เชื่อว่ายังมีเพื่อนๆหลายคนไม่เข้าใจคำว่า “สู่ขิต” ในช่วงแรกเราก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ยังงงๆกับความหมายของคำว่าสู่ขิต เวลาเจอในโลกออนไลน์ หรือกลุ่มเพื่อนๆคุยกับและให้คำนี้ยิ่งทำให้เราสงสัยหนักว่าจริงๆแล้ว ขิต มีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ เค้านำมาใช้ในสถานการณ์ไหนกันบ้าง เพื่อนๆที่ยังไม่รู้เราจะมาแชร์ความหมายของคำว่า “สู่ขิต” คืออะไรให้เพื่อนๆเข้าใจจะได้รู้ทันเมื่อเจอคำๆนี้
เปิดความหมาย “สู่ขิต” คืออะไร งงไปหมดแล้ว
สู่ขิตถูกนำมาใช้ทั้งในโลกออนไลน์และการสื่อสารในชีวิตประจำวันทั้งการโพสข้อความ แคปชั่น การส่งข้อความ คอมเม้นท์ การพูดคุยสื่อสาร เป็นต้น เราจึงมักได้ยินคำนี้กันอย่างคุ้นหูและเรียกได้ว่าเป็นคำศัพท์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปี 2022-2023 เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าคำว่า “สู่ขิต” มีความหมายว่าอย่างไร “สู่ขิต” หรือ ขิต (คำสแลง) หมายถึง ไปสู่สุคติ ไปสู่ที่ชอบ ๆ มักได้ยินคำนี้บ่อยๆ เพื่อเป็นการบอกคนตายให้ไปสู่ภพภูมิที่ดีหรือไปสู่สุคติ หรือให้ความหมายอีกอย่างว่า พัง หมดหนทาง ตกอับนั่นเอง ซึ่งสุ แปลว่า ดีงาม, ง่าย และคติ แปลว่า การไป เคลื่อนไป นั่นเอง
สู่ขิต ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจึงให้ความหมายในเชิงว่า กำลังจะตาย แต่ยังไม่ตาย หรือเป็นการบอกว่าใกล้ตายแล้วนะ เป็นเปรียบเปรยว่าอาการเหมือนคนกำลังจะตาย แต่ความจริงแล้วไม่ได้ตายจริงๆ
“สูขิต” ใช้อย่างไรไขข้อข้องใจที
อย่างที่กล่าวไปว่า สู่ขิต เป็นการเปรียบเทียบอาการเหมือนคนใกล้ตาย แต่ไม่ได้ตายจริงๆ หลายคนมักนำคำนี้มาใช้เพื่อแสดงอาการหรือความรู้สึกต่อบางอย่างเช่น คน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น มาดูตัวอย่างประโยคที่นำคำว่าสู่ขิตมาใช้กันเลย ใช้ในสถาการณ์หรือประโยคแบบใดได้บ้าง เพื่อนๆจะได้เข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้อง
- ผู้ชายยิ้มให้ ก็สุขิตไปเลยจ้า
- ทำงานหนักขนาดนี้ระวังสู่ขิตไม่รู้ตัว
- แกรู้ไหมเจอหน้าพี่อาโปทีไรฉันแทบจะสู่ขิต
- ผู้ชายยิ้มให้ขนาดนี้เพื่อนฉันสู่ขิตไปเลยจ้า
- พี่มายยิ้มทีไรร่างฉันแทบจะสู่ขิตทุกที
- คอมเครื่องนี้ใช้มานานจนจะสู่ขิตแล้ว
- ถ้าเจอหัวหน้าแบบนี้ทุกวัน สักวันเราจะสู่ขิตกันยกทีม
- หล่อบาดใจขนาดนี้ใครจะทนไหวไม่ขิตก็บ้าแล้ว
- อย่าเพิ่งขิตนะ ทำใจดีๆไว้เค้าแค่เดินผ่านเองค่า
- เดินไม่ระวังสักวันจะขิตโดยไม่รู้ตัว
- เกือบสู่ขิตบนทางม้าลายแล้ววันนี้
- ค่าฝุ่น 2.5 วันนี้เห็นแล้วแทบจะขิต ปอดยังดีอยู่ไหมเนี่ย
- ออกกำลังกายหนักขนาดนี้แกจะขิตเข้าสักวัน บาลานท์หน่อยอย่าหักโหมมากนัก
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม