โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ประเภทบทร้อยกรองในภาษาไทยที่จะทำให้คุณสนุกสนานไปกับโลกวรรณคดี เจ้าบทเจ้ากลอน เพลิดเพลินไปกับเนื้อหาเรื่องราวที่จะสนุกมากยิ่งขึ้นถ้าคุณเข้าใจร้อยกรองเหล่านี้ กาพย์ยานี 11 ก็เป็น 1 ในบทร้อยกรองที่กวีนิยมใช้ประพันธ์เรื่องราวให้ลึกซึ้ง ไพเราะ เชื่อว่าคุณก็คงเคยได้ยินบทร้อยกรองเหล่านี้ผ่านหูผ่านตามาแน่นอน วันนี้เราจะพาคุณไปสัมผัสประสบการณ์ เรื่องราว ความรู้เกี่ยวกับกาพย์ยานี 11 กันอีกครั้ง และถ้าใครยังไม่เคยรู้จักสิ่งนี้ก็อย่ารอช้า เปิดใจให้กว้างแล้วไปท่องโลกของกาพย์กันเลย
ภาษาไทยจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ถ้าคุณได้ลองทำความรู้จักกับ กาพย์ยานี 11
อย่างที่คุณรู้ว่าในเรื่องราววรรณกรรมหรือวรรณคดีไทยนั้นจะมีบทร้อยกรองแทรกอยู่ ใครที่กำลังอยากศึกษาเรียนรู้เรื่องราว ความเป็นมาของบทร้อยกรองง่าย ๆ ว่าเริ่มมาจากไหน มีที่มาอย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักเรื่องราวของ กาพย์ยานี 11 กันเลย เราได้รวบรวมข้อควรรู้เกี่ยวกับ กาพย์ยานี 11 เอาไว้ให้คุณตั้งแต่ความหมาย ที่มาและพัฒนาการในแต่ละยุคสมัย ลักษณะข้อบังคับ การอ่านที่ถูกวิธี การแต่งบทร้อยกรอง การถอดความไปจนถึงตัวอย่างกาพย์ที่เป็นที่นิยมในบทเรียนของไทยมาให้ ถ้าคุณพร้อมแล้วก็ไปลุยกัน
-
กาพย์ยานี 11 คือ อะไร
เริ่มจากกาพย์ คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น หนึ่งในประเภทร้อยกรองอย่าง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โดยกาพย์จะมีการกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายฉันท์ แต่จะไม่นิยมกำหนดครุและลหุเหมือนฉันท์ กาพย์จะมีหลากหลายชนิด โดยกาพย์ที่กวีนิยมแต่งกันจะมีตัวอย่างเช่น กาพย์ยานี, กาพย์ฉบัง, กาพย์สุรางคนางค์, กาพย์ห่อโคลง และ กาพย์ขับไม้ห่อโคลง กาพย์ทั้ง 5 ชนิดนี้เราจะเห็นบ่อยตามวรรณคดี ตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ เพราะเป็นกาพย์ที่แต่งง่ายแต่มีความไพเราะเทียบเท่าร้อยกลองอื่น ๆ
และแน่นอนว่า กาพย์ยานี 11 คือ เป็นคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีทั้งการแต่งโดยใช้กาพย์ยานี 11 เพียงอย่างเดียว ไปจนถึงการแต่งกาพย์ยานีสลับกับคำประพันธ์อื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสลับกาพย์ยานีกับโคลง กาพย์ยานีกับฉันท์ หรือกาพย์ยานีกับกลอน ก็มีครบหมดทุกอย่างให้เราได้เรียนรู้ตามหนังสือและตำราทั่วไป และที่ได้ชื่อว่าเป็น กาพย์ยานี 11 นั้นมาจาก โครงสร้างฉันทลักษณ์ เฉพาะ จากจำนวนคำ 11 พยางค์ในแต่ละบาท ซึ่งหนึ่งบทจะมีสองบาท จึงทำให้คนนิยมเรียกกันโดนทั่วไปว่าเป็นกาพย์ยานี 11 จาก 11 พยางค์นั่นเอง
-
ประวัติ บทกลอน กาพย์ยานี 11
กาพย์ มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย ในภาษาบาลีและสันสกฤต แต่ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากต่างประเทศหรือเป็นรูปแบบเดิมของไทย เพียงแต่ได้เชื่อกันว่ากาพย์ทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจากตำรากาพย์สารวิลาสินีและกาพย์คันถะ ที่ถือว่าเป็นตำรากาพย์บาลีที่เก่าแก่ที่สุดในตอนนี้ และกาพย์ยานีนั้นอาจจะมีต้นกำเนิดจากคาถาภาษาบาลีในอินทรวิเชียรฉันท์ ดังที่ยกตัวอย่างไว้ว่า “ยานีธภูตา นิสมาคตานิ ภุมมานิวายา นิวอันตลิกเข” และถึงแม้ว่าจะไม่ทราบที่มาต้นกำเนิดที่แท้จริงอย่างแน่ชัดได้ แต่กาพย์ยานีก็แพร่หลายและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
-
โครงสร้างฉันทลักษณ์
อธิบาย โครงสร้างฉันทลักษณ์ ของกาพย์ยานี 11 แบบง่าย ๆ เริ่มจาก กาพย์ยานี 11 ใน 1 บทจะมี 2 บาท บาทละ 2 วรรค รวมแล้วใน 1 บทจะมี 4 วรรค แบ่งเป็นวรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ รวมเป็น 11 คำพอดีใน 1 บาท ส่วนสัมผัส ข้อบังคับ กาพย์ยานี 11 จะมีสัมผัสเพียงแค่ 2 คู่ในแต่ละบท นั่นคือสัมผัสในวรรค 1 และ 2 กับสัมผัสในววรค 2 และ 3 นอกจากนี้อาจจะมีการเชื่อมสัมผัสระหว่างบทด้วยก็ได้เพื่อเพิ่มความไพเราะ ลื่นไหลของร้อยกรองและจะคงรูปแบบสัมผัสแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แบบไม่จำกัด
แผนผัง กาพย์ยานี 11 พร้อม คำ อธิบาย แบบง่าย ๆ ทั้งเรื่องโครงสร้างและการส่งสัมผัส ก็คือ
- 1 บท มี 2 บาท หรือ 2 บรรทัด ใน 1 บาท มี 2 วรรค ดังนั้นใน 1 บทจึงมีทั้งหมด 4วรรค
- ใน 1 บาทจะมีคำรวม 11 คำ แบ่งเป็นวรรคหน้า 5 คำ และวรรคหลัง 6 คำ
- คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 แต่สามารถอนุโลมให้สัมผัสกับคำที่ 1 หรือ 2 ในวรรคนั้นแทนก็ได้
- คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
- คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทนี้จะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป และสามารถใช้สัมผัสนอกนี้กับบทถัดไปเรื่อย ๆ ได้เลย
-
พัฒนาการกาพย์ยานี 11 ในแต่ละยุค
กาพย์ยานีในช่วงยุคแรกนั้นจะมีบังคับสัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบทเท่านั้น ไม่ได้บังให้มีสัมผัสระหว่างวรรค แต่ต่อมาในสมัยกลางอยุธยาได้มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคหน้ากับวรรคหลัง ขึ้นมา และก็ได้มีการเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 หรือ 3 ของวรรคหน้าให้สัมผัสกับคำที่ 3หรือ 4 ของวรรคหลังโดยเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้ที่ชำนาญเรื่องการแต่งกาพย์ในสมัยนั้น ทำให้จังหวะการอ่านมีทำนองที่ไพเราะมากยิ่งขึ้น ได้สืบทอดรูปแบบนี้กันมายาวนาน
จนกระทั่งในสมัยของสุนทรภู่ กวีที่เป็นตำนานอีกคนของกรุงศรีอยุธยา ที่ได้เพิ่มสัมผัสระหว่าวรรคที่ 3 และ 4 รวมถึงได้เน้นเรื่องน้ำหนักคำและน้ำหนักเสียงของแต่ละบท ต่อมาในช่วงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ใช้สัมผัสอักษาแทนสัมผัสสระ ซึ่งทำให้กลายเป็นกาพย์ในยุคใหม่ และได้มีกาพย์ที่เป็นที่จดจำจาก นายผี หรือ อัศนี พลจันทร เจ้าของกาพย์ที่ทิ้งสัมผัสในเน้นการใช้สัมผัสอักษา เน้นคำโดด จนทำให้กาพย์ของนายผีมีทำนองที่สละสลวยคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์เลยก็ว่าได้
มาดูตัวอย่าง กาพย์ยานี 11 จากบทพากย์รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้มีการใช้รูปแบบเน้นสัมผัสอักษรแทนจนเกิดเป็นการประพันธ์ในแบบใหม่ที่ไพเราะน่าฟังมากยิ่งขึ้น
ดาวเดือนก็เลื่อนลับ แสงทองระยับบพโยมหน
จวบจวนพระสุริยน จะเยี่ยมยอดยุคันธร
สมเด็จพระหริวงศ์ ภุชพงศ์ทิพากร
เสด็จลงสรงสาคร กับพระลักษณ์อนุช
จากบทกาพย์ยานี 11 ข้างบนจะเห็นสัมผัสคำว่า ลับ-ยับ, วงศ์-พงศ์ เป็นการสัมผัสคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 กับคำที่ 3 ของวรรคถัดไป และจะเห็นสัมผัสคำว่า หน-ยน, กร-คร คำสุดท้ายในวรรคสองที่ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่สาม และสัมผัสระหว่างบท นั่นคือ ธร-กร คำสุดท้ายในวรรคสุดท้ายของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่คำสุดท้ายของวรรคสองในบทถัดมานั่นเอง ซึ่งถูกต้องตรงกับหลักฉันทลักษณ์ทุกอย่าง และมีการเล่นคำที่ทำให้กาพย์นี้กลายเป็นกาพย์ยานีบทหนึ่งที่โด่งดังมากเลยก็ว่าได้
-
การอ่าน กาพย์ยานี 11
ใน การอ่าน กาพย์ยานี 11 นั้นจะสามารถอ่านได้ 2 แบบคือการอ่านแบบร้อยแก้ว และ การอ่านทำนองเสนาะ
- การอ่านแบบร้อยแก้ว คือ การอ่านแบบธรรมดาทั่วไป เพียงแต่จะมีการเว้นวรรคและเน้นจังหวะ การอ่าน กาพย์ยานี 11 โดย การ แบ่ง วรรค ตอน กาพย์ยานี 11 จะแบ่งจังหวะเป็นวรรคหน้า 5 คํา ให้แบ่งอ่านเป็น 2/3 วรรคหลัง 6 คํา ให้แบ่งอ่านเป็น 3/3
- การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านให้มีทำนอง สำเนียง เสียงสูงต่ำ มีการออกเสียงหนักเบา ยาวสั้นรวมไปถึงการเอื้อนคำ เน้นสัมผัสชัดเจน แสดงอารมณ์ตามเนื้อหาของคำประพันธ์
คำแนะนำในการอ่านทำนองเสนาะ ควรเริ่มจากการศึกษาศัพท์ยาก หาคำอ่านและอ่านออกเสียงให้ถูกวิธี อ่านให้ชัดเจนโดยเฉพาะอักษร ร ล ฤ ฤา คำควบกล้ำต่าง ๆ จากนั้นควรศึกษาเทคนิคการอ่าน การเน้นเสียงยาว การออกเสียงหนักเบาในแต่ละคำ การเอื้อนเสียงและการรวบเสียง ไปจนถึงการทอดจังหวะช้าเร็ว โดยการอ่านที่ดีนั้นจะต้องออกเสียงชัดเจน ถูกต้องตามอักขระ เว้นวรรคให้ถูกต้อง น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง และสื่อได้ถึงเนื้อหาของตอนนั้น ๆ ออกมาได้อย่างกินใจ
ตัวอย่างการแบ่งวรรค แบ่งจังหวะคำในการอ่านกาพย์ยานี 11 แบ่งได้ดังนี้
กาพย์ยา / นีลํานํา // สิบเอ็ดคํา / จําอย่าคลาย //
วรรคหน้า / ห้าคําหมาย // วรรคหลังหก / ยกแสดง //
ครุ / ลหุนั้น // ไม่สําคัญ / อย่าระแวง //
สัมผัส / ต้องจัดแจง // ให้ถูกต้อง /ตามวิธี //
-
ตัวอย่าง กาพย์ยานี 11 ง่าย ๆ
กาพย์ยานี 11 ได้มีการตีพิมพ์ให้เป็นบทเรียนของเด็กนักเรียนไทยทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การอ่านของไทย โดยจะได้ ตัวอย่าง กาพย์ยานี 11 ง่าย ๆ อย่างเรื่อง วิชาเหมือนสินค้า ที่แต่งขึ้นโดย ฟร็องซัว ตูเวอเนท์ (Fronçois Touvenet) หรือที่รู้จักในนาม ฟ.ฮีแลร์ ผู้แต่งชุดหนังสือดรุณศึกษา ตำราภาษาไทยมาให้กับเด็ก ๆ ได้ฝึกการอ่านออกเสียงร้อยแก้วรวมไปถึงการอ่านทำนองเสนาะ และการถอดความ เรียนรู้ความหมายที่ซ่อนอยู่ในบทร้อยกรองนี้
สามารถฝึกอ่านได้ตามตัวอย่างที่เรานำมาให้พร้อมกับจังหวะเว้นวรรคที่เราได้เว้นวรรคมาให้แล้วตามข้างล่างนี้เลย
วิชา/เหมือนสินค้า อันมีค่า/อยู่เมืองไกล
ต้องยาก/ลำบากไป จึงจะได้/สินค้ามา
จงตั้ง/เอากายเจ้า เป็นสำเภา/อันโสภา
ความเพียร/เป็นโยธา แขนซ้ายขวา/เป็นเสาใบ
นิ้วเป็น/สายระยาง สองเท้าต่าง/สมอใหญ่
ปากเป็น/นายงานไป อัชฌาสัย/เป็นเสบียง
สติ/เป็นหางเสือ ถือท้ายเรือ/ไว้ให้เที่ยง
ถือไว้/อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยง/ข้ามคงคา
ปัญญา/เป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถว/แนวหินผา
เจ้าจง/เอาหูตา เป็นล้าต้า/ฟังดูลม
ขี้เกียจ/คือปลาร้าย จะทำลาย/ให้เรือจม
เอาใจ/เป็นปืนคม ยิงระดม/ให้จมไป
จึงจะได้/สินค้ามา คือวิชา/อันพิสมัย
จงหมั่น/มั่นหมายใจ อย่าได้คร้าน/การวิชา
เป็นอย่างไรกันบ้างกับการฝึกอ่านตัวอย่างกาพย์ยานี 11 ในบทที่เราได้เลือกมาให้ คงจะทำให้เข้าใจจังหวะการอ่านได้มากขึ้นอย่างแน่นอน และนอกจากนี้จะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้คำไทยที่ยาก ซับซ้อน ก็สามารถแต่งให้เป็นกาพย์ที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ในบทเรียนของเด็ก ๆ จึงมักจะสอนให้ฝึกหัด แต่งกลอน กาพย์ยานี 11 แนะ นำ ตัว เอง เริ่มต้นการแต่งด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัวที่สามารถนำมาแต่งเป็นเรื่องราวได้ทั้ง ครอบครัว วันสำคัญ สถานที่ท่องเที่ยว อารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ และถ้าใครสนใจก็สามารถลองฝึกแต่งในเรื่องอื่น ๆ ที่สนใจได้ โดยอิงตามข้อบังคับและ โครงสร้างฉันทลักษณ์ ตามหลักของกาพย์ยานี 11 เหล่านี้ได้เลย
ความเป็นไทยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทยก็เรียนรู้ได้ กาพย์ง่าย ๆ ที่จะพาคุณซึมซับภาษาไทย
กาพย์ยานี 11 ที่เราได้นำข้อมูลดี ๆ มาบอกต่อกันในวันนี้ จะทำให้คุณได้เห็นถึงมุมมองอีกมุมของภาษาไทยที่เห็นได้เลยว่าไม่ได้มีเพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่จะเก่งในเรื่องของภาษาไทยได้ แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนชาติไหน อาศัยอยู่ที่ใด อายุเท่าไหร่ หรือเป็นใครก็สามารถเรียนรู้และอนุรักษ์บทประพันธ์ที่สวยงามเหล่านี้ไว้ได้ ถ้าใจคุณรักและอยากได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ล่ะก็ ลองเริ่มจาก แต่งกลอน กาพย์ยานี 11 แนะ นำ ตัว เอง หรือสิ่งรอบตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เข้าใจง่าย สื่อสารออกมาง่าย ไม่ซับซ้อน แล้วไปโชว์ทักษะภาษาในตัวคุณออกมาให้ทุกคนเห็นกัน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎