คำนาม คือ พื้นฐานในการใช้คำ เพราะเป็นคำที่ใช้แทนทั้งคน สัตว์ สิ่งของทุกอย่างบนโลกนี้ บอกได้เลยว่าแทบทุกประโยคจะต้องมีส่วนประกอบของคำนามเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากเป็นคนที่คารมดี ๆ มีประโยคเจ๋ง ๆ ควรต้องเริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักกันประเภทของคำเหล่านี้ เพื่อนำไปช้ำได้อย่างถูกวิธีและถูกที่ถูกทางในประโยค แน่นอนว่าในการเรียน การสอบ การทำงานต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารเหล่านี้เป็นอย่างมาก ถ้าคุณรู้เรื่องนี้รับรองได้เลยว่าได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ แน่นอน
รวมเรื่องน่ารู้กับ คำนาม คือ อะไร คำนามทั้งในภาษาไทย ทั้งในภาษาอังกฤษเหมือนกันหรือไม่
คำนาม มีอะไรบ้าง อาจเป็นคำถามของเด็ก ๆ หรือคนที่กำลังอยากรู้ว่าคำนามของไทยเหมือนหรือแตกต่างจากคำถามของภาษาอังกฤษหรือไม่นั้น ลองไปดูความหมาย ประเภท ตัวอย่างและหน้าที่ที่เรานำมาฝากกันได้เลย พร้อมทั้งแจกเทคนิคการดูคำนามในภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ ให้คนที่กำลังจะสอบสามารถนำไปใช้ได้ หรือใครที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นประจำก็ควรรู้เทคนิคการดูคำนามนี้ไว้ เพื่อไวยากรณ์ที่ถูกต้องแบบชาวต่างชาติยังต้องยกนิ้วให้ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย
-
คำนาม คือ
คำนาม คือ ชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์ภาษาไทยชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับเรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาวะ อาการ เหตุการณ์ และลักษณะต่าง ๆ
-
คำนาม มีกี่ประเภท
คำนามจะแบ่งได้ 5 ประเภทหลัก คือ สามานยนามหรือคำนามไม่ชี้เฉพาะ, วิสามานยนามหรือคำนามเฉพาะ, สมุหนามหรือคำนามหมวดหมู่, ลักษณนามหรือคำนามบอกลักษณะจำนวน และอาการนามหรือคำนามแสดงอาการ ไปดูความแตกต่างของ คำนาม มีอะไรบ้าง ในแต่ละชนิดกัน
- สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ) เรียกอีกอย่างว่า คำนามทั่วไป หรือ คำนามสามัญ คือคำนามที่ใช้เป็นชื่อทั่วไปของสิ่งต่าง ๆ ทั้ง คน สัตว์ สิ่งของ แบบไม่มีการชี้เฉพาะเจาะจงของชิ้นใดชิ้นหนึ่ง เช่น คุณครู, นักเรียน, โรงเรียน, ตลาด, ต้นไม้, โต๊ะ, แมว, ปลา เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งอาจมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดที่แคบลงของสิ่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่าง คำนาม เช่น คุณครูผู้หญิง, โรงเรียนประถม, ตลาดต้นไม้, รถยนต์, คนต่างประเทศ เป็นต้น
- วิสามานยนาม (คำนาม ชี้เฉพาะ) คือคำนามที่ใช้แทนชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และสิ่งต่าง ๆ เพื่อชี้เฉพาะและเจาะจงว่าหมายถึงใคร หรือหมายถึงอะไร ตัวอย่าง คำนาม เช่น วิชาอังกฤษ, วันจันทร์, เชียงใหม่, รัฐสภา, โรงพยาบาลศิริราช, สีแดง เป็นต้น นอกจากนี้ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ต่างก็จัดอยู่ในกลุ่มของวิสามานยนามทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์, นางสาวสุดสวย ก็จัดเป็น คำนาม ชี้เฉพาะ
- สมุหนาม (คำนามรวมหมู่) คือคำนามที่ใช้รวบรวม จัดหมวดหมู่ เพื่อเรียกแทนกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งที่อยู่รวมกัน ตัวอย่าง คำนาม เช่น หมู่, คณะ, ฝูง, โขลง, กอง เป็นต้น
- ลักษณนาม (คำนามบอกลักษณะ) คือคำนามที่ใช้เรียกแทนลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของเพื่อแสดงปริมาณ ขนาด หรือลักษณะของสิ่งนั้น สามารถแบ่งลักษณนามได้หลากหลายประเภทตามการใช้คำในการจำแนก ดังนี้
-
- ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น แผ่น, เส้น, สาย, ผืน, แท่ง, ก้อน, บาน, ลูก, ใบ, คัน, ต้น, ลำ
- ลักษณนามบอกการจำแนก เช่น พวก, กอง, หมู่, ฝูง, โขลง, คณะ, ชั้น, ระดับ, เหล่า
- ลักษณนามบอกปริมาณ เช่น คู่, บาท, กิโลกรัม, ขีด, กล่อง, ลิตร, ช้อน, ถ้วย
- ลักษณนามบอกเวลา เช่น นาที, ชั่วโมง, วัน, เดือน, ปี, กะ, สมัย, ยุค
- ลักษณนามบอกวิธีทำ เช่น หยิบ, ห่อ, มัด, มวน, กำ, จับ, พับ, ม้วน
- ลักษณนามอื่น ๆ เช่น ตน, คน, ตัว, สิ่ง, เชือก, คัน, เล่ม, ชิ้น, ด้าม, เรื่อง
- อาการนาม (คำนามแสดงอาการ) คือคำที่ใช้แสดงกิริยา อาการ การเกิดอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะต่าง ๆ โดยมักจะมีคำว่า การ และ ความ นำหน้าอาการนามเหล่านี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคำที่มีคำว่า การและความ นำหน้าจะถูกจัดว่าเป็นอาการนาม บางคำอาจจัดอยู่ในประเภทของคำชนิดอื่นได้
-
- คำว่า การ ส่วนมากจะอยู่หน้าคำกริยา ตัวอย่าง คำนาม แสดงอาการ เช่น การเรียน, การเต้น, การนอน, การทำความสะอาด, การทำงาน, การวิ่ง, การออกกำลังกาย
- คำว่าความ ส่วนมากจะวางไว้หน้าคำวิเศษณ์ ตัวอย่าง คำนาม แสดงอาการ เช่น ความรวย, ความฉลาด, ความสูง, ความเร็ว, ความสวย และวางไว้หน้าคำกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจหรือคำกริยาบางคำ เช่น ความรัก, ความเจริญ, ความตาย, ความสุข
-
หน้าที่ของคำนาม
คำนามนั้นสามารถทำหน้าที่ในประโยคได้หลายหน้าที่ ขึ้นอยู่กับบริบทและการดูใจความสำคัญของประโยคแต่ละประโยค ซึ่งในบางครั้งคำคำเดียวกันอาจทำหน้าที่แตกต่างกัน หรือในบางครั้งอาจไม่ได้จัดเป็นคำนามแต่ถูกจัดให้อยู่ในคำชนิดอื่นแทน มาดูหน้าที่ของคำนามในประโยคต่าง ๆ กันเลย
- คำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค เช่น
-
- คุณครูกำลังสอนหนังสือ
- นักกีฬาฝึกซ้อมกีฬาอย่างหนัก
- เพื่อนกินข้าวอยู่ที่โรงอาหาร
คำว่า คุณครู, นักกีฬา, เพื่อน เป็นคำนามทั่วไปที่ทำหน้าที่เป็นประธานของแต่ละประโยค
- คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค เช่น
-
- แม่ไปซื้อผลไม้
- จระเข้กินเนื้อ
- แอปเปิลที่แม่ซื้อมาหวานมาก
คำว่า ผลไม้, เนื้อ, และแอปเปิล เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยคนี้
- คำนามที่ทำหน้าที่ขยายคำนามในประโยค เช่น
-
- พี่ชายคนกลางเดินทางไปต่างจังหวัด
- คุณครูคณิตศาสตร์คิดเลขเก่งมาก
- นักกีฬาโอลิมปิกกำลังฝึกซ้อม
คำว่า คนกลาง, คณิตศาสตร์และโอลิมปิก ทำหน้าที่เป็นคำนามที่ขายคำนามในประโยค
- คำนามที่ใช้แทนคำเรียกขาน เช่น คำลงท้าย คะ, ค่ะ, ครับ
-
- ขอเมนูหน่อยค่ะ
- สวัสดีครับ
- คุณครูว่างไหมคะ
คำว่า ค่ะ, ครับ, คะ ล้วนแล้วแต่เป็นคำนามที่ใช้เป็นคำลงท้ายคำเรียกขานของแต่ละประโยค
- คำนามที่ใช้บอกรายละเอียด ชี้เฉพาะถึงสถานที่ ทิศทาง เวลา เพื่อเพิ่มความชัดเจนในประโยค เช่น
-
- คุณครูสอนหนังสือที่โรงเรียนต่างจังหวัด
- แม่ไปซื้อผลไม้ตอนเย็น
- จระเข้กินเนื้อข้าง ๆ ประตู
คำว่า ต่างจังหวัด, ตอนเย็น, ข้าง ๆ ประตู ทำหน้าที่เป็นคำนามที่ใช้บอกรายละเอียดต่าง ๆ ในประโยค
นอกจากนี้ในการระบุว่าคำนามในประโยคนั้นจะเป็นคำนามประเภทไหนต้องดูจากบริบทของคำนามในประโยคนั้น ด้วย คำนามคำเดียวกันอาจมี หน้าที่ของคำนาม แตกต่างกันไปในประโยคเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น
-
- ฝูงนกพิราบ 2 ฝูงบินแยกกันไปคนละทาง
คำว่า ฝูงนกพิราบ เป็นสมุหนามที่ใช้เรียกกลุ่มนกพิราบ และ 2 ฝูง เป็นลักษณนามของนกพิราบ
-
- คุณต้นไปซื้อต้นมะลิที่ร้านต้นไม้งามมาปลูกที่บ้าน 3 ต้น
คำว่า ต้น จาก คุณต้น เป็นคำนามชี้เฉพาะทำหน้าที่เป็นประธาน, ต้น จาก ต้นมะลิเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม, ต้น จาก ต้นไม้งามเป็นคำนามชี้เฉพาะบอกชื่อร้านต้นไม้และ ต้น จาก 3 ต้น เป็นลักษณนามของต้นไม้
-
นิยามคำนามในภาษาอังกฤษ
คำนาม ภาษาอังกฤษ คือ NOUNS โดยมีหน้าที่และประเภทที่คล้ายกับคำนามในภาษาไทย โดยจะใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งต่าง ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งการแบ่งประเภทของคำนามในภาษาอังกฤษจะแบ่งได้ทั้งหมด 7 ประเภท ย่อย ๆ นั่นคือ
- COMMON NOUNS ก็คือคำนามทั่วไป ไม่เจาะจง ซึ่งจะจัดเป็น สามานยนามหรือคำนามไม่ชี้เฉพาะนั่นเอง โดยจะเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างไวยากรณ์ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ นั่นคือ
-
- COUNTABLE NOUNS หรือ คำนามนับได้ คือคำนามที่สามารถเป็นได้ทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น DOG, MAN, BOOK, BOTTLE, TABLE, CAR, PHONE, FAN
- UNCOUNTABLE NOUNS หรือ คำนามนับไม่ได้ คือคำนามที่จะอยู่ในรูปของพหูพจน์เท่านั้น เช่น furniture, LUGGAGE, SUGAR, RICE, WATER, GOLD
- PROPER NOUNS หรือคำนามชี้เฉพาะ เช่นชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อบอกระยะเวลา หรือชี้ที่ชี้เฉพาะ เช่น TOM, BANGKOK, THAILAND, CHRISTMAS, NEW YEAR, TOYOTA, JANUARY
- ABSTRACT NOUNS คือคำนามบอกลักษณะ สภาวะ อาการต่าง ๆ ที่ไม่สามารถสัมผัส มองเห็น ชิม ได้กลิ่น และไม่สามารถได้ยิน เช่น IMAGINATION, BEAUTY, WISDOM, DECISION, SPEECH, HAPPINESS, CHILDHOOD
- COLLECTIVE NOUNS คือคำนามที่เป็นหมวดหมู่ กลุ่ม ของคน สัตว์ สิ่งของ ที่เทียบได้กับสมุหนาม เช่น GROUP, SOCIETY, CLASS, AUDIENCE, TEAM, FAMILY, COMPANY
- MATERIAL NOUNS เป็นคำนามทั่วไปที่มีรูปร่างและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนแต่นับไม่ได้
- CONCRETE NOUNS เป็นคำนามที่มีรูปร่างสามารถสัมผัส มองเห็น ชิน ได้กลิ่น หรือได้ยิน เป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้
- MASS NOUNS คือคำนามที่ใช้แทนสิ่งของ
เทคนิคการดูว่า คำนาม มีอะไรบ้าง สามารถใช้เทคนิคการดูรากศัพท์ที่ใช้ลงท้ายคำ หรือที่เรียกว่า NOUN SUFFIX ซึ่งเป็นเพียงเทคนิคในการเดาศัพท์เท่านั้น เพราะในบางคำที่มี SUFFIX เดียวกันอาจทำหน้าที่เป็นชนิดคำอื่นของประโยคก็ได้ ตัวอย่าง คำนาม จาก SUFFIX เช่น
-
- ลงท้ายด้วย –DOM : FREEDOM, WISDOM, KINFDOM
- ลงท้ายด้วย –ANCE : DISTANCE, INSURANCE
- ลงท้ายด้วย –ER : TEACHER, KEEPER, POLICER, OFFICER, WORKER, DANCER, BUYER
- ลงท้ายด้วย –EE : EMPLOYEE, INTERVIEWEE, TRAINEE, REFUGEE,
- ลงท้ายด้วย –HOOD : CHILDHOOD, NEIGHBORHOOD
- ลงท้ายด้วย –MENT : ENTERTAINMENT, PAYMENT, MANAGEMENT, ENGAGEMENT, ADVERTISEMENT, DEVELOPMENT
- ลงท้ายด้วย –ION : DECISION, VISION, NUTRITION, CONGRATULATION, QUESTION, POPULATION, INFORMATION, DISCUSSION
- ลงท้ายด้วย –NESS : BUSINESS, HAPPINESS, SADNESS, FORGIVENESS, GOODNESS
- ลงท้ายด้วย –OR : DIRECTOR, DOCTOR, AUTHOR, SUPERVISOR
- ลงท้ายด้วย –SHIP : LEADERSHIP, FRIENDSHIP, MEMBERSHIP, SCHOLARSHIP, CITIZENSHIP
- ลงท้ายด้วย –TY : SOCIETY, PROPERTY
- ลงท้ายด้วย –ITY : ABILITY, RESPONSIBILITY, NATIONALITY, UTILITY, QUANTITY, QUALITY, SECURITY, SIMILARITY
- ลงท้ายด้วย –IST : PHYSIOLOGIST, PSYCHOLOGIST, TOURIST, FEMINIST
- ลงท้ายด้วย –RY : DELIVERY, LABORATORY, LAVATORY
- ลงท้ายด้วย –AGE : BAGGAGE, VILLAGAGE, POSTAGE, DAMAGE
- ลงท้ายด้วย –TH : DEPTH, GROWTH, STRENGTH
เด็กรู้ได้ ผู้ใหญ่รู้ดีกับชนิดของคำที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตของคุณง่ายยิ่งขึ้น
คำนาม คือ คำทั่วไปในชีวิตประจำวันที่บางครั้งเราอาจจะมองข้ามไป และอาจจะใช้แบบผิด ๆ ถูก ๆ ตามความเคยชินหรือตามค่านิยมที่เปลี่ยนไป ข้อมูลที่เรานมาฝากกันวันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่อยากนำมาแชร์กับทุกคนอีกครั้ง เพื่อการใช้ภาษาและคำที่ถูกต้อง ไปจนถึงจะช่วยให้การสื่อสารทั้งการพูด การเขียนของทุกคนนั้นดียิ่งขึ้น เด็ก ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ก็สามารถนำเทคนิคหรือความรู้เหล่านี้ไปใช้กับการเรียนได้อีกด้วย ส่วนผู้ใหญ่ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับการใช้งานของแต่ละคนได้ หวังว่าเรื่องราวของคำนามในวันนี้จะช่วยคุณได้บ้าง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม