วรรณกรรมไทย คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะหันไปทางไหนหรืออ่านอะไรก็ล้วนแล้วแต่เป็นวรรณกรรมด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่คุณอาจจะยังไม่เคยสังเกตและไม่รู้ว่าสิ่งที่คุณเห็นอยู่นั้นเรียกว่าอะไร วันนี้เราจะมาคุณมาทำความรู้จักกับเหล่าวรรณกรรมตั้งแต่ความหมาย ชนิด ประเภท ลักษณะ ไปจนถึงแนะนำวรรณกรรมดี ๆ ให้กับคุณได้อ่านในเวลาว่าง อย่ารอช้า ไปเริ่มต้นศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของวรรณกรรมไทยกันเลย
วรรณกรรมไทย งานเขียนที่อยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่คุณเองอาจไม่ทันรู้ตัว
วรรณกรรมไทย เป็นงานเขียนที่หลายคนนั้นอาจจะมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นงานเขียนที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรน่าดึงดูด และมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เข้าถึงยาก แต่หารู้ไม่ว่าในชีวิตประจำวันแต่ละวันของคุณนั้นอาจจะได้พบเจอกับเหล่าวรรณกรรมกันแบบไม่ทันสังเกตเห็น มาดูกันเลยว่าวรรณกรรมนั้นคืออะไร และอะไรที่จะเป็นวรรณกรรมกันบ้าง รวมถึงมาเช็คกันเลยว่าคุณรู้จักวรรณกรรมดีแค่ไหน
-
วรรณกรรมไทย คือ อะไร
วรรณกรรมไทย คือ ผลงานศิลปะที่ผ่านกระบวนการคิด การจินตนาการ การเรียบเรียง สื่อสารออกมาในรูปแบบของภาษาศิลป์ แสดงออกมาในรูปแบบของการใช้ภาษาที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาเพื่อสื่อความหมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาท่าทาง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นวรรณกรรมที่จะมาสร้างจินตนาการ ให้อารมณ์ ให้ความรู้ ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้คน ผ่านการบันทึกเป็นตัวหนังสือ หรือ วรรณกรรมลายลักษณ์ และ วรรณกรรมที่เกิดจากการบอกเล่า หรือ วรรณกรรมมุขปาฐะ นั่นเอง
วรรณกรรมไทยโบราณ นั้นจะมุ่งเน้นไปในด้านการจินตนาการ การสื่ออารมณ์โดยการใช้ภาษาที่สละสลวย แต่วรรณกรรมในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าอย่างที่เราเห็นกันอย่างแพร่หลาย
งานเขียนเกือบทุกประเภทจึงจัดว่าเป็นวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนทั่ว ๆ ไป เช่น เอกสาร หนังสือเรียน ที่ไม่ต้องใช้ภาษาศิลป์ในการเรียบเรียงให้สวยงาม หรืองานเขียนที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ ใช้ศิลปะในการเขียน สร้างอารมณ์และสื่อความรู้สึกผ่านทุกตัวอักษรจนทำให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจความหมายและสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อ อย่างเช่น นวนิยาย บทละคร เรื่องสั้น ทั้งหมดนี้ต่างถือเป็น วรรณกรรมไทย ด้วยกันทั้งสิ้น
-
วรรณกรรมและวรรณคดี เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จากความหมายของวรรณกรรมที่เป็นภาพรวมของผลงานเขียนเกือบทุกอย่าง จนอาจจะทำให้มีประโยคที่หลายคนเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างว่า วรรณคดีจัดเป็นวรรณกรรม แต่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดี ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่าวรรณคดีนั้นจัดเป็นส่วนนึงในวรรณกรรมโดยแท้จริง แต่วรรณกรรมไม่ได้มีเพียงแค่วรรณคดีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง ประวัติ นิทาน เรื่องเล่า บทเพลง และอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นแล้วสื่อออกมาผ่านภาษา
นั่นก็เป็นตัวบ่งบอกชี้ชัดให้เห็นแล้วว่าวรรณกรรมและวรรณคดีนั้นไม่เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดี มีความงดงามในการใช้ภาษา การเรียบเรียงและการสื่ออารมณ์ที่ดี ปรุงแต่งจนเกิดความไพเราะ ความสละสลวยของภาษา กลั่นกรองด้วยความประณีต ความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ได้รับการยอมรับจากทุกยุคทุกสมัย เกิดเป็นคุณค่าของการประพันธ์จะเรียกว่า วรรณคดี นั่นเอง
-
ชนิด วรรณกรรมไทย
วรรณกรรมจะแบ่งได้ 2 ชนิด ตามลักษณะภาษาที่ใช้ในงานเขียนนั้น นั่นคือ วรรณกรรมร้อยแก้ว และ วรรณกรรมร้อยกรอง
- วรรณกรรมร้อยแก้ว คือการเขียนความเรียงทั่วไป เช่น เรียงความ นิทาน ตำรา เอกสาร
- วรรณกรรมร้อยกรอง คืองานเขียนที่เน้นรูปแบบความสละสลวย ใช้ภาษาศิลป์ที่ประณีต ปรุงแต่งให้เกิดการสื่อความหมายและอารมณ์ผ่านตัวอักษร มีความคล้องจอง อาจจะใช้กลอน โคลง กาพย์ และอื่น ๆ ในการเล่าเรื่องและบันทึกเรื่องราว
โดยเราสามารถแยกวรรณกรรมได้ 2 ประเภท ประเภทแรกคือ วรรณกรรมสารคดี เป็นการเขียนที่อาจจะมาในรูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ เน้นเรื่องความรู้ ให้ประสบการณ์แก่ผู้อ่านโดยตรง เช่นบทความ หนังสือวิชาการ ประเภทที่สองคือ วรรณกรรมบันเทิงคดี หรือการเขียนที่เน้นความเพลิดเพลิน เรื่องราวน่าสนใจ มีตัวละครให้ติดตาม สื่อสารอารมณ์ ความคิดของตัวละครออกมาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น นวนิยาย บทเพลง นิทาน บทละคร และอื่น ๆ
-
ลักษณะของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน
เจาะลึกเรื่องราวของวรรณกรรมไทยกันต่อเลยกับลักษณะเด่นของวรรณกรรมไทยที่สังเกตง่าย ๆ การเขียนที่ไม่มีรูปแบบตายตัว ปรับปรุงและสามารถปรุงแต่งเพิ่มเติมได้อย่างไม่มีขีดจำกัดทำให้รูปแบบการเขียนนั้นต่างออกไป วรรณกรรมไทยในปัจจุบันนั้นจึงมีลักษณะเด่น 4 อย่างที่ดูออกได้ง่ายดายดังนี้
- สังเกตจากรูปแบบของวรรณกรรม เห็นได้ว่าวรรณกรรมนั้นครอบคลุมการเขียนที่หลากหลาย จึงทำให้รูปแบบนั้นมีหลากหลายเช่นกัน ได้แก่
- แบบร้อยกรองเน้นความไพเราะ แสดงความงดงามของภาษาผ่านศิลปะการแต่งเติมคำออกมาเป็นภาษาศิลป์อันสวยงามแต่สื่ออารมณ์ สะท้อนเรื่องราวได้อย่างชัดเจน
- แบบเรื่องสั้น รูปแบบการเขียนแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้อ่าน เขียนเรื่องราวนำเสนอแบบร้อยแก้วเล่าเรื่องสมมติสั้น ๆ แต่สมจริงในหลากหลายแนว
- แบบนวนิยาย เรื่องราวร้อยแก้วที่ยาวกว่า มีการกำหนดตัวละคร เหตุการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ เรียบเรียงเรื่องราวและนำเสนอออกมาแบบไม่มีขีดจำกัดความคิดและจินตนาการได้อย่างกว้างขวาง สื่อเรื่องราวได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวชีวิตครอบครัว การเมือง โรแมนติก ธรรมชาติ สัจนิยม และอีกมากมาย
- แบบบทละครพูด ที่เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 จากอิทธิพลของชาวตะวันตกที่เข้ามาอาศัยในสมัยก่อน โดยจะมีทั้งบทละครแปล และบทละครที่คนไทยแต่งขึ้นมาเองที่ใช้สื่อสารความคิดของผู้แต่งไปยังผู้อ่าน ไปจนถึงการแต่งเพื่อนำมาใช้แสดงจริง ๆ
- แบบร้อยแก้ว มุ่งเน้นข้อเท็จจริงและความคิดเห็น เช่น สารคดี บทบรรณาธิการ ชีวประวัติ เรียงความ เรื่องเล่าจากประสบการณ์เป็นต้น
- สังเกตจากแนวคิดหรือปรัชญาของเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันจะนำเสนอแนวคิดตามวัฒนธรรมตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการเขียนนวนิยาย บทละคร และเรื่องสั้น
- สังเกตจากเนื้อหา จะเน้นเรื่องราวของคนธรรมดาทั่วไป จำลองเหตุการณ์และรูปแบบสังคมปัจจุบัน ผู้อ่านสามารถจินตนาการตามและนึกภาพออกได้ง่าย เน้นเรื่องราวใกล้ตัวที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้และเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน สังคมเศรษฐกิจ และอื่น ๆ
- สังเกตกลวิธีในการแต่ง รูปแบบวรรณกรรมไทยปัจจุบันจะแตกต่างจาก วรรณกรรมไทยโบราณ เพราะได้รับอิทธิพลการเขียนมาจากตะวันตกเป็นส่วนมาก ดังนั้นกลวิธีในการแต่งจึงคล้ายคลึงกับการเขียนเรื่องราวของฝั่งตะวันตกที่ทำให้เรื่องราวน่าติดตามตลอดทั้งเรื่อง ทั้งการเปิดที่น่าสนใจ การเล่าเรื่องจากหลายมุมมองตัวละคร การซ่อนเรื่องราวให้ผู้อ่านได้ติดตาม การหักมุม การสร้างความประทับใจ ตราตรึง กินใจให้กับผู้อ่านได้รับรู้ถึงเรื่องราว อารมณ์ และเหตุการณ์ทั้งหมดของเนื้อเรื่องได้อย่างดี
-
ประโยชน์ วรรณกรรมไทย
แน่นอนว่าวรรณกรรมไทยนั้นมีคุณค่าและมีประโยชน์กับผู้อ่านเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การให้ความบันเทิงผ่อนคลายความตึงเครียด การใช้เป็นเครื่องมือในการสอนคุณธรรม จริยธรรม การใช้วรรณกรรมให้ผู้คนรู้จักการใช้ภาษาที่สละสลวย รู้จักเปรียบเทียบ ให้ข้อคิด
จนกลายมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของสังคมที่จะสะท้อนเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ไปจนถึงผู้คนในสมัยนั้น ๆ ถือได้ว่าวรรณกรรมไทยนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และคุณค่าไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ วรรณกรรมนี้ก็จะเป็นประโยชน์ให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างแน่นอน
-
การอนุรักษ์ วรรณกรรมไทย
การอนุรักษ์ วรรณกรรมไทย เริ่มการอนุรักษ์จากการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเรื่องราวและคุณค่าของวรรณกรรม จากนั้นส่งเสริมให้คนอื่นได้เห็นถึงคุณค่าเหล่านั้นและสร้างความเข้าใจ เผยแพร่เรื่องราวให้ผู้คนได้รู้จัก รณรงค์ให้กับทุกคนในสังคมได้เข้าถึงและเห็นความสำคัญ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิด แลกเปลี่ยนเรื่องราวและมุมมองของวรรณกรรมไทยแต่ละแบบ เผยแพร่ให้วรรณกรรมเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย เข้ากับทุกเพศทุกวัยทุกสภาพสังคม ฟื้นฟู พัฒนา และส่งเสริมให้ไปในทางที่ดีขึ้นและเข้ากับยุคสมัยได้มากขึ้น
ใน การอนุรักษ์ วรรณกรรมไทย นั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ใหญ่ ผู้เกี่ยวข้อง แต่ทุกคนสามารถทำได้ ทุกคนสามารถ อนุรักษ์ วรรณกรรมไทย ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทย และสามารถเผยแพร่วรรณกรรมไทยให้คนที่สนใจได้รู้จัก ได้เห็นถึงคุณค่ากันต่อไปในทุกยุคทุกสมัย เพียงเท่านี้ก็มั่นใจได้แล้วว่าวรรณกรรมไทยจะอยู่คู่กับสังคมของเราไปอีกยาวนาน
-
แนะนำ วรรณกรรมไทย ดัง ๆ ที่ไม่ว่าใครต้องเคยได้ยิน
วรรณกรรมไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้นมีหลากหลายมาก มีทั้งการตีพิมพ์เป็นบทเรียน การนำมาปรับแต่งให้เป็นบทละคร ภาพยนตร์เพื่อเผยแพร่เรื่องราวประวัติศาสตร์ การแสดงวิถีชีวิตในสมัยก่อนและอีกมากมายที่ทำให้คุณก็อาจจะเคยได้ยินชื่อวรรณกรรมไทยเหล่านี้มาผ่านหูกันบ้าง วรรณกรรมไทย ดัง ๆ ตัวอย่างเช่น
- รามเกียรติ์ จากสมัยรัตนโกสินทร์พระราชนิพนธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและคณะ ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนจากเรื่องรามายณะ เกี่ยวกับการต่อสู้กันของทศกัณฐ์กับฝ่ายพระรามเพื่อชิงตัวนางสีดา เนื้อเรื่องที่บรรยายได้อย่างเข้าถึงอารมณ์ มีความสนุกสนาน เร้าใจแถมแง่คิดให้ผู้อ่านได้คิดตามได้ตลอดทั้งเรื่อง
- สามก๊ก วรรณกรรมแปลที่โด่งดังในเรื่องของการวางแผน กลยุทธ์สุดแสนจะแยบยลและน่าสนใจจนได้จัดให้เป็น วรรณกรรมไทย แนะนำ ที่ควรค่ากับการอ่าน
- มหาเวสสันดรชาดก หนังสือวรรณกรรมไทย สำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้เล่าเรื่องราวชาติสุดท้ายในทศชาติชาดก ที่ได้สะท้อนค่านิยมโบราณต่าง ๆ นา ๆ ให้ผู้อ่านได้เข้าไปศึกษาเรื่องราวความเชื่อ แง่คิดต่าง ๆ และแฝงไปด้วยหลักศาสนาที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงแก่นของศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
- ละครแห่งชีวิต (Circus of Life) โดย หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ นักเขียน วรรณกรรมไทย มากฝีมือที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย นวนิยายเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นวรรณกรรมที่น่าสนใจและน่าอ่านมากที่สุด
- ซินเดอเรลล่าแห่งเมืองหุ่นยนต์ วรรณกรรมไทย สั้นๆ ที่ได้รางวัลเรื่องสั้นดีเด่น รางวัลยุวศิลปินไทยในปี พ.ศ.2556 โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท นักเขียน วรรณกรรมไทยมากฝีมือที่ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ผู้อ่านได้ติดตามกันเสมอ ๆ
นอกจากนี้ยังมี วรรณกรรมไทย สั้นๆ ที่เล่าเรื่องราวร่วมสมัยของสังคมไทยออกมาให้ผู้อ่านได้เข้าถึงง่าย สะท้อนความเชื่อ ความขัดแย้ง วัฒนธรรมและปัญหาต่าง ๆ ด้วยภาษาที่เรียบง่าย ให้ผู้อ่านได้อ่านง่ายดายมากยิ่งขึ้นเช่น กลับสู่โลกสมมุติ โดย รัชศักดิ์ จิรวัฒน์, กลางฝูงแพะหลังหัก โดย อุมมีสาลาม อุมาร, นักแสดงสด โดย สาคร พูลสุข และอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถหาอ่านได้ทั่วไป
ดำรงภาษาศิลป์ที่สวยงามให้อยู่คู่สังคมไทยต่อไปได้ เริ่มจากตัวคุณเอง
วรรณกรรมไทย นั้นเป็นงานเขียนที่จะอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปอีกนานแสนนาน แต่การจะอนุรักษ์ภาษาศิลป์ที่มีความสละสลวย คงไว้ซึ่งความงดงามของการประพันธ์บทร้อยกรองหรือบทละครความเป็นไทยนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในการอนุรักษ์และเผยแพร่คุณร่าความงดงามของวรรณกรรมเหล่านี้ให้ผู้อื่นได้เห็นและได้รับรู้ เพื่อให้วรรณกรรมไทยนั้นคงอยู่ต่อไป คุณก็ทำได้ เริ่มต้นการมองเห็นคุณค่างานวรรณกรรมได้จากตัวของคุณเองแล้วส่งต่อคุณค่านี้ให้ผู้อื่นกันเลย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎