กติกาตะกร้อ เซปักตะกร้อ ขั้นพื้นฐาน และส่วนที่ปรับปรุงใหม่ ที่ควรรู้
กติกาตะกร้อ ที่ผ่านมานั้นแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยจุดเริ่มต้นนั้นก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไร แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีมานานตั้งแต่โบราณ เรียกว่าเป็นกีฬาประจำชาติเลยก็ได้ ยุคแรกลูกตะกร้อทำมาจากผ้า หนังสัตว์ และหวาย จนถึงปัจจุบันได้พัฒนามาใช้พลาสติก กีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ก็มีแบ่งออกเป็นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อเตะทน ตะกร้อพลิกแพลง ตะกร้อชิงธง ตะกร้อลอดห่วง และที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ “เซปักตะกร้อ” ที่ไทย กับมาเลเซีย ถือเป็นจ้าวแห่งกีฬาชนิดนี้มายาวนาน แข่งทัวร์นาเมนต์ไหนเป็นต้องแข่งชิงคู่กันทุกที
ต่อมาเมื่อมีการบรรจุแข่งขันในเอเชียนเกมส์ครั้งแรกโดยมีปักกิ่งเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 1990 ทำให้เซปักตะกร้อเป็นกีฬาที่เริ่มรู้จักกันมากขึ้น และทุกประเทศในเอเชียก็อยากจะพัฒนากีฬานี้เพื่อร่วมการแข่งขัน ดังนั้นสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติจึงได้เริ่มมีการปรับปรุงกฎ และกติกาขึ้นมาใหม่บางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับทีมไม่เก่งให้สู้ได้มากขึ้น ที่สำคัญดูแล้วสนุกมากขึ้น โดยกติกาเซปักตะกร้อขั้นพื้นฐานและส่วนที่ปรับปรุงใหม่ก็มีดังนี้
สนามแข่งขัน – กติกาตะกร้อ ประเภทเซปักตะกร้อ กำหนดให้สนามแข่งขันมีขนาด 13.40 x 6.10 เมตร เส้นสนามวัดจากข้างนอกเข้าข้างในต้องมีความกว้างไม่เกิน 4 ซม. เส้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสนาม เส้นขอบสนามต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร เส้นในสนามกว้าง 2 ซม.
เสา – เสาสำหรับผูกเน็ตตาข่ายการแข่งขันประเภทชายสูง 1.55 เมตร การแข่งขันประเภทหญิง สูง 1.45 โดยจะตั้งไว้ตรงกึ่งกลางของสนามแข่ง
เน็ตตาข่าย – มีความกว้าง 70 ซม. ยาวอย่างน้อย 6.10 เมตร. มีรูกว้างประมาณ 8 ซม. ต้องผลิตจากวัสดุชั้นดี เมื่อติดตั้งแล้วการแข่งขันประเภทชายต้องมีความสูง 1.52 เมตร ประเภทหญิงสูง 1.45 เมตร
ลูกตะกร้อ – ใน กติกาตะกร้อ ทุกประเภท เซปักตะกร้อ ลูกตะกร้อจะมีลักษณะทรงกลม จะทำด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ก็ได้ มีรูทั้งหมด 12 รู ขนาดรอบวง 42 ซม. ขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 44 ซม. หนัก 170 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 180 กรัม แต่การแข่งขันประเภทหญิงจะใช้ขาดประมาณ 43 – 45 ซม. หนัก 150-160 กรัม
ผู้แข่งขัน – กติกาตะกร้อ ประเภทเซปักตะกร้อ การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ทีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่นในสนาม 3 คน ผู้เล่นตำแหน่งหลังสุดเรียกว่าตำแหน่งเสิร์ฟ ส่วนคนที่อยู่ทางซ้ายด้านหน้าเรียกตำแหน่ง หน้าซ้าย ส่วนคนที่อยู่ด้านขวาด้านหน้าเรียก หน้าขวา
ชุดแข่งขัน – ประเภทชาย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ประเภทหญิง เสื้อแขนสั้นคอกลม กางเกงขาสั้นยาวระดับเข่า ต้องติดหมายเลขเสื้อด้านหลังให้เห็นชัด ต้องใช้เพียงหมายเลขเดียวในการแข่งขันทั้งทัวร์นาเมนต์ เสื้อต้องเข้าในกางเกงตลอดเวลา รองเท้าพื้นยาง ห้ามสวมใส่สิ่งใด ๆ ที่จะทำให้คู่แข่งบาดเจ็บ หากเป็นฤดูหนาวสามารถใส่ชุดวอร์มได้ และกัปตันทีมต้องใส่ปลอกแขนที่ด้านซ้าย
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น – การเปลี่ยนตัวผู้เล่นในการแข่งขันเซปักตะกร้อ ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นที่ลงแข่งขันไปแล้ว ลงแข่งกับทีมอื่นได้อีกตาม กติกาตะกร้อ สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ในตอนที่เกมหยุด เช่นลูกออก โดยประเภททีมเดี่ยว จะมีตัวสำรอง 2 คน เปลี่ยนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ในหนึ่งเซต หากเป็นทีมชุด จะมีผู้เล่นสำรอง 1 คนเปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้งในหนึ่งเซต แต่หากผู้เล่นบาดเจ็บ แต่เปลี่ยนตัวครบแล้ว ทีมนั้นจะถูกปรับแพ้ แต่หากมีผู้เล่นถูกใบแดงให้ออกจากการแข่งขันแล้วเปลี่ยนตัวครบแล้ว ก็จะถูกปรับแพ้ หากในทีมมีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คนตาม กติกาตะกร้อ ก็ถูกปรับแพ้เช่นกัน
เจ้าหน้าที่ – มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 9 คน แบ่งเป็นกรรมการสนาม 1 คน ผู้ตัดสิน 2 คน ผู้กับเส้น 6 คน
การเสี่ยงทาย – ใน กติกาตะกร้อ ก่อนการแข่งจะเริ่มต้น กรรมการจะเรียกกัปตันทีมทั้งสองฝั่งมาเสี่ยงทาย หากใครชนะจะเลือกเสิร์ฟก่อน หรือจะเลือกแดนก็ได้ และยังได้สิทธิ์อบอุ่นร่างกายก่อน 2 นาที หากผู้ชนะเสี่ยงทายเลือกเสิร์ฟก่อน ผู้แพ้จะได้เสิร์ฟก่อนในเซตที่ 2 สลับกันไปมา
การเริ่มเกม – กติกาตะกร้อ ทีมที่ได้เปิดเกมจะเสิร์ฟติดต่อกัน 3 ครั้ง หลังจากนั้นอีกฝ่ายก็จะได้สิทธิ์เดียวกัน หลังจากนั้นจะสลับกันเสิร์ฟเมื่อมีการทำแต้มได้ทุก ๆ 3 แต้ม ในแต่ละเซตหากใครทำได้ 15 แต้มก่อนเป็นผู้ชนะ ประเภทเดียว ต้องชนะ 3 ใน 5 เซต ประเภททีมต้องชนะ 2 ใน 3 เซต ในแต่ละเซตสามารถพักได้ 2 นาที
การทำผิด กติกาตะกร้อ – ห้ามถ่วงเวลา เช่นไม่ยอมโยนลูก ห้ามเหยียบเส้นแบ่งแดน หรือไปโดนเน็ต หรือร่างกายล้ำไปแดนคู่ต่อสู้ นอกจากเป็นจังหวะต่อเนื่องในการเล่น เช่นการล้ม ห้ามกระโดดเสิร์ฟ ต้องมีเท้าข้างใดข้างหนึ่งแตะพื้น ขณะเสิร์ฟลูกตะกร้อไปโดนคนอื่นก่อนข้ามเน็ต ลูกไม่ข้ามตาข่าย หรือข้ามแล้วตกนอกสนาม จงใจรบกวนสมาธิขณะที่ฝ่ายตรงข้ามเสิร์ฟ โอเวอร์เน็ต หรือใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปล้วงลูกในแดนคู่แข่ง เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง ถูกแขน ถูกมือ ตั้งใจหยุดลูกโดยการหนีบไว้ใต้เท้า หรือที่ข้อพับเข่า ลูกตะกร้อไปโดนวัตถุอื่น ๆ
การขอเวลานอกใน กติกาตะกร้อ – แต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 นาที โดยโค้ช หรือเจ้าหน้าที่ทีมต้องแจ้งให้กรรมการทราบ
เกิดอุบัติเหตุ หรือมีเหตุให้หยุดการแข่งขัน – หากเกิดอุบัติเหตุผู้เล่นบาดเจ็บ หรือมีสิ่งกีดขวางเข้ามาในสนาม กรรมการสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เดิน 5 นาที หลังจากนั้นหากผู้บาดเจ็บไม่สามารถแข่งต่อได้ต้องมีการเปลี่ยนตัว หากเปลี่ยนจนครบโควตาแล้ว ทีมนั้นก็จะถูกปรับแพ้
การคาดโทษใน กติกาตะกร้อ – จะแบ่งเป็นการตักเตือนด้วยใบเหลือง กับโดนใบแดง โดยผู้เล่นจะถูกตักเตือนในกรณีที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา แสดงท่าทาง และคำพูดที่ไม่สุภาพ ถ่วงเวลา เข้าออกสนามโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนกรณีที่จะได้ใบแดงก็คือ ถ่มน้ำลายใส่คู่แข่ง หรือผู้อื่น ใช้วาจาสบประมาทดูถูกใส่คู่แข่ง หรือได้ใบเหลืองเป็นครั้งที่ 2
ความผิดที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ทีม – ในระหว่างการแข่งขัน หากเจ้าหน้าที่ทีมทำสิ่งที่ผิดเกี่ยวกับมารยาท เจ้าหน้าที่ หรือทั้งทีมจะถูกพิจารณาลงโทษตามความร้ายแรงที่เกิดขึ้น
หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ที่นอกเหนือจาก กติกาตะกร้อ ประเภทเซปักตะกร้อ การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว หากยังไม่เข้าใจโดยเฉพาะ กติกาตะกร้อ ที่ถูกปรับปรุงใหม่ก็สามารถสรุปใจความหลักได้ดังนี้
จากเดิมการแข่งขันจะหาผู้ชนะ 2 ใน 3 เซต เซตละ 21 คะแนน ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นต้องชนะ 3 ใน 5 เซต เซตละ 15 คะแนน หากมีการดิวส์สูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มโอกาสให้ทีมที่เป็นรองอย่างทีมจากยุโรปที่ถนัดเซตสั้น ๆ ก็จะสู้ได้ดีมากขึ้น
การที่แต่ละทีมได้เสิร์ฟ 3 ครั้งติดต่อกันจนจบเซต เพื่อให้ทีมที่มีตัวเสิร์ฟเก่ง ๆ (อย่างทีมไทย) ไม่ได้เปรียบในการแข่งขันมากนัก หากจำได้ในสมัยก่อน ไทยเคยเสิร์ฟรวดเดียวจนจบเซตก็มี นอกจากนี้ยังทำให้การแข่งขันดูสนุกตื่นเต้นมากขึ้นอีกด้วย เกมไม่จบเร็วเกินไป
ถึงแม้การแข่งขันตะกร้อสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ แต่เท่าที่ผ่านเราก็มักจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนตัวสักเท่าไร หากไม่จำเป็นแต่ละทีมจะไม่เปลี่ยนเลยก็ว่าได้ แต่กติกาใหม่ให้เปลี่ยนได้ถึง 2 คน จึงน่าจะเห็นอะไรดี ๆ เกิดขึ้น เช่นแผนการเล่นที่หลากหลายในระหว่างการแข่งขัน
เมื่อดูถึงความเปลี่ยนแปลงโดยรวมใน กติกาตะกร้อ ก็มีแนวโน้มที่จะดูสนุกขึ้น ทีมที่เป็นรองก็เป็นรองไม่เยอะมาก ทำให้ต่างชาติหันมาเล่นมากขึ้น ก็จะส่งผลดีให้กีฬาประจำชาติไทยประเภทนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากตามไปด้วย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://pixabay.com/th/photos/ลูกบอล-sepak-takraw-กีฬา-2529327/
- https://www.newsportolympic.com/5582-2/
- https://www.thousandreason.com/post09030021022384
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม