การทักทายของคนไทยคือการไหว้พร้อมกับพูดคำว่า “สวัสดี” ถือเป็นความงดงามทางวัฒนธรรมที่ใครได้สัมผัสเป็นต้องประทับใจและถือเป็นเสน่ห์ของคนไทยที่ชาวต่างชาติมองว่าสวยงาม รวมถึงคนไทยด้วยกันและหากการไปพบปะใครไม่ควรจะละเลย ปฏิบัติให้กับคำพังเพยมีมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับมารยาทในการทักทาย การมีสัมมามาคารวะที่ว่า “ไปลา-มาไหว้” เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะไปที่ไหนต้องแสดงความเคาระต่อกันและกัน อาทิ ไปโรงเรียนและในตอนที่อยู่โรงเรียน จะต้องยกมือไหว้พ่อแม่และครู รวมถึงรุ่นพี่ด้วย จะทำให้เป็นที่รักและเอ็นดูของผู้ใหญ่หรือคนที่มีอายุมากกว่า
มนุษย์กับการดำรงอยู่อย่างสงบด้วยการแสดงออกต่อกัน
แม้ว่าวัฒนธรรมการไหว้จะไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจน อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมนายพะนอม แก้วกำเนิด ได้ให้ความเห็นว่า การไหว้เกิดโดยธรรมชาติของมนุษย์เพื่อแสดงความรัก ความเคารพต่อกัน ด้วยความที่ มนุษย์มีพัฒนาการด้านสมองที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จึงคิดหาทางว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตที่เป็นอยู่นั้นดีขึ้น ทั้งเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ไปจนถึงเรื่องการทักทายที่ไม่เพียงเป็นการไหว้เท่านั้น การถูกเนื้อต้องตัวกันก็ถือเป็นการแสดงความรักอย่างหนึ่ง ซึ่งสำหรับคนเอเชียแล้วกาสัมผัสกันถือเป็นเรื่องที่ไม่ควร อย่างเช่นชาวจีนใช้มือทั้งสองข้างสัมผัสกันเพื่อคารวะ อินเดียประนมประกบกันเหมือนดอกบัวตูมถือเป็นการแสดงความเคารพและบูชา มาที่ประเทศไทยคือไหว้ทักทายกัน ซึ่งจะแบ่ง การไหว้ 3 ระดับ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
ระดับที่ 1 เป็นการไหว้พระ ไม่เพียงเป็นการไหว้พระรัตนตรัย พระสงฆ์เท่านั้น วัตถุและสถานที่หรืออะไรที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็สามารถไหว้ได้เช่นกัน ซึ่งในการไหว้จะแบ่งเป็นสองกรณีคือ ไม่สามารถกราบเบญจางคประดิษฐ์ได้ สามารถประนมมือขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดที่ตรงกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง โดยให้นิ้วชี้แตะเหนือหน้าผาก พร้อมกับโน้มตัวก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู บาอาจารย์และผู้ที่อาวุโสหรือผู้ที่เราเคารพ การไหว้จะต้องประนมมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดระหว่างคิ้วโค้งประมาณหนึ่ง
ระดับที่ 3 การไหว้ผู้ที่เสมอกัน จะต้องประนมมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย โดยจะต้องให้หัวแม่มือจรดปลายคาง นิ้วชี้ไปแตะที่จมูก โค้งหลังพอประมาณ ส่วนการพบปะผู้ที่เสมอกันไม่ว่าจะหญิงหรือชายให้ยกมือไหว้พร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน
นอกจาก การไหว้ 3 ระดับ จะมีรายละเอียดมากแล้ว ในการไหว้ของแต่ละเพศก็ยังแบ่งแบกอีกด้วย เพื่อมให้เห็นถึงความแตกต่างและแสดงความเคารพ สำหรับผู้หญิงจะมีความอ่อนช้อยกว่าผู้ชาย โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
การไหว้สำหรับผู้ชายจะต้องแสดงออกในท่าทางยืนตัวตรง โค้งตัวลงพร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้ จะต้องให้นิ้วหัวแม่มืออยู่มในตำแหน่งของอายุหรือความเหมาะสม ถือเป็นการแสดงความเคาระที่ถูกกาละเทสะและแสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมอย่างมีมารยาท
สำหรับหญิงจะมีลักษณะการย่อตัว โดยจะถอยเท้าใดเท้าหนึ่งก็ได้ที่คิดว่าถนัดถอยไปข้างหลังเล็กน้อย พร้อมกับย่อตัวและพนมมือไหว้ นิ้วหัวแม่มืออยู่มในตำแหน่งของอายุหรือความเหมาะสม ถือเป็นการแสดงความเคาระที่ถูกกาละเทสะและแสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมอย่างมีมารยาท
ส่วนการรับไหว้นั้นจะต้องแสดงออกในท่าทางไหว้ระดับหน้าอก เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะรับไหว้ตอบเมื่อมีผู้ทักทาย โดยทั้งสองฝ่ายจะยกมือไหว้พร้อมกันนั้นเอง
จาก การไหว้ 3 ระดับ แสดงให้เห็นไม่ว่าคุณจะเดิน ลุก นั่งพื้น นั่งเก้าอี้สามารถแสดงความเคาพหรือการทักทายด้วยการไหว้ง่าย ๆ ถือเป็นวัฒนธรรมอันงดงามของไทยที่ควรรักษาไว้ เรียกได้ว่าชาติตะวันตกทักทายด้วยการโบกมือ สำหรับของไทยการไหว้ก็คือการทักทายอย่างหนึ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมนั้นเอง
การไหว้การทักทายคือวัฒนธรรมที่พึงรักษาไว้
แม้ว่าวัฒนธรรมชาติตะวันตกจะเข้ามาในเมืองไทยและคนรุ่นใหม่ก็มีการแสดงออกที่ซึมซับมาจากฝรั่งบ้าง แต่วัฒนธรรมการไหว้ยังคงถูกรักษาไว้อยู่ สังเกตได้จากการที่ไปพบผู้ใหญ่ยังคงมีการไหว้ทักทายเหมือนเช่นเคย ยิ่งในของผู้หญิงชาวต่างชาติมองว่าคือความงดงาม เพราะในระหว่างประนมมือไว้จะต้องยิ้มหวาน ส่งแววตาอันจริงใจออกไป แน่นอนว่าสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาเยือนไม่น้อย งจะเห็นได้ในโรงแรมที่มีพนักงานต้อนรับ ยืนไหว้พร้อมส่งยิ้มหรือในการพบปะผู้คน ยังคงมีวัฒนธรรมเหล่านี้อยู่
การไหว้คืออัตตลักษณ์ของคนไทย
การไหว้คืออัตตลักษณ์ของคนไทยที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียและอีกหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย เช่น ศรีลังกา เขมร พม่า ลาว ก็เช่นกัน โดยสืบมานานถึง 300 ปี ซึ่งวัฒนธรรมนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระภิกษุมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
ด้วยความที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีพุทธภูมิอยู่ที่ประเทศอินเดีย การไหว้คือการแสดงความเคารพ คือ “วันทา” หรือ “อัญชุลี” แต่นั้นก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรม เพราะสืบทอดจากอินเดียอย่างยาวนานนับพันปี เป็นช่วงที่กำลังเริ่มมีลัทธิพราหมณ์และฮินดู เมื่อถึงยุคพุทธกาลก็ถือเอาวัฒนธรรมการไหว้เป็นสิ่งที่แสดงความเคารพต่อพุทธศาสนาหรือบูชาสิ่งที่สูงที่สุดอย่างพระรัตนตรัยและยังเป็นวัฒนธรรมสืบถอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
การไหว้ 3 ระดับ และรูปแบบต่าง ๆ แสดงได้หลากหลายความหมาย
การไหว้ 3 ระดับ ไม่เพียงแสดงถึงความเคารพต่อผู้นั้น แต่ยังสื่อได้หลากหลายความรู้สึกและความหมาย ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว เพื่อให้ได้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมอันงดงามนี้ว่าควรค่าแก่การรักษาไว้แค่ไหน อยากให้คนรุ่นใหม่มองเห็นความสำคัญนี้
1.การไหว้ 3 ระดับ แสดงความเคารพทั้งต่อบุคคลและสิ่งที่ควรแก่การเคารพบูชา เริ่มตั้งแต่พระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่รวมถึงผู้สูงอาหยุหรือคนที่อายุเยอะกว่า นอกจากการไหว้แล้วการแสดงท่าทางวันทยาหัตถ์ในตำรวจ ทหาร ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา แต่สำหรับคนทั่วไปจะเป็นการไหว้นั้นเอง
2.ไหว้ขอบคุณหรือนึกถึงคุณงามความดีสามารถแสดงออกมาให้ผู้ที่ได้รับการไหว้นั้นสัมผัสได้ถึงความรู้สึกขอบคุณ ถึงสิ่งที่ผู้นั้นทำให้ อีกทั้งถือเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีถึงผู้ที่มีบุญคุณ เป็นการแสดงออกที่ทำมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งมีกรสืบสานออกมาในประเพณีไทยต่าง ๆ ที่ระลึกถึงบุญคุณ อาทิ ประเพณีสงกรานต์ พิธีไหว้ครู วันแม่ เหล่านี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่คนไทยจะได้แสดงต่อกัน
3.ไหว้ทักทายและแสดงถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการอำลา ซึ่งจะไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่าถือเป็นการแสดงความเคารพ แต่หากอายุเท่ากันหรือไล่เลี่ยกันก็สามารถไหว้ได้เช่นกัน โดยต่างฝ่ายต่างจะรับไหว้นั้นเอง นอกจากการไหว้จะแสดงถึงการทักทายแล้วยังเป็นการบอกลากัน ตามทำเนียมยไปมาลาไหว้นั้นเอง ซึ่งความหมายก็ไม่ต่างจากการบอกลาแบบฝรั่งที่กล่าวคำว่า “บายบ๊าย” พร้อมโบกมือไปมา
4.ไหว้เพื่อขออภัย ซึ่งมีหลากหลายความหมาย เช่น ยกมือไหว้เพื่อขออภัยที่รบกวน แทนความหมายของคำว่า excuse me ขอรบกวนเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่หากเป็นการขอขมาลาโทษจะเป็นการพนมมือก้มกราบในสิ่งที่ได้ล่วงเกินผู้นั้นไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม อย่างเช่นการจะยื่นเอาของที่อยู่บนหัว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบนรถโดยสารหรือเครื่องบิน เพราะสำหรัยบคนไทยแล้ว หัวคือสิ่งที่อยู่สูง ควรเคารพ
5.ไหว้เพื่อขอร้องหรือร้องขอ ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น การนอบน้อมถือเป็นสิ่งสำคัญและมีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือตามที่ขอ ซึ่งการไหว้นั้นจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการและความจำเป็นว่ามีมากแค่ไหน ถือเป็นการให้เกียรติอีกฝ่ายด้วยนั้นเอง
สำหรับความรู้เกี่ยวกับ การไหว้ 3 ระดับ ทำให้ได้เห็นแล้วว่าการไหว้นั้นมีความสำคัญอย่างไร สามารถแสดงความรู้สึก ความต้องการได้หลากหลาย ซึ่งการกระทำเหล่านั้นจะงดงามหรือน่าเชื่อถือจะต้องมาจากใจ พร้อมยกมือไหว้ด้วยรอยยิ้ม ซึ่งคนไทยก็กระทำเป็นวัฒนธรรมอยู่แล้ว ต่างชาติก็เกิดความประทับใจทุกครั้งและยกให้ไทยเรานั้นเป็นเมืองยิ้มสยามนั้นเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม