ก่อนที่จะไปเจาะลึกเกี่ยวกับเงินเดือนพยาบาลจบใหม่ อย่างแรกเลยเราก็ต้องรู้ก่อนว่าอาชีพพยาบาลมีหน้าที่อะไรบ้าง และเส้นทางสู่การทำอาชีพนี้ยากหรือไม่ เผื่อใครที่มีความฝันว่าอยากจะเป็นพยาบาลเพื่อที่จะดูแลคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็สามารถเข้ามาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับอาชีพพยาบาลผ่านบทความของเราก่อนได้ เราได้รวมเส้นทางต่าง ๆ ก่อนจะไปถึงการเป็นพยาบาลมาฝาก พร้อมกับเจาะลึกเรื่องเงินเดือนพยาบาลจบใหม่ด้วย เพราะเชื่อว่าคงจะได้ยินมาหลาย ๆ มุมมองเกี่ยวกับเงินเดือนของพยาบาลและการทำงานของพยาบาล ซึ่งอาจทำให้บางคนเข้าใจผิดกับบางเรื่องได้ ดังนั้นลองไปดูเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจเลยดีกว่า
เจาะลึกเส้นทางอาชีพพยาบาล เงินเดือนพยาบาลจบใหม่ได้เท่าไหร่?
“พยาบาล” เป็นหนึ่งในอาชีพที่คนเจ็บป่วยจะรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วย แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าอาชีพพยาบาลไม่ได้มีแค่ระดับเดียว แต่ยังการแบ่งการขึ้นทะเบียนของพยาบาลวิชาชีพออกเป็น 3 ประเภทด้วย โดยจะมีอะไรบ้างลองไปทำความรู้จักแต่ละรูปแบบเลยดีกว่า
- พยาบาลที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบอาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์
- พยาบาลที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบอาชีพการผดุงครรภ์
- พยาบาลที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล
สำหรับเงินเดือนพยาบาลแต่ละแผนกจะถูกแบ่งออกไปแตกต่างกันตามระดับงานและขั้นเงินเดือน สำหรับเงินเดือนพยาบาลจบใหม่มักจะเริ่มต้นที่ 13,000 บาทเป็นต้นไป แต่ก็มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะได้รับเพิ่มเติมด้วย หากใครอยากจะเจาะลึกเงินเดือนพยาบาลบรรจุใหม่ก็ตามมาดูในบทความที่เรานำมาฝากก่อนได้ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือนพยาบาลรัฐ 2565 ดังต่อไปนี้
พยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล
- เงินเดือนพยาบาลสัญญาจ้างแบบชั่วคราวจะเริ่มต้นตั้งแต่ 13,000 ไปจนถึง 15,000 บาท
- ได้รับค่าเวร 240 บาทต่อเวร ( 1 เดือนจะได้รับค่าเวรประมาณ 2,000 บาทไปจนถึง 3,000 บาท)
- ค่า OT ได้เวรละ 600 – 700 บาท
- ค่าใบประกอบการตำแหน่งพิเศษจะได้รับเงิน 1,000 ไปจนถึง 1,500 บาท
- เบี้ยเลี้ยงแบบเหมาจ่าย (จะได้รับเฉพาะพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลทุรกันดาร หรือโรงพยาบาลที่ห่างไกล)
- ประสบการณ์ทำงาน 1-3 ปี ได้รับเงิน 2,200 บาท
- ประสบการณ์ทำงาน 3-10 ปี ได้รับเงิน 2,800 บาท
- ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ได้รับเงิน 3,000 บาท
พยาบาลโรงพยาบาลเอกชน
- เงินเดือนเริ่มต้นของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนคือ 17,000 บาทไปจนถึง 21,000 บาท
- ค่าใบประกอบวิชาชีพจะได้รับเงินเพิ่มเติม 5,000 บาท
- ค่าเวรจะได้รับ 200 ไปจนถึง 300 บาทต่อเวร
- ค่า OT จะได้รับเงินเพิ่มเติม 10,000 ไปจนถึง 20,000 บาทต่อเดือน
พยาบาลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
สำหรับฐานเงินเดือนของพยาบาลที่ทำงานอยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะมีฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,600 บาทไปจนถึง 36,000 บาท
พยาบาลที่ทำงานเป็นผู้แทนยา
สำหรับฐานเงินเดือนของพยาบาลที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนยา เงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ 25,000 บาทเป็นต้นไป แต่เงินเดือนนี้ยังไม่รวมกับค่าคอมมิชชัน ซึ่งอาจได้รับสูงสุดมากถึงหลักแสนเลยทีเดียว
พยาบาลที่ทำงานอยู่ตามคลินิกเสริมความงาม
สำหรับฐานเงินเดือนของพยาบาลที่ทำงานอยู่ตามคลินิกเสริมความงาม เงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ 20,000 บาทเป็นต้นไป
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นอกจากพยาบาลจบใหม่แล้ว สำหรับเงินเดือนของพยาบาลวิชาชีพชำนาญการจะมีอัตราเงินเดือนที่สูงมากขึ้น โดยหน้าที่หลัก ๆ คือการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ พร้อมกับฝึกอบรมและให้ความรู้กับพยาบาลคนอื่น ๆ ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา อัตราเงินเดือนของพยาบาลวิชาชีพชำนาญจะเริ่มต้นตั้งแต่ 25,000 บาทไปจนถึง 36,000 บาท
พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ
ถัดไปที่เราจะแนะนำคือ พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ที่คอยตัดสินใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ซับซ้อน รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งผู้บริการภายในและภายนอกหน่วยงานด้วย โดยเงินเดือนของพยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญจะเริ่มต้นตั้งแต่ 44,800 บาทไปจนถึง 59,000 บาท
พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ
สุดท้ายที่เราจะแนะนำคือเงินเดือนของพยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะมีอัตราเงินเดือนเริ่มต้นตั้งแต่ 54,000 บาทไปจนถึง 66,500 บาท หน้าที่จะเป็นคนที่ให้คำปรึกษาส่วนราชการต่าง ๆ ในระดับกระทรวง แก้ปัญหางานที่ยากและซับซ้อนเป็นพิเศษ รวมถึงต้องมีความรู้ด้านการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพด้วย
พยาบาลเรียนจบแล้วไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?
การเรียนจบพยาบาลไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานในโรงพยาบาลเสมอไป แต่ก็ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นในส่วนนี้เราจะพาไปเจาะลึกกันว่าสำหรับคนที่เรียนจบพยาบาลศาสตร์จะสามารถทำงานในสถานที่ไหนได้บ้าง เผื่อว่าใครกำลังสนใจอยากทำอาชีพนี้ ลองเข้ามาเจาะลึกเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพกันก่อนเพื่อทำความรู้จักอาชีพพยาบาลได้มากยิ่งขึ้น โดยจะมีอะไรบ้างลองตามไปดูกันเลยดีกว่า
- ทำงานในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน
อย่างแรกเลยคือ การทำงานดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหน้าที่ของพยาบาลคือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น, การวิเคราะห์อาการเบื้องต้น รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย โดยจะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ พยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน และพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาล
- ทำงานพยาบาลแบบเฉพาะทาง
ถัดไปหน้าที่จะแตกต่างจากการทำงานแบบแรก เพราะเป็นการทำงานในสาขาที่แตกต่างกันออกไป เช่น พยาบาลที่ทำงานในห้องผ่าตัด ซึ่งจะมีหน้าที่ช่วยแพทย์หยิบอุปกรณ์ในการผ่าตัดต่าง ๆ และค่อยช่วยเหลือแพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัดให้กับคนไข้
- ทำงานพยาบาลในบริษัทประกันภัย
หลายคนอาจยังไม่รู้มาก่อนว่าบริษัทประกันภัยจะรับพยาบาลมาทำงานด้วย เพื่อที่จะเป็นผู้อนุมัติการเครมเงินประกันต่าง ๆ เนื่องจากพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับโรค แต่ก็ต้องเรียนรู้เรื่องระบบการประกันด้วย เพื่อที่จะเป็นคนกลางประสานงานระหว่างคนไข้ บริษัทประกันภัย และโรงพยาบาล
- ทำงานตัวแทนบริษัทยาและตัวแทนบริษัทอุปกรณ์การแพทย์
นอกจากการทำงานในโรงพยาบาลแล้ว อีกหนึ่งสายงานที่พยาบาลสามารถทำได้ก็คือ การเป็นตัวแทนบริษัทยา หรือตัวแทนของบริษัทที่จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์
- ทำงานเป็นพนักงานประจำคลินิกเสริมความงาม
ถัดไปที่เราจะแนะนำคือ การทำงานเป็นพยาบาลคลินิกเสริมความงาม เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคลินิก งานหลัก ๆ ของการทำในส่วนนี้คือการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการคลินิกเสริมความงาม
- ทำงานเป็นพยาบาลอิสระ
พยาบาลอิสระเป็นอาชีพที่คนที่จบพยาบาลศาสตร์ทุกคนสามารถทำได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับดูแลคนไข้ตามบ้าน หรือดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเงินเดือนของพยาบาลอิสระก็จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นหลัก
รวมเรื่องน่ารู้ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนพยาบาล
จากการที่ไปทำความเข้าใจเงินเดือนพยาบาลจบใหม่มาแล้ว ส่วนถัดไปที่เราจะพาไปเจาะลึกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาชีพพยาบาล ซึ่งคุณควรจะทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มต้นเส้นทางสู่การสอบเข้าคณะพยาบาลศาสตร์ เพราะอาชีพพยาบาลไม่ได้มีแค่ความชอบเท่านั้น แต่ยังต้องมีใจรักและต้องมีความเสียสละอีกด้วย เนื่องจากงานค่อนข้างหนัก แถมยังมีรายละเอียดการทำงานที่ยิบย่อยมากกว่าที่หลายคนคิด โดยจะมีเรื่องไหนบ้างที่เราอยากแนะนำให้คุณได้รู้เพิ่มเติม ลองตามไปดูเลยดีกว่า
Q: การทำงานพยาบาลแบ่งเฉพาะทางในด้านไหนบ้าง?
สำหรับหน้าที่ของพยาบาลจะมีหลายอย่าง ทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์อาการ รวมถึงแนะนำแนวทางการรักษาสุขภาพ การแบ่งสาขาเฉพาะทางของอาชีพพยาบาลมีหลากหลายอย่าง ซึ่งเราได้รวมมายกตัวอย่างดังนี้
- พยาบาลเด็ก อย่างแรกคือ พยาบาลเด็ก ซึ่งจะทำให้งานในแผนกที่ต้องดูแลเด็ก มีความเชี่ยวชาญกับการดูแลคนไข้เด็กโดยเฉพาะ ทั้งเรื่องจิตวิทยาและการรับมือกับเด็กเป็นสิ่งที่พยาบาลเด็กควรจะเตรียมตัวให้พร้อม หน้าที่คือให้ความรู้กับญาติ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัย
- พยาบาลจิตเวช สำหรับพยาบาลด้านจิตเวชจะมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โดยจะทำงานร่วมกับนักบำบัด นักจิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ทำหน้าที่ประสาน ดูแลคอยช่วยเหลือผู้ป่วย จนถึงการประเมินผลอาการเบื้องต้น
- พยาบาลเวชปฏิบัติ สำหรับพยาบาลด้านเวชปฏิบัติเป็นผู้ที่มีความสามารถวินิจฉัยโรคได้เหมือนแพทย์ แต่จะทำการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งถ้าใครสนใจอยากเรียนเฉพาะทางด้านนี้จะต้องเรียนเพิ่มจากปกติ 2 ปี สำหรับเนื้อหาที่เรียนจะไม่ได้เจาะลึกเหมือนแพทย์ เพียงแค่เรียนการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น
Q: ขั้นตอนการทำงานของพยาบาล?
ก่อนที่จะอธิบายขั้นตอนการทำงานของพยาบาล เราต้องบอกก่อนว่าพยาบาลจะมีทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พยาบาลผู้ป่วยใน พยาบาลผู้ป่วยนอก และพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทาง ซึ่งทั้งสองรูปแบบจะมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงแต่ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด โดยแต่ละประเภทจะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรเราก็รวบรวมมาฝากด้วย ซึ่งมีดังนี้
พยาบาลผู้ป่วยใน
สำหรับพยาบาลที่ทำงานในแผนกผู้ป่วยในจะเป็นผู้ที่ทำงานดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะมีการแบ่งเข้าเวรเป็น 2-3 กะขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชน หน้าที่หลัก ๆ ของพยาบาลแผนกผู้ป่วยในจะมีอะไรบ้างลองตามไปดูได้เลย
- รับเวร โดยการส่งต่อข้อมูลและอาการคนไข้ต่าง ๆ เพื่อที่จะทราบอาการของคนไข้ที่ต้องดูแล
- ดูแลผู้ป่วย จะต้องดูแลตั้งแต่การให้ยา การทำหัตถการต่าง ๆ ซึ่งแผนการรักษาจะถูกกำหนดโดยแพทย์เจ้าของไข้ หน้าที่ของพยาบาลคือต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการรักษา และเฝ้าดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพยาบาลผู้ป่วยในจะมีการแบ่งออกเป็นกะ นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้วยังต้องคอยดูแลสุขภาพของตนเองกับครอบครัวของผู้ป่วยด้วย
พยาบาลผู้ป่วยนอก
การทำงานของพยาบาลผู้ป่วยนอกจะแตกต่างจากพยาบาลแผนกผู้ป่วยในตรงที่ เน้นการดูแลผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยจะทำหัตถการต่าง ๆ เช่น ทำแผล หรือว่าฉีดยา ไปจนถึงการให้ผู้ป่วยรับยากลับไปรักษาอาการต่อที่บ้าน
พยาบาลเฉพาะทาง
สำหรับพยาบาลเฉพาะทางแต่ละด้านจะมีรายละเอียดซึ่งแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สาขา ซึ่งจะต้องเรียนด้านเฉพาะทางเพิ่มเติมถึงจะสามารถทำงานด้านนี้ได้ โดยหน้าที่จะไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเป็นพยาบาลเฉพาะทางที่ห้องผ่าตัด หน้าที่ก็คือ เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด พร้อมกับเป็นผู้ช่วยทำการผ่าตัดให้กับแพทย์ จนถึงการเป็นพยาบาลในห้อง ICU ซึ่งจะต้องคอยดูแลผู้ป่วยซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤติและอัปเดตอาการของผู้ป่วยให้กับแพทย์เจ้าของไข้ได้ทราบอยู่เสมอ
หลังจากที่ลองไปดูเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน เส้นทางสู่อาชีพพยาบาล ข้อดีข้อเสีย รวมถึงเงินเดือนพยาบาลจบใหม่กันมาแล้ว เราอยากบอกสำหรับคนที่มีความฝันอยากทำอาชีพนี้ จริง ๆ แล้วไม่ใช่อาชีพที่สบาย เรียนหนัก แถวการทำงานก็หนักด้วย แต่ไม่ต้องห่วงหากใจรักจริง ๆ หรือมีความพยายามมากพอ คุณก็สามารถสอบติดคณะพยาบาลศาสตร์ได้อย่างแน่นอน เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับคนที่มีความฝันอยากเป็นพยาบาลให้สู้และทำตามความฝันของตัวเองกันให้ได้
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.western.ac.th/blogs/ข่าวสารคณะพยาบาลศาสตร์-กาญจนบุรี/พยาบาลศาสตร์-เรียนจบแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง-แล้วแต่ละอาชีพได้ค่าตอบแทนเท่าไร
- https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/พยาบาลวิชาชีพเงินเดือน
- https://www.trueplookpanya.com/explorer/occupation-step3/20
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://images.squarespace-cdn.com/content/v1/62946d69b7bbaa222ea1c0e1/f76b9634-68b8-441e-9b1f-0191c78467e8/พยาบาลวิชาชีพเฝ้าไข้
- https://kbu.ac.th/nurse/wp-content/uploads/2021/03/2016-KBU-Stock-422-1024x683.jpg
- https://campus.campus-star.com/app/uploads/2018/06/nurse-01.jpg