ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันสารเสพติดหรือยาเสพติดนั้นเป็นปัญหาหลักที่ยังแก้ไม่ได้ของสังคมไทย ซึ่งของสิ่งนี้มันมักจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมามากมาย นั่นก็เพราะว่าผู้ที่ได้เสพสารเสพติดหรือยาเสพติดเข้าไปแล้วนั้นก็จะทำให้ร่างกายนั้นผิดปกติ เริ่มจากการอยากยา ขาดการยับยั้งชั่งใจ ถ้าหากได้ติดตามข่าวสารก็จะเห็นโศกนาฏกรรมมากมายที่มีต้นตอมาจากสารเสพติด ซึ่งทางภาครัฐเองก็ไม่ได้มีการนิ่งนอนใจก็ได้มีกฎหมายที่คอยเอาผิดทั้งผู้ค้าและผู้เสพอยู่ แล้วในกฎหมายนั้นมีการบัญญัติยาเสพติดมีกี่ประเภท? วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับยาเสพติดสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกายกัน
ความรู้เกี่ยวกับ ยาเสพติดมีกี่ประเภท
ก่อนที่เราจะไปรู้จักว่ายาเสพติดมีกี่ประเภท เรามาดูกันที่ความหมายก่อนว่ายาเสพติดนั้นคืออะไร สำหรับคำว่า “ยาเสพติด” นั้นหมายถึง สารหรือยาที่อาจจะเป็นสิ่งจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่มาจากการสังเคราะห์ โดยเมื่อได้ลองเสพเข้าไปแล้วก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเสพจะมากขึ้น มีอาการอยากสารเสพติดมากขึ้นเมื่อไม่ได้เสพ หรือที่เรียกว่าลงแดง และจะทำให้สุขภาพของผู้เสพนั้นโทรมลงตามไปด้วย นี่ก็คือความหมายของยาเสพติด
ในปัจจุบันหลายคงอาจจะยังสงสัยว่า ยาเสพติดมีกี่ประเภท หรือแบ่งตามประเภทยังไง ก็ต้องบอกก่อนเลยว่ายาเสพติดนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของมันได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งตามแหล่งกำเนิด แบ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522, แบ่งตามการออกฤทธิ์ หรือการแบ่งตามองค์การอนามัยโลก แต่สำหรับประเทศไทยนั้นเราจะใช้เกณฑ์ตามกฎหมายนั่นก็คือ การแบ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 นั่นเอง โดยหากแบ่งตามวิธีนี้เราจะแยกยาเสพติดได้ 5 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 :
ยาเสพติดให้โทษประเภท เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาบ้า ยาอี และ LSD
ประเภทที่ 2 :
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ โดยยาเสพติดประเภทนี้จะต้องใช้ภายใต้การควมคุมของทางแพทย์เท่านั้น และต้องใช้ในกรณีที่จำเป็น สำหรับยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่ มอร์ฟีน โคเคน ผิ่น โคเคอีน และเมทาโดน
ประเภทที่ 3 :
สำหรับยาเสพติดประเภทที่ 3 นี่จะเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 มาผสมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นยาเสพติดที่ใช้ประโยชน์ในการแพทย์แต่มีการนำไปใช้ในจุดประสงค์อื่นแทน หากถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ก็มีบทกฎหมายกำหนดโทษเอาไว้ โดยยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่ ยาแก้ท้องเสีย จะมียาเสพติดประเภท ฝิ่น ผสมอยู่ หรือ ยาแก้ไอ ทีมีโคเคอีนผสม หรือจะเป็รยาที่เอาไว้ฉีดระงับการปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีน ที่ถูกสกัดมาจากฝิ่น เป็นต้น
ประเภทที่ 4 :
โดยยาเสพติดให้โทษประเภทนี้จะเป็นสารเคมีที่จะถูกนำไปผลิตในยาเสพติดประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะได้นำไปใช้ในการบำบัดโรค แต่ถ้าหากไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการบำบัด ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย สำหรับยาเสพติดประเภทนี้ เช่น น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดร์ และอะเชติลคอลไรด์ โดยสารทั้ง 2 นี้จะถูกนำไปใช้เปลี่ยนมอร์ฟีน เป็นเฮโรอีน และวัตถุอื่นๆ ที่มีต่อระบบประสาทที่จะนำไปผลิตเป็นยาบ้าและยาอี ซึ่ง
ประเภทที่ 5 :
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ให้โทษ และไม่ได้อยู่ในยาเสพติดให้โทษประเภท 1-4 ซึ่งยาเสพติดประเภทนี้จะเป็นอะไรไปไม่ได้ คือ กระท่อม เห็ดขี้ควาย และกัญชาเป็นต้น
การแบ่งยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ก็จะมีทั้ง 5 ข้อนี้คิดว่าก็คงจะตอบได้แล้วว่ายาเสพติดมีกี่ประเภท แต่อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้นยังมีการแบ่งยาเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีกด้วย ซึ่งจะมีการแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.ประเภทกดประสาท: สำหรับยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน ยากล่อมประสาทเป็นต้น
2.ประเภทกระตุ้นประสาท: ในยาเสพติดประเภทตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน
3.ประเภทหลอนประสาท: ยาเสพติดหลอนประสาท เช่น เก็ดขี้ควาย, LSD, ดีเอ็มพี
4.ประเภทออกฤทธิ์แบบผสมผสาน: สำหรับประเภทนี้เมื่อได้เสพแล้ว ก็อาจจะอาการทั้ง กดประสาท กระตุ้นประสาท หรือหลอนประสาทพร้อมๆ กันได้ ทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังให้ดี สำหรับตัวอย่างที่ดีเลยก็คือกัญชา นั่นเอง
และนี่ก็น่าจะเป็นคำตอบให้หลายๆ คนที่สงสัยได้คลายข้อข้องใจแล้วว่า ยาเสพติดมีกี่ประเภท ซึ่งข้อมูลที่เราได้มาฝากนั้นก็เป็นข้อมูลที่น่าจะตอบโจทย์เพื่อนๆแน่นอน นอกจากนี้ก็ต้องบอกว่าไม่ว่าจะเป็นจะเป็นสารเสพติด หรือยาเสพติดมีกี่ประเภท ประเภทไหนก็ตามการลองเสพก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้เสพภายหลังได้
และยิ่งในปัจจุบันตามที่ทุกคนรู้แล้วว่าตอนนี้ สธ. ก็ได้ประกาศให้กัญชานั้นเป็นกัญชาเสรี จนปัจจุบันก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมมากมาย ก็เลยอยากจะฝากทุกคนว่าหากเลี่ยงได้ให้เลี่ยงดีกว่า เพราะกัญชาหากไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการแพทย์มันก็จะส่งผลร้ายกับคนที่ไม่รู้โทษของมันอย่างแน่นอน และยิ่งไปกว่านั้นเด็กน้อยก็ไม่ควรที่ให้เข้ามายุ่งกับสิ่งไม่ดีอย่างเด็ดขาด
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=27
- https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2124427
- https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=12752
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://cth.co.th/effects-of-morphine-use/
- https://www.phichai.ac.th/khongpop/page1.html
- https://mgronline.com/travel/detail/9640000082327