เมื่อพูดถึงเรื่องราวของการพูด มารยาทในการสนทนา ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คู่ควรกับทักษะในการพูดและเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทุกคนพึ่งมีให้แก่กันอยู่เสมอ เพราะนอกจากการพูดถูกที่ ถูกเวลาจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ภายนอกของเพื่อนๆแล้ว ก็ยังบ่งบอกทักษะของการพูด รวมทั้งยังบ่งบอกลักษณะนิสัย และตัวตนของคนนั้นๆได้ดีอีกด้วย แถมการแสดงออกผ่านทางภาษาวาจาที่ใช้พูดคุย ยังบ่งบอกทัศนคติและความคิดได้เป็นอย่างดี หากเพื่อนๆอยากเสริมความหมั่นใจ เพิ่มทักษะการพูดให้ถูกวิธีและเหมาะสมมากขึ้น ก็ไปดูมารยาทในการสนทนา ที่ควรมีกันได้เลย
รวมมารยาทในการสนทนา เพิ่มทักษะการพูด ให้ถูกวิธีได้ง่ายๆ
การใช้ระดับภาษาพูด ให้เหมาะสม
มารยาทในการสนทนา สิ่งแรกที่จำเป็นก็คือการใช้ระดับภาษาพูดให้เหมาะสมกับบุคคล รวมทั้งสถานการณ์และสถานที่ที่พูดคุย หรือ เรียกง่ายๆว่าการใช้ระดับภาษาพูดให้เหมาะกับกาลเทศะนั้นเอง มารยาทในการสนทนากับผู้ใหญ่ โดยการใช้ระดับภาษาพูด ในภาษาไทยก็คือ การใช้ระดับภาษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ระดับภาษาพูดในภาษาไทย ได้แก่
- ภาษาพูดทั่วไป หรือ ไม่เป็นทางการ โดยเรามักจะใช้พูดคุยกันในชีวิตประจำวันปกติ หรือพูดคุยระหว่างเพื่อนๆฝูงทั่วไป ไปจนถึงการพูดคุยทั่วไปที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน
- ภาษาพูดกึ่งทางการ อาจจะใช้กันในที่ประชุม ทำงานขนาดเล็ก พูดคุยเรื่องงานโดยที่ไม่เป็นทางการ หรือ ไม่ได้อยู่ในพิธีกรรมใดๆ มักจะพบเจอได้ในการบรรยายในห้องเรียน เป็นมารยาทในการสนทนากับครูอาจารย์ รวมทั้งการนำเสนอหน้าชั้น การเขียนข่าว รวมทั้งการพูดคุยกับครูบาอาจารย์ในบางครั้งหลายๆคนก็อาจจะใช้ภาษากึ่งทางการในการพูดคุยด้วย
- ภาษาระดับทางการ ส่วนใหญ่มักจะไม่นำมาใช้พูดกัน แต่จะเป็นการใช้สื่อสานผ่านทางหนังสือราชการมากกว่า แต่การพูดคุยที่ใช้ภาษาทางการที่พบเห็นได้ก็พอมีอยู่ เช่นการกล่าวปราศรัย และการกล่าวเปิดงานต่างๆ
- ภาษาระดับพิธีการ หากพูดถึงภาษาที่มีถ้อยคำสละสวย พอดิบพอดีดูไม่เวอร์วังและเบาจนเกินไป แถมมักจะเป็นประโยชน์ที่ถูกต้องฟังแล้วลื่นหูราวกับเตรียมไว้แล้ว ก็คือ ภาษาระดับพิธีการ ที่ใช้เนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ แถมส่วนใหญ่มักจะใช้กับราชวงศ์อีกด้วยล่ะ
- ภาษาพูดกันเอง ภาษาพูดกันเองมักจะใช้กันในกลุ่มเพื่อน คนที่รู้จักมักคุ้นกันอยู่แล้วจึงสามารถพูดกันเองได้ โดยมักจะพูดโดยที่ไม่มีหางเสียงในการพูดร่วมอยู่ด้วย
การพูดเลือกใช้ภาษาพูดให้ถูกกาลเทศะ นอกจากจะช่วยให้พูดได้อย่างถูกวิธีแบบเบสิกๆแล้วก็ยังช่วยให้ผู้พูดดูมีมารยามขั้นพื้นฐานในการพูดได้ง่ายๆอีกด้วยล่ะ
ไม่พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นพูด
การพูดคุยในวงสนทนาไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในเรื่องงาน เรียน ระหว่างคนสองคน หรือการพูดคุยบรรยายในที่ประชุม รวมทั้งห้องเรียนในระหว่างคนหมู่มาก สิ่งที่ควรทำก็คือ ไม่ควรพูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดกันอยู่ ควรรอจังหวะให้ผู้อื่นพูดจบก่อน หรือ อาจจะยกมือขึ้นเพื่อสอบถามเพิ่มเติมก็ได้ เพราะการพูดแทรกนอกจากจะทำให้ผู้พูดที่กำลังจะอธิบาย หรือ พูดถึงสิ่งๆนั้นๆถูกขัดจังหวะ และพูดสิ่งที่พยายามจะสื่ออย่างไม่ครบถ้วนแล้ว ก็อาจจะไปรบกวนสมาธิของผู้พูดได้ การไม่พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นพูดจึงถือเป็นมารยาททางการพูดอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้พูด และผู้รวมวงสนทนาพูดคุยได้อย่างถูกวิธีได้แบบง่ายๆกันได้เลย
ไม่พูดเสียงดังในสถานที่ที่ห้ามส่งเสียงรบกวน หรือ ขอความกรุณาให้เบาเสียงลง
มารยาทในการพูด นอกจากจะควรคำนึงถึงคู่สนทนาแล้ว ก็ควรคำนึงถึงผู้อื่นในสถานที่ที่งดการใช้เสียง หรือ ในสถานที่สาธารณะที่ใช้ร่วมกันด้วย หากไม่มีกรณีฉุกเฉิน หรือ จำเป็นก็ไม่ควรที่จะส่งเสียงดัง หรือ พูดคุยเสียงดังในสถานที่ที่ห้ามส่งเสียงรบกวน ส่วนใหญ่สถานที่ดังกล่าวก็มักจะเป็นสถานที่ราชการ หรือ สถานที่ให้บริการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล ห้องสมุด รวมทั้งห้องเรียน และสถานที่อื่นๆบางสถานที่ที่ควรสำรวมและเบาเสียงการสนทนาลง หากใครส่งเสียงดังในสถานที่ห้ามส่งเสียงรบกวนดังกล่าวก็ถือเป็น มารยาทในการสนทนาที่ไม่เหมาะสม การพูดอย่างถูกกาลเทศะก็ถือเป็นอีกสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กันเลยล่ะ
ไม่พูดให้เสียดสี หรือ ให้ร้ายผู้อื่น
มารยาทในการพูดที่สำคัญเลยก็คือ เรื่องราวที่พูดคุยกันสิ่งที่ไม่ควรพูดก็คือ การพูดจาเสียดสี หรือ ให้ร้ายผู้อื่น ที่อาจจะก่อให้เกิดโทสะแก่ผู้รับฟัง หรือ ผู้ถูกเสียดสีได้ นอกจากจะเป็นการพูดที่ไม่มีมารยาทแล้ว ก็อาจจะนำพาไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง และสร้างความเสียหายให้กับผู้ถูกพูดถึงได้อีกด้วย การพูดจาเสียดสี หรือ ให้ร้ายผู้อื่นจึงมักจะก่อให้เกิดผลเสียทั้งตัวผู้พูดและผู้ถูกกล่าวถึงนั้นเองล่ะ แถมยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้อื่นอีกด้วยนะ
ควรพูดขอโทษในสิ่งที่ควรขอโทษ หรือเมื่อทำผิด
การพูดขอโทษก็ถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความไม่ตั้งใจ หรือ แสดงถึงการสำนึกผิด รวมทั้งเป็นการให้เกียรติแก่อีกฝ่าย เพราะหากการกระทำของเราไปกระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่นไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ก็ควรที่จะกล่าวคำขอโทษเพื่อแสดงถึงความรู้สึกผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผู้ถูกกระทำ หรือ โดนกระทำรู้สึกสบายใจขึ้น หรือ สัมผัสถึงความรู้สึกผิดของอีกฝ่ายได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งยังช่วยให้อีกฝ่ายไม่ถือโทษโกรธเคืองเพื่อนๆได้อีกด้วยล่ะ
พูด ขอบคุณ เมื่อได้รับการช่วยเหลือ ชื่นชม หรือ ได้รับสิ่งน้ำใจจากผู้อื่น
การพูดขอบคุณ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร ทั้งยังเป็นการแสดงออกทางความรู้สึกที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกอยากขอบคุณอีกฝ่ายถึงสิ่งที่ทำ มารยาทในการพูดในเรื่องนี้ เพื่อนๆจึงควรพูดกล่าวขอบคุณเมื่อได้รับการช่วยเหลือ หรือ ได้รับคำชื่นชม รวมทั้งสิ่งที่ผู้อื่นมอบให้เสมอ เพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกขอบคุณและแสดงถึงมารยาท การพูดได้เป็นอย่างดีอีกด้วยล่ะ
ไม่พูดคำหยาบติดปาก
แน่นอนว่า การพูดคุยระหว่างเพื่อนสนิทในบางครั้งก็มีการ สบถคำหยาบ หรือ พูดเล่นกันออกมาบ้าง แต่การพูด หรือ สบถคำหยาบอยู่บ่อยๆแม้จะใช้กับเพื่อนฝูงที่สนิทกันก็ตามแต่ก็อาจจะทำให้กลายเป็นคำพูดที่ติดปาก และติดนิสัย จนเผลอพูดออกไปในบางสถานการณ์ที่ไม่สมควรได้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในเรื่องของมารยาทในการพูด ใครอยากวางตัวพูดได้อย่างมารยาทก็ไม่ควรใช้คำหยาบจนติดเป็นนิสัย จึงถือเป็นการวางตัวในการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนาอย่างหนึ่งนั้นเอง
ไม่พูดเชิญชวนเกี่ยวกับธุรกิจนอกเวลางาน
อีกหนึ่งมารยาทของการพูด คือการไม่พูดเชิญชวนเกี่ยวกับงานธุรกิจนอกเวลางาน โดยเรามักจะสังเกตเห็นการขาย หรือ การเสนอขายต่างๆ ซึ่งหากบริบท รวมทั้งสถานการณ์เป็นนอกเวลางาน และเหมาะสมแล้วนอกจากจะเป็นการเสียมารยาทก็อาจจะทำให้ผู้ที่ร่วมวงพูดคุยด้วยรู้สึกอึดอัดและไม่ชอบใจได้การพูดเชิญชวนกับการทำธุรกิจจึงควรจะเป็นในเวลางานเท่านั้น ก็จะช่วยให้เพื่อนๆดูเป็นมืออาชีพและไม่สร้างความอึดอัดใจให้กับบุคคลอื่นด้วย
ไม่พูดยุยง
มารยาทการพูดที่สำคัญก็คือ ไม่ควรใช้คำพูดในการแบ่งแยกสร้างความแตกแยก รวมทั้งไม่ควรพูดจายุยงให้ผู้อื่นทะเลาะกัน การพูดยุยงนอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีแล้ว ก็ยังสร้างเรื่องราวทำให้คนอื่นทะเลาะเบาะแว้งกันได้ การบอกความจริงในบางเรื่องก็สามารถทำได้ แต่ก็ไม่ควรเพิ่มคำพูดที่เปิดทางให้ทั้งคู่ตีกันโดยใช่เหตุ การไม่พูดยุยงจึงถือเป็นมารยาทที่ดีอย่างหนึ่งเลยล่ะ
สำหรับมารยาทในการพูดก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ดูเป็นผู้ที่วางตัวดีมีกาลเทศะ หรือ ดูมีมารยาทแล้วก็ยังเป็นการเคารพสิทธิผู้อื่นในการพูดอีกด้วย ใครอยากพูดดี และเปลี่ยนทัศนคติในการพูดให้ดูดีกว่าเดิมก็สามารถเรียนรู้วิธีพูดแบบมีมารยาท ไปใช้พูดให้ถูกกันได้เลย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม