วัฒนธรรมความเชื่อของคนไทยเชื่อว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้คือผู้มีพระคุณ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในด้านของการศึกษาจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับการรำลึกถึงครูผู้สอนวิชา ซึ่งไม่ได้ใช้ภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพียงเท่านั้น ในส่วนของวงการดนตรีหรือวงการกีฬาต่างๆ ก็ยังคงให้ความสำคัญกับบทบาทของคำว่า “ครู” เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นจึงทำให้ประเทศไทยมี วันครู เพื่อเป็นวันสำคัญให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งได้แสดงความเคารพสักการะต่อครูผู้สอน คราวนี้ไปดูในส่วนเนื้อหาต่างๆ กันดีกว่าว่าวันครูนั้นจะเป็นวันที่สำคัญมากแค่ไหน
ประวัติความเป็นมาของ วันครู
“วันครูแห่งชาติ” (ภาษาอังกฤษ: Teachers’ Day) ความจริงแล้ววันสำคัญวันนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะยังมีวันครูที่เป็นระดับสากลอีกด้วย โดยถ้าเป็น วันครู แห่งชาติของจะตรงกับวันที่ 16 มกราคมของทุกปี แต่ถ้าเป็นวันครูสากลจะตรงกับวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี วันครูแห่งชาติจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 โดยจะมีผลมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาสำหรับกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า “คุรุสภา” จะเป็นนิติบุคคลที่มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับสถาบันวิชาชีพครู และนในปัจจุบันนี้ก็ยังคงจัดวันที่ 16 มกราคมของๆ ทุกปี
สถานที่จัดงานวันครูครั้งแรก
“วันครู” ได้จัดงานขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยจัดงานวันครูครั้งแรกเกิดขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ที่กรีฑาสถานแห่งชาติ
กิจกรรมในงานวันครูแห่งชาติ
การจัดงานวันครูหรือว่ากิจกรรมต่างๆนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้กิจกรรมดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทางคุรุสภาเองได้กำหนดให้มีการจัดงานวันครูในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซต์แทน เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงปีนี้มีการแพร่กระจายของโรคระบาด การจัดงานรูปแบบออนไลน์จึงลดการพบปะระหว่างการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมหรือว่าการจัดวันครูนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลง แต่ว่ากิจกรรมหลักๆ ของวันครูก็ยังมีจุดประสงค์เพื่อที่จะระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่มีบทบาทในการมอบความรู้ให้กับผู้คน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับนักเรียนได้อีกด้วย โดยจะมีตัวอย่างกิจกรรมดังนี้
ตัวอย่างกิจกรรมวันครู
- การจัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานของครู
- มอบรางวัลให้กับครูที่มีผลงานดีเด่น
- จัดพิธีกรรมทางศาสนา
- จัดพิธีรำลึกถึงพระคุณของครู
- กิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างอย่างครูและเด็กให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดพิธีไหว้ครู การแข่งขันกีฬา หรืออาจจะเป็นการจัดงานฉลองรื่นเริง
ทำความรู้จักกับพิธีไหว้ครูตามวัฒนธรรมของไทย
“พิธีไหว้ครู” เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยวิธีนี้จะเป็นการแสดงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูนั้นใช้ในหลากหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ครูในรั้วโรงเรียน การไหว้ครูมวยด้วยลีลาของการแสดงศิลปะมวยไทย และยังรวมไปถึงในวงการของดนตรีไทย ที่เราจะเห็นได้ว่าก่อนที่จะมีการขึ้นแสดงหรือเรียนดนตรีไทย จะมีการขอขมาหรือว่าการไหว้ครูก่อน เพราะครูนับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เด็กน้อยเติบโตมาเป็นเด็กที่ดี หรือเป็นการมอบความสามารถให้กับคนนั้นๆ จึงไม่แปลกว่าเวลาผ่านมานานแค่ไหนก็ยังมีการไหวครูอยู่เสมอๆ
วิธีจัดงานการพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- เตรียมโต๊ะหมู่จะมีกระถางดอกไม้และธูปเทียน รวมไปถึงโต๊ะเพื่อวางดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
- หนังสือเพื่อที่จะให้ประธานเจิม ให้นำหนังสือวางไว้บนพานหรือโต๊ะเล็ก
- ที่นั่งสำหรับประธานและคณาจารย์
- ที่นั่งสำหรับนักเรียน
องค์ประกอบของพานไหว้ครูมีอะไรบ้าง
สำหรับการทำพานไหว้ครูนั้นก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความ เพราะว่านอกจากจะเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อครูบาอาจารย์แล้ว การทำพานไหว้ครูยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะทำให้เหล่านักเรียนและครูได้ทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย โดยรายละเอียดสำหรับการทำพานไหว้ครูนั้นก็จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่หลักๆดังนี้
1.ธูปเทียน
แน่นอนว่าธูปเทียนนั้นเป็นสิ่งที่เอาไว้ใช้สำหรับการทำพิธีกรรมหรือว่าการเคารพบูชา จึงเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ใช้สำหรับการทำพานไหว้ครู
2.ดอกไม้
ดอกไม้ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการทำพานไหว้ครู ซึ่งจะมีดอกไม้ 3 ชนิดที่มีความหมายแตกต่างกันคือ
3.หญ้าแพรก
หญ้าแพรกจะแสดงถึงความอดทนและการเจริญงอกงาม ถึงแม้จะผ่านมรสุมใดๆ พืชชนิดนี้ก็ยังเอาตัวรอดได้อยู่เสมอ
4.ดอกมะเขือ
ดอกมะเขือจะแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนที่พร้อมจะรับความรู้และการอบรมจากผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะว่าดอกมะเขือนั้นจะโน้มต่ำอยู่ตลอด
5.ดอกเข็ม
ดอกเข็มจะมีลักษณะเป็นปลายแหลม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความฉลาดหลักแหลม การมีสติปัญญา ดังนั้นทำให้มีความเชื่อว่าถ้าหากนำดอกไม้ชนิดนี้ไปไหว้ครู จะทำให้มีความฉลาดหลักแหลมและมีสติปัญญาที่ดีขึ้น
ข้อดีของการจัดงานใน วันครู มีอะไรบ้าง
1.ครูผู้ให้ความรู้เหล่านักเรียนจะรู้สึกว่าตัวเองได้ทำหน้าที่ครูอย่างเต็มที่ ในการดูแลนักเรียนให้เติบโตมาเป็นคนดีและมีความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ชีวิตหรือต่อยอดในอนาคตได้ เป็นการแสดงว่าครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
2.เด็กนักเรียนสามารถให้ความเคารพครู สามารถแสดงออกถึงความเคารพ ความนับถือ หรือแม้ความรักที่เต็มไปด้วยคำขอบคุณจากนักเรียนได้ แน่นอนว่าคนเป็นครูก็สามารถอิ่มเอมใจที่เด็กให้ความสำคัญ เคารพนับถือ ทำให้ครูรู้สึกดีและสามารถตรพหนักได้ถึงหน้าที่อันแสนสำคัญของตนได้
3.วันครูนับว่าเป็นวันสำคัญที่เด็กๆ แต่ละห้อง มักจะต้องออกแบบพานอาจจะแบ่งทางฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งจะมีการประกวดทำให้เด็ก ๆ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบพานแบบที่ดีที่สุด และมอบให้กับครูได้ ซึ่งแน่นอนว่าบางโรงเรียนก็จะมีการประกวนพานไหว้ครูด้วย
4.วันครูนับเป็นวันที่สำคัญในเรื่องของนักเรียน ในกรณีที่นักเรียนรู้สึกทำความผิดกับครู หรือไม่รู้เดียงสาทำอะไรให้ครูเสียใจ ก็สามารถขอขมาผ่านวันครูได้ โดยแนะนำว่าให้ไปซื้อพวงมาลัยมากราบไหว้เพื่อขอขมาได้
5.วันครูนับว่าเป็นวันสำคัญที่สุดที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับเด็กได้อย่างดีมากๆ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องร่วมพิธีการไหว้ครูกันทั้งครู หรืออาจเป็นกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของทาง 2 เป็นไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ความสำคัญของการจัดงาน วันครู ก็เพื่อที่จะแสดงความเคารพและระลึกถึงบุคคลที่น่าชื่นชม เพราะว่าการประกอบวิชาชีพครูจะต้องเสียสละและเป็นผู้ให้ นอกจากนั้นวันครูยังเป็นวันหยุดที่เปิดโอกาสให้นักเรียนและครูได้พักผ่อนกันอีกด้วย แต่ต้องบอกว่าก็จะมีวันที่นักเรียนและครูมาทำกิจกรรมร่วมการ โดยการกราบไหว้ครูได้นั่นเอง ดังนั้นหากใครที่มีครูเป็นคนสำคัญ และเมื่อเติบโตมา การกลับไปเยี่ยมเยียนนับเป็นอะไรที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับครูได้เป็นอย่างมาก
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.sanook.com/campus/1371381/
- https://www.huayyangschool.com/datashow_31543
- https://www.twinkl.co.th/teaching-wiki/wankhru-haeng-chati-teachers-day
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pexels.com/th-th/photo/5905440/)
- https://www.dpe.go.th/data/stadium/l/601000000001.jpg?v=4
- https://www.pexels.com/th-th/photo/68507/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม