กลายเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด เพราะสิ่งที่หลายคนมองข้ามไปอย่างการใช้คะค่ะให้ถูกต้องทำให้เกิดประเด็นถกเถียง และยังได้กลายเป็นตัวชี้วัดความสามารถตลอดจนความเป็นมืออาชีพในการใช้ภาษาของคนในสังคมกันขึ้นมา เนื่องจากมีคนจำนวนไม่น้อยซึ่งยังไม่สามารถใช้งานสองคำนี้ได้ถูกบริบท เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดทางการสื่อสารที่อาจจะเกิดขึ้น ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้หลักการใช้คะค่ะ พร้อมกับหลักการผันวรรณยุกต์ในภาษาไทยแบบเข้าใจง่ายพร้อมกันได้เลย
หลักการใช้คะค่ะ ใช้อย่างไรถึงจะถูกต้อง
การใช้คะค่ะอาจจะดูเป็นเรื่องง่ายที่หลายคนก็คิดไม่ถึงว่าทำไมถึงจะต้องมีคนที่สับสนกับเรื่องนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีคนจำนวนไม่น้อยจริง ๆ ที่อาจจะใช้ภาษาพูดได้ถูกต้องไม่มีปัญหา แต่เมื่อต้องทำการเขียนรายงาน เขียนเอกสารการประชุม หรือใช้พิมพ์ข้อความเพื่อพูดคุยสื่อสารระหว่างกันกลับไม่สามารถแยกระหว่างคำว่าคะและค่ะได้ถูกต้องมากนัก โดยหลักการจำแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกใช้สองคำนี้ในประโยคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ก็สามารถจำเอาไว้ว่าคำว่าคะซึ่งเป็นการออกเสียงตามวรรณยุกต์เสียงสูงจะใช้เมื่อต้องการสร้างประโยคคำถาม ในขณะที่คำว่าค่ะซึ่งเป็นการออกเสียงตามวรรณยุกต์เสียงต่ำจะใช้เมื่อต้องการสร้างประโยคบอกเล่าหรือตอบรับนั่นเอง
✅ สีเขียว = ใช้ถูกต้อง
❌ สีแดง = ใช้ไม่ถูกต้อง
❌ อะไรค่ะ หรือ ✅ อะไรคะ
❌ ขอบคุณคะ หรือ ✅ ขอบคุณค่ะ
✅ ใช่ไหมคะ หรือ ❌ ใช่ไหมค่ะ
❌ ได้น่ะค่ะ หรือ ✅ ได้นะคะ
✅ หน่อยค่ะ หรือ ❌ หน่อยคะ
✅ ฝันดีค่ะ หรือ ❌ ฝันดีคะ
✅ ครูคะ หรือ ❌ ครูค่ะ
ในกรณีของการใช้ทั้งสองคำนี้จะมีหลักการจำแบบง่าย ๆ คือคำว่าครูคะใช้เมื่อต้องการสร้างประโยคคำถาม เช่น ครูคะวันนี้มีการบ้านไหมคะ ? ในขณะที่คำว่าครูค่ะใช้เป็นประโยคบอกเล่าหรือตอบคำถาม เช่นเมื่อมีคนถามว่าเธอถือของใครมา เราก็ทำการตอบไปว่าของครูค่ะ เป็นต้น
✅ ได้ค่ะ หรือ ❌ ได้คะ
คำว่าได้ค่ะเป็นประโยคสำหรับใช้เพื่อตอบรับ เช่น เมื่อมีคนถามว่าสามารถทำสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ได้ไหมก็ให้ตอบไปว่าได้ค่ะ ในขณะที่คำว่าได้คะจะไม่มีบริบทสำหรับนำมาใช้งาน เพราะฉะนั้นใครที่กำลังสับสนเกี่ยวกับการใช้คะค่ะก็จะต้องระวังสองคำนี้ให้ดี
✅ พี่คะ หรือ ❌ พี่ค่ะ
ใครที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้คะค่ะและสับสนการใช้งานของสองคำนี้ ก็ให้ลองอ่านออกเสียงและสังเกตความคุ้นชิ้นของการใช้งานในชีวิตประจำวันกันดูก่อน โดยคำว่าพี่คะจะใช้ในกรณีที่ต้องการสร้างประโยคคำถาม เช่นพี่คะห้องน้ำไปทางไหน ? ในขณะที่คำว่าพี่ค่ะใช้ในกรณที่ต้องการสร้างประโยคบอกเล่าหรือตอบรับ เช่น เมื่อมีคนถามว่าของชิ้นนี้เป็นของใคร ก็ให้ตอบไปว่าของพี่ค่ะ เป็นต้น
❌ สวัสดีคะ หรือ ✅ สวัสดีค่ะ
ในกรณีของการใช้คะค่ะของคำทั้งสองคำนี้ จะเป็นคำที่หลายคนอาจจะพบเห็นได้บ่อยมากที่สุดว่ามีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยคำว่าสวัสดีค่ะเป็นคำถูกต้องที่เราใช้เพื่อเป็นคำทักทาย ส่วนคำว่าสวัสดีคะเป็นคำที่ผิด และไม่ควรนำไปใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้สำหรับสื่อสารกับผู้ใหญ่ หัวหน้างาน หรือบุคคลที่จะต้องเน้นความเป็นทางการ
การแยกพยัญชนะตามหมวดหมู่อักษรไทย
เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการออกเสียง เพราะฉะนั้นในภาษาไทยเองจึงได้มีการแบ่งแยกหมวดหมู่ของตัวอักษรเอาไว้ ตามลักษณะของการออกเสียง หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘บัญญัติไตรยางค์’ (การแยกพยัญชนะด้วยอักษรสามหมู่) เพื่อความง่ายในการศึกษาโครงสร้างของภาษา ผสมสระกับพยัญชนะ ตลอดจนผ้องกันการสับสนในเรื่องของการออกเสียงเหมือนกับการใช้คะค่ะนั่นเอง
พยัญชนะอักษรต่ำ : ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
พยัญชนะอักษรกลาง : ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
พยัญชนะอักษรสูง : ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
ผันวรรณยุกต์ไทยอย่างไร ไม่ให้สับสน
ภาษาไทยเรียกได้ว่าเป็นภาษาที่มีการออกเสียงคล้ายกับท่วงทำนองของเพลง เพราะมีเสียงครบทั้งสูง กลาง และต่ำ ทั้งยังมีการออกเสียงของพยัญชนะที่หลากหลายกว่าหลาย ๆ ภาษาในโลกนี้ ตัวอย่างเช่นในภาษาเกาหลีจะไม่สามารถออกเสียง F หรือ ฟ ฟัน ของไทยเราได้ หรืออย่างหลายประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษก็จะไม่สามารถออกเสียง ป ปลา ได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นความซับซ้อนของภาษาไทยจึงมีอยู่หลากหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการผันวรรณยุกต์ที่นำมาสู่ความสับสนในเรื่องของการใช้คะค่ะที่เราเห็นกันได้บ่อยในปัจจุบันนี้ด้วย โดยก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของหลักการผันวรรณยุกต์ เรามาทำความเข้าใจกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันก่อน ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
- รูปวรรณยุกต์ คือ เครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ในภาษาไทยที่ถูกใช้เพื่อกำหนดเสียงของวรรณยุกต์ มีทั้งหมด 4 รูป ได้แก่ เอก (แทนด้วยสัญลักษณ์ ่ ) โท (แทนด้วยสัญลักษณ์ ้ ) ตรี (แทนด้วยสัญลักษณ์ ๊ ) จัตวา (แทนด้วยสัญลักษณ์ ๋ )
- เสียงวรรณยุกต์ คือ ช่องเสียงที่ทำการเปล่งออกมาตามสัญลักษณ์วรณยุกต์ที่กำกับอยู่ ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโทร เสียงตรี เสียงจัตวา
และจากหลักการตลอดจนองค์ประกอบในการผันวรรณยุกต์นี่เอง ที่จะช่วยให้เราทุกคนสมารถเข้าใจหลักการใช้คะค่ะ ตลอดจนคำอื่น ๆ ในภาษาไทยที่ยังมีการออกเสียงผิดกันอยู่ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยการผันวรรณยุกต์นั้นนอกจากจะต้องมีการอาศัยการสังเกตรูปของวรรณยุกต์ในการออกเสียงแล้ว ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่ารูปของวรรณยุกต์นั้นถูกนำไปใช้กับพยัญชนะอักษรต่ำ อักษรกลาง หรืออักษรสูง เนื่องจากอักษรไทยในแต่ละหมวดหมู่ก็จะมีหลักในการออกเสียงต่างกันถึงแม้ว่าจะใช้รูปวรรณยุกต์เดียวกันก็ตาม ดังนี้
- พยัญชนะอักษรต่ำ
การผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะอักษรต่ำอันได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห จะเป็นการออกเสียงที่ไม่ได้ครบทั้ง 5 เสียง โดยแบ่งออกเป็นหลายกรณี เช่น อักษรต่ำคำตาย (คำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น) จะผันวรรณยุกต์ได้เพียง 3 เสียงคือรูปสามัญเสียงตรี, รูปเอกเสียงโท, รูปจัตวาเสียงจัตวา, ในขณะที่อักษรต่ำคำเป็น (คำที่ผสมด้วยสระเสียงยาว) จะผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียงคือรูปสามัญเสียงสามัญ, รูปเอกเสียงโท, รูปโทเสียงตรีนั่นเอง
- พยัญชนะอักษรกลาง
การผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะอักษรกลางอันได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ จะเป็นรูปแบบการผันวรรณยุกต์ที่เกือบจะครบทุกเสียง โดยอักษรกลางในลักษณะคำเป็นจะผันได้ครบทั้ง 5 เสียง ตามรูปวรรณยุกต์ที่ปรากฏ ในขณะที่อักษรกลางในลักษณะคำตายจะสามารถผันได้ทั้งหมด 4 เสียง ซึ่งจะมีการผันเสียงที่ตรงตามรูปวรรณยุกต์ยกเว้นรูปสามัญที่จะผันเป็นเสียงเอก
- พยัญชนะอักษรสูง
การผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะอักษรสูงอันได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ จะมีรูปแบบการผันวรรณยุกต์อยู่ 2 รูปแบบ ก็คือการผันวรรณยุกต์สำหรับอักษรสูงคำเป็นซึ่งจะผันได้เพียง 3 เสียงคือรูปสามัญเสียงจัตวา รูปเอกเสียงเอก รูปโทเสียงโท ในขณะที่การผันวรรณยุกต์สำหรับอักษรสูงคำตายจะผันได้เพียง 2 เสียงคือรูปสามัญเสียงเอกและรูปโทเสียงโทเท่านั้น โดยการใช้คะค่ะก็จะเป็นการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบของรูปสามัญเสียงจัตวากับรูปเอกเสียงเอกนั่นเอง
และนี่ก็คือหลักการใช้คะค่ะให้ถูกต้อง พร้อมกับสาระความรู้เกี่ยวกับการผันเสียงวรรณยุกต์ที่เราได้นำเอามาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกัน ซึ่งเราหวังว่ามันจะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับใครที่อาจจะยังมีความสับสนเรื่องของการใช้งานทั้งสองคำในประโยคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ถูกต้อง นอกจากมันจะทำสิ่งที่เราต้องการสื่อออกไปน่าสนใจและมีความถูกต้องแล้ว มันก็ยังสามารถแสดงถึงความใส่ใจตลอดจนความเป็นมืออาชีพได้อีกด้วย