การนับ วันภาษาจีน ในหนึ่งอาทิตย์ หรือ 1 สัปดาห์ มี 7วันภาษาจีนแม้มองผิวเผินแล้วจะดูแสนธรรมดา แต่หากสังเกตเพื่อนๆก็จะพบว่าวันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะตั้งตามชื่อของดวงดาวที่อยู่รายล้อมโลก แต่ในวันภาษาจีนกลับมีความหมายเป็นตัวเลข ไม่เหมือนกับไทยและอังกฤษ หากใครอยากรู้ที่มาที่ไปของวันภาษาจีน การนับวันในหนึ่งอาทิตย์ที่ดันนับเป็นตัวเลขไม่เหมือนใครเขาก็สามารถไปไขความลับ กับเรื่องราวความเป็นมาวันภาษาจีนที่แสนจะไม่ธรรมดากันได้เลย
วันภาษาจีน ปัจจุบันในหนึ่งสัปดาห์ นับยังไงกันนะ ?
การนับ วันภาษาจีนในหนึ่งสัปดาห์ ค่อนข้างจะเรียบง่ายเพราะจะนับเป็นตัวเลข 1-6 และวันต้นสัปดาห์จะมีชื่อเรียกเฉพาะแค่วันเดียวเท่านั้น โดยจะนับ และเขียนวันภาษาจีนกัน ดังนี้
วันจันทร์ 星期一 (xīng qī yī)
วันอังคาร 星期二 (xīng qī èr)
วันพุธ 星期三 (xīng qī sān)
วันพฤหัสบดี 星期四 (xīng qī sì)
วันศุกร์ 星期五 (xīng qī wǔ)
วันเสาร์ 星期六 (xīng qī liù)
วันอาทิตย์ 星期日 (xīng qī rì)
ความเป็นมา การนับวันแบบไทยและแบบตะวันตก ที่จีนไม่เหมือน
หากพูดถึงการนับวันหนึ่งอาทิตย์ในแบบอื่น ที่ไม่ใช่การนับ 1วันภาษาจีน แต่เป็นการนับวันแบบไทยและแบบตะวันตก เพื่อนๆก็คงจะเห็นสิ่งที่คล้องจองและเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ การนำศาสตร์ของดวงดาวมาใช้เรียกขานเป็นวันของชาติตะวันตกและไทย ซึ่งดวงดาวที่นำมาขานเรียกชื่อกันนั้น ก็จะมาจากดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่รอบๆโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่นี่เอง หากถามถึงที่มาที่ไปเรื่องราวความมหัศจรรย์ของการคิดค้นชื่อเรียกของวันตามดวงดาว ก็จะมาจากไหนไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่แถบตะวันออกกลาง ในช่วง2334-2279 ก่อนคริสกาล โดยมีอารยธรรมบาบิโลนที่เกิดขึ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจุดประกายในเรื่องของการนับวัน ที่เรียกชื่อดวงดาวต่างๆนำมาใช้นับเป็นสัปดาห์กัน โดยเริ่มแรกชาวบาบิโลนจะใช้ชื่อของเทพเจ้าที่ใช้เรียกเป็นตัวแทนของดวงดาวต่างๆ คือ เทพ Mir แห่งดวงอาทิตย์, เทพ Maq แห่งดวงจันทร์,เทพ Wngan แห่งดาวอังคาร,เทพ Tir แห่งดาวพุธ,เทพ Wrmzt แห่งดาวพฤหัสบดี,เพท Naqit แห่งดาวศุกร์ และ เทพ Kewan แห่งดาวเสาร์ ซึ่งชาวบาบิโลนก็ยังมีความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้าที่เป็นผู้ดูแลปกปักษ์รักษาชาวมนุษย์ต่างๆเกือบทุกเรื่อง รวมถึงเรื่องของวันที่ใช้เรียกขานกันมาด้วย จนทำให้มีการเรียกวันแบบเดียวต่อๆกันมาจนถึงอารยธรรมยุโรปด้วย
การนับวันภาษาจีน ที่ไม่เหมือนใคร
การนับ วันภาษาจีนที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ก็คือ การเรียกขานวันภาษาจีนแบบตัวเลขที่มีที่มาที่ไปมาอย่างยาวนาน เพราะวัฒนธรรมของชาวจีนในประเทศนั้นมี 1 สัปดาห์ มี 7วันภาษาจีนปฏิทินและการนับเวลาแบบเฉพาะตัวอยู่แล้ว แม้ในสมัยราชวงค์ถัง จะมีพระอาจารย์ปู้คง หรือ อโมฆ วัชระ ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียได้แปลคัมภัร์โหราศาสตร์ ฉบับพระโพธิสัตว์มัญชุศรีและทวยเทพ เป็นตำราของศาสนาพุทธซึ่งมีการนับวันแบบเดียวกับบาบิโลน หรือ ประเทศฝั่งตะวันตกมาเผยแพร่ให้กับชาวจีนได้เห็นกันเป็นที่ประจักษ์ ทั้งยังรวมถึงเรื่องของราศีและดวงดาวอีกด้วย แต่ก็ไม่ทำให้ประเทศจีนรู้สึกอยากเปลี่ยนการนับวัน และก็ยังคงไม่เปลี่ยนแบบการนับวันแต่อย่างใด
จนมาถึงสมัยราชวงค์หมิง ซึ่งมีการกล่าวถึงการเรียกขานวันแบบใช้ชื่อของดวงดาวตามประเทศฝั่งตะวันตกและในเอเชียบางประเทศ ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์และมุสลิม ถ่ายทอดผ่านอักษรที่มีการเรียกวันเหมือนกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังทำให้ชาวจีนไม่ได้เรียกขานวันเปลี่ยนไปเช่นเดิมในขณะที่ญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนวิธีเรียกวัน มาใช้ตามแบบประเทศฝั่งตะวันตกตั้งแต่สมัยเมจิ ในปี ค.ศ. 1868-1912 แล้ว แต่จีนก็ยังหมั่นคงในระบบวันดังกล่าวมาอย่างยาวนาน
การนับวันภาษาจีน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝั่งตะวันตก
เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ชิง การค้าขายเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากจนทำให้ผู้คนจากชาติตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาติตะวันตกเข้ามาตั้งรกราก จึงทำให้การนับวันแบบชาติตะวันตกนั้นได้ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นกว่าเดิม ในปี ค.ศ. 1909 จึงได้มีการนำช่วงเวลาของสาวทอผ้าและหนุ่มเลี้ยงวัวมาลองใช้นับเป็นวันปรับเปลี่ยนให้เหมือนชาติตะวันตก แต่ก็ยังรู้สึกไม่คุ้นชินกับคนในประเทศจึงทำให้การนับวันภาษาจีนแบบเลขถูกปรับมาใช่เช่นเดิม ส่วนการเปลี่ยนมาใช้ระบบสัปดาห์ตามประเทศตะวันตก ก็ถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ต่อมาก็ได้มีใช้ปฏิทินคู่กันทั้งแบบไทยและจีนเป็นที่เรียบร้อย
สรุปการนับวันภาษาจีน
ถือว่าการนับวันแบบจีน นอกจากจะมีความเป็นมาอย่างยาวนานและไม่เหมือนใครแล้ว ก็ยังมีความเป็นมาที่น่าสนใจทั้งเรื่องของปฏิทิน และโหราศาสตร์เฉพาะตัวด้วย จึงทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีหลายๆเรื่องในประวัติศาสตร์ชาติจีนที่น่าสนใจเลยล่ะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม