จิตรกรเป็นอาชีพที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยความคิดจินตนาการ ร่างแบบ ย่อแบบ ขยายแบบ และใช้เทคนิคทางจิตรกรรม เช่น การใช้สีน้ำมัน สีน้ำ หรือสีชนิดอื่นๆให้ออกมาเป็นผลงานที่สวยงาม ซึ่งภาพวาดอาจจะเป็นภาพเสมือนจริง ภาพบุคคล ภาพวิว ภาพนามธรรม ภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่นๆ รวมถึงการคัดเลือกวัสดุและวิธีที่เหมาะกับงานจิตรกรรมแต่ละประเภท นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล
วันนี้เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่า อาชีพจิตรกรที่หลายๆคนสงสัยว่า คนที่ทำงานเกี่ยวกับอาชีพนี้เค้าทำเกี่ยวกับอะไร ลักษณะงานเป็นแบบไหน และต้องเรียนทางไหน สาขาไหนบ้างที่เรียนจบมาแล้วสามารถสมัครงาน ทำงานเกี่ยวกับอาชีพนี้ได้ วันนี้เราเลยหาข้อมูลที่ทุกคนสงสัยและอาจรู้มาให้ทุกคนได้อ่านและศึกษากันแล้วค่ะ ไปดูกันเลยจ้า
ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอาชีพจิตรกร
วาดภาพ เขียนภาพต่างๆ ลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ไม้ ผ้าใบ ผ้า หรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานได้ โดยที่ถ่ายถอดตามความรู้สึก ความคิด และจินตนาการของจิตรกรผ่านพู่กัน ปากกา ดินสอ ออกมาเป็นรูปร่าง ด้วยลวดลายที่บรรจงสวยงาม
ตัวอย่างภาพผลงานจิตรกร
1. ภาพเหมือน
2. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
3. ภาพประกอบโฆษณา
สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้น องค์กรภาคได้ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมอาชีพจิตรกร ศิลปินโดยการจัดประกวด และยังมีการประชาสัมพันธ์งานอย่างทั่วถึงดังนั้นจึงมีผู้คนให้ความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศจากองค์กรขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจซื้อภาพและว่าจ้างให้จิตรกรได้วาดภาพตามที่ตกลงกับผู้ว่าจ้าง หรืออาจจะได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบผลงานตราสัญลักษณ์ต่างๆขององค์กร
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพจิตกร
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีความรู้จริงในวิชาชีพ
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- มีความตั้งใจ และอดทน
- มีใจที่เปิดกว้าง
- ขยันค้นคว้า ศึกษาข้อมูล
ต้องเรียนคณะไหน สาขาอะไร
สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ให้ความสนใจและรักในอาชีพ วิชาชีพจิตกรสามารถเรียน คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาจิตรกรรม และสามารถสมัครสอบตามที่ต่างๆที่ได้ปิดให้สอบได้นะคะ
ตัวอย่างคณะ มหาลัยที่เปิดสอบ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
- คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
- คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาทฤษฎีศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทยาลัยเพาะช่าง สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง
- วิทยาลัยเพาะช่าง สาขาจิตรกรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง
ความก้าวหน้าในอาชีพ
สำหรับผู้ที่ทำอาชีพนี้การที่เราโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลงานของตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เอสามารถนำเสนอประชาสัมพันธ์ต่อลูกค้า หรือผู้ที่ให้ความสนใจ สื่อมวลชน หรือว่าเราสามารถติดต่อเว็บไซต์ที่จัดขายสินค้า เพราะอาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายผลงานภาพวาดได้มากขึ้น ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ในสถาบันการศึกษา หรือรับข้าราชการเป็นครูสอนในนภาคสาขาวิชาต่างๆ เมื่อได้ทำงานในระยะหนึ่งก็สามารถศึกษาต่อได้ในระดับ ปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อเดินก้าวเข้าไปสู่สายงานการบริหาร ในระดับหัวหน้าหน่วยงาน ผู้อำนวยการหรืออาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าภาควิชา จนไปถึงในตำแหน่ง คณบดีได้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับคนไหนที่กำลังให้ความสนใจในอาชีพจิตร อาชีพจิตรกรก็เป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะสามารถสร้างผลงานที่มีมูลค่าได้มหาศาลจากภาพที่เราวาด ซึ่งก็อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงฐานะเราได้นะคะ แต่ที่จริงแล้วเงินก็อาจจะไม่ใช่ตัวกำหนดคุณค่าของผลงานได้ แต่การที่มีความสุขกับผลงานของเรานั้นเอง คือของมีค่าที่มากเกินพอ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art2_1/unit1/2/painter.php
- https://www.admissionpremium.com/adplanning/work?id=20150806174659TMwmf1v