คณะจิตวิทยา หรือ Psychology เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่จะสอนเกี่ยวกับความคิด จิตใจ พฤติกรรม และอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์ โดยจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะหาเหตุผลขอพฤติกรรม หรือความรู้สึกนึกคิดว่า จริงๆ แล้วความรู้สึกนั้นเกิดมาจากอะไร และสามารถแก้ไขหรือพัฒนาได้อย่างไรบ้างนั่นเอง ซึ่งคณะจิตวิทยานี้ก็ยังเป็นอีกหนึ่งคณะที่น้องๆ เรียนอยู่มัธยมนั้นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่รู้หรือไม่ว่าคณะจิตวิทยามีที่ไหนบ้าง มหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนบ้าง จบแล้วจะไปทำงานอะไร วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังกันครับ
คณะจิตวิทยามีที่ไหนบ้าง? รวมมหาลัยและหลักสูตรที่เปิดสอนในประเทศไทย
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา
- สาขาจิตวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)
2.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- จิตวิทยาคลินิก
- สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยาชุมชน
- สาขาจิตวิทยาคลินิก
- สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
- สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจิตวิทยา)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา
5.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาวิชาจิตวิทยา
6.มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา
7.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาวิชาจิตวิทยา
8.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา
9.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา
10.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)
สาขาที่เปิดสอน
- สาขาจิตวิทยา (จิตวิทยาคลินิก)
คณะจิตวิทยา สาขาไหนน่าเรียนบ้าง?
นอกจากจะเป็นมหาวิทยาลัยและสาขาเหล่านี้ที่เป็นคำตอบของคำถาม “คณะจิตวิทยามีที่ไหนบ้าง” แล้ว คณะจิตวิทยาก็ยังคล้ายกับคณะอื่นๆ ที่มีสาขาแยกย่อยลึกลงไปอีก ซึ่งก็อาจจะมีส่วนที่คล้ายและส่วนที่แตกต่างกันออกไปในสาขาต่างๆ และในวันนี้เราก็ได้รวบรวมสาขาจิตวิทยาที่ทุกคนสนใจกันมากมาฝากด้วย
1.สาขาจิตวิทยาทั่วไป
สาขาแรกของคณะจิตวิทยานั่นก็คือสาขาจิตวิทยาทั่วไปจะเป็นสาขาที่เรียนแบบกว้างๆ ไม่เจาะจงสาขาใดสาขานึงเป็นพิเศษ แต่จะเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ โดยเรียนไปก็เพื่อที่จะค้นหาที่มาที่ไปและแก้ไขหากพฤติกรรมนั้นผิดปกติ
2.สาขาจิตวิทยาการศึกษา
สาขาต่อมาก็คือสาขาจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งจะเน้นไปด้านของจิตวิทยาการเรียนการสอนเพื่อค้นหาแรงจูงใจในการศึกษา และเน้นการพัฒนาเด็กๆ พร้อมให้คำปรึกษาโดยใช้หลักของจิตวิทยา
3.สาขาจิตวิทยาคลินิก
สาขาที่สามคือสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยจะเป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับจิตบำบัด วินิจฉัยตรวจบุคลิกภาพ โดยใช้ความรู้ทางจิตวิทยามาช่วยวินิจฉัยและช่วยแก้ไขให้คำปรึกษา
4.สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
สำหรับสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะเป็นสาขาที่มุ่งเน้นไปในด้านของจิตวิทยาในที่ทำงานทั้งหมด ตั้งแต่ทัศนคติที่มีต่องาน แรงจูงใจในการทำงาน ความสัมพันธ์ของคนในองค์กร ไปจนถึงการฝึกความเป็นผู้นำ รวมไปถึงการหาหนทางเพื่อพัฒนาองค์กร
5.สาขาจิตวิทยาแนะแนว
สำหรับจิตวิทยาการแนะแนว จะเป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการแนะแนวและการให้คำปรึกษาในโรงเรียน เช่นเดียวกับสาขาจิตวิทยาการศึกษา แต่จะต่างกันตรงที่จิตวิทยาแนะแนวนั้นยังสามารถที่จะเลือกเรียนการแนะแนวในด้านอื่นๆ ได้อีก เช่นการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ หรือการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับครอบครัว
6.สาขาจิตวิทยาชุมชน
สำหรับจิตวิทยาชุมชนนั้นจะเป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัวและสังคม นักจิตวิทยาชุมชนนั้นก็ต้องใช้หลักทางจิตวิทยานั้นไปแก้ไข หรือนำไปปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น
7.สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ
ในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ นั้นจะเป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาการด้านจิตใจของคน ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ เพื่อค้นหาว่าเรื่องนั้นส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนนั้นแล้วหลังจากนั้นต้องหาทางแก้ไขหรือส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
คณะจิตวิทยา เรียนอะไรบ้าง?
และหลังจากที่เรารู้แล้วว่าคณะจิตวิทยามีที่ไหนบ้าง และมหาวิทยาลัยไหนที่เปิดสอน คราวนี้เรามาเจาะลึกกันอีกสักหน่อยดีกว่าว่าในคณะจิตวิทยานั้นจะเรียนกี่ปี แล้วแต่ละชั้นปีของคณะจิตวิทยา เรียนอะไรบ้าง แต่จะเป็นรายละเอียดคร่าวๆ เท่านั้น เพราะว่าแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีวิชาเรียนที่ไม่เหมือนกัน
คณะจิตวิทยาโดยทั่วไปแล้วจะเรียนทั้งหมด 4 ปี ซึ่งแต่ละปีจะเรียนหลักๆ ดังนี้
ปีที่ 1 สำหรับน้องๆ เฟรชชี่ในคณะจิตวิทยา ปีแรกจะเริ่มเรียนวิชาพื้นฐานก่อน พวกภาษาอังกฤษ และ วิชาที่เป็นจิตวิทยาพื้นฐาน
ปีที่ 2 จะได้เรียนวิชาของคณะจิตวิทยาหรือของสาขาที่เราเรียนมาได้มากขึ้น เช่น จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาคลินิก โดยวิชาที่จะได้เรียนก็แล้วแต่สาขาที่เราเป็นคนเลือก
ปีที่ 3 ในปีนี้น้องจะยิ่งได้เรียนลึกกว่าตอนที่อยู่ปีที่ 2 เข้าไปอีก และนอกจากนี้ก็ยังสามารถเลือกวิชาเรียนอื่นๆ ที่สนใจ อยากเน้นเป็นพิเศษได้ด้วย
ปีที่ 4 ในปีสุดท้ายมหาวิทยาลัยก็จะให้น้องนั้นได้ฝึกงาน หรือไม่บางมหาวิทยาลัยก็จะให้ฝึกตั้งแต่ตอนปี 3 แล้วก็ก่อนเรียบจบน้องยังจะต้องทำงานวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาในเรื่องที่น้องๆ สนใจก่อนด้วย
แล้วเรียนจบคณะนี้แล้ว ทำงานอะไรได้บ้าง?
แน่นอนว่าในการเรียนเราจะต้องได้ยินคำถามที่ว่าคณะจิตวิทยา จบมามีงานทำไหม หรือจบไปทำงานอะไร ก็ขอตอบไว้ตรงนี้เลยว่าสำหรับคนที่เรียบจบคณะจิตวิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยานั้น สามารถทำงานหรือประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลายมาก ยกตัวอย่างเช่น
1.นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology)
สำหรับนักจิตวิทยาคลินิกนั้นจะหน้าที่วินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากการทำแบบทดสอบเพื่อทดสอบว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติอย่างไร เพื่อให้คำปรึกษาและแนวทางการแก้ไข แต่จะไม่สามารถรักษาหรือจ่ายยาได้เอง ซึ่งผู้ที่สามารถจ่ายและรักษาผู้ป่วยจิตเวชได้นั้นจะต้องเป็นจิตแพทย์เท่านั้น
2.นักจิตวิทยาชุมชน
สำหรับนักจิตวิทยาชุมชนจะเป็นคนที่มีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอแนวทางการช่วยเหลือแก่ชุมชน โดยใช้วิธีทางด้านจิตวิทยาเข้ามาประยุกต์ เช่นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางจิต หรือ การส่งเสริมสุขภาพจิตให้แก่ชุมชน เพื่อให้สุขภาพจิตของคนในชุมชนนั้นออกมาอย่างเข้มแข็งนั่นเอง
3.นักจิตวิทยาด้านการศึกษา (Educational Psychology)
นักจิตวิทยาการศึกษาจะทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนและค้นหาวิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ โดยเอาเรื่องของจิตวิทยานั้นมาประยุกต์ใช้
4.ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
แน่นอนว่าในบริษัทจะมีตำแหน่งสำคัญอย่าง HR ซึ่งหลายบริษัทก็จะเลือกคนที่มาทำตำแหน่ง HR นั้นจะต้องเป็นคนที่จบมาจากคณะจิตวิทยา เพราะว่าคนที่จบคณะนี้เขาจะมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่จะรับมือกับความต้องการทางจิตใจของพนักงานในองค์กรรวมถึงหัวหน้า และเจ้านายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหาก HR สามารถทำในเรื่องส่วนนี้ได้ดีและมีประสิทธิภาพก็จะทำให้องค์กรนั้นมีบรรยากาศที่ดีตามไปด้วยนั่นเอง
5.อาจารย์หรือครูแนะแนว
สำหรับคนที่จบคณะจิตวิทยานั้นก็สามารถที่จะทำงานเป็นอาจารย์หรือครูห้องแนะแนวได้ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษากับเด็กในโรงเรียน ซึ่งเด็กเหล่านั้นอาจจะมีปัญหาแต่ไม่กล้าพูดกับใคร เราในฐานะอาจารย์หรือครูแนะแนวก็สามารถที่จะใช้จิตวิทยาช่วยให้เด็กนั้นผ่อนคลาย จนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้
และนี่ก็คือข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับคณะจิตวิทยาที่เราเอามาฝากกันในบทความนี้ เชื่อว่าน้องๆ ที่อยากเข้าคณะจิตวิทยานั้นควรมาอ่าน โดยในบทความนี้ก็จะได้รู้ว่าคณะจิตวิทยามีที่ไหนบ้าง และในแต่ละปีเรียนของคณะจิตวิทยา เรียนอะไรบ้าง จนไปถึงอาชีพที่สามารถทำได้ในตอนเรียนจบแล้ว ซึ่งน้องๆ ก็จะสามารถที่จะเอาข้อมูลตรงนี้ไปวางแผนต่อได้ ถ้าน้องต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อคณะนี้ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเบื้องต้นนั่นเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.admissionpremium.com/content/5781
- https://tutor-vip.com/faculty-of-psychology/
- https://www.smartmathpro.com/article/faculty-of-psychology/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.theoasiscare.com/post/blog13
- https://www.istrong.co/single-post/psychologist
- https://peacepleasestudio.com/blog/what-is-psychologist/