสมุทรที่จะมีธาตุซิลิคอน และแมกนีเซียมเป็นหลัก มีความหนาแน่นประมาณ 5-10 กม.
รู้ได้อย่างไรว่า โครงสร้างโลก ถึงแบ่งได้ตามนี้
เมื่อเราได้รู้ว่าโลกสามารถแบ่งได้ออกเป็นทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน แต่ทีนี้ใครหลายคนก็อาจสงสัยว่า การแบ่งนี้ยึดหลักอะไรบ้าง ซึ่งต้องบอกเลยว่านักวิทยาศาสตร์ใช้หลักอยู่หลายอย่างมากมายเต็มไปหมด ทั้งในแง่ของการประเมินจากภาพโดยตรง หรืออาจจะเป็นการคำนวณคิดวิเคราะห์ขึ้นมา เพราะตอนนี้มนุษย์อย่างเรา ๆ ยังไม่สามารถเจาะไปถึงแก่นโลกได้นั่นเอง โดยการดูนั้นสามารถดูได้จากสิ่งเหล่านี้
1.การเจาะสำรวจเพื่อตรวจสอบหิน
ถ้าอ่านจากเนื้อหาจากด้านบน ก็จะเห็นได้ว่าหินแต่ละชนิดนั้น จะมีแตกต่างกันทั้ง 3 ชั้นเลย โดยจุดนี้เองเลยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการแบ่งโครงสร้างได้เป็นอย่างดี
2.การวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหว
การสั่นสะเทือนของคลื่นแผ่นดินไหว นับว่าเป็นอีก 1 อย่างที่จะสามารถประเมินโครงสร้างของโลกได้เป็นอย่างดี โดยคลื่นเหล่านี้ก็จะแทรกตามแต่ละชั้นของเปลือกโลก โดยจะใช้คลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมินั่นเอง
3.การวัดความลึกของมหาสมุทร
การวัดความลึกของมหาสมุทรก็เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่สามารถแบ่งชั้นโลกได้เป็นอย่างดี จากการอธิบายไปก็จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเปลือกโลกได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
4.การทดลองสถานะของแข็งและผลึก
ถ้าหากได้อ่านในส่วนของข้อมูลในเรื่องของสถานะวัตถุที่อยู่ในแต่ละชั้น ก็จะสามารถประเมินได้ว่าวัตถุที่อยู่จะเป็นในรูปแบบไหน ในส่วนนี้จะสามารถประเมินได้จากความดีน รวมไปถึงความร้อน หรืออุณหภูมิที่อยู่ในชั้นลึกๆ
5.แรงโน้มถ่วงของโลก
การใช้แรงโน้มถ่วงของโลกจะสามารช่วยหามวลของโลกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้ก็มีส่วนสำคัญในการรู้ค่าปริมาตรของโลก และอาจเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยประเมินโครงสร้างโลกได้อยู่เหมือนกัน
และนี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ โครงสร้างโลก ที่ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจ และใครหลาย ๆ คนต่างก็ยังให้ความสนใจเกี่ยวกับโลกใบนี้อยู่เสมอ แน่นอนว่าพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก อาจถ่ายทอดเป็นภาพดาวเทียมได้แล้ว แต่การที่มนุษย์อย่างเรา ๆจะไปเที่ยวทุกมุมโลกได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ยากอยู่ แต่เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้เราสัมผัสโลกใบนี้ได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน เพราะโลกเป็นสิ่งที่เราต้องรักษาเพื่อที่จะให้โลกใบนี้น่าอยู่ และอยู่กับเราไปนาน ๆ นั่นเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.stkc.go.th/info/โครงสร้างของโลก
- https://www.trueplookpanya.com/blog/content/63710/-blo-sciear-sci-
- https://www.scimath.org/lesson-earthscience/item/11309-2020-02-17-07-46-48
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม