ความหมายเดียวแต่แตกไปได้หลายคำ หลายโทนกับภาษาถิ่นของแต่ละที่
รู้หรือไม่ว่าคำว่าอร่อยของแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกัน ตามภาษาถิ่นของแต่ละที่อย่างภาคเหนือก็จะเป็นคำว่าลำ ภาคอีสานจะพูดว่าแซบอิหลี ส่วนภาคใต้ก็จะเป็นคำว่าหรอย ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีภาษาที่เอไว้ใช้สื่อความหมาย สร้างความเข้าใจกันระหว่างผู้คนในภาคนั้น โดยจะมีลักษณะเฉพาะทั้งน้ำเสียง ถ้อยคำ ไปจนถึงการเน้นคำที่จะยิ่งทำให้คำๆนั้นมีเอกลักษณ์มากขึ้นไปในภาษาถิ่นของตัวเองมากขึ้นไปอีก
ภาษาถิ่นเกิดจากอะไรและสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องมีภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นเกิดจากหลายสาเหตุโดยหลักๆแล้วจะเกิดจากการที่ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะในทุกวันจะมีการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน การพบเจอผู้คนก็แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเลียนแบบเสียงและคำจากผู้คนรอบข้างที่ได้มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในถิ่นต่างๆ และการรับอิทธิพลจากรอบข้างที่มาหลอมรวมภาษาให้เกิดเป็นภาษาที่เข้าใจกันภายในกลุ่มนั้นๆด้วยกันเอง
จนถึงการรับอิทธิพลภาษามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ลาว เขมร ล้านนา มลายู ที่มาทำให้แต่ละภาคมีเอกลักษณ์ของภาษาต่างกันไปทั้งด้านสำเนียง น้ำสียงการเน้นคำ ความช้าเร็วในการพูด คำทับศัพท์ที่ได้มีการยืมมาใช้ ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แต่ละถิ่นมีภาษาที่ต่างกันได้เช่นกัน รวมทั้งอาจเกิดจากการที่เวลาผ่านล่วงเลยไปทำให้ภาษาเกิดการวิวัฒนาการไปตามกาลเวลาและเทคโนโลยีต่างๆกลายมาเป็นภาษาถิ่น 4 ภาคนั่นเอง
เจาะลึกทำความรู้จักกับภาษาถิ่นแต่ละภาค รู้ไว้ไม่เสียหาย
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าภาษาถิ่นแต่ละที่มาจากไหน มีจุดเด่นๆในภาษาของตนเองอย่างไร วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้คุณได้เข้าใจถึงลักษณะภาษา โทนเสียง และความแตกต่างของภาษาถิ่นแต่ละภาคกัน
- เริ่มที่ภาษาเหนือหรือภาษาคำเมืองหรือภาษาถิ่นพายัพ มีที่มาจากอาณาจักรล้านนา จะมีจุดเด่นคือจะเนิบๆช้าๆ มีการลากเสียงในบางคำ เป็นภาษาที่คำจะดูอ่อนช้อย ภาษาเหนือน่ารักน่าเอ็นดูไปซะหมด ใครได้ยินก็ต้องพากันตกหลุมรักภาษาเหนืออย่างแน่นอน ซึ่งแน่นอนว่าก็สะท้อนความเป็นชาวล้านนาออกมาทางคำพูดได้อย่างชัดเจน ดูแคปชั่นภาษาเหนือน่ารักๆ เพียบ
- ภาษากลางจะใช้โดยทั่วไปแต่ยังคงมีจุดเด่นอยู่ที่สำเนียงที่อาจจะมีการเพี้ยนทางเสียงหรือเสียงเหน่อแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ภาษากลางถูกจัดให้เป็นภาไทยมาตรฐานที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยจะแบ่งตามระดับภาษาอย่างภาษาราชการ(แบบทางการ)และไม่เป็นทางการ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง
- ภาษาอีสานจะมีลักษณะคล้ายกับภาษาลาวอาจจะเรียกว่าเป็นภาษาอีสานลาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศลาวมาเพราะอยู่ใกล้กันนั่นเอง แต่ก็ยังคงนำมาผสมผสานกับภาษาไทยและมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างมาก รวมถึงในบางจังหวัดอยู่ติดกับประเทศกัมพูชาจึงทำให้ได้รับอิทธิพลภาษาเขมรเข้ามาร่วมด้วย แต่จุดเด่นหลักๆของภาษาอีสานจะเป็นการพูดเร็ว พูดห้วนนั่นเอง แคปชั่นอีสาน ความหมายดี
- ภาษาใต้ใช้กันทั่วไปในภาคใต้แต่ยังคงมีการแบ่งตามถิ่นย่อยลงไปอีกซึ่งแต่ละถิ่นย่อยก็จะมีที่มาของภาษาใต้ต่างกันและก็จะมีสำเนียงที่ต่างกันอย่างชัดเจน มีการออกเสียงคำต่างกันไป แต่จะมีจุดเด่นเดียวกันคือจะพูดเร็วและอาจมีการรวบคำในบางคำ เรียกว่าไม่จำเป็นต้องพูดจนจบประโยคก็สามารถสื่อสารกันเข้าใจ
ตัวอย่างคำเด็ดๆในแต่ละ ภาษาถิ่น ที่น่านำไปใช้เพื่อเพิ่มอรรถรส
มาดูคำภาษาถิ่นที่น่าใช้ในชีวิตประจำวันแบบที่ใครก็นำไปพูดได้ เพิ่มความน่ารักสดใสโดยการใช้ภาษาเหนือ เพิ่มความกระชับได้การพูดด้วยภาษาอีสาน หรือเพิ่มการพูดให้ได้อารมแบบสุดๆอย่างภาษาใต้ มาลองคำและเลือกไปใช้กันเลย
- คำน่ารักๆต้องยกให้ภาษาเหนืออย่างคำว่า กิ๋นหรือกิน ขี้จุ๊หรือโกหก ง่าวหรือโง่ ลำหรืออร่อย เยียะหรือทำ ฮักหรือรัก
- ภาษาอีสานอย่างคำว่า เกิบหรือรองเท้า เบิ่งหรือดู แลนหนีหรือวิ่งหนี แซบอิหลีหรืออร่อยจริงๆ ผู้ใด๋หรือใคร ย่างหรือเดิน เฮ็ดหรือทำ
- มาถึงภาษาใต้อย่างคำว่า ขี้ชิดหรือขี้เหนียว ขี้หกหรือโกหก แลกเดี๋ยวหรือเมื่อตะกี้ หล่าวหรืออีกแล้ว หรอยหรืออร่อย เนือยหรือหิว ลกลักหรือลนลาน หัวหรือหัวเราะ ข้องใจหรือเป็นห่วง
สามารถนำคำพวกนี้ไปลองเล่นกับเพื่อนๆกันได้ รับรองว่าอรรถรสในภาษามีอยู่จริง พูดแล้วจะเข้าถึงอารมได้อย่างสุดๆ บรรยายผ่านน้ำเสียงและคำที่เลือกใช้ได้เลย แม้ว่าจะเป็นภาษาถิ่นต่างกันแต่ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้สบายๆ บอกรักแฟนเป็นภาษาเหนือ คุยกับเพื่อนให้สนุกเม้าส์มอยกันแบบไฟแลบด้วยภาษาอีสานและภาษาใต้ แล้ววงสนทนาของคถณจะครื้นเครงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ภาษาถิ่น ดิ้นได้ ใช้ได้ทุกที่ทั่วไทย
ได้รู้จักที่มา สาเหตุและข้อมูลพื้นฐานของภาษาถิ่นกันไปแล้ว ต้องอย่าให้เสียเปล่า ลองนำคำจากภาษาถิ่น 4 ภาคไปลองปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือเมื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวต่างจังหวัด ลองใช้ภาษาถิ่นที่ได้เตรียยมมาพูดกับคนท้องถิ่นกันดู จะได้สัมผัสความรู้สึกว่าคุณก็เป็นหนึ่งในคนถิ่นนั้นแบบเต็มตัวเพิ่มฟีลลิ่งและความประทับใจในทริปนั้นได้อย่างแน่นอน
ภาพจาก google images
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎