หากจะให้พูดถึงการนับปีศักราช คนไทยคงจะนึกถึง พุทธศักราช หรือ พ.ศ. อย่างแน่นอน ซึ่งปัจจุบัน พ.ศ. นั้นมีเพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้ศักราชนี้ แต่ถ้าจะพูดถึงศักราชที่เป็นสากลและมีการใช้ไปอย่างทั่วโลก เราก็คงจะนึกถึง ค.ศ. หรือ คริสต์ศักราช โดยศักราชเหล่านี้ก็เป็นการนับช่วงเวลาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งขึ้นมาก็เพื่อศึกษาเรื่องราวในอดีตให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น และถ้าหากเราอยากรู้เหตุการณ์ในต่างประเทศว่าตรงกับช่วงเวลาอะไรในไทยนั้น เราก็ต้องแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. ก่อน ซึ่งถ้าไม่ใช่ดูในมือถือแล้วต้องคิดเองก็คงนึกไม่ออก เพราะเราเองก็ไม่ได้คุ้นเคย ในวันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำวิธีการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. แบบง่ายๆ กัน บอกเลยว่าอ่านบทความนี้อันเดียวคือรู้เรื่องเลย
ทำความรู้จักกับศักราชต่างๆ และวิธีการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ.
ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. เรามาทำความรู้จักกับศักราชกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งศักราชนั้นที่ใช้นับช่วงเวลามีหลายแบบ ทั้ง พุทธศักราช (พ.ศ.), พุทธศักราช (พ.ศ.), คริสต์ศักราช (ค.ศ.), ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.), มหาศักราช (ม.ศ.), จุลศักราช (จ.ศ.) และ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) โดยศักราชต่างๆ จะมีรายละเอียดดังนี้
1.พุทธศักราช (พ.ศ.)
สำหรับพุทธศักราช (พ.ศ.) นั้นจะเป็นศักราชของทางพุทธศาสนา ซึ่งประเทศที่นับถือพุทธศาสนามักจะนิยมใช้ โดยจุดเริ่มต้นของการพุทธศักราช (พ.ศ.) จะเริ่มนับหลังจากการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพุทธเจ้าไปแล้ว 1 ปี ในประเทศไทยนั้นเริ่มใช้พุทธศักราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)
2.คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชสากลโดยในปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่ง ค.ศ. นั้นจะนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็น ค.ศ. 1 โดยช่วงเวลาที่พระเยซูประสูตินั้นก็ได้มี พ.ศ. มาแล้วประมาณ 543 ปี และมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่
3.ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นั้นเป็นการนับศักราชของศาสนาอิสลามซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่ใช้ก็เป็นประเทศที่นับศาสนาอิสลามเป็นหลัก โดยฮิจเราะห์ศักราชที่ 1 นั้น จะตรงกับ พ.ศ. 1165 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาอิสลามขึ้น นั้นก็คือ ศาสดาของศาสนาอย่าง ท่านนบีมุฮัมมัดได้ทำการฮิจเราะห์ (ฮิจเราะห์แปลว่าการอพยพโยกย้าย) จากเมืองเมกกะฮ์ไปยังเมืองเมดินา นั่นเอง
4.มหาศักราช (ม.ศ.)
สำหรับมหาศักราช (ม.ศ.) หรือในทางประเทศอินเดีย จะเรียกว่า ศกาพทะ (ศาลิวาหนกาล) ซึ่งจะแปลว่า ปีของชาวศกะ โดยจะเริ่มนับในปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ (ตำนานพระเจ้ากนิษกะแห่งศกราชวงศ์) ทรงมีชัยทุกแคว้นที่อยู่โดยรอบ จึงได้เริ่มนับ ม.ศ. 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และ ม.ศ. 1 นั้นเริ่มนับหลังจากมีพุทธศักราชมาแล้ว 621 ปี
5.จุลศักราช (จ.ศ.)
สำหรับจุลศักราชนั้นเป็นการนับแบบทางจันทรคติ ซึ่งจะเริ่มนับปีแรก จ.ศ. ตอนที่ พ.ศ. นั้นมีมาแล้ว 1182 ปี โดยจุดเริ่มต้นนั้นจะนับเอาวันที่พระบุพโสระหันนั้นสึกจากพระออกมาเพื่อชิงบัลลังก์ โดยนับเป็นวันแรกของ จ.ศ. เลย ซึ่งในประเทศไทยนั้นได้นำเอามา จุลศักราชมาใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นปฏิทินตามจันทรคติ ให้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีนั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่ และทรงให้วันขึ้นปีใหม่นั้นเป็นวันที่เปลี่ยนปีนักษัตรอีกด้วย
6.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
ปีรัตนโกสินทร์ศกนั้นเริ่มใช้ในสมัยของรัชกาลที่ 5 โดยยึดเอาวันที่กรุงเทพเป็นเมืองหลวงเป็นปีแรกของรัตนโกสินทร์ศก ซึ่งปีรัตนโกสินทร์ศกนั้นได้ใช้เพียงแค่ 23 ปีเท่านั้น (ใช้ถึง ร.ศ.131)
หลักการเปรียบเทียบและการแปลง คศ เป็น พศ
1.การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ.
อย่างที่เล่าไปแล้วว่า ค.ศ. นั้นจะเริ่มนับหลังจากที่มี พศ มาแล้ว 543 ปี ดังนั้นหากจะแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. ให้นำ คศ บวก 543 เข้าไป ก็จะกลายเป็น พ.ศ. แต่ถ้าหากอยากได้ ค.ศ. ก็เอา พศ มาหัก 543 ออกเท่านั้นเอง
ค.ศ. + 543 = พ.ศ.
พ.ศ. – 543 = ค.ศ.
2.การแปลง ฮ.จ. เป็น พ.ศ.
ถ้าหากเราอยากรู้เหตุการณ์ในปี ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) ว่าเกิดตรงกับ พ.ศ. อะไร ก็ให้เอา 1122 มาบวกเพิ่มเข้าไปกับ ฮ.จ. ก็จะได้เป็น พ.ศ. ออกมา
ฮ.จ. + 1122 = พ.ศ.
พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ.
3.การแปลง ม.ศ. เป็น พ.ศ.
ม.ศ. + 621 = พ.ศ.
พ.ศ. – 621 = ม.ศ.
4.การแปลง จ.ศ. เป็น พ.ศ.
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.
พ.ศ. – 1181 = จ.ศ.
5.การแปลง ร.ศ. เป็น พ.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.
พ.ศ. – 2324 = ร.ศ.
ตัวอย่างการนับศักราชในประเทศต่างๆ
- ในประเทศไทย จะใช้การนับศักราชแบบ พุทธศักราช (พ.ศ.) ในราชการ ซึ่งในตอนนี้เป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่ใช้ พ.ศ. ในแบบทางการอยู่ โดยการเปลี่ยนพุทธศักราชจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม
- ประเทศศรีลังกา ใช้การนับศักราชแบบ คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นปีของราชการ ส่วนในทางศาสนาจะใช้เป็น พุทธศักราช (พ.ศ.) สำหรับการเปลี่ยนปีพุทธศักราชนั้นจะเปลี่ยนในวันวิสาขบูชา
- ประเทศลาว จะใช้ คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นการนับศักราชของทางราชการ ส่วนในศาสนาจะเป็น พุทธศักราช (พ.ศ.) เช่นเดียวกับศรีลังกา แต่การเปลี่ยนพุทธศักราชนั้นจะเกิดขึ้นในวันสงกรานต์แทน
- ประเทศจีน นั้นใช้ คริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในด้านของราชการมาตั้งแต่การสถาปนาประเทศ (ปี 1949)
- ประเทศญี่ปุ่น จะใช้คริสต์ศักราช (ค.ศ.) ควบคู่ไปกับปีรัชศกประจำรัชกาลจักรพรรดิ ตั้งแต่สมัยเมจิ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้ควบคู่กันอยู่
หลังจากที่เพื่อนๆ รู้แล้วว่าการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. และการแปลงการนับปีศักราชอื่นๆ นั้นมาเป็น พ.ศ. นั้นทำยังไงแล้ว เพื่อนๆ ก็คงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในการเทียบเคียงเหตุการณ์ หรือการทำเอกสารต่างๆ ได้ เพื่อที่จะได้เรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าการแปลงศักราชอาจจะมีวิธีที่ง่ายกว่านี้ในโลกของเทคโนโลยี เช่นการผู้สูตรใน Excel เอาไว้ครั้งหน้าถ้ามีโอกาสเราจะเอาทริคมาฝากกันน้า
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/8263
- https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127651
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.onecalendar.nl/
- https://nationaltoday.com/calendar-adjustment-day/
- https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/917283