ไม่ว่าใครก็สามารถมีอารมณ์ดาวน์หรือที่หลายคนเรียกติดปากกันว่า “อาการจิตตก” ได้ทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากความกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนอารมณ์ดิ่งกับเรื่องนั้นมากจนเกินไป และส่งผลทำให้คุณเกิดอาการอารมณ์ดาวน์ขึ้น ซึ่งวิธีการจัดการกับอาการนี้ก็มีเหมือนกัน หากใครสังเกตว่าตัวเองเริ่มจิตตกบ่อย ๆ อารมณ์ดาวน์มากกว่าปกติ อยากให้คุณลองมาทำความเข้าใจว่าอารมณ์ดาวน์คืออะไร พร้อมกับเรียนรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ว่าจะทำยังไงดี การรับมือกับอารมณ์ได้จะช่วยให้สภาพจิตใจของคุณแข็งแรงมากยิ่งขึ้น รู้เท่าทันอารมณ์จะไม่รู้สึกดาวน์อย่างแน่นอน
อารมณ์ดาวน์คืออะไร? มีวิธีจัดการกับอารมณ์ยังไงบ้างที่ทำแล้วได้ผล
“ดาวน์” เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ถูกคิดขึ้นมาทีหลัง ซึ่งเป็นการแสดงอารมณ์ของคนรุ่นใหม่ที่กำลังรู้สึกเหนื่อยกับการใช้ชีวิต หรือรู้สึกเหนื่อยกับปัญหาต่าง ๆ ค่อนข้างมาก ใครที่กำลังหมดกำลังใจมักจะพูดว่าตัวเองกำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ดาวน์อยู่ ซึ่งคำนี้มาจากประโยคภาษาอังกฤษที่พูดว่า I’m feeling down.
อาการเศร้าหรืออาการหมดกำลังใจสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หลาย ๆ คนคงจะตั้งคำถามกันว่าเมื่ออารมณ์ดาวน์ควรจะมีวิธีการจัดการกับอารมณ์ยังไงบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้อารมณ์ดาวน์ไปเรื่อย ๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจ และส่งผลไปถึงสภาพร่างกายได้ด้วย เพื่อให้คุณสามารถรักษาอาการดาวน์ได้ดีขึ้น ในบทความนี้เราได้รวบรวมวิธีแก้อารมณ์ดิ่งหรืออารมณ์ดาวน์มาฝาก หากอยากรู้ว่ามีวิธีอย่างไรบ้างไปดูกันได้เลย
- พยายามอย่ากดดันตัวเองมากจนเกินไป
ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในอารมณ์ดาวน์มักจะเกิดจากความกดดัน ไม่ความกดดันจากคนอื่นก็ความกดดันจากตัวเอง ดังนั้นวิธีการจัดการกับอารมณ์ดาวน์ได้ดีที่สุดก็คือ พยายามอย่ากดดันตัวเองมากจนเกินไป เพราะในบางครั้งเราก็คาดหวังว่าตัวเองจะทำทุกอย่างได้เป็นอย่างดี ต้องทำทุกอย่างได้สำเร็จ จนกลายมาเป็นกดดันตัวเองมากขึ้น แนะนำให้ใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปจะดีที่สุด เพราะความกดดันที่มากเกินไป นอกจากจะไม่ได้ส่งผลดีแล้วยังส่งผลทำให้อารมณ์ของคุณดาวน์กว่าเดิมด้วย
- ไม่ต้องเข้มแข็งตลอดเวลา ร้องไห้บ้างก็ได้
ต้องยอมรับเลยว่าการเข้มแข็งตลอดเวลาไม่ใช่หนทางที่จะแก้ปัญหาได้ ดังนั้นถ้าหากรู้สึกว่าตัวเองเริ่มเข้าสู่ช่วงที่อารมณ์ดาวน์แล้วกำลังหาวิธีจัดการกับอารมณ์ยังไงดี? เราขอแนะนำให้คุณลองเลิกเข้มแข็งดู อย่าเก็บปัญหา เก็บความเสียใจเอาไว้คนเดียว แต่ให้ร้องไห้ออกมา การร้องไห้เป็นอีกหนึ่งวิธีระบายอารมณ์ที่ค่อนข้างเห็นผล เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ร้องไห้เสร็จแล้ว คุณจะรู้สึกดีขึ้นในทันที เหมือนได้ปลดปล่อยความอัดอั้นในใจให้หายไป
- พูดคุยกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ
บางครั้งคนเราไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนเยอะ แต่ต้องมีเพื่อนที่กล้าจะพูดเรื่องราวที่อยู่ในใจออกมา การระบายความรู้สึก ความเครียดกับคนที่ไว้ใจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถจัดการกับอารมณ์ดาวน์ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าเก็บปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ในใจเพียงคนเดียว ปัญหาที่ตามมาคือ อาการเครียดสะสม นอกจากจะอารมณ์ดาวน์แล้ว อาจทำให้คุณเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาด้วย ดังนั้นเราอยากแนะนำให้คุณระบายมันออกมา พูดคุยปัญหานั้นกับคนที่ไว้ใจเพื่อจัดการอารมณ์ที่กำลังดาวน์อยู่
- จดสิ่งที่ต้องทำลงในกระดาษเอาไว้
บางคนอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกดิ่งขึ้นมาได้ ซึ่งปัญหาก็เพราะว่าคุณไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลังดี พอมีงานหรือมีเรื่องที่ต้องทำเยอะ ๆ แล้วไม่สามารถจัดการกับเรื่องเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้คุณรู้สึกสับสนและส่งผลให้เกิดอารมณ์ดาวน์ได้เหมือนกัน วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่ดีที่สุดก็คือ การลิสต์สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดออกมาเป็นข้อ ๆ หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ทำแต่ละข้อให้เสร็จ หากคุณสามารถทำได้ตามข้อที่วางเอาไว้ก็จะช่วยให้อารมณ์ดาวน์ได้น้อยลง
- ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
ถ้าหากลองใช้วิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล เกิดอารมณ์ดาวน์จัดการกับอารมณ์ยังไงดี? ถ้าใครกำลังอยากรู้เรื่องนี้ เราขอแนะนำให้คุณไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตใจ เพื่อที่จะจัดการกับอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตได้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดีมากขึ้น อย่าคิดว่าการพบจิตแพทย์แปลว่าตัวเองบ้า เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนก็สามารถเกิดอารมณ์ดาวน์ได้ทั้งนั้น เพียงแค่ถ้าเราหาจุดที่จะแก้ปัญหาไม่ได้เอง เราก็ต้องปรึกษาคนที่รู้จักอารมณ์นี้และให้เขาแนะนำวิธีการแก้ที่ถูกต้อง
- ลองกลับมาอยู่กับตัวเอง
อารมณ์ดาวน์จัดการกับอารมณ์ยังไง? วิธีต่อไปที่เราจะแนะนำคือ การกลับมาอยู่กับตัวเอง ไม่ต้องไปโฟกัสว่าคนจะคิดยังไง คนอื่นจะว่ายังไงบ้าง เน้นที่ตัวเองเป็นหลักก็พอแล้ว อย่าไปคิดลึก คิดมาก เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกดาวน์หรือดิ่ง การหันกลับมามองตัวเองจะช่วยได้ เพราะ step แรกที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือแก้ที่ตัวเอง หากอะไรก็ตามที่ทำแล้วเป็นทุกข์ อยากแนะนำให้คุณเลิกทำสิ่งนั้น ลองปล่อยวางดูจะทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นได้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
วิธีการนี้หลายคนอาจจะมองข้ามไป เราต้องอธิบายก่อนว่าในบางช่วงที่สภาพจิตใจไม่นิ่ง ปัญหาเกิดจากการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นถ้าอยากจะแก้ปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง และต้องจัดบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสมกับการพักผ่อนด้วย ถ้าคุณรู้สึกดาวน์เมื่อไหร่การนอนก็จะช่วยรักษาสภาพจิตใจของคุณได้เหมือนกัน แค่ได้นอนพักบนเตียงสบาย ๆ อากาศเย็น ๆ ก็ทำให้บางคนรู้สึกดีขึ้นได้แล้ว
- พยายามมองโลกในแง่บวก เน้นที่มองแต่ด้านดี ๆ เข้าไว้
แม้ว่าการมองโลกในแง่บวกจะเหมือนกับการ “โลกสวย” แต่ต้องยอมรับเลยว่าเมื่อมีอารมณ์ดาวน์เกิดขึ้น วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือ การพยายามมองโลกในแง่บวกเข้าไว้ เพราะจะทำให้คุณมองเห็นว่าโลกใบนี้ก็ไม่ได้โหดร้ายไปทุกอย่าง ยังมีข้อดีที่จะทำให้คุณได้มีความสุขกับโลกใบนี้ด้วย เช่น การที่คุณจองตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวในช่วงหยุดยาวไม่ทัน ข้อดีก็คือ คุณไม่ต้องเหนื่อยเดินทาง แต่สามารถนอนดูหนัง ดูซีรีส์ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีเวลาดูได้ การฝึกมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ลองเริ่มต้นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
อารมณ์ดาวน์จัดการกับอารมณ์ยังไง? หากใครกำลังตั้งคำถามในเรื่องนี้อยู่เรามีคำตอบมาฝาก คำตอบก็คือ “ออกกำลังกาย” อาจฟังเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่บอกเลยว่ากิจกรรมนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกดาวน์ได้จริงแน่นอน เพราะการออกกำลังกายจะผลิตสารเอนโดรฟินออกมา ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ช่วยสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่ง ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มรู้สึกว่าตัวเองดาวน์ แนะนำให้ไปลองออกกำลังกายสัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงจะช่วยให้คุณรู้สึกหายจากอารมณ์ดาวน์ได้
- พาตัวเองออกไปทำอะไรที่ชอบ
เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีสิ่งที่ชอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง ไปร้านหนังสือ ไปเที่ยวคาเฟ่ ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือออกกำลังกาย หากคุณอยู่ในช่วงที่อารมณ์ดาวน์ อย่าปล่อยให้ตัวเองต้องเผชิญกับปัญหานี้ในห้องสี่เหลี่ยม แต่จงพาตัวเองออกไปทำในสิ่งที่รัก สิ่งที่ชอบ การได้อยู่กับสิ่งที่ชอบจะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์ได้ดีมากขึ้น ลดความเครียดและเพิ่มความสุขให้กับตัวเองได้อีกด้วย
สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อคุณต้องอยู่ใกล้กับผู้ที่กำลังอยู่ในอารมณ์ดาวน์
อารมณ์ดาวน์มีวิธีการจัดการกับอารมณ์ยังไงเราก็ได้บอกไปทั้งหมดแล้ว แต่ในหัวข้อนี้เราจะมาบอกคนใกล้ชิดว่าควรทำหรือไม่ควรทำอะไรเวลาที่อยู่ใกล้กับคนที่รู้สึกดาวน์กับชีวิต เพราะนอกจากการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองแล้ว คนใกล้ตัวก็เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้อารมณ์ดาวน์ดีขึ้นด้วย โดยเราได้รวมสิ่งที่ควรและไม่ควรทำสำหรับคนที่อยู่ในอารมณ์ดาวน์มาฝาก หากคุณลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้จะช่วยให้ผู้ที่กำลังอยู่ในอารมณ์ดาวน์มีอาการที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
- สิ่งที่ควรทำ
ถ้าหากอยู่ใกล้กับคนที่มีอารมณ์ดาวน์ แนะนำให้ว่าให้คุณลองชวนคนนั้นลุกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายดู เช่น เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ หรือออกไปเดินห้าง เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาจะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินที่จะทำให้รู้สึกมีความสุขออกมาด้วย
และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำเลยก็คือ การตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูด และอย่าไปตัดสินใจแทนเขาเด็ดขาด คนเราต่างสถานการณ์ต่างความคิด เราไม่จำเป็นต้องไปตัดสินใจแทนใคร หรือไปกดดันให้เขาตัดสินใจตามเรา แค่อยู่ข้าง ๆ คอยรับฟังปัญหาของเขาก็เพียงพอแล้ว การพูดคุยควรจะเลือกคุยในบรรยากาศที่สบาย ๆ เหมือนเพื่อนคุยกันมากกว่าที่จะคุยแบบจริงจัง ซึ่งถ้าหากเราทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดีก็จะทำให้เขารู้สึกสบายใจ และส่งผลดีต่อช่วงที่เกิดอารมณ์ดาวน์อีกด้วย
- สิ่งที่ไม่ควรทำ
สำหรับการอยู่ใกล้ ๆ กับคนที่มีอารมณ์ดาวน์เราขอแนะนำว่าอย่าบอกปัด อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน และอย่ากดดันเขาเด็ดขาด บางครั้งเรากับเขาอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เราไม่มีทางเข้าใจว่าทำไมเขาถึงไม่ทำแบบที่เราคิด อย่าไปบอกว่าเมื่อไหร่จะหาย หายได้แล้วนะ เพราะจะยิ่งทำให้เขารู้สึกดิ่งมากกว่าเดิม หรือคนที่ทำเป็นไม่ได้ยิน ทำเป็นไม่สนใจในสิ่งที่เขาพูดก็ทำให้เขารู้สึกไร้ค่าได้ และที่สำคัญเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าเขาต้องการคนเคียงข้าง อย่าบอกปัดเด็ดขาด เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เขารู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งพาก็จะทำให้อารมณ์ดาวน์มากกว่าเดิมได้
ถ้าหากว่าคุณกำลังพบว่าตัวเองกำลังเข้าสู่ช่วงอารมณ์ดาวน์การหาวิธีจัดการกับอารมณ์ยังไงให้ได้ผลก็เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะอารมณ์นี้จะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกายเลย หากไม่รีบแก้ไขจะเป็นปัญหาได้ วิธีการจัดการอารมณ์ดาวน์ก็ไม่ได้ยากเลย ลองเลือกดูจากวิธีต่าง ๆ ที่เรานำมาฝาก จะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์ดาวน์ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้น ขอแนะนำให้คุณเปิดใจไปพบจิตแพทย์ เพื่อที่จะทำให้อารมณ์ของคุณกลับมามั่นคงเหมือนเดิม การปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญอาจจะช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า อย่ารอให้กลายเป็นปัญหาใหญ่จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://digitalmore.co/ways-to-improve-your-mood-when-you-are-feeling-down/
- https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4024/
- https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/Do’s---Don’t-ควรทำตัวยังไง-เมื่อคนใกล้ชิดเป็น--โรคซึมเศร้า-
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://res.cloudinary.com/dk0z4ums3/image/upload/v1679285240/attached_image_th/close-upofunemployedasianwomanathomealoneona.jpg
- https://digitalmore.co/wp-content/uploads/2021/06/sad-03.jpg
- https://missiontothemoon.co/wp-content/uploads/2021/07/5-ข้อผิดพลาดที่เรามักทำเมื่อรู้สึกเครียดและกดดัน1920x1080.jpg