การทำขวัญข้าวถือเป็นประเพณีโบราณของชาวนาที่จัดขึ้นเพื่อขอขมา ทำความเคารพและบูชาเทพเทวดาที่คอยปกปักรักษาและดูแลที่ดินที่ชาวนาได้ใช้ปลูกข้าว โดยเชื่อกันว่าในท้องนาและต้นข้าวจะมี ขวัญข้าว คือ สิ่งที่สิงสถิตอยู่ในต้นข้าว ต้นข้าวที่มีขวัญข้าวอยู่จะเป็นต้นข้าวที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงเป็นการเคารพแม่โพสพที่คอยดูแลและทำให้การปลูกข้าว การเก็บเกี่ยวนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใด ๆ ซึ่งในสมัยนี้การทำขวัญข้าวยังคงเห็นได้ตามพื้นที่ชนบทและมีการบอกเล่าสืบทอดพิธีกันมาหลายชั่วอายุคน
สืบทอดกันมาหลายร้อยปีแล้วกับประเพณี ขวัญข้าว คือสิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวนาทั่วไทย
ขวัญข้าว คือ ขวัญที่ทำให้ข้าวนั้นเจริญเติบโตงอกงามตามความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมของชาวนาที่ยังคงหาดูได้ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มเลือนหายไปตามเวลาแต่ยังคงมีบทสวด บทร้องที่ผู้ใหญ่ยังใช้ทำพิธีอยู่ ใครที่สนใจใน ประเพณีขวัญข้าว ก็สามารถชมได้ในช่วงฤดูการเพาะปลูกข้าว วันนี้เราได้นำเรื่องราวต่าง ๆ ของการทำขวัญข้าวในอดีตมาให้ทุกคนได้ลองย้อนมองประวัติของการทำนาของชาวนาเหล่านี้กันว่าจะลำบากยุ่งยากและมีความเชื่ออะไรกันบ้างและจะน่าสนใจเพียงใดนั้นไปดูกันเลย ิ่มเติมไดและหาควสามรงที่ผู้ใหงมีบทสวด บทร้องที่ผ
-
ประเพณีทำขวัญข้าว ประวัติ
ประเพณีการทำขวัญข้าวนี้เริ่มตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้มีเทคโนโลยีและสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาคอยช่วยให้การันตีผลผลิตของการทำนาในแต่ละครั้ง คนในสมัยก่อนจึงได้มีความเชื่อที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและให้เป็นขวัญกำลังใจในการเพาะปลูก อย่างความเชื่อที่ว่าแม่โพสพจะเป็นผู้ที่ดูแลปกปักรักษาและความเชื่อที่บอกว่าข้าวที่มีขวัญสิงสถิตอยู่จะเป็นต้นข้าวที่งอกงามตามที่หวัง จึงได้เกิดเป็น ประเพณีขวัญข้าว นี้ขึ้นมาในช่วงฤดูการทำนาหรือช่วงตุลาคมจนถึงพฤศจิกายนของทุกปีในสมัยก่อนนั่นเอง
ทำขวัญข้าว ภาคกลาง หรือของภาคใต้นั้นจะมีพิธีคล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างในเรื่องของบทสวดและของที่ใช้ในพิธี ตามแบบคนโบราณที่เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นและต้องการหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงเป็นการแสดงออกถึงความเคารพ กตัญญูให้กับผืนแผ่นดินที่ทำให้เกิดอาชีพและเป็นผืนแผ่นดินที่ใช้ปลูกอาหารขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นการทำพิธีเพื่อส่งเสริมความเป็นสิริมงคล ให้ชาวนานั้นอุ่นใจและสร้างขวัญกำลังใจให้การทำนาในแต่ละปีนั้นผ่านไปได้ด้วยดี ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ไม่มีภัยธรรมชาติต่าง ๆ มาทำให้พืชผลเสียหาย
แต่ถึงอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้อาจจะหาชมได้ยากขึ้นจากหลายๆสาเหตุ เช่น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถบอกสภาพอากาศได้ จึงทำให้ชาวนาได้รู้ถึงช่วงเวลาที่ควรปลูกข้าวได้ดียิ่งขึ้น, มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้บำรุงต้นข้าวให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ, มียาป้องกันแมลงที่อาจจะมากัดกินรวงข้าว, ชาวนาต้องเร่งรีบในการทำนาให้ได้ 3 ครั้งต่อปีจึงไม่มีเวลามากพอที่จะทำพิธีทุกครั้ง รวมถึงฐานะที่ยากจนจนทำให้ไม่มีที่นาของตัวเองจึงไม่รู้สึกผูกพันเท่าในสมัยก่อน รวมถึงผู้สืบทอดพิธีอย่างหมอขวัญข้าวก็มีน้อยลง ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลให้ประเพณีเริ่มหายไป
-
ความสำคัญของ ประเพณีขวัญข้าว
ความสำคัญของ ประเพณีขวัญข้าว ในสมัยก่อนนั้นจะทำกันอย่างแพร่หลายในเกือบทุกพื้นที่ที่มีการทำนา จนกลายมาเป็นพิธีที่ชาวนานั้นทำสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น โดยทุกขั้นตอนในการทำนาตั้งแต่การหว่านข้าว ข้าวตั้งท้อง เริ่มเกี่ยวข้าว ทุกช่วงจะมีการทำพิธีเหล่านี้แทรกอยู่ในทุกขั้นตอนของการทำนา ที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ ลักษณะนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีพระคุณ อ่อนโยนของคนในสมัยก่อน พิธีขวัญข้าวนี้จะชมได้ในช่วงหลังออกพรรษา มีการรับขวัญแม่โพสพในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ซึ่งในการทำพิธีก็จะเน้นให้ผู้หญิงเป็นคนนำ
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจให้การทำนาในแต่ละรอบนั้นผ่านไปแบบไม่มีอุปสรรค ปราศจากภัยต่าง ๆ ไม่มีแมลงหรืออะไรจะมาทำลายพืชพันธุ์ให้เสียหายได้ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือในการพยากรณ์อากาศ ไม่มีปุ๋ย ไม่มีเทคนิคป้องกันแมลงหรืออะไรที่จะสร้างความมั่นและเป็นการลดความเครียดให้แก่ชาวนาที่กำลังกังวลถึงเรื่องผลผลิตให้มั่นใจว่าข้าวที่กำลังโตนั้นจะอุดมสมบูรณ์ตามที่หวังไว้
-
ความเชื่อพระแม่โพสพ
ในประเพณีนี้มีความเชื่อที่สำคัญนั่นคือ ความเชื่อพระแม่โพสพ จะคอยดลบันดาลและดูแลท้องนา ให้ข้าวนั้นเติบโตขึ้นมาเป็นผลผลิตที่สวยงามดั่งที่หวัง ถ้าหากมีการทำพิธีขวัญข้าวแล้ว แม่โพสพจะคอยคุ้มครองและประทานความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องนาแห่งนั้น ดังนั้นใน พิธีรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ จึงเป็นพิธีที่สำคัญในทุกขั้นตอนของการทำนาเลยก็ว่าได้
บทสวดหรือบทร้องทำขวัญข้าวนั้นก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้บันทึกไว้ทั้งชื่อพันธุ์ข้าว ขั้นตอนในการทำนาตั้งแต่เริ่มจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ความเชื่อต่าง ๆ ของชาวนาไปจนถึงขั้นตอนการประกอบพิธีทำขวัญข้าวของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ในการทำพิธี ซึ่งในแต่ละที่อาจจะมีบทร้องที่ต่างกันไปตามพืชพันธุ์ แต่จะมีลำดับพิธีกรรมในการทำขวัญข้าวที่คล้ายคลึงกันจะทำพิธีในทุกช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของต้นข้าว ที่สื่อความหมายลึกซึ้งมากกว่าการทำเพื่อขอขมาแต่เป็นการดูแลต้นข้าวตั้งแต่แรกจนถึงการเก็บเกี่ยวเหมือนการดูแลคนตั้งแต่เด็กจนโตนั่นเอง
ประเพณีขวัญข้าวในบางที่จะทำในช่วงที่ข้าวตั้งท้องและช่วงที่ข้าวพร้อมเก็บเกี่ยวซึ่งจะมีรายละเอียดความเชื่อและพิธีต่างกันไป และจากความเชื่อที่บอกว่าแม่โพสพนั้นเป็นผู้หญิง ในช่วงที่ข้าวตั้งท้องจึงนิยมใช้ของรสเปรี้ยว เช่น อ้อย น้ำมะพร้าว หมาก พลู ใส่ในชลอมเล็ก ๆ ผูกด้วยด้านสีขาวและแดงคู่กับอาหารและดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้พร้อมกับชุดน้ำอบ น้ำหอม และเมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องจะนำผลไม้กับชุดแต่งตัวมาใส่ชลอมแขวนไว้ในนาด้วย
นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่น ๆ เช่น การนำข้าวที่ใช้พิธีมาเป็นข้าวสำหรับใช้บูชาและแพร่พันธุ์ต่อในฤดูถัดไป, เลือกวันในการหว่าน ปักดำและเก็บเกี่ยวในวันที่ไม่ตรงกับวันกระเพราะเชื่อว่าจะถูกผีกระสือกินหมด, การทำพิธีในช่วงเวลานกชุมรังหรือช่วงพลบค่ำ, การเลือกวันขึ้นหรือแรมที่เลขวันกับเดือนตรงกัน เช่น เดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำในการทำพิธี, ห้ามเคลื่อนย้ายถ้วยขวัญที่ตั้งอยู่บนกองข้าวและความเชื่ออีกมากมายที่ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาจจะทำพิธีแยกตามครัวเรือน หรือจะรวมตัวแล้วทำพิธีร่วมกันในวัดอย่างการทำขวัญข้าวใหญ่ก็ได้
ความเชื่อดั้งเดิมที่ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน หัวใจสำคัญของการปลูกข้าวให้อุดมสมบูรณ์
กว่าจะมาเป็นข้าวที่ออกมาจนเป็นอาหารหลักของประเทศและได้ส่งออกไปขายต่างแดนจนมีชื่อเสียงทั่วโลกนั้นต้องใช้ระยะเวลาและความตั้งใจในการเพาะปลูกของชาวนาอย่างที่สุด ทั้งความเชื่อ ประเพณีขวัญข้าว ที่สืบต่อกันมาจนถึงการใส่ใจ พิถีพิถันในทุกขั้นตอนที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ และการสืบทอดประเพณีเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่แสดงความเป็นไทยออกมาได้อย่างชัดเจนเช่นกัน ถึงแม้หลาย ๆ อย่างอาจจะเริ่มเลือนรางไปตามกาลเวลา แต่สิ่งที่สำคัญในการทำให้นาเพาะปลูกของไทยนั้นไม่เคยหายไป และนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการที่ข้าวไทยโด่งดังไปทั่วโลกก็ได้
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎